โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ vs. ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

แสดงกฎ 3 ข้อของเคปเลอร์ที่มีวงโคจรดาวเคราะห์ 2 วง (1) วงโคจรเป็นวงรีด้วยจุดโฟกัส ''f1'' และ ''f2'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงแรกและ ''f1'' และ ''f3'' สำหรับดาวเคราะห์ดวงที่ 2 ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุด ''f1'' (2) ส่วนแรเงา 2 ส่วน ''A1'' และ ''A2'' มีผิวพื้นเท่ากันและเวลาที่ดาวเคราะห์ 1 ทับพื้นที่ ''A1'' เท่ากับเวลาที่ทับพื้นที่ ''A2''. (3) เวลารวมของวงโคจรสำหรับดาวเคราะห์ 1 และดาวเคราะห์ 2 มีสัดส่วนเท่ากับ a1^3/2:a2^3/2. กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ (Kepler's laws of planetary motion) คือกฎทางคณิตศาสตร์ 3 ข้อที่กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ โยฮันเนส เคปเลอร์ (พ.ศ. 2114 – พ.ศ. 2173) เป็นผู้ค้นพบ เคปเลอร์ได้ศึกษาการสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงชาวเดนมาร์กชื่อไทโค บราห์ (Tycho Brahe) โดยประมาณ พ.ศ. 2148 เคปเลอร์พบว่าการสังเกตตำแหน่งของดาวเคราะห์ของบราห์เป็นไปตามกฎง่ายๆ ทางคณิตศาสตร์ กฎของเคปเลอร์ท้าทายดาราศาสตร์สายอริสโตเติลและสายทอเลมีและกฎทางฟิสิกส์ในขณะนั้น เคปเลอร์ยืนยันว่าโลกเคลื่อนที่เป็นวงรีมากกว่าวงกลม และยังได้พิสูจน์ว่าความเร็วการเคลื่อนที่มีความผันแปรด้วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ทางดาราศาสตร์และฟิสิกส์ อย่างไรก็ดี คำอธิบายเชิงฟิสิกส์เกี่ยวกับพฤติกรรมของดาวเคราะห์ก็ได้ปรากฏชัดเจนได้ในอีกเกือบศตวรรษต่อมา เมื่อไอแซก นิวตันสามารถสรุปกฎของเคปเลอร์ได้ว่าเข้ากันกับกฎการเคลื่อนที่และกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตันเองโดยใช้วิชาแคลคูลัสที่เขาคิดสร้างขึ้น รูปจำลองแบบอื่นที่นำมาใช้มักให้ผลผิดพล. แกนิมีด คัลลิสโต ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Galilean moons) คือดวงจันทร์บริวารทั้ง 4 ดวงของดาวพฤหัสบดีซึ่งถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอีช่วงเดือนมกราคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กึ่งแกนเอกระบบสุริยะจุดปลายระยะทางวงโคจรโยฮันเนส เคปเลอร์

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และกึ่งแกนเอก · กึ่งแกนเอกและดวงจันทร์ของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และระบบสุริยะ · ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

จุดปลายระยะทางวงโคจร

ปลายระยะทางวงโคจร ในทางดาราศาสตร์ จุดปลายระยะทางวงโคจร (apsis) หมายถึง จุดในวงโคจรของวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไกลที่สุดจากจุดศูนย์กลางมวลที่มันโคจรรอบ จุดที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมวลมากที่สุด เรียกว่า จุดใกล้ที่สุด (periapsis หรือ pericentre) จุดที่เคลื่อนออกไปไกลที่สุดเรียกว่า จุดไกลที่สุด (apoapsis, apocentre หรือ apapsis) เส้นตรงที่ลากจากจุดใกล้ที่สุดไปยังจุดไกลที่สุด เรียกว่า line of apsides ซึ่งก็คือแกนเอกของวงรี หรือเส้นที่ยาวที่สุดภายในวงรีนั่นเอง นอกจากนี้มีคำศัพท์เฉพาะอื่นๆ ที่ใช้เรียกจุดใกล้ที่สุดหรือจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบเทหวัตถุบางชนิด จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบโลก เรียกว่า perigee และ apogee ตามลำดับ จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า perihelion และ aphelion ตามลำดั.

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และจุดปลายระยะทางวงโคจร · จุดปลายระยะทางวงโคจรและดวงจันทร์ของกาลิเลโอ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันเนส เคปเลอร์

ันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ เขาค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในงาน Astronomia nova, Harmonice Mundi ของเขา และได้แต่งหนังสือชื่อ Epitome of Copernican Astronomy โยฮันเนส เคปเลอร์ ประกอบอาชีพเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน Graz (ภายหลังเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัย Graz) และเป็นผู้ช่วยของ ไทโค บราเฮ นักคณิตศาสตร์ในความอุปถัมภ์ของจักรพรรดิรูดอร์ฟที่ 2 ผู้ซึ่งรวบรวมรวมข้อมูลของดาวเคราะห์มาตลอดชีวิต และปูทางให้เคปเลอร์ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา เขาทำงานด้านทัศนศาสตร์ และช่วยสนับสนุนการค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ กาลิเลอี เขาถูกยกย่องว่าเป็น "นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีคนแรก" แต่คาร์ล ซาแกน ยกย่องเขาในฐานะ "นักโหราศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์คนสุดท้าย".

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และโยฮันเนส เคปเลอร์ · ดวงจันทร์ของกาลิเลโอและโยฮันเนส เคปเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ

กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ มี 61 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 4.40% = 4 / (30 + 61)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์และดวงจันทร์ของกาลิเลโอ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »