โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดไขมัน

ดัชนี กรดไขมัน

กรดบูไตริก, ห่วงโซ่กรดไขมันสั้น กรดไขมัน (Fatty acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาวมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (saturated) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated) กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิมโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล (oleochemical).

25 ความสัมพันธ์: ชีวสังเคราะห์ชีวเคมีพันธะโคเวเลนต์กรดลิกโนซีริกกรดอะราคิดิกกรดคาร์บอกซิลิกกรดโอเลอิกกรดไขมันอิ่มตัวกรดไขมันจำเป็นกรดไขมันโอเมกา-3กรดเบฮินิกมันหมูวิตามินอีสารประกอบแอลิแฟติกคอเลสเตอรอลคาร์บอนน้ำมันพืชน้ำมันมะกอกน้ำมันดอกทานตะวันน้ำมันปาล์มน้ำมันเมล็ดฝ้ายไขมันไตรกลีเซอไรด์เอสเทอร์เนย

ชีวสังเคราะห์

ีวสังเคราะห์ (Biosynthesis) เป็นการผลิตสารประกอบเคมีจากรีเอเจนต์ (reagent) ชีวสังเคราะห์ ไม่เหมือนการสังเคราะห์ทางเคมี (chemical synthesis) เพราะเกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตและถูกเร่งปฏิกิริยาโดยเอ็นไซม์ และมันเป็นส่วนสำคัญของเมแทบอลิซึม.

ใหม่!!: กรดไขมันและชีวสังเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีวเคมี

ชีวเคมี (biochemistry) หรือเรียกว่า เคมีเป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นวิชาที่ศึกษากระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมแทบอลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุกๆ ด้าน หมวดหมู่:เทคโนโลยีชีวภาพ หมวดหมู่:เคมี หมวดหมู่:ชีวเคมี.

ใหม่!!: กรดไขมันและชีวเคมี · ดูเพิ่มเติม »

พันธะโคเวเลนต์

ในโมเลกุลของฟลูออรีน อะตอมของธาตุฟลูออรีนสองอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์กัน พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอ ๆ กับพันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโคเวเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโคเวเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น(cr.ดร.วัชราฃรณ์ ลาบา).

ใหม่!!: กรดไขมันและพันธะโคเวเลนต์ · ดูเพิ่มเติม »

กรดลิกโนซีริก

กรดลิกโนซีริก (Lignoceric acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีสูตร C23H47COOH ถูกพบในน้ำมันดินไม้,เซอรีโบไซด์ต่างๆ และในปริมาณน้อยในไขมันธรรมชาติมากที่สุด กรดไขมันของน้ำมันถั่วลิสง มีปริมาณเล็ก ๆ ของกรดลิกโนซีริก (1.1% – 2.2%).

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดลิกโนซีริก · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะราคิดิก

กรดอะราคิดิก (Arachidic acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีห่วงโซ่ 20 คาร์บอน เป็นส่วนประกอบย่อยของน้ำมันถั่วลิงสง (1.1%–1.7%) และน้ำมันข้าวโพด (3%).

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดอะราคิดิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดคาร์บอกซิลิก

รงสร้างของกรดคาร์โบซิลิก โครงสร้าง 3 มิติของกรดคาร์โบซิลิก กรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acids) คือ กรดอินทรีย์ (organic acids) ที่ประกอบไปด้วยหมู่ฟังก์ชัน คาร์บอกซิล (carboxyl group), ซึ่งมี สูตรเคมี คือ - (C.

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดคาร์บอกซิลิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดโอเลอิก

กรดโอเลอิก (oleic acid) เป็นกรดไขมันที่มีสูตรเคมีคือ C18H34O2 อยู่ในกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวโอเมกา-9 เป็นไขมันที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่ในเชิงพาณิชย์อาจมีสีเหลือง คำว่า "โอเลอิก" มาจากน้ำมันมะกอก (olive oil) ซึ่งมีปริมาณกรดโอเลอิกสูง นอกจากนี้ยังพบในน้ำมันพีแคน คาโนลา น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันแมคาเดเมียและน้ำมันดอกทานตะวัน นอกจากนี้ยังพบในไขมันไก่และมันหมู กรดโอเลอิกเป็นกรดไขมันที่พบมากที่สุดในเนื้อเยื่อไขมันของมนุษย์ และเป็นกรดไขมันที่พบมากที่สุดในเนื้อเยื่อทั่วร่างกายมนุษย์เป็นอันดับ 2 รองจากกรดปาล์มิติก ชีวสังเคราะห์ของกรดโอเลอิกในร่างกายเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาของเอนไซม์ Stearoyl-CoA 9-desaturase ในปฏิกิริยานี้กรดสเตียริกจะถูกกลายสภาพเป็นกรดโอเลอิก ในแมลงกรดโอเลอิกทำหน้าที่เป็นฟีโรโมนที่ปล่อยออกมาจากซากของแมลง เพื่อกระตุ้นให้แมลงตัวอื่นขนซากไปทิ้ง หากแมลงที่ยังมีชีวิตอยู่มีกลิ่นนี้ก็จะถูกขนออกจากรังเช่นกัน นอกจากนี้กรดโอเลอิกยังใช้เตือนแมลงตัวอื่นให้หลีกเลี่ยงแมลงที่ป่วยตายและเตือนภัยนักล่า กรดโอเลอิกพบในอาหารทั่วไป เกลือโซเดียมของกรดโอเลอิกเป็นส่วนผสมในสบู่ เป็นตัวทำอิมัลชันและสารให้ความชุ่มชื้น กรดโอเลอิกปริมาณน้อยใช้เป็นสารเพิ่มปริมาณในการทำยาและใช้เป็นตัวทำอิมัลชันและตัวช่วยละลายในผลิตภัณฑ์แอโรซอล.

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดโอเลอิก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมันอิ่มตัว

รงสร้างของกรดไมริสติก กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือ ไขมันที่เป็นไขมันเต็มตัว คือ ธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนจับกันเป็นลูกโซ่โดย สมบูรณ์ และไม่มีช่องว่างเหลือที่จะทำปฏิกิริยากับสารใด ๆ ในร่างกาย พบมากในพวกไขมันสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และไขมันจากกะทิ มะพร้าว เนย และไข่แดง กรดไขมันส่วนมากมีจำนวน C อะตอม C12 - C18 ชนิดที่มีจำนวน C อะตอมน้อยกว่า 12 ได้แก่ กรดบิวทาโนอิก C3H7COOH ที่พบในเนย กรดไขมันไม่ละลายน้ำ กรดไขมันจะมีจุดเดือดและจุด หลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนอะตอมที่เพิ่มขึ้น และกรดไขมันอิ่มตัวมีจุดเดือดสูงกว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน ถ้าเป็นกรดไขมันอิ่มตัวมาก จะเป็นไขมัน เช่น กรดลอริก (C12) กรดไมริสติก (C14) กรดปาล์มิติก (C16) กรดสเตียริก (C18) กรดไขมันอิ่มตัว คือกรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่ (double bond) หรือ หมู่ฟังก์ชัน (functional group) อื่นๆ ตามสายโซ่เลย คำว่าอิ่มตัวหมายถึง ไฮโดรเจนในที่ซึ่งคาร์บอน (ที่เป็นส่วนของคาร์บอกซิลิก แอซิด-COOH กรุ๊ป) มีไฮโดรเจนเกาะอยู่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือที่ปลายโอเมก้าจะมี 3 ไฮโดรเจน (CH3-) และแต่ละคาร์บอนในสายโซ่จะมี 2 ไฮโดรเจน (-CH2-).

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดไขมันอิ่มตัว · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมันจำเป็น

กรดไขมันจำเป็น เป็นกรดไขมันที่มนุษย์และสัตว์อื่นจะต้องรับเข้าสู่ร่างกายเนื่องจากร่างกายต้องการกรดไขมันเหล่านี้เพื่อให้มีสุขภาพดี แต่ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ คำว่า "กรดไขมันจำเป็น" หมายความถึง กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับกระบวนการทางชีววิทยา และไม่ใช่กรดไขมันที่ให้พลังงานแก่ร่างกายเท่านั้น กรดไขมันจำเป็นในมุนษย์เท่าที่ทราบมีเพียงสองชนิดเท่านั้น: กรดอัลฟาไลโนเลนิก (กรดไขมันโอเมก้า 3) และกรดไลนาเลอิก (กรดไขมันโอเมก้า 6) ส่วนกรดไขมันอื่น ๆ นั้น "จำเป็นโดยมีเงื่อนไข" เท่านั้น รวมไปถึง กรดแกมมาไลโนเลนิก (กรดไขมันโอเมก้า 6), กรดลอริก (กรดไขมันอิ่มตัว) และกรดปาล์มมิโตลีอิค (กรดไขมันเดี่ยวอิ่มตัว) เมื่อกรดไขมันทั้งสองชนิดได้รับการค้นพบครั้งแรกใน..

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดไขมันจำเป็น · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมันโอเมกา-3

Chia เมล็ดที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 กรดไขมันโอเมกา-3 (ω-3 หรือ omega-3) ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันสำคัญในสมองและจอประสาทตา ดร.อลัน ไรอัน จาก มาร์เท็ค ไบโอไซน์ส (Martek Biosciences) จะนำเสนอผลของการบริโภคกรดไขมันโอเมกา-3 ในเด็กอายุ 4 ขวบ ที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายิ่งมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 ในเลือดมากเท่าใด เด็กก็จะทำแบบทดสอบด้านการรับรู้ได้ดีเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าควรมีการผสมกรดไขมันโอเมกา-3 ในอาหารสำหรับเด็ก กรดไขมันโอเมกา-3 พบได้ในไขมันปลา แต่ผู้เชี่ยวชาญมากมายแนะนำว่าสตรีและเด็กควรบริโภคไขมันปลาในปริมาณจำกัด กรดไขมันโอเมกา-3 เป็นกลุ่มของกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวสูง เป็นหนึ่งในกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ ซึ่งในสูตรโครงสร้างโมเลกุลจะมีพันธะคู่อยู่ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง สารสำคัญในตัวมันมี 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) กรดไขมันโอเมกา-3 มีบทบาทสำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาเรียนรู้ รวมทั้งเกี่ยวกับเรตินาในการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อโภชนาการและสุขภาพของคนเรา เช่น ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล และไตรเอธิลกลีเซอรอล (triethylglycerol) ในพลาสมา ควบคุมระดับไลโปโปรตีน (lipoprotien) และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและหน้าที่ของเกล็ดเลือด จึงมีแนวโน้มก่อให้เกิดผลดีในการลดอันตรายของโรคทางเดินหายใจ โรคไขมันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคซึมเศร้า โอเมกา-3 พบมากในปลาทะเล และ ปลาน้ำจืดบางชน.

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดไขมันโอเมกา-3 · ดูเพิ่มเติม »

กรดเบฮินิก

กรดเบฮินิก (behenic acid) หรือ กรดโดโคซาโนอิก (docosanoic acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิกและกรดไขมันอิ่มตัว มีสูตรเคมีคือ C21H43COOH เป็นผลึกหรือผงสีขาวถึงเหลือง ละลายในเฮกเซนและคลอโรฟอร์ม พบมากในน้ำมันมะรุม (Moringa oleifera) นอกจากนี้ยังพบในน้ำมันผักกาดก้านขาว, น้ำมันและผิวของถั่วลิสง โดยผิวถั่วลิสง 1 ตัน มีกรดเบฮินิกอยู่ 13 ปอนด์ (5.9 กก.).

ใหม่!!: กรดไขมันและกรดเบฮินิก · ดูเพิ่มเติม »

มันหมู

มันหมู คือ ไขมันของหมูทั้งในรูปแบบที่เจียวแล้วและยังมิได้เจียว เดิมใช้เป็นหรือใช้แทนมันสำหรับประกอบอาหารโดยทั่วไปทั้งยังใช้เป็นเครื่องทาทำนองเดียวกับเนยด้วย แต่ปัจจุบันได้รับการใช้งานลดลง กระนั้น พ่อครัวและช่างทำขนมร่วมสมัยหลายแขนงยังนิยมใช้มันหมูยิ่งกว่าไขมันชนิดอื่น คุณภาพของมันหมูในการประกอบอาหารนั้นขึ้นอยู่กับว่ามันนั้นได้มาจากส่วนใดของหมูและได้รับการแปรรูปมาอย่างไร.

ใหม่!!: กรดไขมันและมันหมู · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินอี

วิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้.

ใหม่!!: กรดไขมันและวิตามินอี · ดูเพิ่มเติม »

สารประกอบแอลิแฟติก

รประกอบแอลิแฟติก (Aliphatic Compound IPA:; G. aleiphar, fat, oil) คือสารประกอบในศาสตร์เคมีอินทรีย์ที่ประกอบด้วยคาร์บอนและไฮโดรเจน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) ประเภทที่ไม่มีวงอโรมาติก สารประกอบแอลิแฟติกสามารถประกอบด้วยวง (cyclic) ดั่งไซโคลเฮกเซนหรืออไซคลิก สารประกอบอาจอยู่ในรูปอิ่มตัว เช่น เฮกเซนหรือไม่อิ่มตัว เช่น เฮกซีน ก็ได้ ในสารประกอบแอลิแฟติก อะตอมของคาร์บอนจะสร้างพันธะแก่กันอาจอยู่ในแบบโซ่ตรง (straight chains), โซ่กิ่ง (branched chains), หรือไม่เป็นวงอโรมาติกก็ได้ (อลิไซคลิก) และอาจสร้างพันธะเดี่ยว (แอลเคน), พันธะคู่ (แอลคีน) หรือพันธะสาม (แอลไคน์) นอกเหนือจากไฮโดรเจนนั้น ยังมีอะตอมของธาตุอื่นๆสามารถสร้างพันธะกับคาร์บอนได้ โดยส่วนมากจะได้แก่อะตอมของออกซิเจน, ไนโตรเจน ซัลเฟอร์ และโคลรีน สารประกอบแอลิแฟติกอย่างง่ายที่สุดคือมีเทน (CH4) อลิฟาติยังรวมไปถึงสารจำพวกแอลเคน อาทิ พาราฟิน ไฮโดรคาร์บอน, แอลคีน อาทิ เอทิลีน และแอลไคน์ เช่น อะเซทิลีน กรดไขมัน ซึ่งจะประกอบด้วยแอลิแฟติกแบบไม่มีกิ่งต่อเข้ากับหมู่คาร์บอกซิล.

ใหม่!!: กรดไขมันและสารประกอบแอลิแฟติก · ดูเพิ่มเติม »

คอเลสเตอรอล

อเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นทั้งสารสเตอรอยด์ ลิพิด และแอลกอฮอล์ พบในเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื้อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือดของสัตว์ คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหารแต่จะถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย จะสะสมอยู่มากในเนื้อเยื้อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมาเช่น ตับ ไขสันหลัง สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma) คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย ในอดีต-ปัจจุบันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด (Hypercholesterolemia) แต่กลุ่มนักโภชนาการบำบัดบางกลุ่มอ้างว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และภาวะดังกล่าวนั้น เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ของเสียของน้ำตาล นั่นก็คือ CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ทำให้เกิดภาวะเป็นกรดในหลอดเลือด กัดเซาะผนังหลอดเลือดจนเสียหาย ร่างก่ายจึงต้องส่งคอเลสเตอรอลมาซ่อมแซมผนังหลอดเลือดที่เสียหาย ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารเบื้องต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นเป็นวิตามินดี เมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลจะพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ค่อนข้างสูง ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ.

ใหม่!!: กรดไขมันและคอเลสเตอรอล · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: กรดไขมันและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันพืช

น้ำมันพืช เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่สกัดจากพืช น้ำมันพืชเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมมนุษย์หลายสหัสวรรษ คำว่า "น้ำมันพืช" สามารถนิยามอย่างแคบหมายความถึงเฉพาะสสารที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง หรือนิยามอย่างกว้างโดยไม่คำนึงถึงสถานะของสสารที่อุณหภูมิที่กำหนด ด้วยเหตุนี้ น้ำมันพืชที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง บางครั้งจึงเรียกว่า "ไขมันพืช" น้ำมันพืชประกอบด้วยไตรกลีเซอไรด์ ตรงข้ามกับไขที่โครงสร้างไม่มีกลีเซอริน แม้หลายส่วนของพืชจะมีน้ำมันเก็บสะสมไว้ก็ตาม แต่ในเชิงพาณิชย์ จะสกัดน้ำมันพืชจากเมล็ดเป็นหลัก บนบรรจุภัณฑ์ของอาหาร คำว่า "น้ำมันพืช" มักใช้ในรายการส่วนประกอบของอาหารแทนการระบุชนิดของพืชที่ใช้ทำ.

ใหม่!!: กรดไขมันและน้ำมันพืช · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก (olive oil) เป็นไขมันที่ได้มาจากมะกอกออลิฟ พืชต้นไม้แบบดั้งเดิมของทะเลลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน น้ำมันที่ผลิตโดยการบดมะกอกทั้งหมดและการสกัดน้ำมันโดยใช้เครื่องกลหรือสารเคมี เป็นที่นิยมใช้ในการปรุงอาหาร, เครื่องสำอาง, ยา และสบู่ และเป็นเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันโคมไฟแบบดั้งเดิม น้ำมันมะกอกใช้อยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: กรดไขมันและน้ำมันมะกอก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันดอกทานตะวัน

น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นน้ำมันไม่ระเหยที่สกัดจากเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวันเป็นที่นิยมใช้ในอาหารอย่างน้ำมันทอด และในสูตรเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวนวล น้ำมันดอกทานตะวันมีการผลิตเชิงอุตสาหกรรมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1835 ในจักรวรรดิรัสเซีย แหล่งผลิตน้ำมันทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ คือประเทศยูเครนและประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: กรดไขมันและน้ำมันดอกทานตะวัน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันปาล์ม

น้ำมันปาล์ม (Palm oil) สกัดจาก ปาล์มน้ำมันดิบ เป็นพืชน้ำมันที่ให้ปริมาณน้ำมันสูงถึง 0.6 - 0.8 ตัน/ไร่/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูง ไม่ทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง น้ำมันปาล์มมีราคาต่ำกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น นอกจากนี้ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลอดจากสารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) น้ำมันปาล์มผลิตได้เองในประเทศการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและรายได้โดยรวมของประเท.

ใหม่!!: กรดไขมันและน้ำมันปาล์ม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำมันเมล็ดฝ้าย

น้ำมันเมล็ดฝ้าย (Linseed oil หรือ flax seed oil) เป็นน้ำมันใสไปจนออกสีเหลืองที่ทำจากเมล็ดฝ้าย (flax) (Linum usitatissimum, Linaceae) โดยการบีบหรือการกลั่น (solvent extraction) น้ำมันเมล็ดฝ้ายสามารถมีปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการคายความร้อน (exothermic reaction) และเศษผ้าที่จุ่มให้เปียกสามารถทำให้เกิดการเผาไหม้เกิดเอง.(spontaneous combustion) เพราะคุณสมบัติที่คล้ายพอลิเมอร์ น้ำมันเมล็ดฝ้ายจึงใช้ด้วยตัวเองหรือผสมกับน้ำมันชนิดอื่น, resins และ ตัวทำละลายที่ใช้ในการเคลือบเงาไม้, หรือใช้เป็นตัวผสานรงควัตถุในสีน้ำมัน, หรือตัวที่สร้างความยืดหยุ่น (plasticizer) หรือทำให้แข็งตัวในพัตติ (putty) และในการผลิตพรมน้ำมัน.

ใหม่!!: กรดไขมันและน้ำมันเมล็ดฝ้าย · ดูเพิ่มเติม »

ไขมัน

มัน หมายถึง สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ไขมันในทางเคมี คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไตรเอสเทอร์ของกลีเซอรอลกับกรดไขมัน สถานะของไขมันที่อุณหภูมิห้องมีทั้งของแข็งและของเหลว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและองค์ประกอบของไขมันนั้น แม้คำว่า "น้ำมัน", "ไขมัน" และ "ลิพิด" ล้วนถูกใช้หมายถึงไขมัน แต่โดยทั่วไป "น้ำมัน" ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง "ไขมัน" หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง "ลิพิด" หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็ง ตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ไขมันเป็นลิพิดชนิดหนึ่ง ซึ่งแยกแยะได้จากโครงสร้างทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพ โมเลกุลไขมันสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตหลายชนิด โดยทำหน้าที่ทั้งเชิงโครงสร้างและเมแทบอลิซึม ไขมันเป็นส่วนสำคัญในอาหารของเฮเทอโรโทรปส่วนมาก (รวมทั้งมนุษย์) ในร่างกาย ไขมันหรือลิพิดถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อ ไลเปส ซึ่งสร้างจากตับอ่อน ตัวอย่างไขมันสัตว์ที่กินได้ เช่น มันหมู น้ำมันปลา เนยเหลว และชั้นไขมันวาฬ ไขมันเหล่านี้ได้มาจากนมและเนื้อ ตลอดจนจากใต้หนังของสัตว์ ตัวอย่างไขมันพืชที่กินได้ เช่น น้ำมันถั่วลิสง เต้าเจี้ยว น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และเนยโกโก้ สำหรับเนยขาวซึ่งถูกใช้ในการอบขนมปังและเนยเทียมเป็นหลัก หรือใช้ทาขนมปัง สามารถดัดแปลงจากไขมันข้างต้นได้โดยปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน ไขมันจำแนกได้เป็นไขมันอิ่มตัวกับไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวยังสามารถจำแนกต่อได้อีกเป็นไขมันซิส ซึ่งพบทั่วไปในธรรมชาติ และไขมันทรานส์ ซึ่งพบได้ยากในธรรมชาติ แต่พบในน้ำมันพืชที่ได้ทำไฮโดรจิเนชันไปแล้วบางส่วน.

ใหม่!!: กรดไขมันและไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

ไตรกลีเซอไรด์

ตัวอย่างไตรกลีเซอไรด์ ซ้าย: กลีเซอรอล, ขวาจากบนลงล่าง: กรดพาล์มมิติก, กรดโอเลอิก, กรดลิโนเลนิก, สูตรเคมี: C55H98O6 ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) หรือไตรเอซิลกลีเซอรอล (Triacylglycerol) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันสามโมเลกุลรวมตัวกับกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุล กรดไขมันที่มาประกอบเป็นไตรกลีเซอไรด์นั้นอาจจะเป็นกรดไขมันชนิดเดียวกัน เช่น ไตรสเตียริน มีกรดสเตียริกเป็นองค์ประกอบเท่านั้น หรือเป็นกรดไขมันคนละชนิด เช่น 1-พาล์มิโทสเตียริน (1-Palmitostearin) หมายถึงไตรกลีเซอไรด์ที่กรดไขมันตัวแรกเป็นกรดพาล์มมิติก ส่วนกรดไขมันตัวที่ 2 และ 3 เป็นกรดสเตียริก เป็นพลังงานสะสมในสัตว์ และใช้สะสมใต้ผิวหนังเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกาย โดยสะสมในเซลล์ไขมัน (Adipocyte หรือ Fat cell) ในรูปเม็ดไขมัน หรืออยู่ในรูปไมเซลล์ (Micelle) ปัญหาและอันตรายจากโรคไตรกลีเซอไรด์สูงในเลือดทำให้ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นอัมพาต หรือ ทำให้เกิดอาการร่วมคือ ปวดท้อง ตับโต ม้ามโต และทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ปวดข้อ แหล่งอาหารที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ได้แก่ อาหารทุกชนิดที่มีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันสัตว์ น้ำตาล อาหารรสหวานจัด ขนมหวานทุกชนิด เนื่องจากร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นไตรกลีเซอไรด์ คนอายุ 30 ปีขึ้นไปไม่ควรมีค่า triglyceride เกิน 200 mg/dl.

ใหม่!!: กรดไขมันและไตรกลีเซอไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอสเทอร์

อสเทอร์กรดคาร์บอกซิลิก R และ R' แสดงถึงหมู่แอลคิลหรือแอริล เอสเทอร์กรดฟอสฟอริก เอสเทอร์ เป็นสารประกอบทางเคมีที่เกิดจากออกโซแอซิด (หนึ่งในหมู่ oxo, X.

ใหม่!!: กรดไขมันและเอสเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนย

นย เนย (Butter) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม แบ่งเป็น เนยเหลว และเนยแข็ง.

ใหม่!!: กรดไขมันและเนย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fatty acid

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »