โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดโฟลิก

ดัชนี กรดโฟลิก

ฟเลต หรืออีกรูปแบบหนึ่งที่รู้จักคือ กรดโฟลิก และ วิตามินบี9 (folate, folic acid, vitamin B9) เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง มีปริมาณที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 400 ไมโครกรัม และมักใช้เป็นอาหารเสริมในช่วงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารก (ซึ่งรวมการไม่มีสมองใหญ่ สมองโป่ง กระดูกสันหลังโหว่) --> และยังใช้รักษาภาวะเลือดจางจากการขาดกรดโฟลิก กว่า 50 ประเทศเสริมกรดโฟลิกในอาหารเพื่อเป็นมาตรการลดอัตรา NTDs ในประชากร การเสริมกรดโฟลิกในอาหารเป็นประจำสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจเล็กน้อย เป็นวิตามินที่สามารถใช้ทานหรือฉีดก็ได้ ยาไม่มีผลข้างเคียงที่สามัญ ยังไม่ชัดเจนว่าการทานในขนาดสูงเป็นระยะเวลายาวนานมีปัญหาหรือไม่ แต่การใช้ขนาดสูงสามารถอำพรางการขาดวิตามินบี12ได้ --> โฟเลตเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อผลิต DNA RNA และกระบวนการสร้างและย่อยสลายกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถสร้างกรดโฟลิก ดังนั้นจำต้องได้จากอาหาร การไม่ได้โฟเลตเพียงพอก็จะทำให้เกิดภาวะขาดโฟเลต --> ซึ่งอาจมีผลเป็นภาวะเลือดจางที่มีเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (megaloblastic) เป็นจำนวนน้อย --> อาการอาจรวมความล้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่ทัน แผลบนลิ้นไม่หาย สีผิวหรือผมเปลี่ยน --> การขาดในช่วงตั้งครรภ์เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นเหตุของภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (NTDs) ในทารกเกินครึ่ง การขาดในเด็กอาจเกิดภายในเดือนเดียวที่ทานอาหารไม่ดี ในผู้ใหญ่ระดับโฟเลตทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่ระหว่าง 10,000-30,000 ไมโครกรัม (µg) โดยมีระดับในเลือดเกิน 7 nmol/L (3 ng/mL) กรดนี้ค้นพบในระหว่างปี..

120 ความสัมพันธ์: บาท (สกุลเงิน)บีตรูตพาสตากรัมกรดอะมิโนกรดนิวคลีอิกกลูตาเมตการสร้างสเปิร์มการสร้างเม็ดเลือดแดงการถ่ายแบบดีเอ็นเอการทบทวนวรรณกรรมการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการขาดวิตามินบี12การขาดโฟเลตการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์การตั้งครรภ์การแบ่งเซลล์การเร่งปฏิกิริยาภาวะพหุสัณฐาน (ชีววิทยา)ภาษาละตินภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยแมคกิลล์มหาวิทยาลัยโทรอนโตมะเร็งมะเร็งต่อมลูกหมากมาลาเรียยีสต์รอยโรครังสีอัลตราไวโอเลตรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบวิตามินวิตามินบี12วิตามินบี6วงศ์หน่อไม้ฝรั่งสมองสมองใหญ่สหภาพยุโรปสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศสหราชอาณาจักรสหสัมพันธ์สารสื่อประสาทสารอาหารสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)สถานะออกซิเดชันหลอดประสาทไม่ปิดหนูหน่วยรับความรู้สึกอะตอมอาร์เอ็นเออาโวคาโด...อีพีเจเนติกส์องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติองค์การอาหารและยาองค์การอนามัยโลกผลิตภัณฑ์นมผลไม้ผักผักโขมธัญพืชถั่วทวีปยุโรปทวีปอเมริกาเหนือขนมปังข้าวข้าวสาลีข้าวโพดดอลลาร์สหรัฐดัชนีมวลกายดีเอ็นเอความชุกของโรคความร้อนความล้าคาร์บอนตับตัวถูกเปลี่ยนซัลโฟนาไมด์ประชากรประชานประเทศกำลังพัฒนาประเทศออสเตรเลียประเทศอินเดียประเทศแอนติกาและบาร์บูดาประเทศแคนาดานมนิวโรบลาสโตมานิวเคลียสนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟตน้ำผลไม้แป้งโมเลกุลโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจโรคหืดโรคอ้วนโรคจิตเภทโรคซึมเศร้าโลหิตจางโดพามีนโครมาตินโปรตอนไกลซีนไก่ไอออนไฮไดรด์ไข่ไตไซโทพลาซึมไนอาซินเบาหวานเบียร์เมแทบอลิซึมเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงเหล็กเอนไซม์เคมีเซโรโทนินเนื้อเนื้องอกSelective serotonin re-uptake inhibitors ขยายดัชนี (70 มากกว่า) »

บาท (สกุลเงิน)

งินบาท (ตัวละติน: Baht; สัญลักษณ์: ฿; รหัสสากลตาม ISO 4217: THB) เป็นสกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า "บาท" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ในความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะในการซื้อขายทองคำ เช่น "ทองคำวันนี้ราคาขายบาทละ 15,000 บาท" หมายถึงทองคำหนักหนึ่งบาทสามารถขายได้ 15,000 บาท ในสมัยที่เริ่มใช้เหรียญครั้งแรก เงินเหรียญหนึ่งบาทนั้นเป็นเงินที่มีน้ำหนักหนึ่งบาทจริง ๆ ไม่ได้ทำด้วยทองแดงนิกเกิลเช่นในปัจจุบัน เหรียญไทยนั้นผลิตออกมาโดยสำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง โดยสามารถผลิตออกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาค้ำประกัน เพราะโลหะที่ใช้ผลิตเหรียญกปาษณ์นั้นมีค่าในตัวเองอยู่แล้ว ส่วนธนบัตรนั้นผลิตและควบคุมการหมุนเวียนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การผลิตธนบัตรนำออกใช้จะมีหลักเกณฑ์วิธีที่เหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจของชาติมีเสถียรภาพ ตามข้อมูลของสมาคมโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก (SWIFT) สกุลเงินบาทได้รับการอันดับเป็นสกุลเงินอันดับที่ 10 ของโลกที่ใช้ในการชำระเงินระหว่างประเทศ (most frequently used currencies in World Payments).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและบาท (สกุลเงิน) · ดูเพิ่มเติม »

บีตรูต

ีตรูต หรือชื่ออื่นเช่น ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง เป็นหัวพืชหรือรากที่สะสมอาหารที่อยู่ใต้ดิน เป็นพืชเมืองหนาวและเป็นผักเพื่อสุขภาพ มีวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระหลายชน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและบีตรูต · ดูเพิ่มเติม »

พาสตา

ตา (pasta) คือชื่อเรียกโดยรวมของอาหารอิตาลีประกอบด้วยเส้นที่ทำจากแป้งสาลี น้ำ ไข่ เกลือ และ น้ำมันมะกอก จากนั้นจึงนำมารีดเป็นแผ่นและตัดเป็นเส้น ทำให้สุกโดยการต้ม รับประทานกับซอสหลากหลายประเภท ที่มักมีส่วนประกอบหลักคือ น้ำมันมะกอก ผัก เครื่องเทศ และเนยแข็ง เส้นพาสตาเป็นชื่อเรียกโดยรวมของเส้นหลากหลายประเภท ในสมัยก่อนพาสตานั้นเป็นอาหารที่ชาวอิตาลีทางตอนใต้นิยมรับประทาน ซึ่งนับว่ายากจนกว่าชาวอิตาลีทางตอนเหนือ ซึ่งนิยมรับประทานนมเนย และข้าว ปัจจุบันมีการผลิตเส้นสำเร็จรูปแบบอบแห้งในลักษณะอุตสาหกรรม ถูกใช้แพร่หลายมากกว่าเส้นแบบสดเนื่องจากสะดวกไม่ต้องใช้เวลาและความชำนาญมากในการจัดเตรียม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและพาสตา · ดูเพิ่มเติม »

กรัม

กรัม (gram หรือ gramme) เป็นหน่วยพื้นฐานของมวลในระบบเมตริก (metric system) ซึ่งมีจุดกำเนิดจากประเทศฝรั่งเศส และต่อมาคือ ระบบหน่วยเซนติเมตร-กรัมที่สอง (centimetre-gram-second หรือ CGS) สัญลักษณ์คือ ก เป็นหน่วยของมวลมีค่าเท่ากับหนึ่งในพันกิโลกรัม (1×10−3 กก) คำนี้มีรากจากภาษากรีก/ลาติน grámma.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

กรดนิวคลีอิก

รงสร้างของดีเอ็นเอเป็นเกลียวคู่ กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) เป็นพอลิเมอร์ของนิวคลีโอไทด์ ที่ต่อกันด้วยพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ (phosphodiester bond) โดยที่หมู่ของฟอสเฟตที่เป็นส่วนประกอบของพันธะจะเชื่อมโยงระหว่างหมู่ ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 5' ของนิวคลีโอไทด์โมเลกุลหนึ่งกับหมู่ไฮดรอกซิลที่ตำแหน่ง 3' ในโมเลกุลถัดไป จึงทำให้นิวคลีโอไทด์มีโครงสร้างของสันหลัง (backbone) เป็นฟอสเฟตกับน้ำตาลและมีแขนงข้างเป็นเบส อาจจำแนกได้เป็น DNA และ RNA.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและกรดนิวคลีอิก · ดูเพิ่มเติม »

กลูตาเมต

กลูตาเมต หรือ กรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดที่พบมากที่สุดในโปรตีนตามธรรมชาติ กรดกลูตามิคจัดเป็นกรดอะมิโนชนิดที่ไม่จำเป็น ในทางเคมีนั้นกลูตาเมตเป็นไอออนลบของกรดกลูตามิก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและกลูตาเมต · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างสเปิร์ม

ภาพตัดขวางของเนื้อเยื่ออัณฑะ แสดงการพัฒนาของสเปิร์มระยะต่างๆ การสร้างสเปิร์ม (spermatogenesis) เริ่มจากเซลล์เริ่มต้นที่เรียกว่า primary spermatocyte; 2n ที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญในอัณฑะ เซลล์นี้เพิ่มจำนวนตัวเองโดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เมื่อเซลล์นี้มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จะได้เซลล์ที่เป็นแฮพลอยด์ เรียกว่า secondary spermatocyte เมื่อเซลล์นี้แบ่งเซลล์ต่อจนเสร็จสิ้นไมโอซิส จะได้สเปิร์มเริ่มต้น (developing sperm cell) ซึ่งจะพัฒนาต่อไปจนได้สเปิร์มที่สมบูรณ์ แผนผังแสดงการสร้างสเปิร์ม หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการสร้างสเปิร์ม · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างเม็ดเลือดแดง

isbn.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการสร้างเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายแบบดีเอ็นเอ

กลียวคู่ของดีเอ็นเอคลายตัวและเป็นแม่แบบขแงสายใหม่ การจำลองตัวเองของดีเอ็นเอ (DNA replication) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเพื่อจำลองดีเอ็นเอของตนเอง กระบวนการนี้เริ่มจากดีเอ็นเอสายเดี่ยวสร้างดีเอ็นเออีกสายที่เป็นคู่สมของตนจนกลายเป็นดีเอ็นเอเกลียวคู่ กระบวนการเป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) มีการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการเพื่อป้องกันการกลายพัน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการถ่ายแบบดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการทบทวนวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การขาดวิตามินบี12

การขาดวิตามินบี12 หรือ ภาวะขาดวิตามินบี12 (Vitamin B12 deficiency, hypocobalaminemia) หมายถึงการมีระดับวิตามินบี12 ในเลือดต่ำ ซึ่งอาจมีอาการหลายอย่างรวมทั้งปัญหาทางความคิด ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น ความซึมเศร้า ความหงุดหงิด โรคจิต (psychosis) --> ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) รีเฟล็กซ์เปลี่ยน กล้ามเนื้อทำงานไม่ดี ลิ้นอักเสบ (glossitis) ได้รสชาติลดลง (hypogeusia) เม็ดเลือดแดงน้อย (เลือดจาง) การทำงานของหัวใจผิดปกติ (cardiomyopathy) และความเป็นหมัน ในเด็กเล็ก ๆ อาการอาจรวมการไม่โต พัฒนาการที่ล่าช้า และความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว (movement disorder) ถ้าไม่รักษา ความเปลี่ยนแปลงอาจจะกลายเป็นปัญหาถาวร เหตุสามัญรวมทั้งการดูดซึมวิตามินได้ไม่ดีจากกระเพาะหรือลำไส้ การทานอาหารที่มีวิตามินไม่พอ และความต้องการที่เพิ่มขึ้น --> การดูดซึมได้ไม่ดีอาจมีเหตุจากโรคโลหิตจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) การผ่าตัดเอากระเพาะออก ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง พยาธิในลำไส้ ยาบางชนิด และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ --> ส่วนการทานอาหารที่มีวิตามินไม่พออาจเกิดกับผู้ที่ทานอาหารเจแบบวีแกน หรือได้สารอาหารไม่เพียงพอ --> ความต้องการที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดในคนไข้เอชไอวี/เอดส์ และในบุคคลที่สลายเม็ดเลือดแดงอย่างรวดเร็ว การวินิจฉัยปกติจะอาศัยระดับวิตามินบี12 ในเลือดที่ต่ำกว่า 120-180 picomol/L (หรือ 170-250 pg/mL) ในผู้ใหญ่ --> การมีระดับกรด methylmalonic ที่สูงขึ้น คือ เกิน 0.4 micromol/L อาจจะเป็นตัวบ่งความขาดวิตามินได้ด้วย --> การมีภาวะโลหิตจางแบบ megaloblastic anemia (ที่เม็ดเลือดใหญ่เกินปกติเพราะแบ่งตัวไม่ได้) เกิดขึ้นบ่อยครั้งแต่ไม่จำเป็น สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐแนะนำให้หญิงทานเจที่มีครรภ์ทานวิตามินเสริมเพื่อป้องกันการขาด เมื่อระบุปัญหาได้แล้ว สามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยให้วิตามินเสริมไม่ทางปากก็ทางการฉีด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีวิตามินบี12 เกินในบุคคลที่มีสุขภาพดี คนไข้บางรายอาจจะดีขึ้นเองถ้ารักษาโรคที่เป็นเหตุ ในบางกรณีอาจจะต้องทานวิตามินชั่วชีวิตเพราะโรคที่เป็นเหตุไม่สามารถรักษาได้ การขาดวิตามินบี12 เป็นเรื่องสามัญ ประมาณว่า 6% ของคนที่อายุต่ำกว่า 60 และ 20% ของคนที่อายุมากกว่า 60 จะมีปัญหานี้ --> โดยอัตราอาจสูงถึง 80% ในบางเขตของทวีปแอฟริกาและเอเชี.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการขาดวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

การขาดโฟเลต

การขาดโฟเลต (Folate deficiency) ก็คือเมื่อร่างกายมีระดับกรดโฟลิกที่ต่ำ โฟเลตซึ่งรู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า วิตามินบี9 มีบทบาทในการสังเคราะห์ adenosine, guanine, และ thymidine ซึ่งเป็นส่วนของการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ อาการขาดโฟเลตบ่อยครั้งเห็นยาก ภาวะเลือดจางเหตุขาดโฟเลต (folate deficiency anemia) เป็นอาการที่พบในภายหลัง มีอาการเป็นเม็ดเลือดแดงที่โตผิดปกติ (megaloblast) เพราะไม่มีกรดโฟลิกพอในร่างก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการขาดโฟเลต · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count (CBC); Full blood count (FBC); Full blood exam (FBE)) หรือที่นิยมเรียกย่อว่า ซีบีซี เป็นการทดสอบที่ร้องขอโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้อาจเรียกว่า ฮีมาโตแกรม (hemogram) Alexander Vastem เป็นคนแรกที่ใช้การนับจำนวนเม็ดเลือดเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลของการตรวจเลือดด้วยวิธีนี้มาจากการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ ช่วง..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเซลล์

Three types of cell division การแบ่งเซลล์คือกระบวนการที่เซลล์ตั้งต้น (parent cell) แบ่งตัวออกเป็นเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวนสองเซลล์ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:วัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:เทโลเมียร์.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการแบ่งเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

การเร่งปฏิกิริยา

การเร่งปฏิกิริยา (Catalysis) คือ การทำให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น โดยการใส่วัตถุที่ทำให้ปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงความเร็วเรียกว่า ตัวเร่งhttp://goldbook.iupac.org/C00876.html ซึ่งการเร่งปฏิกิรยาจะไม่มีผลต่อผลิตภัณฑ์เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา มีทั้งตัวเร่งปฏิกิริยาทางเคมี เช่น โลหะ และตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น เอนไซม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและการเร่งปฏิกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพหุสัณฐาน (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา ภาวะพหุสันฐาน (polymorphism) คือภาวะที่ในประชากรเดียวกันของสปีชีส์หนึ่ง มีฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันตั้งแต่สองฟีโนทัยป์ขึ้นไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือมีรูปแบบตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไป ทั้งนี้การจะเรียกได้ว่าเป็นภาวะพหุสันฐาน ลักษณะที่แตกต่างนี้ต้องสามารถพบได้ในกลุ่มประชากรที่มีการจับคู่แบบสุ่มในพื้นที่และช่วงเวลาเดียวกัน หมวดหมู่:ภาวะพหุสันฐาน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและภาวะพหุสัณฐาน (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแมคกิลล์

มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University) เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย ตั้งอยู่ในมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศแคนาดา โดยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1821 ในขณะที่ประเทศแคนาดายังเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ชื่อของมหาวิทยาลัยได้ตั้งชื่อตามนาย เจมส์ แมคกิลล์ พ่อค้าชาวสก็อตผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ยังติดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศแคนาดา และติดอันดับ 12 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเมื่อปี..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยโทรอนโต

หอประชุม อาคารหลักของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียภายมหาวิทยาลัยโทรอโต มหาวิทยาลัยโทรอนโต (University of Toronto - U of T) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของรัฐ ตั้งอยู่ในออนทาริโอ ประทศแคนาดา วิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยคือ เซนต์จอร์จ ตั้งในใจกลางเมืองโทรอนโตซึ่งล้อมรอบไปด้วยอุทยานควีนส์ปาร์กและรัฐสภาออนทาริโอ วิทยาเขตอีก 2 แห่งคือมหาวิทยาลัยโทรอนโต สการ์โบโร (UTSC) และมหาวิทยาลัยโทรอนโตมิสซิทซูกา (UTM) ซึ่งเรียกกันไม่เป็นทางการว่า "วิทยาเขตอีรินเดล" ตั้งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของปริมลฑลโทรอนโตตามลำดับ จัดตั้งโดย จอห์น สแทรชาน เพื่อให้เป็นคิงส์คอลเลจโดยได้รับพระบรมราชานุญาตเมื่อ พ.ศ. 2370 และเปลี่ยนชื่อมาเป็นมหาวิทยาลัยโทรอนโต เมื่อ..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและมหาวิทยาลัยโทรอนโต · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในต่อมลูกหมากซึ่งเป็นต่อมในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่โตช้า แต่ในบางรายก็มีความรุนแรงได้มาก เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะไปยังกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ในช่วงแรกเริ่มอาจไม่มีอาการ แต่ในช่วงหลังๆ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:จุลพยาธิวิทยา.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและมะเร็งต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

มาลาเรีย

มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P. falciparum เพราะ P. vivax, P. ovale และ P. malariae โดยทั่วไปก่อให้เกิดมาลาเรียแบบที่รุนแรงน้อยกว่า สปีชีส์รับจากสัตว์ P. knowlesi พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวินิจฉัยมาลาเรียตรงแบบทำโดยการตรวจเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้ฟิล์มเลือดหรือการวินิจฉัยชนิดรวดเร็ว (rapid diagnostic test) ที่อาศัยแอนติเจน มีการพัฒนาวิธีซึ่งใช้ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสเพื่อตรวจจับดีเอ็นเอของปรสิต แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไปเนื่องจากราคาแพงและซับซ้อน ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีนบางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีน แต่กำลังพัฒนา การรักษาโรคมาลาเรียที่แนะนำ คือ การใช้ยาต้านมาลาเรียหลายชนิดร่วมกันซึ่งรวมอาร์ตีมิซินิน ยาชนิดที่สองอาจเป็นเมโฟลควิน ลูมีแฟนทรีนหรือซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน อาจใช้ควินินร่วมกับด็อกซีไซคลินได้หากไม่มีอาร์ติมิซินิน แนะนำว่าในพื้นที่ซึ่งมีโรคมาลาเรียทั่วไป ให้ยืนยันโรคมาลาเรียหากเป็นไปได้ก่อนเริ่มการรักษาเนื่องจากความกังวลว่ามีการดื้อยาเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดื้อยาในปรสิตต่อยาต้านมาลาเรียหลายชนิด เช่น P. falciparum ซึ่งดื้อต่อคลอโรควินได้แพร่ไปยังพื้นที่ซึ่งมีการระบาดมากที่สุด และการดื้อยาอาร์ทีมิซินินเป็นปัญหาในบางพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้แพร่หลายในเขตร้อนและอบอุ่นซึ่งอยู่เป็นแถบกว้างรอบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งรวมพื้นที่แอฟริกาใต้สะฮารา ทวีปเอเชียและละตินอเมริกาบริเวณกว้าง โรคมาลาเรียมักสัมพันธ์กับความยากจนและยังอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในทวีปแอฟริกา มีการประเมินว่ามีการสูญเสีย 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเนื่องจากค่าใช้จ่ายสาธารณสุขเพิ่มขึ้น เสียความสามารถการทำงาน และผลเสียต่อการท่องเที่ยว องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ป่วย 198 ล้านคน ใน..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและมาลาเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ยีสต์

ีสต์ หรือ ส่าเหล้า (yeast) คือ รากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปร่างกลม รี สามเหลี่ยม รูปร่างแบบมะนาว ฝรั่ง เป็นต้น ส่วนใหญ่มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อ พบทั่วไปในธรรมชาติในดิน ในน้ำ ในส่วนต่างๆ ของพืช ยีสต์บางชนิดพบอยู่กับแมลง และในกระเพาะของสัตว์บางชนิด แต่แหล่งที่พบยีสต์อยู่บ่อยๆ คือแหล่งที่มีน้ำตาลความเข้มข้นสูง เช่น น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน ยีสต์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มักจะปนลงไปในอาหาร เป็นเหตุให้อาหารเน่าเสียได้ ยีสต์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (eukaryotic micro-organisms) จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร มีการนำยีสต์มาใช้ประโยชน์นานมาแล้ว โดยเฉพาะการผลิตอาหารที่มีแอลกอฮอล์ จากคุณสมบัติที่มีขนาดเล็กมาก สามารถเพาะเลี้ยงให้เกิดได้ในเวลาอันรวดเร็ว และวิธีการไม่ยุ่งยาก ทำให้ยีสต์เริ่มมีบทบาทที่สำคัญในวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงอาหารธรรมชาติที่สำคัญอีกทีหนึ่ง เช่น ไรแดง โรติเฟอร์ และอาร์ทีเมี.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและยีสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามิน

วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อยLieberman, S and Bruning, N (1990).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและวิตามิน · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี12

วงแหวง corrin ที่เป็นโครงสร้างประกอบของวิตามิน methylcobalamin (ดังที่แสดง) เป็นรูปแบบของวิตามินบี12 อย่างหนึ่ง แต่ก็ยังคล้ายกับรูปแบบอื่น ๆ ของวิตามิน ปรากฏเป็นผลึกสีแดงซึ่งละลายน้ำเป็นสีแดงเข้ม วิตามินบี12 (12, cobalamin) เป็นวิตามินละลายน้ำได้ที่เป็นกุญแจสำคัญในการทำงานเป็นปกติของสมองกับระบบประสาท และการสร้างเม็ดเลือดแดง เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 8 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมในเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมนุษย์ โดยมีผลเฉพาะต่อการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ เมแทบอลิซึมของกรดไขมันและกรดอะมิโน ไม่มีเห็ดรา พืช หรือสัตว์ (รวมทั้งมนุษย์) ที่สามารถสร้างวิตามินบี12ได้ มีแต่สิ่งมีชีวิตประเภทแบคทีเรียและอาร์เคียที่มีเอนไซม์เพื่อสังเคราะห์มันได้ แหล่งของวิตามินที่ได้พิสูจน์แล้วเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์รวมทั้งเนื้อ ปลา ผลิตภัณฑ์นม และอาหารเสริม แต่ก็มีงานวิจัยที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่มาจากสัตว์บางอย่างอาจเป็นแหล่งธรรมชาติของวิตามินได้ เพราะอยู่ร่วมกับแบคทีเรีย (bacterial symbiosis) วิตามินบี12 เป็นวิตามินที่ใหญ่ที่สุด มีโครงสร้างซับซ้อนที่สุด และสามารถสังเคราะห์โดยหมักแบคทีเรีย (bacterial fermentation-synthesis) แล้วใช้เสริมอาหารและเป็นวิตามินเสริม วิตามินบี12 เป็นกลุ่มสารประกอบที่มีโครงสร้างเคมีเกี่ยวข้องกัน (หรือที่เรียกว่า vitamer) ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ และมีธาตุโคบอลต์ (Co) ที่ไม่สามัญทางเคมี-ชีวภาพ อยู่ตรงกลางวงแหวนเชิงระนาบแบบ tetra-pyrrole ที่เรียกว่าวงแหวน corrin (ดูรูป) ซึ่งสามารถผลิตได้โดยแบคทีเรีย hydroxocobalamin แต่ร่างกายสามารถแปรรูปแบบวิตามินไปในแบบต่าง ๆ ได้ วิตามินค้นพบโดยความสัมพันธ์ของมันกับโรคภาวะเลือดจางเหตุขาดวิตามินบี12 (pernicious anemia) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเอง และมีผลทำลายเซลล์ผนัง (parietal cell) ที่มีหน้าที่หลั่งไกลโคโปรตีน คือ intrinsic factor ในกระเพาะอาหาร เซลล์เหล่านี้ยังมีหน้าที่หลั่งกรดย่อยอาหารในกระเพาะอีกด้วย เพราะว่า intrinsic factor จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินตามปกติ การขาดโปรตีนนี้เพราะโรค จึงทำให้ขาดวิตามินบี12 ยังมีรูปแบบการขาดวิตามินแบบเบากว่าอื่น ๆ ที่ผลติดตามทางชีวเคมีก็ปรากฏชัดแล้ว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและวิตามินบี12 · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินบี6

วิตามินบี6 (Vitamin B6) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งมักใช้ร่วมกับบี1 และบี12 ซึ่งวิตามินบี1 ทำงานกับคาร์โบไฮเดรตส่วนวิตามินบี6 และบี12 ทำงานร่วมกับโปรตีนและไขมัน ร่างกายมนุษย์ต้องการวิตามินบี6 ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและวิตามินบี6 · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หน่อไม้ฝรั่ง

วงศ์หน่อไม้ฝรั่ง หรือ Asparagaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกในอันดับ Asparagales และเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในระบบการจัดจำแนกก่อนหน้านี้ สปีชีส์ในวงศ์นี้เคยจัดอยู่ในวงศ์ Liliaceae ระบบ APG II ได้จัดให้มีการจัดจำแนกของวงศ์นี้เป็นสองระดับ คือ: Asparagaceae sensu lato (อย่างกว้าง) โดยรวมวงศ์อื่นอีกเจ็ดวงศ์เข้ามา หรือ Asparagaceae sensu stricto (อย่างแคบ) ประกอบด้วยไม่กี่สกุล (โดยเฉพาะ Asparagus, และ Hemiphylacus) ในระบบ APG III จะมีแต่อย่างกว้างเท่านั้น โดยประกอบด้วยวงศ์ย่อยจำนวน 7 วงศ์ย่อย ซึ่งมาจากวงศ์เดิมที่รวมกันเข้าเป็นวงศ์นี้ ได้แก่.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ

หภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ (International Union of Pure and Applied Chemistry, ย่อ: IUPAC /ไอยูแพ็ก/) เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักเคมีในแต่ละประเทศ สหภาพฯ เป็นสมาชิกของสภาสหภาพวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศ (ICSU) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานบริหาร หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สำนักเลขาธิการ IUPAC" ตั้งอยู่ที่อุทยานสามเหลี่ยมวิจัย รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา สำนักงานบริหารแห่งนี้นำโดยผู้อำนวยการบริหารของ IUPAC IUPAC ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สารอาหาร

วงจรของสารอาหารในมหาสมุทร สารอาหาร เป็น สารเคมีที่ สิ่งมีชีวิต ต้องการเพื่อการดำรงชีพ และ เติบโต หรือ เป็น สารที่ที่ใช้ในกระบวนการสร้างและสลาย โดยที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะรับสารอาหารจากสิ่งแวดล้อมของมันWhitney, Elanor and Sharon Rolfes.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสารอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา)

อาคาร 50 ของเอ็นไอเอช สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) หรือ เอ็นไอเอช (NIH) เป็นหน่วยงานวิจัยในสหรัฐอเมริการับผิดชอบในด้านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ โดยมีหน่วยงานย่อย 27 สถาบัน หน่วยงานก่อตั้งในปี พ.ศ. 2430 ภายใต้ชื่อ Laboratory of Hygiene ได้เติบโตและเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2473 สถาบันปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองบาเธสดา ในรัฐแมริแลน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) · ดูเพิ่มเติม »

สถานะออกซิเดชัน

นะออกซิเดชัน (oxidation state)เป็นสมบัติที่สำคัญของอะตอมเมื่อเกิดเป็นสารประกอบ เนื่องจากสมบัติทางเคมีและกายภาพหลายอย่างสามารถอธิบายโดยใช้สถานะออกซิเดชัน ตลอดระยะเวลาผ่านมามีการนิยามคำว่า สถานะออกซิเดชันที่หลากหลายและยังมีข้อสับสนเกี่ยวกับคำว่า สถานะออกซิเดชัน (Oxpongsak stare) และ เลขออกซิเดชัน (Oxpongsak Number) ที่พบในหนังสือแบบเรียนต่างๆทั่วโลก ในปลายปี 2015 จึงมีผู้เสนอให้นิยามคำๆนี้ให้ชัดเจนและเป็นทางการพร้อมทั้งให้บอกวิธีการในการหาให้ชัดเจนด้ว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและสถานะออกซิเดชัน · ดูเพิ่มเติม »

หลอดประสาทไม่ปิด

ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect, NTD) เป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ที่มีลักษณะร่วมกันคือมีช่องเปิดที่ไขสันหลังหรือสมองซึ่งหลงเหลือมาจากตอนเป็นตัวอ่อน ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนในระยะแกสตรูลาจะมีกลุ่มเซลล์ที่ด้านดอร์ซัล (ด้าน "หลัง") ที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็นท่อประสาท (neural tube) ซึ่งปกติจะต้องปิดสนิทเป็นท่อสมบูรณ์ หากปิดไม่สนิทก็จะเกิดเป็นภาวะหลอดประสาทไม่ปิด หมวดหมู่:รูปผิดปกติแต่กำเนิดของระบบประสาท หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและหลอดประสาทไม่ปิด · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและหนู · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและหน่วยรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและอะตอม · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เอ็นเอ

กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid) หรือ อาร์เอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิก ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สารชีวโมเลกุลหลัก ร่วมกับลิพิด คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ที่สำคัญแก่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด อาร์เอ็นเอประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ สายยาว เช่นเดียวกับดีเอ็นเอ นิวคลีโอไทด์แต่ละหน่วยประกอบด้วยนิวคลีโอเบส น้ำตาลไรโบสและหมู่ฟอสเฟต ลำดับนิวคลีโอไทด์ทำให้อาร์เอ็นเอเข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรมได้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดใช้อาร์เอ็นเอนำรหัส (mRNA) นำข้อมูลพันธุกรรมที่ชี้นำการสังเคราะห์โปรตีน ยิ่งไปกว่านั้น ไวรัสหลายชนิดใช้อาร์เอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมแทนดีเอ็นเอ โมเลกุลอาร์เอ็นเอบางอย่างมีบทบาทสำคัญในเซลล์โดยเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ ควบคุมการแสดงออกของยีนหรือรับรู้และสื่อสารการตอบสนองต่อสัญญาณของเซลล์ ขบวนการหนึ่ง คือ การสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งเป็นหน้าที่สากลซึ่งโมเลกุลอาร์เอ็นเอสื่อสารชี้นำการสร้างโปรตีนบนไรโบโซม ขบวนการนี้ใช้โมเลกุลอาร์เอ็นเอถ่ายโอน (tRNA) เพื่อขนส่งกรดอะมิโนไปยังไรโบโซม ที่ซึ่งอาร์เอ็นเอไรโบโซม (rRNA) เชื่อมกรดอะมิโนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรตีน เรียกขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีนจากสายอาร์เอ็นเอนี้ว่า การแปลรหัส โครงสร้างทางเคมีของอาร์เอ็นเอคล้ายคลึงกับของดีเอ็นเอเป็นอย่างมาก แต่มีข้อแตกต่างอยู่สองประการ (1) อาร์เอ็นเอมีน้ำตาลไรโบส ขณะที่ดีเอ็นเอมีน้ำตาลดีออกซีไรโบส (ขาดออกซิเจนหนึ่งอะตอม) ซึ่งแตกต่างเล็กน้อย และ (2) อาร์เอ็นเอมีนิวคลีโอเบสยูราซิล ขณะที่ดีเอ็นเอมีไทมีน โมเลกุลอาร์เอ็นเอส่วนมากเป็นสายเดี่ยว และสามารถเกิดโครงสร้างสามมิติที่ซับซ้อนมากได้ ต่างจากดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและอาร์เอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

อาโวคาโด

อาโวคาโด หรือ ลูกเนย (avocado) เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของรัฐปวยบลาในประเทศเม็กซิโก จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับอบเชย, กระวาน และเบย์ลอเรล (bay laurel) ผลของอาโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม มิชชันนารีชาวอเมริกันนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่านนิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและอาโวคาโด · ดูเพิ่มเติม »

อีพีเจเนติกส์

อีพีเจเนติกส์ (epigenetics) หรือพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม คือองค์ความรู้ทางชีววิทยาโดยเฉพาะพันธุศาสตร์ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนแบบนี้เช่นการเติมหมู่เมธิลบนดีเอ็นเอหรือการถอนหมู่อะเซทิลออกจากฮิสโตน เป็นการยับยั้งการแสดงออกของยีนนั้นๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอในยีนนั้นๆ การควบคุมการแสดงออกในลักษณะนี้อาจสามารถคงอยู่ได้หลังการแบ่งเซลล์ และอาจคงอยู่ข้ามไปสู่สิ่งมีชีวิตรุ่นลูกและรุ่นต่อๆ ไปได้ แต่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลำดับดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรมที่ทำให้ยีนแต่ละยีนแสดงออก ("ประพฤติตัว") เปลี่ยนแปลงไปจากที่ควรเป็น ตัวอย่างหนึ่งของกระบวนการอีพิเจเนติกส์ในเซลล์สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตคือกระบวนการการเปลี่ยนชนิดของเซลล์ (cellular differentiation) ซึ่งระหว่างขั้นตอนมอร์โฟเจเนซิสนั้นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดโททิโพเทนท์จะแบ่งตัวและเปลี่ยนแปลงกลายเป็นสายพันธุ์เซลล์พลูริโพเทนท์หลายๆ สายพันธุ์ ของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต ซึ่งก็จะแบ่งตัวและพัฒนาต่อไปกลายเป็นเซลล์ที่มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจน กล่าวคือ เซลล์ไข่ซึ่งปฏิสนธิแล้ว (ไซโกต) เพียงเซลล์เดียว ได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์หลายต่อหลายชนิดทำหน้าที่แตกต่างกัน ตั้งแต่เซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ผนังหลอดเลือด ฯลฯ ซึ่งกลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เซลล์ต่างๆ มีกระบวนการที่ทำให้ยีนบางยีนทำงาน และยีนบางยีนไม่ทำงาน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและอีพีเจเนติกส์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ

ตราสัญลักษณ์ประจำองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายในการพัฒนามาตรฐานอาหารและสารอาหาร รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการ อาหาร การเกษตร ป่าไม้และประมง ให้ประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการเกษตร โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักของประเทศไทย ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านการผลิต ตามการร้องขอของ FAO เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์และเผยแพร่ต่อไป โดยที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ตอบแบบสอบถามของ FAO ในเรื่องปุ๋ย ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญสำหรับภาคเกษตร รวมถึงพยายามลดปริมาณผู้ยากไร้ขาดอาหาร ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในเมือง ควิเบกซิตี รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา และในปี พ.ศ. 2490 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่มาที่ วอชิงตัน ดี.ซี. และในปัจจุบันสำนักงานใหญ่อยู่ที่โรม ประเทศอิตาลี นับจากปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) มีสมาชิก 190 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและยา

องค์การอาหารและยา หรือ อ. อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและองค์การอาหารและยา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ผลิตภัณฑ์นม

ผลิตภัณฑ์นม คืออาหารที่ผลิตจากน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลิตภัณฑ์นมโดยปกติจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง นอกจากทารกที่ดื่มนมแม่แล้ว แหล่งบริโภคผลิตภัณฑ์นมของมนุษย์โดยหลักมาจากนมของวัว ควาย แพะ แกะ จามรี ม้า อูฐ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์นมพบได้ทั่วไปในอาหารยุโรป ตะวันออกกลาง และอินเดีย ขณะที่ในอาหารเอเชียตะวันออกจะเป็นที่รู้จักน้อย ยกเว้นอาหารมองโกเลีย หมวดหมู่:ผลิตภัณฑ์นม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและผลิตภัณฑ์นม · ดูเพิ่มเติม »

ผลไม้

แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและผัก · ดูเพิ่มเติม »

ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus viridis จัดอยู่ในวงศ์ Amaranthaceae ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง เป็นต้น และยังขึ้นเป็นวัชพืชในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักโขมเป็นพืชที่ขึ้นง่ายชาวบ้านจึงมักเก็บมาบริโภคในช่วงหน้าฝน รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 ผักโขมมีชื่ออื่นๆ อีกคือ ผักขม (กลาง), ผักโหม, ผักหม (ใต้), ผักโหมเกลี้ยง (แม่ฮ่องสอน), กระเหม่อลอเตอ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) ผักโขมมักจะถูกเข้าใจผิดหรือแปลผิดว่าเป็นผักที่ป๊อบอายใช้เพิ่มพลัง ความจริงแล้วคือผักปวยเล้ง (Spinach) ซึ่งในการ์ตูนป๊อบอายจะปรากฏคำว่า Spinach อย่างชัดเจน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและผักโขม · ดูเพิ่มเติม »

ธัญพืช

้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากธัญพืช ธัญพืช คือพืชที่มนุษย์เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ด นั่นคือ แมงลัก ลูกเดือย ข้าวโพด ถั่วต่างๆ เม็ดขนุน สะตอ มะม่วงหิมพานต์ ข้าวประเภทต่างๆ มีการเพาะปลูกธัญพืชทั่วโลกมากกว่าผลผลิตทางเกษตรชนิดใดๆ และเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานแก่มนุษย์มากที่สุด ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ธัญพืชจะเป็นอาหารหลักของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้ว การบริโภคธัญพืชจะน้อยลง ส่วนใหญ่ประเทศพัฒนาแล้วจะบริโภคธัญพืชแปลงรูป คือ ขนมปังนั่นเอง ประโยชน์ของธัญพืช การที่เราควรใช้ ธัญพืชหรือเมล็ดพืชเต็มรูป เพื่อให้ได้พลังชีวิตทั้งหมด ของเมล็ดพืช หากธัญพืชถูกขัดสี บี้ หรือบด มันจะสูญเสียพลังในการงอก แป้งที่แตกออกมา ไม่เพียงแต่เสียพลังชีวิตของมัน แต่จะทำให้ธัญพืชถูกทำลายโดยการอ๊อกซิเดชั่นไขมันที่ดีที่เป็นส่วนประกอบ ย้อนกลับไปเมื่อยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ทำให้เนื้อ นม เนย ไข่ กลายเป็นของหายาก และมีราคาแพง ประชาชนส่วนใหญ่จึงต้องรับประทานข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์เป็นหลัก ปรากฏว่าช่วงนั้นชาวยุโรปเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งน้อยมาก ทั้งนี้ เนื่องจาก ข้าวเมืองหนาวทั้ง 2 ชนิดนี้มีสารแอนติออกซิเดนต์สูง จึงช่วยป้องกันความเสื่อมและการถูกทำลายของเซลล์ทั่วร่างกายอันเป็นสาเหตุของมะเร็งได้ - See more at: http://travel.truelife.com/detail/95385#sthash.0Vmuo8rJ.dpuf.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและธัญพืช · ดูเพิ่มเติม »

ถั่ว

อัลมอนด์ ถั่ว คือ พืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae จัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและถั่ว · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: กรดโฟลิกและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปัง

นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและขนมปัง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าว

้าว ข้าว เป็นเมล็ดของพืชในสกุลข้าวที่พบมากในเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย จากข้อมูลเมื่อปี 2553 ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก รองจากข้าวสาลีและข้าวโพด ข้าวเป็นธัญพืชสำคัญที่สุดในด้านโภชนาการและการได้รับแคลอรีของมนุษย์ เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่ปลูกเพื่อจุดประสงค์อื่น มิใช่ให้มนุษย์บริโภค ทั้งนี้ ข้าวคิดเป็นพลังงานกว่าหนึ่งในห้าที่มนุษย์ทั่วโลกบริโภค หลักฐานพันธุศาสตร์แสดงว่าข้าวมาจากการนำมาปลูกเมื่อราว 8,200–13,500 ปีก่อน ในภูมิภาคหุบแม่น้ำจูเจียงของจีน ก่อนหน้านี้ หลักฐานโบราณคดีเสนอว่า ข้าวมีการนำมาปลูกในเขตหุบแม่น้ำแยงซีในจีน ข้าวแพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ข้าวถูกนำมายังทวีปยุโรปผ่านเอเชียตะวันตก และทวีปอเมริกาผ่านการยึดอาณานิคมของยุโรป ปกติการปลูกข้าวเป็นแบบปีต่อปี ทว่าในเขตร้อน ข้าวสามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายปีและสามารถไว้ตอ (ratoon) ได้นานถึง 30 ปี ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1–1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก มีใบเรียว ยาว 50–100 เซนติเมตร และกว้าง 2–2.5 เซนติเมตร ช่อดอกห้อยยาว 30-50 เซนติเมตร เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5–12 มิลลิเมตร และหนา 2–-3 มิลลิเมตร การเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าวเหมาะกับประเทศและภูมิภาคที่ค่าแรงต่ำและฝนตกมาก เนื่องจากมันใช้แรงงานมากที่จะเตรียมดินและต้องการน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตาม ข้าวสามารถโตได้เกือบทุกที่ แม้บนเนินชันหรือเขตภูเขาที่ใช้ระบบควบคุมน้ำแบบขั้นบันได แม้ว่าสปีชีส์บุพการีของมันเป็นสิ่งพื้นเมืองของเอเชียและส่วนที่แน่นอนของแอฟริกา ร้อยปีของการค้าขายและการส่งออกทำให้มันสามัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลก วิธีแบบดั้งเดิมสำหรับเตรียมดินสำหรับข้าวคือทำให้น้ำท่วมแปลงชั่วขณะหนึ่งหรือหลังจากการตั้งของต้นกล้าอายุน้อย วิธีเรียบง่ายนี้ต้องการการวางแผนที่แข็งแรงและการให้บริการของเขื่อนและร่องน้ำ แต่ลดพัฒนาการของเมล็ดที่ไม่ค่อยแข็งแรงและวัชพืชที่ไม่มีภาวะเติบโตขณะจมน้ำ และยับยั้งศัตรูพืช ขณะที่การทำให้น้ำท่วมไม่จำเป็นสำหรับการเตรียมดินสำหรับเพาะปลูกข้าว วิธีทั้งหมดในการการชลประทานต้องการความพยายามสูงกว่าในการควบคุมวัชพืชและศัตรูพืชระหว่างช่วงเวลาการเจริญเติบโตและวิธีที่แตกต่างสำหรับใส่ปุ๋ยลงดิน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและข้าว · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวสาลี

้าวสาลี (Triticum spp.) Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและข้าวสาลี · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโพด

ลักษณะของข้าวโพด ''Zea mays "fraise"'' ''Zea mays "Oaxacan Green"'' ''Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”'' ข้าวโพด (Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีมวลกาย

ัชนีมวลกาย (body mass index, ย่อ: BMI) เป็นค่าที่ได้จากน้ำหนักและส่วนสูงของปัจเจกบุคคล BMI นิยามว่า มวลกายหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง และแสดงในหน่วย กก./ม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและดัชนีมวลกาย · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ความชุกของโรค

ในทางระบาดวิทยา ความชุกของโรค (Prevalence) หมายถึงจำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งหมดในประชากร ณ เวลาหนึ่งๆ หรือกล่าวคือจำนวนผู้ป่วยในประชากรหนึ่งๆ หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด ค่านี้ใช้ประมาณว่าโรคนี้เกิดบ่อยมากเพียงใดในประชากรที่ช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งช่วยให้แพทย์ทราบความน่าจะเป็นในการวินิจฉัยโรคและข้อมูลนี้ยังใช้ในงานของนักระบาดวิทยา ผู้ให้บริการสาธารณสุข ภาครัฐ และบริษัทประกันภัย สูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณความชุกของโรคคือ ให้ a.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและความชุกของโรค · ดูเพิ่มเติม »

ความร้อน

ในทางฟิสิกส์ ความร้อน (ใช้สัญลักษณ์ว่า Q) หมายถึง พลังงานที่ถ่ายเทจากสสารหรือระบบหนึ่งไปยังสสารหรือระบบอื่นโดยอาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ในทางอุณหพลศาสตร์จะใช้ปริมาณ TdS ในการวัดปริมาณความร้อน ซึ่งมีความหมายถึง อุณหภูมิสัมบูรณ์ของวัตถุ (T) คูณกับอัตราการเพิ่มของเอนโทรปีในระบบเมื่อวัดที่พื้นผิวของวัตถุ ความร้อนสามารถไหลผ่านจากวัตถุที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่วัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า หากต้องการให้ความร้อนถ่ายเทไปยังวัตถุที่มีอุณหภูมิเท่ากันหรือสูงกว่าจะทำได้ก็ต่อเมื่อใช้ปั๊มความร้อนเท่านั้น การสร้างแหล่งความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสามารถทำได้จากปฏิกิริยาเคมี (เช่นการเผาไหม้) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (เช่นฟิวชันในดวงอาทิตย์) การเคลื่อนที่ของอนุภาคแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นเตาไฟฟ้า) หรือการเคลื่อนที่ทางกล (เช่นการเสียดสี) โดยที่อุณหภูมิเป็นหน่วยวัดปริมาณของพลังงานภายในหรือเอนทาลปี ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่ออัตราการถ่ายเทความร้อนของวัตถุนั้นๆ ความร้อนสามารถถ่ายเทระหว่างวัตถุได้สามวิธีคือ การแผ่รังสี การนำความร้อน และการพาความร้อน นอกจากนี้มีกระบวนการถ่ายเทความร้อนอีกแบบหนึ่งคือ ความร้อนแฝง ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว หรือจากของเหลวเป็นก๊าซ เป็นต้น.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและความร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและความล้า · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและคาร์บอน · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตัวถูกเปลี่ยน

ตัวถูกเปลี่ยน หรือ ซับสเตรต (substrate) ในทางชีววิทยาและวิทยาเอนไซม์ หมายถึง โมเลกุลที่เอนไซม์จับ เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาเคมีที่มีตัวถูกเปลี่ยนมาเกี่ยวข้อง ในกรณีตัวถูกเปลี่ยนตัวเดียว ตัวถูกเปลี่ยนจะยึดกับบริเวณเร่ง (active site) ของเอนไซม์ และเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยน (enzyme-substrate complex) เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยา จะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาหนึ่งชนิดหรือมากกว่า ซึ่งจะถูกปล่อยจากบริเวณเร่ง บริเวณเร่งของเอนไซม์ก็จะสามารถรับโมเลกุลตัวถูกเปลี่ยนตัวใหม่ได้อีก ในกรณีที่มีตัวถูกเปลี่ยนมากกว่าหนึ่งตัว ตัวถูกเปลี่ยนอาจจับกับบริเวณเร่งตามลำดับที่เจาะจง ก่อนที่จะทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ ปฏิกิริยาระหว่างเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยน เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ E + S ⇌ ES → EP ⇌ E + P โดยที่ E คือ เอนไซม์ S คือ ตัวถูกเปลี่ยน และ P คือ ผลิตภัณฑ์ ขณะที่ขั้นแรก (ขั้นจับ) และขั้นที่สาม (ขั้นปล่อย) โดยทั่วไปสามารถผันกลับได้ แต่ขั้นที่สองอาจผันกลับไม่ได้หรือผันกลับได้ก็ได้ การเพิ่มความเข้มข้นของตัวถูกเปลี่ยน จะเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาเนื่องจากโอกาสเกิดสารประกอบเชิงซ้อนระหว่างเอนไซม์กับตัวถูกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น ยกเว้นความเข้มข้นของเอนไซม์จะเป็นปัจจัยจำกัด คือ เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของตัวถูกเปลี่ยนไปถึงจุดหนึ่งแล้ว อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้นอีก เพราะเอนไซม์อิ่มตัวด้วยตัวถูกเปลี่ยน หมวดหมู่:โมเลกุลชีวภาพ หมวดหมู่:จลนศาสตร์เอนไซม์ หมวดหมู่:ตัวเร่งปฏิกิริยา.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและตัวถูกเปลี่ยน · ดูเพิ่มเติม »

ซัลโฟนาไมด์

ซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide หรือ sulphonamide) เป็นยากลุ่มพื้นฐาน ยาปฏิชีวนะกลุ่มซัลโฟนาไมด์ตัวแรก (บางครั้งเรียกยาซัลฟา) เป็นสารสังเคราะห์ที่มีหมู่ซัลโฟนาไมด์ สารกลุ่มนี้บางตัวไม่มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย เช่น anticonvulsant sultiame ซัลโฟนิลยูเรียและ ไทอาไซด์ไดยูเรติก เป็นกลุ่มของยาตัวใหม่ที่มีพื้นฐานจากซัลโฟนาไมด์ที่ฆ่าแบคทีเรียได้ การแพ้ยาซัลฟาเป็นเรื่องปกติ,http://allergies.about.com/od/medicationallergies/a/sulfa.htm ยาที่มีซัลโฟนาไมด์เป็นองค์ประกอบต้องมีการอธิบายอย่างชัดเจน มีความสำคัญที่จะต้องแยกระหว่างยาซัลฟาและยาที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ซัลเฟตและซัลไฟต์ ซึ่งการออกฤทธิ์ทางเคมีไม่เกี่ยวข้องกับหมู่ซัลโฟนาไมด์ และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้เช่นเดียวกับซัลโฟนาไม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและซัลโฟนาไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประชากร

ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน วิชาพลศาสตร์ประชากร ศึกษาโครงสร้างประชากรทั้งในแง่ของขนาด อายุ และเพศ รวมถึงภาวะการตาย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ และการเพิ่มของประชากร ประชากรศาสตร์ ศึกษาพลศาสตร์ประชากรของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประชากรในด้านสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประชากรนั้นต้องถือสัญชาติในรัฐที่ตนอยู่ แตกต่างจากบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ เช่น คนที่มาเปลี่ยนเที่ยวบินที่ประเทศไทย และ ต้องมีสิทธิพิเศษเหนือประชากรที่มาจากรัฐอื่น หากอยู่ในดินแดนของรัฐนั้น ตามสายโลหิต หรือตามสิทธิที่จะได้รับตามรัฐธรรมนูญ ความหนาแน่นประชากร คือ จำนวนคนหรือสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ พื้นที่ใดมีความหนาแน่นประชากรสูง แสดงว่ามีจำนวนประชากรมาก หมวดหมู่:สังคม * หมวดหมู่:ประชากร id:Penduduk#Penduduk dunia.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประชากร · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรเลีย

ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย, เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่น ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ มันเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลกเมื่อนับพื้นที่ทั้งหมด ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินีและติมอร์-เลสเตทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเวลาอย่างน้อย 40,000 ปี ก่อนที่จะตั้งถิ่นฐานครั้งแรกของอังกฤษในศตวรรษที่ 18,Davison, Hirst and Macintyre, pp.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประเทศออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแอนติกาและบาร์บูดา

แอนติกาและบาร์บูดา (Antigua and Barbuda) เป็นประเทศเกาะตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนตะวันออก บริเวณรอยต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะหลักสองเกาะ คือ เกาะแอนติกาและเกาะบาร์บูดา ทั้งสองเกาะตั้งอยู่ในตอนกลางของหมู่เกาะลีเวิร์ด (Leeward Islands) ในภูมิภาคแคริบเบียนตะวันออก ประมาณ 17 องศาเหนือเส้นศูนย์สูตร แอนติกาและบาร์บูดายังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส โดยมีหมู่เกาะกัวเดอลุป ดอมินีกา มาร์ตีนิก เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ บาร์เบโดส เกรเนดา ตรินิแดดและโตเบโกอยู่ทางทิศใต้ เกาะมอนต์เซอร์รัตทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หมู่เกาะเซนต์คิตส์และเนวิสทางทิศตะวันตก และมีเกาะแซ็ง-บาร์เตเลมี เกาะเซนต์มาร์ติน และมีเกาะแองกวิลลาอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประเทศแอนติกาและบาร์บูดา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและนม · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรบลาสโตมา

นิวโรบลาสโตมาเป็นมะเร็งอย่างหนึ่งที่เจริญจากเซลล์ของนิวรัลเครสท์ในระบบประสาทซิมพาเทติก ถือเป็นเนื้องอกของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อมักพบเกิดขึ้นในต่อมหมวกไต แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อประสาทในคอ อก ท้อง และอุ้งเชิงกราน ถือเป็นมะเร็งชนิดก้อนนอกกะโหลกศีรษะที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในวัยทารก หมวดหมู่:เนื้องอกของต่อมไร้ท่อ หมวดหมู่:เนื้องอกของสมอง หมวดหมู่:การเจริญในผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง หมวดหมู่:มะเร็งที่พบน้อย หมวดหมู่:เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและนิวโรบลาสโตมา · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต

นิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต (Nicotinamide adenine dinucleotide phosphate; NADP+) หรือไตรฟอสโฟไพริดีนนิวคลีโอไทด์ (triphosphopyridine nucleotide; TPN) เป็นโคแฟกเตอร์ที่ใช้ในการสังเคราะห์ เช่น การสร้างไขมัน นิวคลีโอไทด์และกรดนิวคลีอิก ซึ่งต้องใช้ NADPH เป็นตัวให้อิเล็กตรอน NADPH ต่างจาก NADH ตรงที่มีหมู่ฟอสเฟตเพิ่มที่คาร์บอนตำแหน่งที่ 2 ของน้ำตาลไรโบสซึ่งจับกับเบสอะดีนีน หมวดหมู่:เซลล์.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและนิโคตินาไมด์อะดินีนไดนิวคลีโอไทด์ฟอสเฟต · ดูเพิ่มเติม »

น้ำผลไม้

น้ำส้มเป็นน้ำผลไม้จากผลส้ม น้ำผลไม้ คือของเหลวที่อยู่ในเนื้อเยื่อของผลไม้ตามธรรมชาติ อาจรวมถึงของเหลวจากผลของผักบางชนิดด้วยเช่น ส้ม น้ำผลไม้ได้มาจากการคั้นหรือการปั่นผลไม้เหล่านั้นโดยไม่ต้องใช้ความร้อนหรือตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น น้ำส้มก็คือของเหลวที่สกัดจากผลส้ม น้ำมะนาวก็คือของเหลวที่สกัดจากผลมะนาว น้ำผลไม้สำเร็จที่วางขายในท้องตลาดหลายยี่ห้อถูกกรองเอาเส้นใย เนื้อ หรือกากออก แต่น้ำผลไม้ที่มีเนื้อก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มที่นิยม น้ำผลไม้อาจขายในรูปแบบเข้มข้น ซึ่งจำเป็นจะต้องเติมน้ำเพื่อลดความเข้มข้นจนกระทั่งอยู่ในสถานะปกติ อย่างไรก็ตาม น้ำผลไม้แบบเข้มข้นมักจะมีรสชาติที่ผิดแปลกไปจากน้ำผลไม้คั้นสดอย่างชัดเจน น้ำผลไม้บางชนิดอาจมีการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหารก่อนวางจำหน่าย อาทิ พาสเจอร์ไรซ์ การแช่แข็ง การระเหย หรือการอบให้เป็นผงแห้ง เป็นต้น.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและน้ำผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

แป้ง

แป้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและแป้ง · ดูเพิ่มเติม »

โมเลกุล

โครงสร้างสามมิติ (ซ้ายและกลาง) และโครงสร้างสองมิติ (ขวา) ของโมเลกุลเทอร์พีนอย โมเลกุล (molecule) เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพังและยังคงความเป็นสารดังกล่าวไว้ได้ โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุมาเกิดพันธะเคมีกันกลายเป็นสารประกอบชนิดต่าง ๆ ใน 1 โมเลกุล อาจจะประกอบด้วยอะตอมของธาตุทางเคมีตัวเดียว เช่น ออกซิเจน (O2) หรืออาจจะมีหลายธาตุก็ได้ เช่น น้ำ (H2O) ซึ่งเป็นการประกอบร่วมกันของ ไฮโดรเจน 2 อะตอมกับ ออกซิเจน 1 อะตอม หากโมเลกุลหลายโมเลกุลมาเกิดพันธะเคมีต่อกัน ก็จะทำให้เกิดสสารขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ เช่น (H2O) รวมกันหลายโมเลกุล เป็นน้ำ มโลเกุล มโลเกุล หมวดหมู่:โมเลกุล.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

รคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease (CAD)) หรือที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (accessdate หรือ atherosclerotic cardiovascular disease หรือ coronary heart disease) หรือ โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease (IHD)) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของโรคหัวใจ และ สาเหตุของโรคหัวใจล้มเหลว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

โรคหืด

รคหืด (asthma) เป็นโรคการอักเสบเรื้อรังของทางเดินอากาศหายใจที่พบบ่อย ลักษณะคือ มีอาการหลายอย่างแบบเป็นซ้ำ มีการอุดกั้นทางเดินอากาศหายใจและหลอดลมหดเกร็งแบบย้อนกลับได้ อาการทั่วไปมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอกและหายใจกระชั้น เชื่อว่าโรคหืดเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมผสมกัน การวินิจฉัยโดยปกติอาศัยรูปแบบของอาการ การตอบสนองต่อการรักษาตามเวลาและการวัดปริมาตรอากาศหายใจ (spirometry) ในทางคลินิก จำแนกตามความถี่ของอาการ ปริมาตรการหายใจออกเบ่งใน 1 วินาที (FEV1) และอัตราการไหลหายใจออกสูงสุด (peak expiratory flow rate) โรคหืดยังอาจจำแนกเป็นภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (atopic) หรือภายนอก (extrinsic) หรือไม่ใช่ภูมิแพ้กรรมพันธุ์ (non-atopic) หรือภายใน (intrinsic) โดยภูมิแพ้กรรมพันธุ์หมายถึงความไวแฝงรับโรค (predisposition) ต่อการเกิดปฏิกิริยาไวเกินชนิดที่ 1 การรักษาอาการเฉียบพลันโดยปกติใช้ตัวทำการบีตา-2 ที่ออกฤทธิ์สั้นแบบสูด (inhaled short-acting beta-2 agonist) เช่น ซัลบูทามอล และคอร์ติโคสเตอรอยด์ทางปาก ในผู้ป่วยที่อาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์ แมกนีเซียมซัลเฟตทางหลอดเลือดดำ และให้เข้าโรงพยาบาล อาการสามารถป้องกันได้โดยการเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้และยาระคาย และโดยการใช้คอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูด ตัวทำการบีตาที่ออกฤทธิ์ยาว (LABA) หรือสารต้านลิวโคไตรอีน (antileukotriene) อาจใช้เพิ่มเติมจากคอร์ติโคสเตอรอยด์แบบสูดหากยังควบคุมอาการโรคหืดไม่ได้ การเกิดโรคหืดเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 ในปี 2554 มีผู้ได้รับวินิจฉัยเป็นโรคหืดทั่วโลก 235–300 ล้านคน และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 250,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศกำลังพัฒนา ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยเด็ก ประวัติศาสตร์ของโรคหืดมีย้อนไปถึงสมัยอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโรคหืด · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตจาง

ลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโลหิตจาง · ดูเพิ่มเติม »

โดพามีน

มีน (Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโดพามีน · ดูเพิ่มเติม »

โครมาติน

'''Fig. 1:''' The major structures in DNA compaction; DNA, the nucleosome, the 10nm "beads-on-a-string" fibre, the 30nm fibre and the metaphase chromosome. โครมาติน เป็นโครงสร้างย่อยของนิวเคลียส โครโมโซม 1 แท่งประกอบด้วยโครมาตินหรือโครมาทิด (Chromatid) ที่เหมือนกันซึ่งเกิดจากการที่โครโมโซมจำลองตัวเองขึ้นมาโดยโครมาตินหรือโครมาทิดทั้งสองจะติดกันตรงส่วนที่เรียกว่า เซนโทรเมียร์ (Centromere) โครมาทิน หรือ โครมาติน (chromatin) คือ สายของดีเอ็นเอ(DNA)สายยาวเพียงสายเดียวที่พันตัวรอบโปรตีนที่ชื่อ“ฮิสโตน(histone)”เอาไว้ ทำให้รูปร่างของโครมาทิน(chromatin) มีรูปร่างคล้ายลูกปัดที่มีลักษณะเรียงต่อๆกัน โดยมีสายของดีเอ็นเอ (DNA) พันรอบลูกปัดนั้นอยู่ โครมาทิน(chromatin) จึงเป็นสารประเภท “นิวคลีโอโปรตีน (Nucleoprotein)” นอกจากนี้ในโครมาทิน(chromatin)ยังประกอบด้วยโปรตีนที่ไม่ใช่ฮิสโตน (nonhistone)อีกด้วย โดยโครมาทิน(chromatin) จะพบในส่วนของนิวเคลียส เมื่อทำการย้อมสีเซลล์ของเซลล์แบบทั่วๆไป ในส่วนของโครมาทิน(chromatin) จะสามารถติดสีได้ดีและมีรูปร่างคล้ายเส้นใยตาข่าย (chromatin network) ละเอียดๆ จึงทำให้เห็นส่วนของนิวเคลียสได้ชัดเจน โดยโครมาทิน(chromatin)มักพบได้ในช่วงที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) หมวดหมู่:อณูพันธุศาสตร์.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโครมาติน · ดูเพิ่มเติม »

โปรตอน

| magnetic_moment.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

ไกลซีน

กลซีน (glycineย่อว่าGly หรือ G) เป็นกรดอะมิโนที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดากรดอะมิโน 20 ตัวที่พบทั่วไปในโปรตีน ร่ายกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ได้เอง มีสูตรโครงสร้างเป็ร NH2CH2COOH มีอะตอมของไฮโดรเจนเป็นโซ่ข้างโคดอนคือ GGU, GGC, GGA, GGG ไกลซีนเป็นสารไม่มีสี รสหวาน เป็นผลึกแข็ง ไม่มีสูตรโครงสร้างแบบไครอล อยู่ได้ทั้งในสภาวะที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ เพราะในโมเลกุลมีไฮโดรเจนเป็นโซข้าง 2 ตัว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไกลซีน · ดูเพิ่มเติม »

ไก่

ลูกเจี๊ยบขณะมีอายุได้หนึ่งวัน ไก่ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ปีกจำพวกนก ชื่อวิทยาศาสตร์ Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง ไก่ดำ ไก่นา เสียงร้องดัง ต๊อก ต๊อก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ไอออน

แผนภาพประจุอิเล็กตรอนของไนเตรตไอออน ไอออน คือ อะตอม หรือกลุ่มอะตอม ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นไอออนที่มีประจุลบ gaaจะมีอิเล็กตรอนในชั้นอิเล็กตรอน (electron shell) มากกว่าที่มันมีโปรตอนในนิวเคลียส เราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า แอนไอออน (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแอโนด (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า แคทไอออน (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแคโทด (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไอออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไอออน เรียกว่า การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion) ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น H+, SO32- กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้แต่ก๊าซ ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของสสาร เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจากของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไอออน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮไดรด์

รด์ (hydride) เป็นชื่อของไอออนประจุลบของไฮโดรเจน, H− คำว่าไฮไดรด์มีสองความหมายที่แต่งกันแต่ใช้คำเดียวกัน ในทางเคมี ไฮไดรด์หมายถึง 1 ไฮโดรเจนที่เกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไฮโดรเจนประจุลบ และ 2 ไฮโดรเจนลิแกนด์ในโลหะเชิงซ้อนGreenwood, N. N.; & Earnshaw, A. (1997).

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไฮไดรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไข่

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไต · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไซโทพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

ไนอาซิน

นอาซิน หรือ ไนอะซิน (niacin) หรือ กรดนิโคตินิก (nicotinic acid) หรือ วิตามินบี3 (vitamin B3) เป็นวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ซึ่งจำเป็นใน Lipid Metabolism,Tissue respiration และ Glycogenolysis Nicotinic Acid ในปริมาณสูง ๆ จึงสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยฤทธิ์ของยาจะทำให้ระดับ Triacylglycerol ใน Plasma และ VLDL ลดลงภายใน 1-4 วัน ส่วนฤทธิ์ในการลดระดับโคเลสเตอรอลและ LDL นั้น 5-7 วันจึงจะเห็นผล และนอกจากนั้น Nicotinic Acid ยังสามารถเพิ่ม HDL อีกด้วย จากการทดลองผลการลดระดับไขมันในเลือดจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดหลังรับประทานยา 5-7 สัปดาห์ ยาส่วนเกินที่รับประทานเข้าไปจะขับออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ ซึ่งร่างกายมนุษย์มีความต้องการวิตามินชนิดนี้วันละ 13-19 มิลลิกรัม, วันที่สืบค้น 24 เมษายน 2559 จาก www.pikool.com.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและไนอาซิน · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เบียร์

ียร์ในแก้ว เบียร์ เป็นเมรัยหลาย ๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติ บาบิโลเนียน เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ทีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเบียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมี

มี (chemistry) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาในเรื่องของสสาร โดยไม่เพียงแต่ศึกษาเฉพาะในเรื่องของปฏิกิริยาเคมี แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบ โครงสร้างและคุณสมบัติของสสารอีกด้วย การศึกษาทางด้านเคมีเน้นไปที่อะตอมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมกับอะตอม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติของพันธะเคมี บางครั้ง เคมีถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์ศูนย์กลาง เพราะเป็นวิชาช่วยที่เชื่อมโยงฟิสิกส์เข้ากับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่น เช่น ธรณีวิทยาหรือชีววิทยา ถึงแม้ว่าเคมีจะถือเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์กายภาพแต่ก็มีความแตกต่างจากวิชาฟิสิกส์ค่อนข้างมาก มีการถกเถียงกันอย่างมากมายถึงต้นกำเนิดของเคมี สันนิษฐานว่าเคมีน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการเล่นแร่แปรธาตุซึ่งเป็นที่นิยมกันมาอย่างยาวนานหลายสหัสวรรษในหลายส่วนของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตะวันออกกลาง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเคมี · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อ

นื้อ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: กรดโฟลิกและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ใหม่!!: กรดโฟลิกและSelective serotonin re-uptake inhibitors · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FolacinFolateFolic acidPteroyl-L-glutamateVitamin B9Vitamin BcVitamin Mวิตามินบี9วิตามินบีซีวิตามินเอ็มฟอลาซินโฟลาซินโฟเลทโฟเลต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »