เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กระจงควายและกระจงเล็ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กระจงควายและกระจงเล็ก

กระจงควาย vs. กระจงเล็ก

กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Greater mouse-deer, Napu) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus napu อยู่ในวงศ์ Tragulidae มีขาเล็กเรียว ซึ่งมีนิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว ทั้งตัวผู้และตัวเมียไม่มีเขา แต่ตัวผู้จะมีเขี้ยวบนยาวเลยริมฝีปากบนลงมา เมื่อโตเต็มวัยมีน้ำหนักตัวประมาณ 5 กิโลกรัม ขนบนตัวสีน้ำตาลออกเทา มีจุดสีเข้มกว่ากระจายอยู่ทั่วไป ที่ใต้คอและบนหน้าอกมีลายพาดตามยาวสีขาว 5 ลาย ด้านใต้ท้องสีขาว หางค่อนข้างสั้นสีน้ำตาลอ่อนด้านบนและสีขาวด้านล่าง ปกติชอบอยู่โดดเดี่ยว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์จึงจะอยู่เป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้แก่ หญ้าอ่อน ๆ, ผลไม้, ยอดไม้ และใบไม้อ่อน ในเวลากลางวันจะหลบพักนอนตามหลืบหินและโพรงไม้ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็พบออกลูกแฝด ระยะตั้งท้องนานประมาณ 5-6 เดือน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า, เทือกเขาตะนาวศรี ไปจนถึงแหลมมลายู, เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้แล้วยังพบได้ที่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม จัดเป็นกระจงอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทยนอกจาก กระจงเล็ก (T. kanchil) ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า โดยมักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ บางครั้งยังอาจพบได้ที่พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือป่าชายเลนได้อีกด้วย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535. กระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (Lesser mouse-deer, Lesser Malay chevrotain; มลายู: Kanchil) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กีบคู่ จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างหน้าตาคล้ายเก้งหรือกวาง เป็นกระจงอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีขนาดเล็กกว่ากระจงควาย (T. napu) มีความสูงจากกีบเท้าถึงหัวไหล่ 20-23 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ ลายแถบสีขาวที่หน้าอกมีแถบเดียว ในขณะที่กระจงควายมี 2 แถบ ในประเทศไทยพบได้ตามแนวป่าตะวันตก, แนวเขาหินปูนภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในต่างประเทศพบได้ในลาว, พม่า, ตอนใต้ของจีน, เวียดนาม, บรูไน, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย หมายเหตุ: เดิมทีกระจงเล็กเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulus javanicus แต่ปัจจุบันชื่อนี้ได้ถูกจำแนกออกไปเป็น กระจงชวา พบในเกาะชวา และบาหลีแทน Meijaard, E., & Groves, C. P. (2004).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กระจงควายและกระจงเล็ก

กระจงควายและกระจงเล็ก มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กระจงวงศ์กระจงสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์กีบคู่

กระจง

กระจง หรือ ไก้ (Mouse-deer, Chevrotain) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเคี้ยวเอื้องขนาดเล็กสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Tragulus (/ทรา-กู-ลัส/) ในวงศ์ Tragulidae โดยคำว่า Tragulus มาจากคำว่า Tragos หมายถึง "แพะ" ในภาษากรีก ขณะที่ ulus ในภาษาละตินหมายถึง "เล็ก" มีน้ำหนักตัวประมาณ 0.7–8.0 กิโลกรัม (1.5–17.6 ปอนด์) มีความยาวประมาณ 40–75 เซนติเมตร (16–30 นิ้ว) จัดเป็นสัตว์กีบคู่ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ชนิดที่เล็กที่สุดของกระจงก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าแอนทีโลปในสกุล Neotragus ในทวีปแอฟริกาNowak, R. M. (eds) (1999).

กระจงและกระจงควาย · กระจงและกระจงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กระจง

วงศ์กระจง (Chevrotain, Mouse-deer, Napu; อีสาน: ไก้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับสัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tragulidae กระจงถือเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับกวาง (Cervidae) มีกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีการหมักอาหารที่กระเพาะอาหาร แต่กระเพาะห้องที่สามจะลดขนาดลง เหลือไว้เพียงร่องรอยเท่านั้น มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก ไม่มีเขา จะงอยหน้าแหลมและแคบ จมูกไม่มีขน ไม่มีทั้งต่อมที่ใบหน้าและต่อมกับ ขายาวเรียวและเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีเขี้ยวงอกจากขากรรไกรบนยาวยื่นออกมาใช้สำหรับป้องกันตัว ส่วนตัวเมียมีเขี้ยวเหมือนกับตัวผู้ แต่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีระยะเวลาตั้งท้องนานราว 120–180 วัน ตัวเมียสามารถกลับมาเป็นสัดได้ ใน 7 วันหลังจากออกลูก ออกลูกโดยปกติครั้งละ 1 ตัว ถือได้ว่าเป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก ด้วยว่ามีขนาดพอ ๆ กับกระต่ายตัวหนึ่งเท่านั้นเอง พบกระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในอนุทวีปอินเดีย และเอเชียอาคเนย์ แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 10 ชนิด และสูญพันธุ์ไปแล้วอีก 6 สกุล (ดูในตาราง) สำหรับในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ กระจงควาย หรือ กระจงใหญ่ (Tragulus napu) และกระจงเล็ก หรือ กระจงหนู (T. kanchil) ซึ่งถือได้เป็นสัตว์กีบที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกด้ว.

กระจงควายและวงศ์กระจง · กระจงเล็กและวงศ์กระจง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

กระจงควายและสัตว์ · กระจงเล็กและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

กระจงควายและสัตว์มีแกนสันหลัง · กระจงเล็กและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

กระจงควายและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · กระจงเล็กและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์กีบคู่

อันดับสัตว์กีบคู่ เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artiodactyla (/อา-ทิ-โอ-แดค-ทิ-ล่า/) มีลักษณะเด่น คือ มีนิ้วเท้าที่เป็นกีบที่เป็นคู่ แตกต่างไปจากสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์กีบคี่ (Perissodactyla) ซึ่งมีกีบนิ้วเท้าเป็นจำนวนคี่ ทั้งสองอันดับล้วนแต่เป็นสัตว์กินพืช ที่จะกินพืชลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสกุลและวงศ์ หรือชนิด กระจายพันธุ์ออกไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นโอเชียเนีย ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 10 วงศ์ ราว 220 ชนิด โดยแบ่งออกได้เป็น 3 อันดับย่อย โดยแบ่งตามลักษณะของกระเพาะอาหาร โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ หรือส่วน คือ.

กระจงควายและอันดับสัตว์กีบคู่ · กระจงเล็กและอันดับสัตว์กีบคู่ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กระจงควายและกระจงเล็ก

กระจงควาย มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ กระจงเล็ก มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 12.00% = 6 / (38 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กระจงควายและกระจงเล็ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: