เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลปานกลาง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลปานกลาง

กระจุกดาวทรงกลม vs. หลุมดำมวลปานกลาง

เมสสิเยร์ 80 กระจุกดาวทรงกลมในกลุ่มดาวแมงป่อง อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา 28,000 ปีแสง ประกอบด้วยดาวฤกษ์นับแสนดวง กระจุกดาวทรงกลม (Globular Cluster) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม โคจรไปรอบๆ แกนกลางดาราจักร ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง บางครั้งเรียกชื่อโดยย่อเพียงว่า globular กระจุกดาวทรงกลมมักพบอยู่ในกลดดาราจักร มีดวงดาวรวมตัวกันอยู่มากและมักมีอายุเก่าแก่กว่าส่วนที่เหลือของดาราจักร หรือกระจุกดาวเปิดซึ่งมักพบในจานดาราจักร ในดาราจักรทางช้างเผือกมีกระจุกดาวทรงกลมอยู่ราว 158 แห่ง และคาดว่ายังมีกระจุกดาวที่ยังค้นไม่พบอีกราว 10-20 แห่งAshman, Keith M.; Zepf, Stephen E. (1992). หลุมดำมวลปานกลาง (Intermediate-mass black hole; IMBH) คือหลุมดำที่มีมวลมากกว่าหลุมดำจากดาวฤกษ์ (หลักสิบเท่าของมวลดวงอาทิตย์) อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็น้อยกว่าหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่มาก (หลายล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์) หลักฐานการมีอยู่ของหลุมดำประเภทนี้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับหลุมดำอีกสองประเภท มีการค้นพบแห่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ที่สว่างอย่างยิ่ง (ultra-luminous X ray source; ULX) ในดาราจักรใกล้เคียงที่น่าสงสัยว่าจะเป็นหลุมดำมวลปานกลาง ขนาดของมวลอยู่ระหว่าง 100-1,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ แหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์ชนิดนี้ตรวจพบอยู่ในย่านกำเนิดดาวฤกษ์ (เช่น ดาราจักรดาวระเบิด M82) และน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับกระจุกดาวอายุน้อยหลายแห่งซึ่งสังเกตพบในย่านเดียวกัน อย่างไรก็ดีเพียงการตรวจจับมวลที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยการวิเคราะห์สเปกตรัมแสงของดาวคู่ ก็สามารถเผยถึงการมีอยู่ของหลุมดำมวลปานกลางว่าเป็นการพอกพูนมวลของ ULX ได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลปานกลาง

กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลปานกลาง มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมวลดวงอาทิตย์หลุมดำหลุมดำมวลยวดยิ่งหลุมดำของดาวฤกษ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

กระจุกดาวทรงกลมและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล · กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและหลุมดำมวลปานกลาง · ดูเพิ่มเติม »

มวลดวงอาทิตย์

มวลดวงอาทิตย์ เป็นวิธีพื้นฐานในการบรรยายค่ามวลในทางดาราศาสตร์ สำหรับใช้อธิบายถึงมวลดาวฤกษ์หรือมวลดาราจักร มีค่าเท่ากับมวลของดวงอาทิตย์ คือประมาณ 2 โนนิลเลียนกิโลกรัม หรือเท่ากับ 332,950 เท่าของมวลของโลก หรือ 1,048 เท่าของมวลของดาวพฤหัสบดี สัญลักษณ์และค่าพื้นฐานของมวลดวงอาทิตย์แสดงได้ดังนี้ เราสามารถบรรยายมวลดวงอาทิตย์ในรูปของระยะทางเป็นปี คือระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ (หนึ่งหน่วยดาราศาสตร์ หรือ AU) กับค่าคงที่แรงโน้มถ่วง (G) ได้ดังนี้ จนกระทั่งปัจจุบันยังไม่สามารถบอกตัวเลขที่แท้จริงของหน่วยดาราศาสตร์หรือค่าคงที่แรงโน้มถ่วงได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี การอธิบายถึงมวลสัมพันธ์ของดาวเคราะห์อื่นในระบบสุริยะหรือในระบบดาวคู่ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์ มิได้มีความจำเป็นต้องทราบถึงค่าแท้จริงเหล่านั้น ดังนั้นการบรรยายถึงมวลต่างๆ ด้วยหน่วยของมวลดวงอาทิตย์จึงเป็นวิธีที่มีประโยชน์ที.

กระจุกดาวทรงกลมและมวลดวงอาทิตย์ · มวลดวงอาทิตย์และหลุมดำมวลปานกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำ

มุมมองจำลองของหลุมดำด้านหน้าของทางช้างเผือก โดยมีมวลเทียบเท่าดวงอาทิตย์ 10 ดวงจากระยะทาง 600 กิโลเมตร หลุมดำ (black hole) หมายถึงเทหวัตถุในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ไม่มีอะไรออกจากบริเวณนี้ได้แม้แต่แสง ยกเว้นหลุมดำด้วยกัน เราจึงมองไม่เห็นใจกลางของหลุมดำ หลุมดำจะมีพื้นที่หนึ่งที่เป็นขอบเขตของตัวเองเรียกว่าขอบฟ้าเหตุการณ์ ที่ตำแหน่งรัศมีชวาร์สชิลด์ ถ้าหากวัตถุหลุดเข้าไปในขอบฟ้าเหตุการณ์ วัตถุจะต้องเร่งความเร็วให้มากกว่าความเร็วแสงจึงจะหลุดออกจากขอบฟ้าเหตุการณ์ได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่วัตถุใดจะมีความเร็วมากกว่าแสง วัตถุนั้นจึงไม่สามารถออกมาได้อีกต่อไป เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า "หลุมดำ" เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง หลุมดำเป็นซากที่สิ้นสลายของดาวฤกษ์ที่ถึงอายุขัยแล้ว สสารที่เคยประกอบกันเป็นดาวนั้นได้ถูกอัดตัวด้วยแรงดึงดูดของตนเองจนเหลือเป็นเพียงมวลหนาแน่นที่มีขนาดเล็กยิ่งกว่านิวเคลียสของอะตอมเดียว ซึ่งเรียกว่า ภาวะเอกฐาน หลุมดำแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ หลุมดำมวลยวดยิ่ง เป็นหลุมดำในใจกลางของดาราจักร, หลุมดำขนาดกลาง, หลุมดำจากดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการแตกดับของดาวฤกษ์, และ หลุมดำจิ๋วหรือหลุมดำเชิงควอนตัม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกของเอกภพ แม้ว่าจะไม่สามารถมองเห็นภายในหลุมดำได้ แต่ตัวมันก็แสดงการมีอยู่ผ่านการมีผลกระทบกับวัตถุที่อยู่ในวงโคจรภายนอกขอบฟ้าเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น หลุมดำอาจจะถูกสังเกตเห็นได้โดยการติดตามกลุ่มดาวที่โคจรอยู่ภายในศูนย์กลางหลุมดำ หรืออาจมีการสังเกตก๊าซ (จากดาวข้างเคียง) ที่ถูกดึงดูดเข้าสู่หลุมดำ ก๊าซจะม้วนตัวเข้าสู่ภายใน และจะร้อนขึ้นถึงอุณหภูมิสูง ๆ และปลดปล่อยรังสีขนาดใหญ่ที่สามารถตรวจจับได้จากกล้องโทรทรรศน์ที่โคจรอยู่รอบโลก การสำรวจให้ผลในทางวิทยาศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าหลุมดำนั้นมีอยู่จริงในเอกภพ แนวคิดของวัตถุที่มีแรงดึงดูดมากพอที่จะกันไม่ให้แสงเดินทางออกไปนั้นถูกเสนอโดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นชาวอังกฤษ จอห์น มิเชล ในปี 1783 และต่อมาในปี 1795 นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ปีแยร์-ซีมง ลาปลาส ก็ได้ข้อสรุปเดียวกัน ตามความเข้าใจล่าสุด หลุมดำถูกอธิบายโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ซึ่งทำนายว่าเมื่อมีมวลขนาดใหญ่มากในพื้นที่ขนาดเล็ก เส้นทางในพื้นที่ว่างนั้นจะถูกทำให้บิดเบี้ยวไปจนถึงศูนย์กลางของปริมาตร เพื่อไม่ให้วัตถุหรือรังสีใดๆ สามารถออกมาได้ ขณะที่ทฤษฏีสัมพัทธภาพทั่วไปอธิบายว่าหลุมดำเป็นพื้นที่ว่างที่มีความเป็นภาวะเอกฐานที่จุดศูนย์กลางและที่ขอบฟ้าเหตุการณ์บริเวณขอบ คำอธิบายนี่เปลี่ยนไปเมื่อค้นพบกลศาสตร์ควอนตัม การค้นคว้าในหัวข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากหลุมดำจะดึงวัตถุไว้ตลอดกาล แล้วยังมีการค่อย ๆ ปลดปล่อยพลังงานภายใน เรียกว่า รังสีฮอว์คิง และอาจสิ้นสุดลงในที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำอธิบายเกี่ยวกับหลุมดำที่ถูกต้องตามทฤษฎีควอนตัม.

กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำ · หลุมดำและหลุมดำมวลปานกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำมวลยวดยิ่ง

''ภาพบน'': ภาพร่างแสดงเหตุการณ์ที่หลุมดำมวลยวดยิ่งฉีกดาวฤกษ์ออกป็นเสี่ยง ''ภาพล่าง'': การคาดคะเนเหตุการณ์ที่หลุมดำมวลยวดยิ่งดูดกลืนดาวฤกษ์ในดาราจักร RXJ 1242-11 ''ด้านซ้าย'' คือภาพถ่ายรังสีเอกซ์ ''ด้านขวา'' คือภาพถ่ายในแสงที่ตามองเห็น หลุมดำมวลยวดยิ่ง (supermassive black hole: SMBH) คือหลุมดำที่มีมวลมากในระดับ ถึง เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาราจักรส่วนใหญ่รวมทั้งทางช้างเผือก (แต่ไม่ใช่ทุกดาราจักร) มักมีหลุมดำมวลยวดยิ่งอยู่ที่บริเวณศูนย์กลาง หลุมดำมวลยวดยิ่งมีคุณลักษณะสำคัญที่สามารถแบ่งแยกจากหลุมดำธรรมดาได้คือ.

กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลยวดยิ่ง · หลุมดำมวลปานกลางและหลุมดำมวลยวดยิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หลุมดำของดาวฤกษ์

หลุมดำของดาวฤกษ์ (stellar black hole) เป็นหลุมดำชนิดหนึ่งที่เกิดจากการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์มวลมาก (ขนาดตั้งแต่ 20 เท่ามวลดาวอาทิตย์ หรือมากกว่า ทั้งนี้ขนาดที่แน่นอนยังคงต้องมีการศึกษาต่อไปเพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง) ในช่วงเวลาสุดท้ายของดาวฤกษ์เมื่อสิ้นอายุขัย กระบวนการนี้สามารถสังเกตได้จากการระเบิดของซูเปอร์โนวา หรือในแสงวาบรังสีแกมมา หลุมดำของดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ (นับถึงปี ค.ศ. 2007) มีขนาด 15.65±1.45 มวลดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ IC 10 X-1 เป็นหลุมดำของดาวฤกษ์ที่คาดว่ามีขนาดมวล 24-33 เท่ามวลดวงอาทิต.

กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำของดาวฤกษ์ · หลุมดำของดาวฤกษ์และหลุมดำมวลปานกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลปานกลาง

กระจุกดาวทรงกลม มี 66 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลุมดำมวลปานกลาง มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 6.94% = 5 / (66 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระจุกดาวทรงกลมและหลุมดำมวลปานกลาง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: