โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรมปศุสัตว์

ดัชนี กรมปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์ (Department of Livestock Development) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งด้านสุขภาพ การบำบัดโรค การบำรุงพันธุ์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคระบาดสัตว์ การปศุสัตว์ ไปจนถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว.

11 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2447พ.ศ. 2485พ.ศ. 2559กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)กรุงเทพถนนพญาไทถนนพระอาทิตย์ประเทศไทยป้อมพระสุเมรุเขตราชเทวี5 พฤษภาคม

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และพ.ศ. 2485 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2559

ทธศักราช 2559 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2016 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ และเป็น.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และพ.ศ. 2559 · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (Ministry of Agriculture and Cooperatives) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชื่อ กระทรวงเกษตรพานิชการ มี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นเสนาบดีคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ได้ยุบรวมกระทรวงเกษตรพานิชการเข้ากับ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พร้อมกับลดฐานะลงเป็นกรม ๆ หนึ่ง ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2442 มีพระบรมราชโองการแยกกรมเกษตรพานิชการออกมาตั้งเป็นกระทรวงใหม่ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตราธิการ มี เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ขณะมีบรรดาศักดิ์ที่พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์เป็นเสนาบดีคนแรก โดยใช้ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ทำการชั่วคราว ในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบรวมกระทรวงเกษตราธิการเข้ากับ กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ใช้ชื่อว่า กระทรวงเกษตรพาณิชยการ ต่อมาวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อและอำนาจหน้าที่จากกระทรวงเกษตรพาณิชยการเป็น กระทรวงเศรษฐการ ในวันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และถนนพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมพระสุเมรุ

ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุ ป้อมพระสุเมรุซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม และยังปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย โดยให้ชื่อว่า "สวนสันติชัยปราการ" มีพลับพลา ชื่อว่า "พระที่นั่งสันติชัยปราการ" ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ..

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และป้อมพระสุเมรุ · ดูเพิ่มเติม »

เขตราชเทวี

ตราชเทวี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และเขตราชเทวี · ดูเพิ่มเติม »

5 พฤษภาคม

วันที่ 5 พฤษภาคม เป็นวันที่ 125 ของปี (วันที่ 126 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 240 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กรมปศุสัตว์และ5 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »