โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กบฏซะสึมะและแคว้นซัตสึมะ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กบฏซะสึมะและแคว้นซัตสึมะ

กบฏซะสึมะ vs. แคว้นซัตสึมะ

กบฏซะสึมะ หรือ สงครามเซนัน ("สงครามภาคตะวันตกเฉียงใต้, สงครามภาคหรดี") เป็นการก่อกบฎของกลุ่มซะมุไรที่ต่อต้านรัฐบาลเมจิใหม่ (รัฐบาลองค์จักรพรรดิ) เก้าปีภายหลังเริ่มยุคเมจิ การกบฏเกิดขึ้นในปลายเดือนมกราคม 1877 และดำเนินไปถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน เมื่อผู้นำของฝ่ายกบฏ ไซโง ทะกะโมะริ ได้จบชีวิตลง การกบฏเกิดขึ้นในอดีตแคว้นซะสึมะบนเกาะคีวชู แคว้นนี้เป็นแคว้นที่มีบทบาทสำคัญที่สนับสนุนฝ่ายองค์จักรพรรดิในสงครามโบะชิง ซึ่งภายหลังจากก่อตั้งรัฐบาลเมจิและสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น อดีตแคว้นซะสึมะก็กลายเป็นที่พำนักของเหล่าอดีตซะมุไรจำนวนมาก อดีตซะมุไรเหล่านี้ได้สูญเสียสถานะทางสังคมตลอดจนบรรดาอภิสิทธิทั้งหลายจากการปฏิรูปการทหารของรัฐบาล ซะมุไรได้ถูกแทนที่ด้วยปืนไรเฟิลจากตะวันตก ทำให้ไม่มีใครว่าจ้างซะมุไรเหล่านี้ให้ไปคุ้มครองอีกต่อไป จนเกิดเป็นความคับแค้นใจต่อรัฐบาลเมจิขึ้น left ไซโง ทะกะโมะริ เป็นหนึ่งในขุนพลคนสำคัญที่เคยอยู่ฝ่ายจักรพรรดิและร่วมโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ทำให้ภายหลังการตั้งรัฐบาลเมจิ เขาได้เป็นหนึ่งในผู้นำอาวุโสของรัฐบาล ในปี 1873 เขาเป็นคนเสนอให้ญี่ปุ่นทำสงครามเพื่อยึดครองเกาหลี โดยมีเหตุผลว่า สงครามกับเกาหลีนั้นเป็นทั้งประโยชน์ต่อชาติญี่ปุ่น และก็เป็นประโยชน์ต่อบรรดาอดีตซะมุไรที่จะได้แสวงหาการตายแบบมีเกียรติและศักดิ์ศรี แต่ข้อเสนอของเขาก็ได้รับการปฏิเสธ ภายหลังแผนการของเขาถูกปฏิเสธ เขาก็ลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาลเพื่อเป็นการประท้วงและกลับไปยังคะโงะชิมะ บ้านเกิดของเขา เขาได้สนับสนุนบรรดาอดีตซะมุไรเหล่านี้ โดยได้เปิดสำนักเป็นของตัวเองในคะโงะชิมะ สอนเกี่ยวกับวิถีนักรบ และในที่สุดก็มีสาขาถึง 132 สาขาทั่วทั้งจังหวัด นอกจากนี้เขายังจัดตั้งโรงเรียนสรรพาวุธขึ้น โดยเน้นไปที่การสอนองค์กรการเมืองกำลังรบกึ่งทหารมากกว่าสิ่งอื่นใด จนในที่สุด ไซโงก็ได้รับแรงสนับสนุนมากมาย และตัดสินใจเผชิญหน้ารัฐบาลองค์จักรพรร. งสีของแคว้นซัตสึมะในสงครามโบะชิน แคว้นซัตสึมะ เคยเป็นหนึ่งในแคว้นไดเมียวที่ทรงอำนาจที่สุดในสมัยรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ หรือสมัยเอะโดะของญี่ปุ่นในอดีต มีบทบาทสำคัญในสมัยการปฏิรูปเมจิ ทั้งยังครองตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเมจิหลังการปฏิรูปด้วยเช่นกัน ตลอดอายุของแคว้นซัตสึมะ แคว้นนี้ได้ถูกปกครองโดยไดเมียวระดับโทะซะมะ จากตระกูลชิมะซุ หลายต่อหลายรุ่น อาณาเขตของแคว้นกินพื้นที่ด้านใต้ของเกาะคีวชู ในบริเวณอดีตจังหวัดซัตสึมะ อดีตจังหวัดโอซุมิ และด้านตะวันตกของอดีตจังหวัดฮีวงะ มีอาณาจักรรีวกีว เป็นประเทศราช ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นจังหวัดคาโงชิมะ ส่วนที่เหลือเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมิยะซะกิ แคว้นซัตสึมะ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า แคว้นคาโงชิมะ มีศุนย์กลางการปกครองที่ปราสาทคาโงชิมะ ในเมืองคาโงชิมะ แคว้นซัตสึมะมีผลผลิตมวลรวมของแคว้นคิดเป็นหน่วยโคกุดะกะ (หน่วยวัดผลผลิตข้าวทั้งหมดแต่ละแคว้นในระบบศักดินาสมัยเอะโดะ สะท้อนถึงอำนาจและความมั่งคั่งของแคว้น ดังเช่น GDP ในปัจจุบัน) อยู่ที่ 770,000 โคกุ สูงเป็นอันดับสองรองจากแคว้นคะกะ ตระกูลชิมะซุ ปกครองแคว้นซัตสึมะเป็นเวลาประมาณ 4 ศตวรรษ นับแต่ก่อตั้งแคว้นในต้นยุคเอะโดะ จนถึงศตวรรษที่ 16 กินอาณาเขตเกือบทั้งเกาะคีวชู แม้ว่าจะถูกโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ปราบปรามในยุทธการคีวชู ค.ศ. 1587 เพื่อปราบปรามและควบคุมไดเมียวตามหัวเมืองต่างๆ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงเป็นตระกูลที่มีอิทธิพลสูงสุดเหนือเกาะต่างๆรอบข้างเหมือนเดิม ในระหว่างศึกเซกิงะฮะระ ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ ปิดฉากยุคเซงโงะกุ อันเป็นยุคแห่งไฟสงครามในค.ศ. 1600 ตระกูลชิมะซุก็ยังคงตั้งมั่นที่แคว้นซัตสึมะเพื่อรวบรวมและป้องกันกำลังของตัวเอง ในขณะที่ตระกูลอื่นๆถูกกำจัดไปในสงครามครั้งนี้ ตระกูลชิมะซุเป็นหนึ่งในไม่กี่ตระกูลที่สามารถรักษากองกำลังของตนเองเพื่อต่อต้านกองทัพของโชกุน ที่พยายามครอบครองดินแดนญี่ปุ่นทั้งหมดได้ ต่างกับอีกหลายตระกูลที่ยอมแพ้สละแว่นแคว้นที่ตนเองปกครองให้กับโชกุนในยุคเอะโดะ ตระกูลชิมะซุก็ยังคงดำรงสถานะความเป็นแคว้นของซัตสึมะ และอำนาจในการปกครองไว้ได้ตราบจนสิ้นยุคโชกุน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กบฏซะสึมะและแคว้นซัตสึมะ

กบฏซะสึมะและแคว้นซัตสึมะ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐบาลเอโดะเกาะคีวชู

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

กบฏซะสึมะและรัฐบาลเอโดะ · รัฐบาลเอโดะและแคว้นซัตสึมะ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะคีวชู

ีวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น และตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35,640 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 14,779,000 คน (ปี 2003) ชื่อคีวชูหมายถึง เก้าแคว้น.

กบฏซะสึมะและเกาะคีวชู · เกาะคีวชูและแคว้นซัตสึมะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กบฏซะสึมะและแคว้นซัตสึมะ

กบฏซะสึมะ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ แคว้นซัตสึมะ มี 22 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 6.06% = 2 / (11 + 22)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กบฏซะสึมะและแคว้นซัตสึมะ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »