โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Ч

ดัชนี Ч

Che หรือ Cherv (Ч, ч) เป็นอักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอักษรละติน h ตัวเล็กที่กลับหัว ใช้แทนเสียง เหมือนทวิอักษร ch ในภาษาอังกฤษ (คล้าย ช) บางครั้งก็ออกเสียงเป็น เหมือน จ ในภาษาไทย อักษรนี้ยังไม่ทราบพัฒนาการที่แน่ชัด บ้างก็เข้าใจว่าเป็นอักษรรูปหนึ่งที่เพี้ยนมาจาก Ц หรือ Ҁ อักษรนี้มีชื่อเดิมคือ čr̤̥vǐ ปัจจุบันใช้แทนค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 90 แทนอักษร Ҁ ที่เลิกใช้ไปแล้ว "Ч" ในภาษาอังกฤษจะถอดเป็น "ch" หรือบางทีจะถอดเป็น "tch" ถ้าอยู่เป็นตัวแรก ส่วนภาษาเยอรมันจะถอดเป็น "tch".

12 ความสัมพันธ์: ภาษาอังกฤษภาษาไทยยูนิโคดอักษรละตินอักษรซีริลลิกทวิอักษรตัวเลขซีริลลิกHҀЦ90

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: Чและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: Чและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

ใหม่!!: Чและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Чและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: Чและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

จ (จาน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 8 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ง (งู) และก่อนหน้า ฉ (ฉิ่ง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “จ จาน” อักษร จ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t͡ɕ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: Чและจ · ดูเพิ่มเติม »

ทวิอักษร

ทวิอักษร (digraph, bigraph, digram) หมายถึงกลุ่มอักษรสองตัวที่เขียนขึ้นเพื่อแทนหน่วยเสียงเสียงเดียวที่แปลกออกไป หรือใช้แทนหน่วยเสียงอื่นที่ไม่ใช่ค่าปกติของอักษรสองตัวนั้นมาประกอบกันตามอักขรวิธี เมื่อภาษาใดภาษาหนึ่งไม่สามารถใช้อักษรตัวเดียวเพื่อแทนเสียงนั้นได้ แต่บางครั้งการรวมทวิอักษรก็มิได้ทำให้เสียงพิเศษไปจากเดิม ซึ่งอาจแสดงถึงธรรมเนียมในอดีตว่าคำศัพท์เหล่านั้นเคยออกเสียงแตกต่างกันมาก่อน หรือคงไว้เพื่อรูปศัพท์เดิมที่ยืมมาจากภาษาอื่น ในอักขรวิธีของบางภาษา อย่างเช่น ch ในภาษาเซอร์เบีย (เมื่อเขียนด้วยอักษรละติน) หรือภาษาเช็ก ทวิอักษรจะถูกจัดว่าเป็นอักษรตัวเดียวกัน นั่นหมายความว่าทวิอักษรนั้นจะเป็นอักษรตัวหนึ่งในลำดับอักษรของภาษา และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับ การย่อ หรือการแบ่งคำ.

ใหม่!!: Чและทวิอักษร · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขซีริลลิก

ลขซีริลลิก คือระบบเลขอย่างหนึ่งซึ่งถ่ายทอดมาจากอักษรซีริลลิก ใช้โดยชาวสลาวิกใต้และตะวันออก ระบบเลขนี้เคยมีการใช้ในดินแดนรัสเซีย แต่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงแทนที่เลขซีริลลิกด้วยเลขอารบิก เลขซีริลลิกเป็นระบบเลขคล้ายทศนิยม (quasi-decimal) มีพื้นฐานมาจากเลขกรีก แต่เขียนโดยใช้หน่วยอักขระ (grapheme) ของอักษรซีริลลิก นั่นคือการเรียงลำดับนั้นเรียงตามอักษรกรีก แต่ไม่เป็นไปตามลำดับอักษรซีริลลิกปัจจุบัน อักษรแต่ละตัวจะถูกกำหนดให้แทนค่าของตัวเลขหลักหน่วย (1, 2,... 9) หลักสิบ (10, 20,... 90) และหลักร้อย (100, 200,... 900) ตามลำดับ จำนวนตัวเลขจะเขียนไปตามลำดับที่อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เว้นแต่จำนวน 11 ถึง 19 ที่อ่านจากขวาไปซ้าย ตัวอย่างเช่น 17 อ่านว่า sem-na-dzat (เทียบกับ seventeen ในภาษาอังกฤษ) เป็นต้น ในการแปลงเลขซีริลลิกให้เป็นเลขอารบิก ทำได้โดยการบวกค่าประจำอักษรเข้าด้วยกัน และเพื่อการแยกแยะจำนวนออกจากข้อความรอบข้างซึ่งเขียนด้วยอักษรเดียวกัน จะมีการเติม ติโตล (titlo: U+0483) ลงไปเหนือจำนวน (เวลาเขียนเดี่ยวๆ อาจไม่จำเป็นก็ได้) และถ้าหากจำนวนนั้นมีค่าเกิน 1,000 จะมีการเติมสัญลักษณ์หลักพัน (U+0482) ลงไปข้างหน้าตัวเลขนั้นๆ ตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: Чและตัวเลขซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

H

H (ออกเสียงว่า เอช หรือเฮช"H" Oxford English Dictionary, 2nd edition (1989); Merriam-Webster's Third New International Dictionary of the English Language, Unabridged (1993); "aitch", op. cit.) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 8 ในการออกเสียงตามสัทอักษรสากลแสดงด้วยเสียง 2 เสียง คือ แสดงเสียงในลักษณะเสียงเสียดแทรก เส้นเสียง ไม่ก้อง และ แสดงเสียงในลักษณะเสียงเสียดแทรก ลิ้นปิดกล่องเสียง ไม่ก้อง.

ใหม่!!: ЧและH · ดูเพิ่มเติม »

Ҁ

Koppa (Ҁ, ҁ) เป็นอักษรซีริลลิกยุคเก่าตัวหนึ่ง มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก คอปปา (Ϙ, ϙ) อักษรตัวนี้ไม่มีใช้แล้วในกลุ่มภาษาสลาวิก และไม่ได้ใช้แทนเสียงใดๆ เพียงแต่เป็นอักษรที่ใช้แทนเลขซีริลลิกที่มีค่าเท่ากับ 90 แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปใช้ Ч ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกันและไม่มีค่าของเลขซีริลลิกตั้งแต่แรก.

ใหม่!!: ЧและҀ · ดูเพิ่มเติม »

Ц

Tse (Ц, ц) คืออักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง มีลักษณะคล้ายอักษรละติน U ที่เป็นเหลี่ยมและมี "ติ่ง" ที่มุมล่างขวา ใช้แทนเสียง เหมือนในคำว่า cats ในภาษาอังกฤษ อักษร Tse เป็นอักษรตัวที่ 23 ในภาษารัสเซีย และถูกพิจารณาว่ามีพัฒนาการมาจากอักษรฮีบรู Tsadi ในลักษณะของอักษรท้ายคำ (ץ) และอักษรกลาโกลิต Tsi (รูปภาพ: 14px) อักษรนี้มีชื่อเดิมว่า ci หรือ tsi และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 900 อักษร Tse สามารถถ่ายอักษรได้เป็น ts แต่อย่างไรก็ดี ชื่อเฉพาะบางอย่างอาจถ่ายอักษรเป็น c, z, cz หรือ tz ก็มี สำหรับภาษารัสเซีย คำที่ใช้อักษรนี้ส่วนใหญ่เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น โดยเฉพาะคำในภาษาละตินที่มีอักษร C เช่น цирк (circus), центр (center) และภาษาเยอรมันที่มีอักษร Z เช่น плац (Platz), цинк (Zink) เป็นต้น ส่วนคำที่เป็นภาษารัสเซียแท้ก็พบได้น้อย อย่างเช่น царь (Tsar) และแทบจะไม่ปรากฏเลยในภาษาสลาวิกยุคเริ่มแรก ตามอักขรวิธีของภาษารัสเซีย อักษร Ц แทบจะไม่ถูกต่อท้ายด้วย Ы เว้นแต่จะเป็นจำนวนพหูพจน์ หรือคำคุณศัพท์บอกจำนวน.

ใหม่!!: ЧและЦ · ดูเพิ่มเติม »

90

90 (เก้าสิบ) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 89 (แปดสิบเก้า) และอยู่ก่อนหน้า 91 (เก้าสิบเอ็ด).

ใหม่!!: Чและ90 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Che (ซีริลลิก)ChervChrviČr̤̥vǐ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »