ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กบฏจงโฮยและจงโฮย
กบฏจงโฮยและจงโฮย มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วุยก๊กสุมาเจียวจ๊กก๊กเกียงอุยเตงงาย
วุยก๊ก
วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..
กบฏจงโฮยและวุยก๊ก · จงโฮยและวุยก๊ก ·
สุมาเจียว
มเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ หรือ สุมาเจียว (สำเนียงกลางเรียกว่า "ซือหม่าเจา") เป็นโอรสองค์ที่สองของสุมาอี้ มีฉายาว่า จื่อส้าง เป็นคนเหี้ยม ฉลาดแกมโกง มีความทะเยอทะยานอยู่เป็นนิจ หลังจากสุมาอี้ตาย พระเจ้าโจฮองแต่งตั้งให้เป็นเพียวฉีส้างเจียงจวิน (สามก๊กไทยเรียกว่า เตียวกี๋เซียงจงกุ๋น สามก๊กอังกฤษแปลว่า นายพลทหารม้า) เมื่อสุมาสูผู้เป็นพี่ชายถึงแก่กรรม สุมาเจียวที่อยู่เมืองฮูโต๋ เกรงว่าพระเจ้าโจมอจะตั้งคนอื่นขึ้นควบคุมประเทศ จึงเคลื่อนทัพไฟตั้งใกล้ลกเอี๋ยง พระเจ้าโจมอกลัวว่าสุมาเจียวจะโค่นราชบัลลังก์ จึงมอบอำนาจในการบริหาร ราชการแผ่นดินให้สุมาเจียว และพระราชทานยศ "ต้าเจียงจวิน" พอได้อำนาจในแผ่นดิน สุมาเจียวคิดแย่งพระราชสมบัติของพระเจ้าโจมอ แต่ถูกจูกัดเอี๋ยน ผู้บัญชาการทหารที่ห้วยหลำขัดขวางจนเกิดสงคราม จูกัดเอี๋ยนถูกฆ่าตายพร้อมทั้งตระกูล ต่อพระเจ้าโจมอทรงมีความรู้สึกกดดันที่อยู่ภายใต้อำนาจสุมาเจียวจึงแต่งกลอนเพื่อระบายความในใจออกมาแต่กลอนนี้กับหลุดไปถึงหูสุมาเจียว ทำให้เกิดความโมโหจึงบุกเข้าไปด่าทอพระเจ้าโจมอในท้องพระโรงต่อหน้าข้าราชบริพารและออกจากท้องพระโรงโดยไม่ทูลลา พระเจ้าโจมอก็พิโรธจึงคิดจะกำจัดสุมาเจียว แต่สุมาเจียวรู้ตัวจึงให้พรรคพวกฆ่าพระเจ้าโจมอเสียโดยให้เซงเจ (เฉิงจี้) เป็นคนกำจัด เมื่อพระเจ้าโจมอสิ้นพระชนม์ก็ได้แสร้งทำเป็นร้องไห้ต่อศพพระเจ้าโจมอว่าตนยังจงรักภักกีต่อพระเจ้าโจมอและประหารเซงเจในข้อหาลอบปลงพระชนม์เพื่อไม่ให้ใครครหานินทาตนว่าเป็นโจรกบฏชิงราชสมบัติ แล้วยกโจฮวน หลานโจโฉขึ้นเสวยราชย์สืบไป หลังจากนั้น สุมาเจียวไปอำนวยการรบกับจ๊กก๊ก จับตัวพระเจ้าเล่าเสี้ยนมาเป็นเชลยได้ จึงได้รวมอาณาจักรจ๊กก๊กไว้ในราชอาณาจักรวุยก๊ก ต่อมาคิดแย่งราชสมบัติจากพระเจ้าโจฮวน จึงตั้งตัวเป็นจีนอ๋อง ภายหลังเสียชีวิตด้วยการหัวเราะพระเจ้าเล่าเสี้ยนต่อมาสุมาเอี๋ยนได้แย่งราชสมบัติจากพระเจ้าโจฮวนสำเร็จและสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้มีนามว่า พระเจ้าจิ้นหวู่แห่งราชวงศ์จิ้น และได้แต่งตั้งสุมาเจียว ผู้เป็นบิดาให้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิอุ๋นตี้ในที.
กบฏจงโฮยและสุมาเจียว · จงโฮยและสุมาเจียว ·
จ๊กก๊ก
กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..
กบฏจงโฮยและจ๊กก๊ก · จงโฮยและจ๊กก๊ก ·
เกียงอุย
กียงอุย หรือในสำเนียงจีนกลาง เจียงเหวย (Jiang Wei) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกียงอุย มีชื่อรองว่า ป๋อเยี่ยน เป็นชาวเมืองเทียนซุย ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลกานซู่ เป็นผู้ที่มีสติปัญญาหลักแหลม รอบรู้กลวิธีรบเป็นอย่างดี เชี่ยวชาญการศึก และเก่งกาจในเพลงอาวุธ แม้แต่จูล่งยังต้องกล่าวชื่นชม มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา หน้าตาดี ไม่ใฝ่ในทางโลภ เคยวางกลซ้อนทับขงเบ้ง จนขงเบ้งต้องหาทางจัดการ อุปนิสัยส่วนตัวซื่อสัตย์ มีน้ำใจดี กล้าหาญ พร้อมตายได้ทุกเมื่อ ใช้ทวนเป็นอาวุธคู่กาย เกียงอุยมีพ่อเป็นขุนนางคนหนึ่งของเทียนซุย แต่กำพร้าพ่อแต่ยังเด็ก จึงอาศัยอยู่กับแม่โดยลำพัง แต่เดิมนั้นเกียงอุยรับราชการอยู่กับม้าจิ้น เจ้าเมืองเทียนซุย ซึ่งอยู่ในแคว้นการปกครองของวุยก๊ก ขงเบ้งยกทัพมาเพื่อที่จะปราบวุยก๊ก ม้าจิ้นส่งเกียงอุยมารับมือกับขงเบ้ง ขงเบ้งเสียท่าเกียงอุย หลายครั้ง แต่ในที่สุดขงเบ้งวางแผนจับเกียงอุย โดยพาแม่ของเกียงอุยมาเลี้ยงดู และให้แม่เกียงอุยช่วยเกลี้ยกล่อม ด้วยเกียงอุยมีความกตัญญูต่อมารดานั้นเอง เกียงอุยจึงใจอ่อน ยอมอยู่ฝ่ายจ๊กก๊กกับขงเบ้ง เกียงอุยเป็นทหารคนสนิทใกล้ชิดขงเบ้งมากที่สุด ถ้าขงเบ้งไปที่ศึกไหนเกียงอุยย่อมอยู่ด้วยเสมอๆ ประกอบด้วยเกียงอุยเป็นคนสนิทและไว้ใจได้มากที่สุด ดังนั้นขงเบ้งจึงได้ถ่ายทอดวิชาที่เขารู้มากมาย ให้แก่เกียงอุย เกียงอุยจึงมีความรู้มากขึ้น ครั้นขงเบ้งรู้ตัวว่าชะตาตนเองไปไม่รอดแล้ว ก็มอบหมายให้เกียงอุยทำนุบำรุงแผ่นดินฮั่นแทนตน โดยให้เป็นแม่ทัพใหญ่แห่งเสฉวนแทน ซึ่งมีอำนาจทางการทหารทั้งหมด ต่อมาเกียงอุยก็ดำเนินรอยตามขงเบ้ง โดยที่ยกทัพจากเสฉวนเข้าตีวุยก๊ก ถึงหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่สำเร็จ ต่อมาวุยก๊กยกทัพเข้าตีเสฉวน โดยจงโฮยและเตงงายแม่ทัพแห่งวุย แบ่งเป็น 2 ทัพตีเสฉวน เกียงอุยรับมือกับจงโฮยทำให้เตงงายไปตามทางลัดอิมเป๋ง เข้าตีเสฉวน ยังไม่ทันรบ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมแพ้แก่เตงงายโดยเร็ว ทำให้เกียงอุยที่ได้รับตำแหน่งเป็นแม่ทัพไม่พอใจยิ่งนัก พยายามหาทางกู้เอกราชกลับมาโดยใช้จงโฮยเป็นสะพาน แต่ก็ไม่สำเร็จ เกียงอุยถูกล้อมด้วยทหารวุยก๊ก เกียงอุยจึงใช้กระบี่เชือดคอตัวเองตาย พวกทหารของฝ่ายวุยก๊กจึงเอากระบี่ผ่าอกของเกียงอุยออกมาเห็นตับใหญ่คับหัวอกอยู่ มีดีใหญ่เท่าไข่ห่าน พวกทหารเหล่านั้นต่างคิดว่าเกียงอุยมีดีใหญ่กว่าคนธรรมดาทั่วไป จึงได้กล้าหาญเข้มแข็งสมเป็นทหารเอก ตอนที่เกียงอุยตายนั้นมีอายุ ได้ 63 ปี.
กบฏจงโฮยและเกียงอุย · จงโฮยและเกียงอุย ·
เตงงาย
ตงงาย (Deng Ai) เป็นแม่ทัพคนสำคัญของฝ่ายวุยก๊ก ในยุคสามก๊กตอนปลาย มีชื่อรองว่าซื่อไจ่ เป็นชาวตำบลจี๋หยาง มณฑลเหอหนาน เป็นคนฉลาด ไหวพริบดี ชำนาญพิชัยสงคราม สุมาอี้เห็นปัญญาดีจึงเอาตัวมาส่งเสริม เมื่อเกียงอุย ขุนพลจ๊กก๊ก ลูกศิษย์ขงเบ้ง ยกทัพมาตีวุยก๊ก เตงงายก็สามารถยันทัพเกียงอุยไว้ได้ทุกครั้ง ในกาลนั้น พระเจ้าเล่าเสี้ยนปกครองจ๊กก๊ก ทรงลุ่มหลงสุรานารี ทำให้บ้านเมืองแหลกเหลว สุมาเจียวจึงให้เตงงายและจงโฮยยกทัพเข้าตีจ๊กก๊ก เตงงายเดินทัพลัดเลาะมาทางด่านอิมเป๋งและสามารถยึดเสฉวนได้ในที่สุด เตงงายถือว่าเป็นผู้พิชิตจ๊กก๊ก มีความดีความชอบใหญ่หลวง แต่สุมาเจียวกลับระแวงเตงงาย จึงให้จงโฮยกับอุยก๋วนปราบเตงงายและจับตัวส่งไปเมืองหลวง ระหว่างทางก็ให้สังหารเตงงายกับเตงต๋งผู้บุตรเสี.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กบฏจงโฮยและจงโฮย มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กบฏจงโฮยและจงโฮย
การเปรียบเทียบระหว่าง กบฏจงโฮยและจงโฮย
กบฏจงโฮย มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ จงโฮย มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 20.00% = 5 / (11 + 14)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กบฏจงโฮยและจงโฮย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: