โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

БและГ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง БและГ

Б vs. Г

Be (Б, б) เป็นอักษรตัวที่ 2 ในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // เหมือนกับ b ในภาษาอังกฤษหรือ บ ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียบางครั้งอักษรตัวนี้อ่านเป็น // ที่ไร้เสียงที่ตำแหน่งสุดท้ายของคำหรือพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง หรืออ่านเป็น // ที่หน้าเสียงสระซึ่งเลื่อนไปทางเพดานแข็งในช่องปาก ตัวอักษรนี้มีลักษณะคล้ายเลข 6 และไม่ควรจำสับสนกับ Ve (В, в) ที่ซึ่งมีรูปร่างเหมือนอักษรละติน B อักษรทั้งสองนี้ต่างก็มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก บีตา เหมือนกัน เมื่อตัวอักษรนี้ถูกเขียนด้วยลายมือ อักษร б ตัวเล็กจะดูคล้ายกับอักษรกรีก เดลตา ตัวเล็ก (δ) ชื่อเดิมของตัวอักษรนี้คือ bukū และไม่มีค่าทางตัวเลข เนื่องจากอักษร В ได้รับการนับเลขซีริลลิกจากอักษรกรีกไปแล้ว ดังนั้นอักษร Б จึงไม่มีค่าใ. Ge หรือ He (Г, г) เป็นอักษรตัวหนึ่งในอักษรซีริลลิก ออกเสียงเป็น // หรือ // ในภาษาที่แตกต่างกัน อักษรนี้มีพัฒนาการโดยตรงมาจากอักษรกรีก แกมมา และ Г ทั้งตัวใหญ่และตัวเล็ก จะมีรูปร่างเหมือนแกมมาตัวใหญ่ ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ glagoli และมีค่าเท่ากับ 3 ในเลขซีริลลิก ในมาตรฐานของภาษาเซอร์เบีย ภาษาบัลแกเรีย และภาษามาซิโดเนีย อักษร Г จะออกเสียงเป็น // เหมือนกับ g ของคำว่า go ในภาษาอังกฤษ หรือ ก ในภาษาไทย ในภาษารัสเซียก็อ่านเป็น // เช่นกัน ยกเว้นเมื่อปรากฏท้ายคำจะเป็น // ที่ไร้เสียง (สะกดด้วย ก) หรือออกเสียงเป็น // ก่อนเสียงสระเพดานแข็ง มีอยู่น้อยคำที่อักษรนี้ปรากฏอยู่ตรงกลางแล้วออกเสียงเป็น // เช่น ураган urakan อูราคัน หมายถึง เฮอร์ริเคน ในภาษายูเครนและภาษาเบลารุส จะเรียกอักษรนี้ว่า He ใช้แทนเสียงเสียดแทรกในลำคอ // ไม่เหมือนเสียง h ของภาษาอังกฤษ สำหรับภาษายูเครนนั้น เสียง // นั้นหาที่ใช้ได้น้อย แต่เมื่อต้องการใช้จะเปลี่ยนรูปเขียนเป็น Ge with upturn (Ґ, ґ) แทน ส่วนภาษาเบลารุส แม้อักษร Г จะมีใช้บ่อย เพื่อแทนคำที่ยืมมาจากภาษาโปแลนด์และภาษารัสเซีย แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 การใช้เสียงนี้ในภาษาก็ได้หมดความสำคัญไป การเพิ่มตัวอักษร Г ลงในภาษาเบลารุสยังคงได้รับการยอมรับเฉพาะนักภาษาศาสตร์บางท่าน แต่ยังไม่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง БและГ

БและГ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษารัสเซียภาษาอังกฤษภาษาไทยยูนิโคดอักษรกรีกอักษรซีริลลิกตัวเลขซีริลลิก

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

Бและภาษารัสเซีย · Гและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

Бและภาษาอังกฤษ · Гและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

Бและภาษาไทย · Гและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิโคด

The Unicode Standard, Version 5.0 อักขระยูนิโคดทั้งหมดเมื่อพิมพ์ลงกระดาษ (รวมทั้งสองแผ่น) ยูนิโคด (Unicode) คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แสดงผลและจัดการข้อความธรรมดาที่ใช้ในระบบการเขียนของภาษาส่วนใหญ่ในโลกได้อย่างสอดคล้องกัน ยูนิโคดประกอบด้วยรายการอักขระที่แสดงผลได้มากกว่า 100,000 ตัว พัฒนาต่อยอดมาจากมาตรฐานชุดอักขระสากล (Universal Character Set: UCS) และมีการตีพิมพ์ลงในหนังสือ The Unicode Standard เป็นแผนผังรหัสเพื่อใช้เป็นรายการอ้างอิง นอกจากนั้นยังมีการอธิบายวิธีการที่ใช้เข้ารหัสและการนำเสนอมาตรฐานของการเข้ารหัสอักขระอีกจำนวนหนึ่ง การเรียงลำดับอักษร กฎเกณฑ์ของการรวมและการแยกอักขระ รวมไปถึงลำดับการแสดงผลของอักขระสองทิศทาง (เช่นอักษรอาหรับหรืออักษรฮีบรูที่เขียนจากขวาไปซ้าย) ยูนิโคดคอนซอร์เทียม (Unicode Consortium) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนายูนิโคด องค์กรนี้มีจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับการแทนที่การเข้ารหัสอักขระที่มีอยู่ด้วยยูนิโคดและมาตรฐานรูปแบบการแปลงยูนิโคด (Unicode Transformation Format: UTF) แต่ก็เป็นที่ยุ่งยากเนื่องจากแผนการที่มีอยู่ถูกจำกัดไว้ด้วยขนาดและขอบเขต ซึ่งอาจไม่รองรับกับสภาพแวดล้อมหลายภาษาในคอมพิวเตอร์ ความสำเร็จของยูนิโคดคือการรวมรหัสอักขระหลายชนิดให้เป็นหนึ่งเดียว นำไปสู่การใช้งานอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการแปลภาษาของซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ นั่นคือโปรแกรมจะสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ เอกซ์เอ็มแอล ภาษาจาวา ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่ ยูนิโคดสามารถนำไปใช้งานได้ด้วยชุดอักขระแบบต่าง ๆ ชุดอักขระที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ UTF-8 (ใช้ 1 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัวในรหัสแอสกีและมีค่ารหัสเหมือนกับมาตรฐานแอสกี หรือมากกว่านั้นจนถึง 4 ไบต์สำหรับอักขระแบบอื่น) UCS-2 ซึ่งปัจจุบันเลิกใช้แล้ว (ใช้ 2 ไบต์สำหรับอักขระทุกตัว แต่ไม่ครอบคลุมอักขระทั้งหมดในยูนิโคด) และ UTF-16 (เป็นส่วนขยายจาก UCS-2 โดยใช้ 4 ไบต์ สำหรับแทนรหัสอักขระที่ขาดไปของ UCS-2).

Бและยูนิโคด · Гและยูนิโคด · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

Бและอักษรกรีก · Гและอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

Бและอักษรซีริลลิก · Гและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเลขซีริลลิก

ลขซีริลลิก คือระบบเลขอย่างหนึ่งซึ่งถ่ายทอดมาจากอักษรซีริลลิก ใช้โดยชาวสลาวิกใต้และตะวันออก ระบบเลขนี้เคยมีการใช้ในดินแดนรัสเซีย แต่ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมเด็จพระเจ้าซาร์ปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงแทนที่เลขซีริลลิกด้วยเลขอารบิก เลขซีริลลิกเป็นระบบเลขคล้ายทศนิยม (quasi-decimal) มีพื้นฐานมาจากเลขกรีก แต่เขียนโดยใช้หน่วยอักขระ (grapheme) ของอักษรซีริลลิก นั่นคือการเรียงลำดับนั้นเรียงตามอักษรกรีก แต่ไม่เป็นไปตามลำดับอักษรซีริลลิกปัจจุบัน อักษรแต่ละตัวจะถูกกำหนดให้แทนค่าของตัวเลขหลักหน่วย (1, 2,... 9) หลักสิบ (10, 20,... 90) และหลักร้อย (100, 200,... 900) ตามลำดับ จำนวนตัวเลขจะเขียนไปตามลำดับที่อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านจากซ้ายไปขวา เว้นแต่จำนวน 11 ถึง 19 ที่อ่านจากขวาไปซ้าย ตัวอย่างเช่น 17 อ่านว่า sem-na-dzat (เทียบกับ seventeen ในภาษาอังกฤษ) เป็นต้น ในการแปลงเลขซีริลลิกให้เป็นเลขอารบิก ทำได้โดยการบวกค่าประจำอักษรเข้าด้วยกัน และเพื่อการแยกแยะจำนวนออกจากข้อความรอบข้างซึ่งเขียนด้วยอักษรเดียวกัน จะมีการเติม ติโตล (titlo: U+0483) ลงไปเหนือจำนวน (เวลาเขียนเดี่ยวๆ อาจไม่จำเป็นก็ได้) และถ้าหากจำนวนนั้นมีค่าเกิน 1,000 จะมีการเติมสัญลักษณ์หลักพัน (U+0482) ลงไปข้างหน้าตัวเลขนั้นๆ ตัวอย่างเช่น.

Бและตัวเลขซีริลลิก · Гและตัวเลขซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง БและГ

Б มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ Г มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 20.59% = 7 / (17 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง БและГ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »