โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กรดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กรดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

กรด vs. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

กรด (อังกฤษ: acid, มาจากภาษาละติน acidus/acēre หมายถึง "เปรี้ยว") เป็นสสารซึ่งทำปฏิกิริยากับเบส โดยทั่วไป กรดสามารถระบุได้ด้วยรสเปรี้ยว,สมบัติทำปฏิกิริยากับโลหะอย่างแคลเซียม และเบสอย่างโซเดียมคาร์บอเนต กรดที่ละลายน้ำมี pH น้อยกว่า 7 โดยที่กรดจะแรงขึ้นตามค่า pH ที่ลดลง และเปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นแดง ตัวอย่างทั่วไปของกรด รวมไปถึง กรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู), กรดซัลฟิวริก (ในแบตเตอรีรถยนต์), และกรดทาร์ทาริก (ในการทำขนม) ดังสามตัวอย่างข้างต้น กรดสามารถเป็นได้ทั้งสารละลาย ของเหลวหรือของแข็ง สำหรับแก๊ส อย่างเช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ ก็เป็นกรดได้เช่นกัน กรดแรงและกรดอ่อนเข้มข้นบางตัวมีฤทธิ์กัดกร่อน แต่มีข้อยกเว้น เช่น คาร์บอรีนและกรดบอริก นิยามกรดโดยทั่วไปมีสามนิยาม ได้แก่ นิยามอาร์เรเนียส นิยามเบรินสเตด-ลาวรี และนิยามลิวอิส นิยามอาร์เรเนียสกล่าววว่า กรดคือ สสารที่เพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในสารละลาย นิยามเบรินสเตด-ลาวรีเป็นการขยายขึ้น คือ กรดเป็นสสารซึ่งสามารถทำหน้าที่ให้โปรตอน กรดส่วนมากที่พบในชีวิตประจำวันเป็นสารละลายในน้ำ หรือสามารถละลายได้ในน้ำ และสองนิยามนี้เกี่ยวเนื่องที่สุด สาเหตุที่ pH ของกรดน้อยกว่า 7 นั้น เป็นเพราะความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่า 10-7 โมลต่อลิตร เนื่องจาก pH นิยามเป็นลอการิทึมลบของความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไออน ดังนั้น กรดจึงมี pH น้อยกว่า 7 ตามนิยามเบรินสเตด-ลาวรี สารประกอบใดซึ่งสามารถให้โปรตอนง่ายสามารถพิจารณาได้ว่าเป็นกรด ตัวอย่างมีแอลกอฮอล์และเอมีน ซึ่งมีหมู่ O-H หรือ N-H ในทางเคมี นิยามกรดลิวอิสเป็นนิยามที่พบมากที่สุด กรดลิวอิสเป็นตัวรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว ตัวอย่างกรดลิวอิส รวมไปถึงไอออนลบโลหะทั้งหมด และโมเลกุลอิเล็กตรอนน้อย เช่น โบรอนฟลูออไรด์ และอะลูมิเนียมไตรคลอไรด์ ไฮโดรเนียมไอออนเป็นกรดตามทั้งสามนิยามข้างต้น ที่น่าสนใจคือ แม้แอลกอฮอล์และเอมีนสามารถเป็นกรดเบรินเสตด-ลาวรีได้ตามที่อธิบายข้างต้น ทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเบสลิวอิสได้ เนื่องจากอะตอมออกซิเจนและไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นการสังหารหมู่พันธุฆาตทุตซี (Tutsi) และฮูตู (Hutu) สายกลางในประเทศรวันดา โดยสมาชิกรัฐบาลฝ่ายข้างมากฮูตู ระหว่างสมัยประมาณ 100 วันตั้งแต่วันที่ 7 เมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2537 มีชาวรวันดาประมาณ 501,000–1,000,000 คนเสียชีวิต ซึ่งเป็น 70% ของชาวทุตซี และ 20% ของประชากรรวมของรวันดา สมาชิกอภิชนการเมืองแกนกลางที่เรียก อะคะซุ (akazu) วางแผนพันธุฆาตนี้ ซึ่งหลายคนนั่งตำแหน่งระดับสูงสุดของรัฐบาลแห่งชาติ ผู้ก่อการมาจากทหารในกองทัพรวันดา ตำรวจแห่งชาติ (ก็องดาร์เมอรี) ทหารอาสาสมัครที่รัฐบาลสนับสนุน ซึ่งมีอินเตราฮัมเว (Interahamwe) และอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi) และประชากรพลเรือนฮูตู พันธุฆาตดังกล่าวเกิดในบริบทสงครามกลางเมืองรวันดา ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินซึ่งเริ่มในปี 2533 ระหว่างรัฐบาลที่มีฮูตูนำกับแนวร่วมรักประเทศชาติรวันดา (Rwandan Patriotic Front, RDF) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผู้ลี้ภัยทุตซีซึ่งครอบครัวของพวกเขาหลบหนีไปประเทศยูกันดาให้หลังระลอกความรุนแรงต่อทุตซีของฮูตู การกดดันระหว่างประเทศต่อรัฐบาลที่มีฮูตูนำของจูเวนัล ไฮเบียรีมานา (Juvénal Habyarimana) ส่งผลให้มีการหยุดยิงในปี 2536 โดยแผนการนำข้อตกลงอารูชา (Arusha Accords) ไปปฏิบัติซึ่งจะสร้างรัฐบาลที่แบ่งอำนาจกับ RDF ความตกลงนี้ทำให้ฮูตูอนุรักษนิยมจำนวนมากไม่พอใจ ซึ่งมีสมาชิกอะคะซุด้วย ซึ่งมองว่าเป็นการยอมรับข้อเรียกร้องของศัตรู ในหมู่ประชากรฮูตูทั่วไป การทัพของ RDF ยังเร่งเร้าการสนับสนุนอุดมการณ์ที่เรียก "พลังฮูตู" ซึ่งพรรณา RDF ว่าเป็นกำลังต่างด้าวที่เจตนาฟื้นฟูพระมหากษัตริย์ทุตซีและจับฮูตูเป็นทาส เป็นความเชื่อที่ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างสุดขั้ว วันที่ 6 เมษายน 2537 เครื่องบินที่บรรทุกไฮเบียรีมานา และประธานาธิบดีบุรุนดี ไซเปรียน ทายามิรา (Cyprien Ntaryamira) ถูกยิงตกระหว่างลงจอดสู่กรุงคิกาลี ทำให้ทุกคนบนเครื่องเสียชีวิต การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มในวันต่อมา ทหาร ตำรวจและทหารอาสาสมัครประหารชีวิตผู้นำทุตซีและฮูตูสายกลางคนสำคัญอย่างรวดเร็ว แล้วตั้งจุดตรวจและสิ่งกีดขวางและใช้บัตรประจำตัวประชาชนชาวรวันดาเพื่อฆ่าทุตซีอย่างเป็นระบบ กำลังเหล่านี้เกณฑ์หรือกดดันพลเรือนฮูตูให้ติดอาวุธตนเองด้วยพร้า กระบอง วัตถุทื่อ และอาวุธอื่นเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ทำร้ายอวัยวะและฆ่าเพื่อนบ้านทุตซีของตนและทำลายหรือขโมยทรัพย์สินของพวกเขา การละเมิดความตกลงสันติภาพทำให้ RDF เริ่มการบุกใหม่และยึดการควบคุมส่วนเหนือของประเทศอย่างรวดเร็วก่อนยึดกรุงคิกาลีในกลางเดือนกรกฎาคม ทำให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สิ้นสุด ระหว่างเหตุการณ์และผลลัพธ์ สหประชาชาติและประเทศอย่างสหรัฐ สหราชอาณาจักร และเบลเยียมถูกวิจารณ์ว่าอยู่เฉย ซึ่งรวมความล้มเหลวในการเสริมกำลังและอาณัติของทหารรักษาสันติภาพคณะผู้แทนช่วยเหลือแก่รวันดาของสหประชาชาติ (United Nations Assistance Mission for Rwanda, UNAMIR) ส่วนผู้สังเกตการณ์วิจารณ์รัฐบาลฝรั่งเศสโดยกล่าวหาว่าสนับสนุนรัฐบาลที่ฮูตูนำหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มแล้ว พันธุฆาตนี้มีผลกระทบยาวนานล้ำลึกต่อประเทศรวันดาและประเทศเพื่อนบ้าน การใช้การข่มขืนกระทำชำเรายามสงครามอย่างแพร่หลายทำให้มีการติดเชื้อเอชไอวีพุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมเด็กทารกที่เกิดจากการข่มขืนกระทำชำเรามารดาที่ติดเชื้อใหม่ หลายครัวเรือนมีเด็กกำพร้าหรือหญิงหม้ายเป็นหัวหน้าครอบครัว การทำลายโครงสร้างพื้นฐานและการลดประชากรของประเทศอย่างรุนแรงทำให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต เป็นความท้าทายแก่รัฐบาลใหม่ที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและสร้างเสถียรภาพ ชัยทางทหารของ RDF และการตั้งรัฐบาลที่ RDF ครอบงำทำให้ฮูตูหลายคนหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนตะวันออกของประเทศซาเอียร์ (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก) ที่ที่ฮูตูผู้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มรวมกลุ่มใหม่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนกับประเทศรวันดา รัฐบาลที่มี RDF นำประกาศความจำเป็นต่อป้องกันมิให้เกิดพันธุฆาตอีก จึงนำการบุกเข้าประเทศซาเอียร์ ได้แก่ สงครามคองโกครั้งที่หนึ่ง (2539–2540) และครั้งที่สอง (2542–2546) การต่อสู้ด้วยอาวุธระหว่างรัฐบาลรวันดากับศัตรูในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกยังดำเนินต่อผ่านทหารอาสาสมัครตัวแทนในภูมิภาคโกมา ซึ่งรวมการกบฏเอ็ม23 (2546–2556) ประชากรฮูตูและทุตซีรวันดาขนาดใหญ่ยังอาศัยแบบผู้ลี้ภัยทั่วภูมิภาค ปัจจุบัน ประเทศรวันดามีวันหยุดราชการสองวันเพื่อระลึกถึงพันธุฆาตดังกล่าว ช่วงรำลึกแห่งชาติเริ่มด้วยวันอนุสรณ์พันธุฆาตในวันที่ 7 เมษายนและสิ้นสุดด้วยวันปลดปล่อยในวันที่ 4 กรกฎาคม สัปดาห์ถัดจากวันที่ 7 เมษายนกำหนดให้เป็นสัปดาห์ไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดาเป็นเหตุผลสนับสนุนให้สร้างศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อกำจัดความจำเป็นสำหรับศาลชำนัญพิเศษเฉพาะกิจเพื่อฟ้องดำเนินคดีต่อผู้ที่ถูกกล่าวหาในเหตุพันธุฆาต อาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงครามในอนาคต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กรดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

กรดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กรดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา

กรด มี 38 ความสัมพันธ์ขณะที่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (38 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กรดและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์รวันดา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »