เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

Staphylococcusและไลนิโซลิด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง Staphylococcusและไลนิโซลิด

Staphylococcus vs. ไลนิโซลิด

Staphylococcus (มาจากσταφυλή, staphylē, "พวงองุ่น" และ κόκκος, kókkos, "แกรนูล") เป็นสกุลของแบคทีเรียแกรมบวก เมื่อมองใต้กล้องจุลทรรศน์มีรูปร่างกลม และจัดตัวเป็นรูปคล้ายพวงองุ่น สกุล Staphylococcus ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 40 สปีชีส์ มีอยู่ 9 สปีชีส์ที่แบ่งได้สองสับสปีชีส์ และอีก 1 สปีชีส์ที่มีสามสับสปีชีส์ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย พบที่ผิวหนังและสารเมือกของมนุษย์ และพบเป็นส่วนน้อยในดิน. ลนิโซลิด (Linezolid) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ไลนิโซลิดสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกได้เกือบทุกสายพันธ์ุ รวมถึงเชื้อแบคทีเรียในสกุลสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus), สกุลเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin-resistant Enterococcus; VRE), และเชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อต่อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus; MRSA) ส่วนมากแล้วมักใช้ยานี้ในการรักษาโรคติดเชื้อดังข้างต้นบริเวณผิวหนังและในปอด อย่างไรก็ตาม ยานี้อาจถูกใช้ในโรคติดเชื้อแบคทีเรียอื่นได้เช่นกัน เช่น วัณโรคที่ดื้อต่อยารักษาวัณโรคสูตรปกติ โดยยานี้สามารถบริหารยาได้ทั้งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous) และการรับประทาน การใช้ยาไลนิโซลิดในระยะเวลาสั้นนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยปกติ และผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง หรือโรคตับอักเสบ อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ในช่วงสั้น ได้แก่ ปวดศีรษะ, ท้องเสีย, ผื่น, และอาเจียน ส่วนอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย ได้แก่ กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin syndrome), การกดไขกระดูก (Bone marrow suppression) และภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก (lactic acidosis) โดยความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะเมื่อใช้ยาไลนิโซลิดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ ในบางครั้งการใช้ยานี้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทส่วนปลายจนไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนสภาพเดิมได้ ซึ่งรวมถึงการทำลายเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของการมองเห็นด้วย ไลนิโซลิดเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งในยากลุ่มออกซาโซลิโดน (Oxazolidone) เนื่องจากยาดังกล่าวมีคุณสมบัติในการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้ยาดังกล่าวสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีนาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีนของเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนกับไลนิโซลิด แต่โดยแท้จริงแล้ว ไลนิโซลิดนั้นมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างไปจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่น กล่าวคือ ยาดังกล่าวจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งขั้นตอนแรกในการสร้างโปรตีน ในขณะที่ยาปฏิชีวนะอื่นนั้นจะออกฤทธิ์ในขั้นตอนที่เป็นลำดับถัดมา ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่นนี้ ทำให้อุบัติการณ์การดื้อต่อยาไลนิโซลิดของเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ข้อมูล ปี ค.ศ. 2014) ไลนิโซลิดถูกค้นพบในช่วงกลางทศวรรต 1990 และได้รับการรับรองให้มีการผลิตเชิงการค้าในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง Staphylococcusและไลนิโซลิด

Staphylococcusและไลนิโซลิด มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ผิวหนังแบคทีเรียกรัมบวกStaphylococcus aureus

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

Staphylococcusและผิวหนัง · ผิวหนังและไลนิโซลิด · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียกรัมบวก

ใต้กล้องจุลทรรศน์ของ ''Staphylococcus aureus'' แบคทีเรียกรัมบวกที่อยู่เป็นกลุ่ม โครงสร้างของผนังเซลล์แบคทีเรียกรัมบวก แบคทีเรียกรัมบวก (gram-positive bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วง (คริสทัลไวโอเลต) ในการย้อมสีกรัม ซึ่งตรงข้ามกับแบคทีเรียกรัมลบที่ไม่ติดสีม่วงของคริสทัลไวโอเลต แต่จะติดสีของสีที่สอง (ซาฟรานินหรือฟุคซีน) แบคทีเรียกรัมบวกสามารถรักษาสีของคริสทัลไวโอเลตได้เพราะในผนังเซลล์มีเปบทิโดไกลแคนมาก และไม่มีเยื่อหุ้มชั้นนอกแบบที่พบในแบคทีเรียกรัมล.

Staphylococcusและแบคทีเรียกรัมบวก · แบคทีเรียกรัมบวกและไลนิโซลิด · ดูเพิ่มเติม »

Staphylococcus aureus

การย้อมติดสีกรัมของ ''S. aureus'' ที่มักปรากฏเป็นกลุ่ม ผนังเซลล์ติดสีของคริสตัลไวโอเล็ต โคโลนีสีเหลืองของ ''S. aureus'' ที่เจริญบน blood agar บริเวณใสรอบ ๆ โคโลนีเกิดจากการย่อยสลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในอาหาร (beta hemolysis) Staphylococcus aureus (หมายถึง องุ่นสีทอง) เป็นแบคทีเรียชนิด facultative anaerobic กรัมบวก รูปกลม เป็นส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อประจำถิ่นในผิวหนังและโพรงจมูก เป็นแบคทีเรียก่อโรคชนิดหนึ่ง เมื่อ S. aureus ปนเปื้อนลงไปในอาหาร จะสร้างสารพิษที่เรียกว่าเอนเทอโรทอกซินขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ได้แก่ ชนิด A, B, C1, C2, C3, D, E และ H สารพิษนี้ทนต่อความร้อนได้ดีมาก ทำให้ผู้บริโภคเกิดอาหารเป็นพิษ หลังจากรับประทานอาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนเข้าไปประมาณ 1-6 ชั่วโมง อาการของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจาก S. aureus คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้องจากสารพิษ อาการมักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ส่วนมากไม่มีไข้ ในรายรุนแรงอาจช็อกได้.

StaphylococcusและStaphylococcus aureus · Staphylococcus aureusและไลนิโซลิด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง Staphylococcusและไลนิโซลิด

Staphylococcus มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไลนิโซลิด มี 104 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 2.73% = 3 / (6 + 104)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Staphylococcusและไลนิโซลิด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: