โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กบฏซะสึมะและสงครามโลกครั้งที่สอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กบฏซะสึมะและสงครามโลกครั้งที่สอง

กบฏซะสึมะ vs. สงครามโลกครั้งที่สอง

กบฏซะสึมะ หรือ สงครามเซนัน ("สงครามภาคตะวันตกเฉียงใต้, สงครามภาคหรดี") เป็นการก่อกบฎของกลุ่มซะมุไรที่ต่อต้านรัฐบาลเมจิใหม่ (รัฐบาลองค์จักรพรรดิ) เก้าปีภายหลังเริ่มยุคเมจิ การกบฏเกิดขึ้นในปลายเดือนมกราคม 1877 และดำเนินไปถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน เมื่อผู้นำของฝ่ายกบฏ ไซโง ทะกะโมะริ ได้จบชีวิตลง การกบฏเกิดขึ้นในอดีตแคว้นซะสึมะบนเกาะคีวชู แคว้นนี้เป็นแคว้นที่มีบทบาทสำคัญที่สนับสนุนฝ่ายองค์จักรพรรดิในสงครามโบะชิง ซึ่งภายหลังจากก่อตั้งรัฐบาลเมจิและสถาปนาจักรวรรดิญี่ปุ่น อดีตแคว้นซะสึมะก็กลายเป็นที่พำนักของเหล่าอดีตซะมุไรจำนวนมาก อดีตซะมุไรเหล่านี้ได้สูญเสียสถานะทางสังคมตลอดจนบรรดาอภิสิทธิทั้งหลายจากการปฏิรูปการทหารของรัฐบาล ซะมุไรได้ถูกแทนที่ด้วยปืนไรเฟิลจากตะวันตก ทำให้ไม่มีใครว่าจ้างซะมุไรเหล่านี้ให้ไปคุ้มครองอีกต่อไป จนเกิดเป็นความคับแค้นใจต่อรัฐบาลเมจิขึ้น left ไซโง ทะกะโมะริ เป็นหนึ่งในขุนพลคนสำคัญที่เคยอยู่ฝ่ายจักรพรรดิและร่วมโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ทำให้ภายหลังการตั้งรัฐบาลเมจิ เขาได้เป็นหนึ่งในผู้นำอาวุโสของรัฐบาล ในปี 1873 เขาเป็นคนเสนอให้ญี่ปุ่นทำสงครามเพื่อยึดครองเกาหลี โดยมีเหตุผลว่า สงครามกับเกาหลีนั้นเป็นทั้งประโยชน์ต่อชาติญี่ปุ่น และก็เป็นประโยชน์ต่อบรรดาอดีตซะมุไรที่จะได้แสวงหาการตายแบบมีเกียรติและศักดิ์ศรี แต่ข้อเสนอของเขาก็ได้รับการปฏิเสธ ภายหลังแผนการของเขาถูกปฏิเสธ เขาก็ลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาลเพื่อเป็นการประท้วงและกลับไปยังคะโงะชิมะ บ้านเกิดของเขา เขาได้สนับสนุนบรรดาอดีตซะมุไรเหล่านี้ โดยได้เปิดสำนักเป็นของตัวเองในคะโงะชิมะ สอนเกี่ยวกับวิถีนักรบ และในที่สุดก็มีสาขาถึง 132 สาขาทั่วทั้งจังหวัด นอกจากนี้เขายังจัดตั้งโรงเรียนสรรพาวุธขึ้น โดยเน้นไปที่การสอนองค์กรการเมืองกำลังรบกึ่งทหารมากกว่าสิ่งอื่นใด จนในที่สุด ไซโงก็ได้รับแรงสนับสนุนมากมาย และตัดสินใจเผชิญหน้ารัฐบาลองค์จักรพรร. งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กบฏซะสึมะและสงครามโลกครั้งที่สอง

กบฏซะสึมะและสงครามโลกครั้งที่สอง มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาว หรือไรเฟิล (Rifle) เป็นอาวุธปืนที่มีขนาดยาว ถูกออกแบบมาเพื่อการยิงทำลายเป้าหมายที่อยู่ในระยะไกลโดยเฉพาะ โดยจะมีพานท้ายสำหรับใช้ประทับร่องไหล่ เพื่อช่วยในการเล็งหาเป้าหมาย ภายในลำกล้องมีการเซาะให้เป็นสันและร่องเกลียวที่ผนังลำกล้อง ซึ่งสันเกลียวเรียกว่า "Land" ส่วนร่องเกลียวเรียกว่า "Groove" ซึ่งสันเกลียวนี้จะสัมผัสกับหัวกระสุนและรีดหัวกระสุนไปตามสันเกลียวและหมุนควงรอบตัวเอง เพื่อรักษาการเคลื่อนที่ของหัวกระสุนไม่ให้ตีลังกาในอากาศและเพื่อเพิ่มความแม่นยำตลอดจนอานุภาพสังหาร เทียบได้กับการขว้างลูกบอลในกีฬาอเมริกันฟุตบอลหรือกีฬารักบี้ คำว่า "ไรเฟิล (Rifle)" นั้นมาจากคำว่า Rifling ซึ่งแปลว่าการทำให้เป็นร่อง นิยมใช้เป็นอาวุธของทหารในสงคราม การล่าสัตว์ และกีฬายิงปืน ในทางทหารแล้วคำว่า "ปืน (Gun)" ไม่ได้หมายถึงปืนเล็กยาว ในทางทหารคำว่า "ปืน (Gun)" หมายถึง ปืนใหญ่ นอกจากนี้ ในงานนวนิยายหลายเรื่อง คำว่าปืนเล็กยาวหรือปืนไรเฟิลจะหมายถึงอาวุธใดๆ ก็ตามที่มีพานท้ายและต้องประทับบ่าก่อนยิง ถึงแม้ว่าอาวุธดังกล่าวจะไม่ได้ทำร่องในลำกล้องหรือไม่ได้ยิงกระสุนก็ตาม.

กบฏซะสึมะและปืนเล็กยาว · ปืนเล็กยาวและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กบฏซะสึมะและสงครามโลกครั้งที่สอง

กบฏซะสึมะ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามโลกครั้งที่สอง มี 331 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.29% = 1 / (11 + 331)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กบฏซะสึมะและสงครามโลกครั้งที่สอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »