โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรมความลับทหาร

ดัชนี กรมความลับทหาร

กรมความลับทหาร (Grand Council) เป็นองค์กรสำคัญในการกำหนดนโยบายการปกครองแผ่นดินของประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งจักรพรรดิหย่งเจิ้ง (雍正帝) ทรงจัดตั้งขึ้นใน..

28 ความสัมพันธ์: ชาวฮั่นชาวแมนจูพระราชวังต้องห้ามพระที่นั่งเฉียนชิงราชวงศ์ชิงศาลาในสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่งหรงลู่อี้ซินอี้เซฺวียนจักรพรรดิกวังซฺวี่จักรพรรดิยงเจิ้งจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อจักรพรรดิผู่อี๋จักรพรรดิถงจื้อจักรพรรดิคังซีจักรพรรดิซุ่นจื้อจักรพรรดิเจียชิ่งจักรพรรดิเฉียนหลงที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจคณะองคมนตรีฉุนชินหวังซูสีไทเฮาซูอันไทเฮาซู่ชุ่นประเทศจีนไจ้เฟิงเวิง ถงเหอ

ชาวฮั่น

วฮั่น (漢族) เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 พบว่า มีชาวฮั่นราว 1,200 ล้านคนอาศัยในประเทศจีน และนับเป็นกลุ่มชนชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย มีหลักฐานว่าชาวฮั่นถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยหวงตี้ (黃帝) อาศัยอยู่ในแถบดินแดนจงหยวน และกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนมายาวนานกว่า 5,000 ปี นับตั้งแต่สมัยเซี่ย ซาง โจว ชุนชิว-จั้นกั๋ว จนมาเริ่มเป็นปึกแผ่นในสมัยฉินและฮั่น สมัยฮั่นนี่เองที่เริ่มมีคำเรียก 'ฮั่น' ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีความเชื่อตามแบบลัทธิเต๋า ชาวฮั่นมีกิจกรรมด้านการเกษตรและหัตถกรรมที่เจริญก้าวหน้า อีกทั้งมีการประดิษฐ์เครื่องสำริด การถักทอ เครื่องเคลือบดินเผา สถาปัตยกรรม และศิลปะการวาดภาพที่เป็นหน้าตาของชนชาติมาตั้งแต่ยุคโบราณ นอกจากนี้ ยังรวมถึงผลงานวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นที่ยอมรับไปทั่วด้วย และที่ลืมไม่ได้ก็คือ การเป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่ค้นพบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ 4 อย่าง คือ กระดาษ เทคนิคการพิมพ์ เข็มทิศ และดินปืน บุคคลสำคัญเชื้อสายฮั่นในแผ่นดินจีนไม่ว่าจะเป็นนักทฤษฎี นักปฏิวัติ นักการเมือง กวี ศิลปินต่าง ๆ ที่ถูกจารึกนามในหน้าประวัติศาสตร์จีนและของโลกที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ ดร.ซุนยัตเซ็น เหมาเจ๋อตง โจวเอินไหล หลิวเส้าฉี จูเต๋อ เติ้งเสี่ยวผิง หลู่ซวิ่น ฯลฯ ล้วนเป็นชาวฮั่นที่สร้างคุณูปการต่อลูกหลานชนชาวฮั่นในวันนี้ และยังรวมถึง ขงจื๊อ ปรัชญาเมธีผู้เรืองนามของจีน เป็นเวลาเนิ่นนานหลายร้อยปี ที่แนวคิดของขงจื๊อซึ่งเป็นรากฐานคุณธรรมคำสอนของชาวฮั่น ได้แผ่อิทธิพลไปทั่วทวีปเอเชียตะวันออก (East-Asia) ชาวฮั่นมีวันสำคัญทางประเพณีได้แก่ เทศกาลตรุษจีน 春節 เทศกาลหยวนเซียว 元宵節 เทศกาลไหว้บะจ่าง 端午節 เทศกาลไหว้พระจันทร์ 中秋節 (จงชิวเจี๋ย) เป็นต้น ชาวฮั่นมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาฮั่น 漢語 (ฮั่นอวี่) มีตัวอักษรเรียกว่า อักษรฮั่น 漢字 (ฮั่นจื่อ) ซึ่งยังแบ่งเป็นภาษาถิ่นอีกหลายภาษา อาทิ ภาษาถิ่นทางภาคเหนือ (北方話) ภาษากวางตุ้ง (粵語) ภาษาแคะ (客家話) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยเหมิน (閩南語) ภาษาถิ่นฮกเกี๊ยน (閩北語) ภาษาถิ่นแถบเซี่ยงไฮ้-เจียงซู-เจ้อเจียง (吳語) ภาษาถิ่นแถบหูหนัน (湘語) และภาษาถิ่นแถบเจียงซี (贛語).

ใหม่!!: กรมความลับทหารและชาวฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังต้องห้าม

อู่เหมิน ไท่เหอเหมิน ตงหวาเหมิน แม่น้ำทอง 280px 190px พระราชวังต้องห้าม (จีน: 紫禁城; พินอิน: Zǐjìn Chéng จื่อจิ้นเฉิง; อังกฤษ: Forbidden City) หรือพระราชวังกู้กง จากชื่อภาษาจีน แปลตามตัวอักษรได้ว่า "เมืองต้องห้ามสีม่วง" พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีน เป็นพระราชวังหลวงมาตั้งแต่สมัยกลางราชวงศ์หมิงจนถึงราชวงศ์ชิง พระราชวังต้องห้ามยังรู้จักกันในนาม พิพิธภัณฑ์พระราชวัง (ภาษาจีน: 故宫博物院; พินอิน: Gùgōng Bówùyùan) ครอบคลุมพื้นที่ 720,000 ตารางเมตร อาคาร 800 หลัง มีห้องทั้งหมด 9,999 ห้อง และมีพระที่นั่ง 75 องค์ หอพระสมุด ห้องหับต่างๆอีกมาก รวมทั้งยังมีสวน ลานกว้าง ทางเดินเชื่อมกันโดยตลอด มีคูและกำแพงที่สูงถึง 11 เมตร ล้อมรอบ ใช้ระยะก่อสร้างประมาณ 14 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1949 จนถึง พ.ศ. 1963 พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน นักท่องเที่ยวสามารถเข้าสู่พระราชวังต้องห้ามได้ทางจตุรัสนี้ ผ่านประตูเทียนอันเหมิน บริเวณรอบจตุรัสเทียนอันเหมิน เรียกว่า อาณาเขตหลวง โดยมีสิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่โดยรอบ เช่น มหาศาลาประชาคม ในอดีต พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาต เป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า "พระราชวังต้องห้าม" จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต เพื่อความสำราญของจักรพรรดิ ในวังจะมีวิเสท 6,000 คน ประกอบพระกระยาหาร มีสนมกำนัล 9,000 นาง ซึ่งมีขันที 70,000 คน คอยดูแลให้ มีคำเล่าลือกันว่า พระนางซูสีไทเฮา เวลาเสวยก็จะมีพระกระยาหารถึง 148 ชุด และทรงส่งขันทีไปเสาะหาชายหนุ่มซึ่งเข้าวังแล้วจะไม่มีผู้ใดพบเห็นอีกเลย แม้ว่าประเทศจีนจะไม่มีสถาบันพระมหากษัตริย์แล้ว พระราชวังต้องห้ามก็ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน และภาพประตูเทียนอันเหมินก็ยังปรากฏอยู่ในตราประจำสาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นอกจากนี้ พระราชวังต้องห้ามยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งไม่นานมานี้ ทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวเพื่อจะอนุรักษ์สภาพของอาคารและสวนหย่อมไว้ ยูเนสโกได้ประกาศให้พระราชวังต้องห้ามร่วมกับพระราชวังเสิ่นหยางเป็นหนึ่งในมรดกโลกในนาม พระราชวังหลวงแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงในปักกิ่งและเสิ่นหยาง เมื่อ พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987).

ใหม่!!: กรมความลับทหารและพระราชวังต้องห้าม · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งเฉียนชิง

ระที่นั่งเฉียนชิง ที่ออกขุนนางในพระที่นั่ง พระที่นั่งเฉียนชิง (แมนจู: kiyan cing gung) แปลว่า พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ (Palace of Heavenly Purity) เป็นพระที่นั่งหลังหนึ่งในตอนเหนือของพระราชวังต้องห้าม กรุงเป่ย์จิง ประเทศจีน เป็นพระที่นั่งหลังใหญ่ที่สุดในบรรดาพระที่นั่งสามหลังแห่งฝ่ายใน อีกสองหลัง คือ พระที่นั่งเจียวไท่ หรือพระที่นั่งอนันตสมาคม (交泰殿) และพระที่นั่งคุนหนิง หรือพระที่นั่งภูมิเสถียร (坤寧宮) พระที่นั่งแห่งนี้เป็นอาคารมีจั่วสองชั้น ตั้งบนฐานหินอ่อนชั้นเดียว ในพระที่นั่งแบ่งเป็น 2 ส่วน มีห้องนอน 9 ห้อง มีเตียงทั้งหมด 27 หลัง พระมหากษัตริย์ราชวงศ์หมิงจะบรรทมสลับกันไปเพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย ธรรมเนียมนี้ประพฤติต่อมาถึงราชวงศ์ชิง แต่จักรพรรดิหย่งเจิ้งไม่ประสงค์จะใช้ห้องบรรทมเดียวกับจักรพรรดิคังซีพระบิดา จึงเสด็จไปประทับพระที่นั่งหยางซิน หรือพระที่นั่งจรุงจิต (养心殿) พระมหากษัตริย์นับแต่นั้นก็เสด็จบรรทมที่พระที่นั่งหยางซินสืบมา และเปลี่ยนพระที่นั่งเฉียนชิงเป็นที่ออกขุนนาง ประชุมกรมความลับทหาร (軍機處) และเลี้ยงโต๊ะ กลางพระที่นั่งมีราชอาสน์และโต๊ะทรงอักษรp 78, Yu (1984) เหนือราชอาสน์ติดตั้งรูปมังกรขดไว้บนเพดาน และมีป้ายพระอักษร 4 ตัวที่จักรพรรดิซุ่นจื้อทรงไว้ ความว่า "เจิ้งต้ากวงหมิง" (正大光明) แปลว่า "เที่ยงตรงโปร่งใส" นับแต่รัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้ง พระมหากษัตริย์ทรงออกราชโองการลับตั้งรัชทายาทไว้สองฉบับข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งซ่อนไว้หลังป้ายพระอักษรนี้ อีกฉบับทรงพกไว้กับพระองค์เสมอ.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและพระที่นั่งเฉียนชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ศาลาใน

ลาใน (Grand Secretariat) เป็นองค์กรในระบบราชการของจักรวรรดิจีนช่วงราชวงศ์หมิง ซึ่งโดยนิตินัยแล้วเป็นหน่วยประสานงาน แต่โดยพฤตินัยเป็นสถาบันสูงสุดในการปกครอง องค์กรนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อจักรพรรดิหงอู่ (洪武帝) ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี (丞相) ใน..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและศาลาใน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง

งครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (First Sino-Japanese War) หรือ สงครามญี่ปุ่น-ชิง หรือ สงครามเจี่ยอู่ (甲午戰爭) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิชิงกับจักรวรรดิญี่ปุ่นเพื่อครอบครองคาบสมุทรเกาหลี สงครามนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ชิง และการประสบผลสำเร็จของญี่ปุ่นที่พัฒนาชาติให้ทันสมัยตามแบบชาติตะวันตกซึ่งเริ่มมาตั้งแต่จักรพรรดิเมจิขึ้นครองราชย์ ส่งผลให้อิทธิพลของราชวงศ์ชิงเสื่อมถอยลงจนนำไปสู่การปฏิวัติในปี..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หรงลู่

กวาเอ่อร์เจีย หรงลู่ (Guwalgiya Ronglu หรือ Guwalgiya Jung-lu; 6 เมษายน 1836 – 11 เมษายน 1903) เป็นนายทหารและรัฐบุรุษชาวจีนเมื่อปลายราชวงศ์ชิง กำเนิดในสกุลกวาเอ่อร์เจียซึ่งทรงอิทธิพลอยู่ในกองธงขาวพิสุทธิ์ (正白旗) แห่งแปดกองธง (八旗) ทั้งยังเป็นญาติกับพระพันปีฉือสี่ (慈禧太后) ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในราชสำนัก เช่น ผู้ตรวจฝ่ายซ้าย (左都御史) ขุนนางกรมความลับทหาร (軍機處) ขุนนางสำนักวิเทโศบาย (總理衙門) เจ้ากรมรักษาพระนคร (武衛軍) ผู้ว่าการจื๋อลี่ (直隸總督) มหาบัณฑิต (大学士) แม่ทัพเก้าประตู (九門提督) เสนาบดียุทธนาการ (兵部尚书) และเสนาบดีโยธาธิการ (工部尚書).

ใหม่!!: กรมความลับทหารและหรงลู่ · ดูเพิ่มเติม »

อี้ซิน

กงชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอี้ซิน (แมนจู:ᠠᡳᠰᡳᠨ ᡤᡳᠣᡵᠣ ᡳ ᡥᡳᠨ) ประสูติเมื่อ 11 มกราคม..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและอี้ซิน · ดูเพิ่มเติม »

อี้เซฺวียน

ฉุนชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าอี้เซฺวียน (16 ตุลาคม ค.ศ. 1840 – 1 มกราคม ค.ศ. 1891) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 7 ในจักรพรรดิเต้ากวงกับจวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย์ เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นพระอัยกาของจักรพรรดิผู่อี๋.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและอี้เซฺวียน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิกวังซฺวี่

ระฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี้ จักรพรรดิกวังซฺวี่ พระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้เถียน (14 สิงหาคม 2414-14 พฤศจิกายน 2451) เป็นพระโอรสในองค์ชายอี้ซวน ซึ่งเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง พระราชชนนีคือพระขนิษฐาในพระนางซูสีไทเฮา ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมพรรษา 3 พรรษา การขึ้นครองราชย์ของพระองค์เป็นการผิดกฎมณเฑียรบาล เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อก่อนสวรรคตได้ทรงแต่งตั้งเจ้าชายไจ้ซู่พระญาติให้เป็นรัชทายาท แต่ในเมื่อพระนางซูสีไทเฮาต้องการให้องค์กวังซฺวี่ขึ้นครองราชย์ก็ไม่มีใครกล้าคัดค้าน.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิกวังซฺวี่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยงเจิ้ง

มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิยงเจิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ

หนูเอ่อร์ฮาชื่อ(แมนจู: 1 30px;; 21 กุมภาพันธ์ 1559 – 30 กันยายน 1626) หรืออ้ายซินเจว๋หลัวหนูเอ่อร์ฮาชื่อ(Chinese: Aixin-Jueluo Nǔ'ěrhāchì 愛新覺羅努爾哈赤)หรือสมเด็จพระจักรพรรดิชิงไท่จู่ เป็นปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิหนูเอ่อร์ฮาชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิผู่อี๋

มเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋ พระราชสมภพ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 มีพระนามเต็มว่า หรือ เฮนรี่ ผู่อี๋ (พระนามอังกฤษที่เรจินัล จอนสตันถวายให้) เป็นจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ชาวแมนจูแห่งราชวงศ์ชิง และเป็นจักรพรรดิองค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์ชิง (นับเริ่มแต่จักรพรรดิซุ่นจื้อ) และเป็นองค์สุดท้าย (末代皇帝) ของประเทศจีนมีพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง จากปี..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิผู่อี๋ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิถงจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 5 พรรษา ถึงแม้ว่าพระองค์จะครองราชย์ได้เพียง 12 ปี พระองค์ก็จัดได้ว่าเป็นจักรพรรดิที่พยายามจะบริหารประเทศให้ดีองค์หนึ่ง แต่ก็ถูกซูสีไทเฮายึดอำนาจไว้ ทำให้พระองค์ไม่สามารถใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เพราะพระนาง ซูสีไทเฮาเห็นว่า พระองค์นั้นไร้ซึ่งความสามารถวันๆก็เอาแต่แอบหนีออกไปเที่ยวนอกวัง.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิถงจื้อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคังซี

ักรพรรดิคังซี (Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซัวเค่อซ่าฮ่า เอ่อปี๋หลง เมื่อพระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้ ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิคังซี · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิซุ่นจื้อ

มเด็จพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ชิง แต่ในบางครั้งจะนับพระองค์เป็น ปฐมจักรพรรดิ ของราชวงศ์ชิง ด้วยทรงเป็นจักรพรรดิแมนจูพระองค์แรกที่ได้ประทับในพระราชวังต้องห้ามที่กรุงปักกิ่ง และราชวงศ์หมิงถึงกาลสิ้นสุดอย่างแท้จริง มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ ทรงขึ้นครองราชย์เพียงพระชนมพรรษา 6 ขวบ ในปี พ.ศ. 2186 (ค.ศ. 1643) หลังการสวรรคตของจักรพรรดิหวงไถจี๋ พระราชบิดา และ เซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง พระองค์ต้องอยู่ใต้การสำเร็จราชการแผ่นดินของตั่วเอ่อกุ่น พระอนุชาต่างพระมารดาของพระราชบิดา ซึ่งตั่วเอ่อกุ่นนับว่าเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมาก อีกทั้งยังมีสิทธิ์ที่จะได้ขึ้นครองราชย์อีกด้วย ตั่วเอ่อกุ่นได้กระทำการหลายอย่างที่จะไม่ให้พระองค์เจริญชันษามาด้วยความปรีชาสามารถ เช่น ไม่สนับสนุนให้ทรงเล่าเรียน เป็นต้น แต่ทว่า อำนาจของตั่วเอ่อกุ่นก็ถูกคานจาก พระนางเสี้ยวจวงไทเฮา (孝庄太后)พระมารดา กระทั่งปี..1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระมเหสีต่งเอ้อ พระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระมเหสีต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระมเหสีต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระมเหสีต่งเอ้อตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเสี้ยวเซี่ยนตวนจิ้งฮองเฮา จักรพรรดิซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) และต่อมาพระโอรสลำดับที่ 3 ของพระองค์ ที่ประสูติแต่ พระมเหสีคัง คือ องค์ชายเสวียนเยว่ (玄燁) พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อในนาม จักรพรรดิคังซี ซึ่งต่อมาทรงเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง และพระนางเสี้ยวจวงก็เป็นผู้อุปการะพระองค์มาโดยตลอด และได้เลื่อนพระอิสริยยศเป็นไท่หวงไท.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิซุ่นจื้อ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเจียชิ่ง

มเด็จพระจักรพรรดิเจียชิ่ง (จักรพรรดิชิงเหรินจง) (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2303 – 2 กันยายน พ.ศ. 2363) เป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เดิมมีพระนามว่า หย่งเยี๋ยน (顒琰) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) เมื่อพระชนมายุได้ 37 พรรษา ภายหลังการสละราชสมบัติของจักรพรรดิเฉียนหลง พระราชบิดา แต่อำนาจในการปกครองแผ่นดินแท้จริงยังอยู่ในจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อจนถึงปีที่ 3 ที่ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงได้สวรรคต และพระองค์จึงได้อำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เมื่อทรงได้อำนาจเต็มแล้ว ทรงได้กำจัดเหอเซิน ที่เป็นขุนนางกังฉิน โกงกินชาติ ซึ่งเป็นคนสนิทของจักรพรรดิเฉียนหลง ทรงรวบรวมขุนนางและบรรดาผู้ที่จงรักภักดีเพื่อกำจัดเหอเซิน โดยบุคคลสำคัญผู้หนึ่งที่มีบทบาทในการครั้งนี้คือ อ๋องเฉิน ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระองค์และเป็นพระโอรสลำดับที่ 11 ของจักรพรรดิเฉียนหลง เมื่อได้ยึดทรัพย์เหอเซินแล้ว พบว่าเงินจำนวนที่เหอเซินยักยอกไว้นั้นมีมูลค่าเท่ากับรายได้ประเทศชาติถึง 10 ปี แต่เมื่อจับกุมเหอเซินได้แล้วกลับลังเลพระทัยที่จะประหารชีวิต เนื่องจากทรงเคยรับคำพระราชบิดา จักรพรรดิเฉียนหลงเอาไว้ว่าจะไว้ชีวิตเหอเซิน เมื่อพระองค์สวรรคต แต่ได้ถูกอ๋องเฉินและบรรดาขุนนางทูลทัดทาน จึงได้ตัดสินพระทัยบังคับให้เหอเซินผูกคอตาย ตลอดรัชสมัย ทรงพบกับการก่อกบฏและเรื่องทางความมั่นคงมากมาย เช่น กบฏพรรคบัวขาว, กบฏโจรสลัดไต้หวัน กบฏพรรคเที่ยงธรรม เป็นต้น ซึ่งกบฏเหล่านี้ส่วนใหญ่ เป็นกบฏชาวฮั่นที่รวบรวมคนไว้เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงกอบกู้ราชวงศ์หมิงนั่นเอง มีพระโอรส 3 พระองค์ พระโอรสองค์โตเกิดจากพระอัครมเหสีฮีตียา ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีที่ทรงรักยิ่ง แต่พระนางสิ้นพระชนม์ไปก่อนเมื่ออายุยังน้อย และพระโอรสอีก 2 พระองค์ ที่เกิดจากพระมเหสีหนิวฮูลู่ พระอัครมเหสีองค์ใหม่ที่ทรงแต่งตั้งขึ้นมาจากการเป็นพระมเหสี ซึ่งพระองค์ไม่เคยโปรดพระนางเลย แต่ต้องทรงสถาปนาเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ด้วยต้องการให้เหล่าขุนนางและประชาราษฎร์เห็นถึงพระทัยเมตตาของพระองค์ เหตุที่ไม่โปรดพระมเหสีหนิวฮูลู่ นี้ เพราะพระนางเป็นบุตรสาวของขุนนางที่เคยเป็นพรรคพวกเหอเซินมาก่อน จึงไม่ไว้วางพระทัย ในรัชสมัยของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ปรากฏกรณีที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติมาตลอด เช่น เกิดกบฏต่างๆ การที่เวียดนามขอแยกออกไปเป็นประเทศเอกราช เป็นต้น ซึ่งพระองค์ทรงใช้ทั้งนโยบายที่ผ่อนปรนและแข็งกร้าวสลับกันไป เช่น การห้ามชาวแมนจูแต่งงานกับชาวฮั่นเด็ดขาด หรือ การห้ามชาวคริสต์เผยแพร่ศาสนาเด็ดขาด รวมทั้งการห้ามราษฎรสูบฝิ่นด้วย เป็นต้น ซึ่งสิ่งทั้งหมดเหล่านี้จะส่งผลต่อความมั่นคงตามมาในภายหลัง ในปลายรัชสมัย มีพระพลานามัยอ่อนแอ ด้วยทรงสูงพระชันษาประกอบกับการกลัดกลุ้มพระทัยอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับราชภารกิจ สวรรคตในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) พระชนมายุ 61 พรรษา รวมระยะเวลาที่ได้ทรงครองราชย์ 24 ปี และผู้ที่ครองราชย์สืบต่อมาคือ องค์ชายเหมี่ยนหนิง ภายหลังขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิเจียชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเฉียนหลง

มเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่าหงลี่ (ภาษาจีน: 弘曆) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิยงเจิ้ง และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้เป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" ส่วนเรื่องคำกล่าวที่ว่าสมเด็จพระพันปีหลวงซึ่งเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไม่โปรดพระมเหสีหรง ถึงขั้นสั่งประหาร ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน เพราะสมเด็จพระพันปีหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัยไปก่อนพระมเหสีหรงเฟยถึง11ปี ฉะนั้น สมเด็จพระพันปีหลวงจึงมาสั่งประหารไม่ได้แน่นอน จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่พระชายาหยู (愉貴妃) เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้เป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังก์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝) ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ ดังที่ปรากฏในเรื่อง จอมใจจอมยุทธ์และ เรื่องราวในรัชสมัยพระองค์ยังถูกนำมาแสดงเป็นภาพยนตร์เรื่อง องค์หญิงกำมะลอ ซึ่งเป็นเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งดัดแปลงมาจากพระธิดาบุญธรรมขององค์จักรพรรดิมาเป็นองค์หญิงหวนจู.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและจักรพรรดิเฉียนหลง · ดูเพิ่มเติม »

ที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจ

ที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจ (Deliberative Council of Princes and Ministers, Council of Princes and High Officials, หรือ Assembly of Princes and High Officials) เรียกโดยย่อว่า ที่หารือราชกิจ (Deliberative Council) เป็นคณะที่ปรึกษาของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิจีนช่วงต้นราชวงศ์ชิง เกิดจากคณะบุคคลที่ประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งหนูเอ่อร์ฮาชื่อ (努爾哈赤; ค.ศ. 1559–1626) ปฐมจักรพรรดิราชวงศ์ชิง ทรงจัดตั้งขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1610–20 แล้วหฺวัง ไถจี๋ (黃台吉; ค.ศ. 1592–1643) จักรพรรดิพระองค์ถัดมา ทรงจัดตั้งอย่างเป็นทางการใน..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและที่ประชุมอำมาตย์ราชวงศ์หารือราชกิจ · ดูเพิ่มเติม »

คณะองคมนตรี

ณะองคมนตรี (privy council) คือ กลุ่มบุคคลที่ให้คำปรึกษาแก่ประมุขแห่งรัฐ โดยทั่วไปในประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตย ในภาษาอังกฤษ คำว่า "privy" หมายถึง "ส่วนตัว" หรือ "ลับ" ดังนั้นแรกเริ่มเดิมที privy council คือคณะที่ปรึกษาที่ใกล้ชิดที่สุดของกษัตริย์ที่ให้คำปรึกษาที่รักษาเป็นความลับในเรื่องกิจการรัฐ ประเทศที่มีสภาองคมนตรีหรือองค์กรเทียบเท่าในปัจจุบัน เช่น สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ, ประเทศแคนาดา, ราชอาณาจักรเดนมาร์ก, ราชอาณาจักรตองกา และ ราชอาณาจักรไท.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและคณะองคมนตรี · ดูเพิ่มเติม »

ฉุนชินหวัง

ฉุนชินหวัง เป็นพระอิสริยยศของอ๋องชั้นเอก ซึ่งจักรพรรดิเสียนเฟิงทรงสถาปนาขึ้นในปี..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและฉุนชินหวัง · ดูเพิ่มเติม »

ซูสีไทเฮา

ฉือสี่ไท่โฮ่ว ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ซูสีไทเฮา ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1835 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908) เป็นสตรีชาวแมนจูจากตระกูลเย่เฮ่อน่าลา (葉赫那拉氏) ดำรงตำแหน่งไท่โฮ่ว (พระราชชนนีพันปีหลวง) และสำเร็จราชการแทนจักรพรรดิจีนหลายพระองค์ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง พระนางจึงควบคุมการปกครองจักรวรรดิจีนโดยพฤตินัยเป็นเวลา 47 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและซูสีไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ซูอันไทเฮา

ักรพรรดินีเซี่ยวเจินเสี่ยน หรือ จักรพรรดินีฉืออัน พระพันปีหลวง หรือที่รู้จักกันในไทยว่า "พระพันปีหลวงฉืออัน" หรือ "ฉืออันไท่โฮ่ว" หรือตามสำเนียงฮกเกี้ยนว่า "ซูอันไทเฮา" (ประสูติ: 12 สิงหาคม 1837; ทิวงคต: 8 เมษายน 1881) เป็นราชนิกุลชาวแมนจูในประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งมีบทบาทคู่กับ "พระนางซูสีไทเฮา" และเชื่อกันว่าทรงถูกพระพันปีหลวงฉือสี่ทรงปลงพระชนม์เพราะความขัดแย้งระหว่างทั้งสองพระองค์ด้ว.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและซูอันไทเฮา · ดูเพิ่มเติม »

ซู่ชุ่น

ซู่ชุ่น (Manchu: Uksun Šušun); (26 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1816– 1861) เกิดในตระกูลของชาวแมนจู อ้ายซินเจว๋หลัว เป็นบุตรคนที่หกของ Ulgungga (烏爾恭阿) หรือ the Prince Zheng แม้ว่าซู่ชุ่นจะเกิดในครอบครัวชนชั้นสูง แต่ด้วยขนาดของครอบครัวทำให้ในช่วงวัยเด็กของเขาได้รับความสนใจและความคาดหวังจากครอบครัวน้อย อีกทั้งไม่มีความสามารถพิเศษทั้งทางด้านวรรณคดีและศิลปะการต่อสู้ ซู่ชุ่นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายพล (General) ในช่วงปลายรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง ภายหลังจากการเสียชีวิตของ Wenqing หนึ่งในที่ปรึกษาใกล้ชิดของจักรพรรดิเสียนเฟิง (Xianfeng emperor) จักรพรรดิพระองค์ที่ 9 (นับจากจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ) แห่งราชวงศ์ชิง เป็นราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง ซู่ชุ่นถูกเรียกรับใช้ในฐานะที่ปรึกษาขององค์จักรพรรดิบ่อยครั้งในเรื่องนโยบายการปกครองที่สำคัญ ตำแหน่งแรกในราชสำนักของเขาคือทหารรักษาพระองค์ และต่อมาได้รับการยอมรับและเลื่อนขั้นได้เป็นข้าราชสำนักระดับสูงของราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา ในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 (Second Opium War) เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำด้านนโยบายต่างประเทศ และเป็นผู้ปฏิเสธการเข้าร่วมสนธิสัญญาของต่างประเทศหลายฉบับในสมัยนั้น (ปลายทศวรรษ 1850) ซึ่งรวมถึงสนธิสัญญาชิโน-รัสเซียนอ้ายหุน (อังกฤษ: the Sino-Russian Treaty of Aigun; Russian: Айгунский Договор; จีนตัวย่อ: 瑷珲条约; จีนตัวเต็ม: 璦琿條約; พินอิน: Àihún Tiáoyuē) หลังการสิ้นพระชมน์ของสมเด็ขพระจักรพรรดิเสียนเฟิงในปี..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและซู่ชุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ไจ้เฟิง

ฉุนชินหวัง ซึ่งมีพระนามเดิมว่าไจ้เฟิง (12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1883 – 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1951) เป็นพระโอรสพระองค์ที่ 5 ของเจ้าชายอี้เซฺวียนกับพระชายาหลิว พระองค์เป็นพระอนุชาต่างพระชนนีของจักรพรรดิกวังซวี่และเป็นพระบิดาของจักรพรรดิผู่อี๋.

ใหม่!!: กรมความลับทหารและไจ้เฟิง · ดูเพิ่มเติม »

เวิง ถงเหอ

วิง ถงเหอ (1830–1904) สมัญญาว่า ชู ผิง (叔平) เป็นบัณฑิตขงจื้อและยังเป็นราชครูในสมัยราชวงศ์ชิง เขาได้เป็นจอหงวนในการสอบขุนนางเมื่อปี..

ใหม่!!: กรมความลับทหารและเวิง ถงเหอ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Grand Council (Qing dynasty)สภากลาโหม (ราชวงศ์ชิง)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »