เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กปปส.และยุทธศักดิ์ ศศิประภา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กปปส.และยุทธศักดิ์ ศศิประภา

กปปส. vs. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

กปป. มีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ ชื่อเดิม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า People's Democratic Reform Committee, แปลตามตัวอักษร คณะกรรมการประชาชนปฏิรูปประชาธิปไตย, ย่อ: PDRC) เป็นกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทย โดยมุ่งหมายขจัดอิทธิพลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จากการเมืองไทย และการจัดตั้งสภาประชาชนที่มิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อควบคุมการปฏิรูปการเมือง กลุ่มดังกล่าวมีบทบาทสูงในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ในสถานะของผู้จัดกิจกรรมชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร สุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำการประท้วงและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งกลุ่มดังกล่าวตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 และแต่งตั้งตนเองเป็นเลขาธิการ ขบวนการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์การ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มนักเคลื่อนไหวนักศึกษา สหภาพแรงงานของรัฐ และกลุ่มนิยมทหาร การสนับสนุนของ กปป. ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประธานสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลทักษิณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย และอดีตปลัดกระทรวงกลาโหม โดยสื่อมวลชนมักเรียกว่า "บิ๊กอ็อด".

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กปปส.และยุทธศักดิ์ ศศิประภา

กปปส.และยุทธศักดิ์ ศศิประภา มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครยิ่งลักษณ์ ชินวัตรวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557ทักษิณ ชินวัตรประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กปปส.และกรุงเทพมหานคร · กรุงเทพมหานครและยุทธศักดิ์ ศศิประภา · ดูเพิ่มเติม »

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

งลักษณ์ ชินวัตร เกิดวันที่ 21 มิถุนายน..

กปปส.และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร · ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรและยุทธศักดิ์ ศศิประภา · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไท..

กปปส.และวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 · ยุทธศักดิ์ ศศิประภาและวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 · ดูเพิ่มเติม »

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2544 ถึง 2549 และเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 เคยเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อดีตข้าราชการตำรวจ (ชั้นยศสูงสุดที่ พันตำรวจโท) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี อดีตที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา และ ศาสตราจารย์อาคันตุกะแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันถือสัญชาติมอนเตเนโกร ปี 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ซึ่งพรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก ทักษิณใช้หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ก่อนกำหนดเดิม และดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความยากจนในชนบท โดยสามารถลดความยากจนได้ถึงครึ่งหนึ่งภายในสี่ปี ริเริ่มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นครั้งแรกของประเทศ ตลอดจนการกวาดล้างยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดช่วยให้เขามีความนิยมอย่างสูง ทักษิณเริ่มดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ รวมทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 57 ของจีดีพีในเดือนมกราคม 2544 เหลือร้อยละ 41 ในเดือนกันยายน 2549 รวมทั้งระดับการฉ้อราษฎร์บังหลวงลดลง โดยดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เพิ่มขึ้นจาก 3.2 เป็น 3.8 ระหว่างปี 2544 และ 2549 ทักษิณดำรงตำแหน่งจนครบวาระสี่ปี เป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งดำรงตำแหน่งจนครบวาระคนแรก และจากผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ดี มีผู้กล่าวหารัฐบาลทักษิณหลายประการเช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าหลีกเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติThe Star,, 2 April 2006The Nation,, 23 March 2006 องค์การนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ทักษิณว่า มีประวัติเชิงสิทธิมนุษยชนไม่สู้ดี และเขายังถูกกล่าวหาว่าปกปิดทรัพย์สินระหว่างดำรงตำแหน่งการเมือง ฟอรีนพอลิซี ยกตัวอย่างว่า เขาเป็นอดีตผู้นำของโลกที่ประพฤติไม่ดี เกิดการประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549 และวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ศาลที่ คม.

กปปส.และทักษิณ ชินวัตร · ทักษิณ ชินวัตรและยุทธศักดิ์ ศศิประภา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

กปปส.และประเทศไทย · ประเทศไทยและยุทธศักดิ์ ศศิประภา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กปปส.และยุทธศักดิ์ ศศิประภา

กปปส. มี 45 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุทธศักดิ์ ศศิประภา มี 63 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 4.63% = 5 / (45 + 63)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กปปส.และยุทธศักดิ์ ศศิประภา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: