เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กระดูกสะบักและไหล่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระดูกสะบักและไหล่

กระดูกสะบัก vs. ไหล่

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล. แคปซูลของข้อต่อไหล่ขณะกางแขนออก มุมมองทางด้านหน้า ไหล่ หรือ บ่า (shoulder) เป็นส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ที่อยู่บริเวณข้อต่อไหล่ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกต้นแขนประกอบกับกระดูกสะบัก ไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า (clavicle), กระดูกสะบัก (scapula) และกระดูกต้นแขน (humerus) ร่วมกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ข้อต่อระหว่างกระดูกต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันเป็นข้อต่อไหล่ ไหล่เป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้แขนและมือสามารถการเคลื่อนที่ได้อย่างมาก และยังมีความแข็งแรงมากเพื่อใช้ในการออกแรงยกของ ดัน และดึง จากหน้าที่การทำงานของไหล่ดังกล่าวทำให้ไหล่เป็นบริเวณที่คนมักบาดเจ็บหรือปวดล้าอยู่สม่ำเสมอ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระดูกสะบักและไหล่

กระดูกสะบักและไหล่ มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระดูกต้นแขนกระดูกซี่โครงกระดูกไหปลาร้ากล้ามเนื้อทราพีเซียสกล้ามเนื้อเดลทอยด์จะงอยบ่าขอบแนวกลางของกระดูกสะบักข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลปุ่มกระดูกหัวไหล่แอ่งกลีนอยด์

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

กระดูกต้นแขนและกระดูกสะบัก · กระดูกต้นแขนและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

กระดูกซี่โครงและกระดูกสะบัก · กระดูกซี่โครงและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

กระดูกสะบักและกระดูกไหปลาร้า · กระดูกไหปลาร้าและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อทราพีเซียส

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อทราพีเซียส (Trapezius) เป็นกล้ามเนื้อในชั้นตื้นที่อยู่ด้านหลังของมนุษย์ เลี้ยงโดยเส้นประสาทแอกเซสซอรี (accessory nerve) หรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 และโดยแขนงประสาทด้านท้องของเส้นประสาทสันหลังส่วนคอที่ 3 และ 4 ซึ่งนอกจากจะเลี้ยงกล้ามเนื้อนี้แล้วยังเลี้ยงกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ด้วย เนื่องจากใยกล้ามเนื้อนี้วางตัวในหลายทิศทาง กล้ามเนื้อทราพีเซียสจึงทำหน้าที่ได้หลากหลาย ได้แก.

กระดูกสะบักและกล้ามเนื้อทราพีเซียส · กล้ามเนื้อทราพีเซียสและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเดลทอยด์

กล้ามเนื้อเดลทอยด์ (Deltoid muscle) ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ หมายถึงกล้ามเนื้อรูปสามเหลี่ยมที่เป็นส่วนสำคัญของกล้ามเนื้อในบริเวณไหล่ และเป็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขนที่มีข้อต่อไหล่เป็นจุดหมุน นอกจากนี้ยังนิยมใช้กล้ามเนื้อนี้ในการฉีดยาเข้าทางกล้ามเนื้อ (intramuscular injection) อีกด้วย ในตำรากายวิภาคศาสตร์บางเล่มอาจใช้คำว่า เดลทอยเดียส (deltoideus) ในการกล่าวถึงกล้ามเนื้อมัดนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งคำว่าเดลทอยด์และเดลทอยเดียส ต่างมาจากอักษรเดลตา (Delta) ในภาษากรีก ซึ่งเป็นอักษรรูปสามเหลี่ยม.

กระดูกสะบักและกล้ามเนื้อเดลทอยด์ · กล้ามเนื้อเดลทอยด์และไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

จะงอยบ่า

ราคอยด์ โพรเซส (Coracoid process) หรือ จะงอยบ่า เป็นโครงสร้างคล้ายตะขอยื่นออกมาจากกระดูกสะบักชี้ไปทางด้านหน้า คำว่า โคราคอยด์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก แปลว่า ลักษณะคล้ายจะงอยปากนกกาเรเวน (Korax แปลว่า นกการาเวน).

กระดูกสะบักและจะงอยบ่า · จะงอยบ่าและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก

อบแนวกลางของกระดูกสะบัก หรือ ขอบด้านกระดูกสันหลังของกระดูกสะบัก เป็นขอบที่ยาวที่สุดในบรรดาขอบทั้งสามของกระดูกสะบัก เชื่อมตั้งแต่มุมด้านบน (medial angle) ลงมาถึงมุมด้านล่างของกระดูกสะบัก (inferior angle) ขอบนี้มีลักษณะโค้ง มีความหนามากกว่าขอบด้านบนแต่บางกว่าขอบด้านข้าง และส่วนของขอบที่อยู่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก (spine) ทำมุมป้านกับส่วนด้านล่าง ขอบนี้ประกอบด้วยแนวด้านหน้า (anterior lip) และแนวด้านหลัง (posterior lip) และมีบริเวณแคบๆ ระหว่างแนวทั้งสอง แนวด้านหน้า เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อเซอร์ราตัส แอนทีเรียร์ (Serratus anterior) และแนวด้านหลัง แบ่งออกเป็นส่วนที่เหนือแนวสันกระดูกสะบัก เป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อซุปปราสไปนาตัส (Supraspinatus) และส่วนใต้แนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้ออินฟราสไปนาตัส (Infraspinatus) ส่วนบริเวณระหว่างแนวทั้งสองเป็นจุดยึดเกาะของกล้ามเนื้อหลายมัด ส่วนเหนือบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นจุดเริ่มของแนวสันกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ สแคปูเล (Levator scapulæ) ที่ขอบของพื้นผิวนั้นเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ ไมเนอร์ (Rhomboideus minor) และส่วนใต้ลงมาเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อรอมบอยด์ เมเจอร์ (Rhomboideus major) ซึ่งมีลักษณะเป็นโค้งพังผืด (fibrous arch) เชื่อมส่วนบนของพื้นผิวรูปสามเหลี่ยมส่วนล่างที่ฐานของแนวสันกระดูกสะบัก และส่วนล่างของบริเวณล่างขอบนี้.

กระดูกสะบักและขอบแนวกลางของกระดูกสะบัก · ขอบแนวกลางของกระดูกสะบักและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล

้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล (Glenohumeral joint) หรือข้อต่อไหล่ (Shoulder joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ข้อต่อนี้เป็นข้อต่อซินโนเวียล (Synovial joint) ชนิดเบ้า (ball and socket) โดยมีแอ่งกลีนอยด์ (glenoid fossa) ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่เป็นเบ้ารองรับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน และยังมีโครงสร้างของเอ็นรอบกระดูกและกล้ามเนื้อกลุ่มโรเตเตอร์ คัฟฟ์ (rotator cuff muscles) คอยค้ำจุน ข้อต่อนี้จึงเป็นข้อต่อที่มีอิสระในการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายมนุษ.

กระดูกสะบักและข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล · ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกระดูกหัวไหล่

อโครเมียน โพรเซส (acromion process) หรือย่อว่า อโครเมียน (acromion) หรือ ปุ่มกระดูกหัวไหล่ เป็นลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกสะบัก (scapula).

กระดูกสะบักและปุ่มกระดูกหัวไหล่ · ปุ่มกระดูกหัวไหล่และไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งกลีนอยด์

แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity; glenoid fossa of scapula) เป็นพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ อยู่ที่มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก แอ่งนี้เป็นข้อต่อที่รับกับหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ฐานล่างของแอ่งนี้กว้างกว่ายอดบน พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น.

กระดูกสะบักและแอ่งกลีนอยด์ · แอ่งกลีนอยด์และไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระดูกสะบักและไหล่

กระดูกสะบัก มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไหล่ มี 25 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 19.61% = 10 / (26 + 25)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระดูกสะบักและไหล่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: