กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
กบชะง่อนผาภูหลวง vs. สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
กบชะง่อนผาภูหลวง (Phu Luang cliff frog; ชื่อวิทยาศาสตร์: Huia aureola) เป็นกบเฉพาะถิ่นชนิดใหม่ที่ค้นพบใน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ค้นพบโดย นายธัญญา จั่นอาจ จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขนาดตัวยาว 63-96.5 มิลลิเมตร หัวแคบเรียว มีขนาดด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง จุดกลางหน้าผาก เห็นได้ชัดเจนแผ่นหูเห็นได้ชัดเจน มีถุงใต้คางที่บริเวณมุมของคอ ปลายนิ้วขยายออกเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ผิวหนังเรียบ ยกเว้นที่ผิวใต้ต้นขา มีตุ่มหยาบไม่มีต่อมที่โคนขาหน้า สันต่อมที่เหนือแผ่นหูเห็นไม่ชัด ไม่มีสันต่อมที่ขอบหลัง หัวและลำตัวด้านหลังสีเขียว ด้านข้างของหัวและสีข้างสีน้ำตาลเข้ม ผิวด้านท้ายของต้นขาหน้า ครึ่งด้านท้องของสีข้าง ผิวของต้นขา แข้ง และตีนดำพร้อมด้วยลวดลายสีเหลืองสด ขอบปากบนมีเส้นสีเหลือง ขอบปากล่างดำ ใต้คอมีแต้มสีน้ำตาล ถุงใต้คอดำ ท้องขาว แผ่นพังผืดที่ยึดระหว่างนิ้วตีนสีน้ำตาลอมม่วงพบอาศัยเฉพาะในบริเวณลำธารต้นน้ำในป่าดิบเขาของจังหวัดเลย ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ ประมาณ 10 มิลลิเมตร อาศัยบนต้นน้ำสูงเกิน 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบตัวเมียน้อยกว่าตัวผู้. รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สปีชีส์
ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.
กบชะง่อนผาภูหลวงและสัตว์ · สัตว์และสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »
ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).
กบชะง่อนผาภูหลวงและสปีชีส์ · สปีชีส์และสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
การเปรียบเทียบระหว่าง กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น
กบชะง่อนผาภูหลวง มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.17% = 2 / (22 + 41)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กบชะง่อนผาภูหลวงและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: