โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Selective serotonin re-uptake inhibitors

ดัชนี Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

89 ความสัมพันธ์: ฟลูอ็อกเซทีนกระดูกหักกระเพาะอาหารกลุ่มอาการเซโรโทนินกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดการชักการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจการวิเคราะห์อภิมานการศึกษาทางนิเวศวิทยาการศึกษาตามแผนการหายใจการผ่าท้องทำคลอดการทบทวนวรรณกรรมการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการฆ่าตัวตายการปริทัศน์เป็นระบบการนอนไม่หลับยาหลอกยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ยาแก้ซึมเศร้ายีนระบบต่อมไร้ท่อระบบประสาทระบบประสาทอิสระระยะ QTรายงานผู้ป่วยรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลำไส้ลิแกนด์วาร์ฟารินวิทยาการระบาดสมมติฐานสมองสหรัฐสหราชอาณาจักรสหสัมพันธ์สารสื่อประสาทหน่วยรับความรู้สึกอวัยวะออกซิเจนอาการไม่พึงประสงค์จากยาอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้อารมณ์องคชาตองค์การอาหารและยาฮอร์โมนจุดประสานประสาททรามาดอลทฤษฎีครึ่งชีวิต...ความพิการความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจความดันโลหิตในปอดสูงความตายความเกี่ยวดองความเสี่ยงสัมพัทธ์คอร์เทกซ์งานศึกษาตามรุ่นตามแผนงานศึกษาแบบสังเกตตับตับวายซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึมประชานประเทศฟินแลนด์ปวดศีรษะนัยสำคัญทางสถิตินาโปรเซนน้ำอสุจิแอสไพรินโรคย้ำคิดย้ำทำโรควิตกกังวลโรคหลอดเลือดสมองโรคออทิซึมโรคตับแข็งโรคตื่นตระหนกโรคซึมเศร้าโรคซนสมาธิสั้นโคม่าโปรตีนไอบิวพรอเฟนไซโทโครมเพทิดีนเกล็ดเลือดเภสัชจลนศาสตร์เซลล์ประสาทเซโรโทนินเนื้อเยื่อCase seriesSelective serotonin re-uptake inhibitors ขยายดัชนี (39 มากกว่า) »

ฟลูอ็อกเซทีน

ฟลูอ็อกเซทีน (Fluoxetine) หรือชื่อทางการค้าคือ โปรแซ็ค (Prozac) และ ซาราเฟ็ม (Sarafem) เป็นยาแก้ซึมเศร้าแบบรับประทานประเภท selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) ใช้รักษาโรคซึมเศร้า (MDD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) โรคหิวไม่หายแบบทานแล้วอาเจียน (bulimia nervosa) โรคตื่นตระหนก (panic disorder) และความละเหี่ยก่อนระดู (premenstrual dysphoric disorder ตัวย่อ PMDD) เป็นยาที่อาจลดความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในคนไข้อายุเกิน 65 ปี และเป็นยาที่ใช้รักษาการหลั่งน้ำอสุจิเร็ว (premature ejaculation) ได้ด้วย ผลข้างเคียงที่สามัญก็คือนอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ปากแห้ง เป็นผื่น และฝันผิดปกติ ผลข้างเคียงที่รุนแรงรวมทั้งเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) อาการฟุ้งพล่าน การชัก โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นสำหรับคนอายุต่ำกว่า 25 ปี และความเสี่ยงการเลือดออกสูงขึ้น --> ถ้าหยุดแบบฉับพลัน อาจมีอาการหยุดยา ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับความวิตกกังวล ความเวียนหัวคลื่นไส้ และการรับรู้สัมผัสที่เปลี่ยนไป ยังไม่ชัดเจนว่า ยาปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์หรือไม่ --> แต่ว่าถ้าทานยาอยู่แล้ว ก็ยังเหมาะสมที่จะทานต่อไปเมื่อให้นมลูก กลไกการทำงานของยายังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่ายาเพิ่มการทำงานของระบบเซโรโทนินในสมอง บริษัท Eli Lilly and Company ค้นพบยาในปี..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและฟลูอ็อกเซทีน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหัก

กระดูกหักเป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดความเสียหายกับความต่อเนื่องของผิวกระดูก อาจเกิดจากแรงกระแทกหรือแรงเค้น หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อยที่เกิดกับกระดูกที่อ่อนแออยู่เดิม เช่น จากโรคกระดูกพรุน มะเร็งกระดูก หรือการสร้างกระดูกไม่สมบูรณ์ ซึ่งกรณีนี้จะเรียกว่ากระดูกหักเหตุโร.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและกระดูกหัก · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเซโรโทนิน

กลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือ เซโรโทนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome ตัวย่อ SS หรือ serotonin toxicity) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่ใช้เซโรโทนิน (serotonergic) เป็นสารสื่อประสาท อาการอาจจะมีจากน้อยจนถึงรุนแรง รวมทั้ง ตัวร้อน อยู่ไม่สุข ไวรีเฟล็กซ์ สั่น เหงื่อออก รูม่านตาขยาย และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสามารถเพิ่มขึ้นเกิน 41.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนคือ การชัก และการเสียกล้ามเนื้ออย่างทั่วไป (rhabdomyolysis) กลุ่มอาการปกติมีเหตุมาจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนิน 2 ชนิดหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจรวม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI), monoamine oxidase inhibitor (MAOI), tricyclic antidepressants (TCAs), แอมเฟตามีน, meperidine, ทรามาดอล, dextromethorphan, buspirone, ยาสมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort), triptans, MDMA (ecstasy), metoclopramide, ondansetron, หรือโคเคน โดยเกิดขึ้นในอัตรา 15% สำหรับผู้ที่ใช้ยากลุ่ม SSRI เกิน อาการจะเริ่มขึ้นปกติภายในหนึ่งวันหลังจากมีเซโรโทนินในระบบประสาทกลางมากเกิน การวินิจฉัยอาศัยอาการคนไข้และประวัติการให้ยา แพทย์ต้องกันอาการที่คล้ายกันอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการร้ายจากยาระงับอาการทางจิต (neuroleptic malignant syndrome) ไข้สูงอย่างร้าย แอนติโคลิเนอร์จิกเป็นพิษ (anticholinergic toxicity) โรคลมเหตุร้อน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยังไม่มีการทดสอบในแล็บที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ การรักษาเบื้องต้นก็คือหยุดยาที่อาจเป็นเหตุ ในคนที่อยู่ไม่เป็นสุข สามารถใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ถ้ายังไม่พอ ยาต้านเซโรโทนิน (serotonin antagonist) เช่น cyproheptadine ก็สามารถใช้ได้ ในบุคคลที่อุณหภูมิกายสูง อาจต้องใช้วิธีที่ทำให้ตัวเย็น จำนวนคนไข้ที่มีอาการแต่ละปียังไม่ชัดเจน ถ้าได้การรักษาที่ถูกต้อง โอกาสเสียชีวิตมีน้อยกว่า 1% การเสียชีวิตของหญิงวัยรุ่นอายุ 18 ปี (Libby Zion) ที่โด่งดังเพราะอาการนี้ มีผลเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาแพทย์ในรัฐนิวยอร์ก.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและกลุ่มอาการเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด

กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (Myocardial infarction; MI) หรือรู้จักกันว่า อาการหัวใจล้ม (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้ายอาการแสบร้อนกลางอก อาการอื่น ได้แก่ การหายใจลำบาก คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ เหงื่อแตก หรือรู้สึกล้า ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ช็อกเหตุหัวใจ หรือหัวใจหยุด MI ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของแผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จากโคเคน ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้งภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้ไนโตรกลีเซอรีนหรือโอปิออยด์เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำการผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจแทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วยแอสไพริน เบตาบล็อกเกอร์ และสแตติน เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดทั่วโลกประมาณ 15.9 ล้านครั้งในปี 2558 กว่า 3 ล้านคนมี MI ชนิด ST ยก และกว่า 4 ล้านคนเป็น NSTEMI สำหรับ STEMI เกิดในชายมากกว่าหญิงสองเท่า มีผู้ป่วย MI ประมาณหนึ่งล้านคนทุกปีในสหรัฐ ในประเทศพัฒนาแล้ว โอกาสเสียชีวิตในผู้ป่วย STEMI อยู่ี่ประมาณ 10% อัตรา MI สำหรับอายุต่าง ๆ ลดลงทั่วโลกระหว่างปี 2533 ถึง 2553 ในปี 2554 MI เป็นภาวะที่มีราคาแพงที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างการให้เข้าโรงพยาบาลผู้ป่วยในในสหรัฐ โดยมีมูลค่าประมาณ 11,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการรักษาในโรงพยาบาล 612,000 ครั้ง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การชัก

ัก (seizure) มีนิยามทางการแพทย์หมายถึงภาวะซึ่งมีภาวะกระตุ้นของเซลล์ประสาทในสมองอย่างมากผิดปกติ (abnormal excessive or synchronous neuronal activity in the brain) ซึ่งอาจแสดงอาการให้เห็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นการชักเกร็งกระตุกอย่างรุนแรง ไปจนถึงเพียงเหม่อลอยชั่วขณ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการชัก · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การติดเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าห้วใจแบบ 12 ขั้วไฟฟ้า การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างก.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

การวิเคราะห์อภิมาน

การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึงวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดสิ่งที่พบเหมือน ๆ กัน สิ่งที่ต่างกัน และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่อาจปรากฏด้วยการศึกษางานวิจัยหลาย ๆ งาน Meta-analysis สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการ "ทำการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาอื่นที่ทำมาแล้ว" โดยแบบที่ง่ายที่สุด Meta-analysis จะทำโดยกำหนดการวัดค่าทางสถิติที่เหมือนกันในงานวิจัยหลาย ๆ งาน เช่น ขนาดผล (effect size) หรือ p-value แล้วสร้างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของการวัดค่าที่เหมือนกัน โดยน้ำหนักที่ให้มักจะขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง (sample size) ของแต่ละงานวิจัย แต่ก็สามารถขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ๆ เช่นคุณภาพของงานศึกษาด้วย แรงจูงใจที่จะทำงานศึกษาแบบ meta-analysis ก็เพื่อรวมข้อมูลเพื่อจะเพิ่มกำลังทางสถิติ (statistical power) ของค่าที่สนใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียงใช้ค่าวัดจากงานศึกษาเดียว ในการทำงานศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยต้องเลือกองค์ประกอบหลายอย่างที่อาจมีอิทธิพลต่อผลงาน รวมทั้งวิธีการสืบหางานวิจัย การเลือกงานวิจัยตามกฏเกณฑ์ที่เป็นกลาง การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อมูลไม่ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ และการแก้ปัญหาหรือไม่แก้ปัญหาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ การศึกษาแบบ Meta-analysis มักจะเป็นส่วนสำคัญของงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (systematic review) แต่ไม่เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการทำงานแบบ Meta-analysis โดยใช้ผลงานการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าการรักษาได้ผลแค่ไหน เมื่อใช้ศัพท์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กร Cochrane Collaboration คำว่า meta-analysis ก็จะหมายถึงวิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมวลหลักฐาน โดยไม่รวมเอาการประมวลข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ เช่น research synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์งานวิจัย) หรือ evidence synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์หลักฐาน) ที่ใช้ประมวลข้อมูลจากงานศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative studies) ซึ่งใช้ในงานปริทัศน์แบบทั้งร.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการวิเคราะห์อภิมาน · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาทางนิเวศวิทยา

Ecological study เป็นการศึกษาองค์ความเสี่ยง ต่อสุขภาพหรือผลอย่างอื่น ๆ อาศัยข้อมูลประชากรที่กำหนดส่วนโดยภูมิภาคหรือโดยกาลเวลา แทนที่จะใช้ข้อมูลในระดับบุคคล ทั้งค่าองค์ความเสี่ยงและค่าผลจะเป็นค่าเฉลี่ยของประชากรส่วนต่าง ๆ (ไม่ว่าจะกำหนดโดยภูมิภาคหรือโดยกาลเวลา) แล้วใช้เปรียบเทียบกันโดยวิธีการทางสถิติ งานศึกษาแบบนี้สามารถพบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความเสี่ยงกับผลทางสุขภาพ บ่อยครั้งก่อนวิธีการทางวิทยาการระบาดหรือทางการทดลองอย่างอื่น ๆ ซึ่งจะแสดงตัวอย่างต่อ ๆ ไป งานศึกษาของ น..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการศึกษาทางนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาตามแผน

การศึกษาตามแผน หรือ งานศึกษาตามรุ่น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ "cohort-" ว่า "ตามรุ่น" เช่น "cohort analysis" แปลว่า "การวิเคราะห์ตามรุ่น", และของ "panel analysis" ว่า "การวิเคราะห์ตามบุคคลในรุ่น" (cohort study) หรือ งานศึกษาตามบุคคลในรุ่น เป็นแบบหนึ่งของงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ที่ใช้ในสาขาการแพทย์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย "business analytics" และนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ในการแพทย์ อาจจะมีงานศึกษาที่วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง โดยติดตามกลุ่มประชากรที่ไม่มีโรค แล้วใช้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับการติดโรค เพื่อกำหนดความเสี่ยงสัมพัทธ์ ของการติดโรค งานศึกษาตามรุ่นเป็นแบบการศึกษาทางคลินิกชนิดหนึ่ง เป็นงานศึกษาตามยาว (longitudinal study) โดยเทียบกับงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) คือ เป็นการวัดค่าผลลัพธ์ที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ของกลุ่มประชากร และของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่มประชากรนั้น ๆ ตามชั่วระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเทียบกับการวัดค่าที่เป็นประเด็นเพียงครั้งเดียวในงานศึกษาตามขวาง "cohort" (รุ่น, กลุ่มร่วมรุ่น) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีคุณลักษณะหรือประสบการณ์ที่เหมือนกันภายในช่วงเวลาเดียวกัน (เช่น เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน มีประวัติได้ยา ฉีดวัคซีน หรือประสบมลพิษภาวะ ช่วงเดียวกัน หรือได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน) ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่เกิดในวันเดียวกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นในปี..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการศึกษาตามแผน · ดูเพิ่มเติม »

การหายใจ

การหายใจ (breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากปอด สิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:การหายใจ หมวดหมู่:รีเฟล็กซ์ หมวดหมู่:ร่างกายของมนุษย์.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

การผ่าท้องทำคลอด

การผ่าท้องทำคลอด (Caesarean section) หรือ ซี-เซกชัน (C-section) หรือ ซีซาร์ (Caesar) เป็นหัตถการทางศัลยศาสตร์กระทำโดยการผ่าที่บริเวณส่วนท้องของมารดา (ผ่าท้องและผ่ามดลูก) เพื่อให้ทารกในครรภ์คลอด มักทำเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของมารดาหรือเด็ก แม้ในปัจจุบันจะมีการผ่าท้องทำคลอดตามความประสงค์ของมารดามากขึ้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าอัตราการผ่าท้องทำคลอดควรทำต่อเมื่อมีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น โดยปกติแล้วการผ่าท้องทำคลอดจะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการผ่าท้องทำคลอด · ดูเพิ่มเติม »

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการทบทวนวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

pmc.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

การปริทัศน์เป็นระบบ

การปริทัศน์เป็นระบบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" (systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการปริทัศน์เป็นระบบ · ดูเพิ่มเติม »

การนอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับ (insomnia) เป็นความผิดปกติของการนอนหลับซึ่งไม่สามารถนอนหลับหรือนอนหลับได้ไม่นานเท่าที่ต้องการPunnoose Ann, Golub Robert, E Alison.(2012)"Insomnia", "JAMA".

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและการนอนไม่หลับ · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์

อ็นเซด (NSAID ย่อจาก Non-steroidal anti-inflammatory drugs) เป็นยาระงับปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ ยากลุ่ม สเตอรอยด์ (steroids) ก็มีฤทธิ์แบบนี้เช่นกัน แต่กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยยากลุ่ม สเตอรอยด์กดภูมิคุ้มกัน แต่พวกเอ็นเซดไม่ เพื่อแยกความแตกต่างให้ชัดเจนเรา จึงตั้งชื่อยากลุ่มนี้ว่า ไม่ใช่กลุ่มสเตอรอยด์ โดยการใช้คำ นอน-สเตอรอยดอล นำหน้า เอ็นเซด บางครั้งเรียกว่า นอน-สเตอรอยดอล แอนตี้-อินแฟลมเมตอรี่ อะนาเจซิก (non-steroidal anti-inflammatory agents/analgesics (NSAIAs)) ตัวอย่างยาที่บทบาทมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ยีน

รโมโซมคือสายดีเอ็นเอที่พันประกอบขึ้นเป็นรูปร่าง ยีนคือส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอที่ถอดรหัสออกมาเพื่อทำหน้าที่ ยีนสมมติในภาพนี้ประกอบขึ้นจากแค่สี่สิบคู่เบส ซึ่งยีนจริงๆ จะมีจำนวนคู่เบสมากกว่านี้ ยีน, จีน หรือ สิ่งสืบต่อพันธุกรรม (gene) คือลำดับดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูกถอดรหัสออกมาเป็นอาร์เอ็รนเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจทำหน้าที่ได้เองโดยตรง หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอนการแปลรหัส ซึ่งเป็นการสร้างโปรตีนเพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฏ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฏให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ยีนอาจเกิดการกลายพันธุ์สะสมในลำดับพันธุกรรมได้ ทำให้เกิดความแตกต่างของการแสดงออกในกลุ่มประชากร เรียกว่าแต่ละรูปแบบที่แตกต่างนี้ว่า อัลลีล แต่ละอัลลีลของยีนยีนหนึ่งจะถอดรหัสออกมาเป็นโปรตีนที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทำให้เกิดลักษณะปรากฏทางฟีโนทัยป์ที่แตกต่างกันไป ในระดับคนทั่วไปเมื่อพูดถึงการมียีน เช่น มียีนที่ดี มียีนสีผมน้ำตาล มักหมายถึงการมีอัลลีลที่แตกต่างของยีนยีนหนึ่ง ยีนเหล่านี้จะผ่านกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติเพื่อให้เกิดการอยู่รอดของอัลลีลที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ยีนเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมที่ถอดรหัสได้เป็นสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า exon และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intron.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและยีน · ดูเพิ่มเติม »

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและระบบต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทอิสระ

ระบบประสาทอิสระสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและระบบประสาทอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ระยะ QT

ระยะ QT คือความยาวระหว่างจุดเริ่มต้นของคลื่น Q ไปจนถึงจุดสิ้นสุดของคลื่น T ในช่วงจังหวะไฟฟ้าของหัวใจซึ่งเห็นได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยทั่วไปแล้วระยะ QT แสดงถึงช่วงการคลายความเป็นขั้ว (depolarization) และการคืนความเป็นขั้ว (repolarization) ของหัวใจห้องล่างทั้งสองห้อง การมีระยะ QT ที่ยาวกว่าปกติเป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพว่าอาจจะเกิดมีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติเช่น torsades de pointes และเป็นป้จจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ หมวดหมู่:สรีรวิทยาไฟฟ้าของหัวใจ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและระยะ QT · ดูเพิ่มเติม »

รายงานผู้ป่วย

ในสาขาการแพทย์ รายงานผู้ป่วย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ case ว่า "กรณี, ผู้ป่วย, คนไข้" และของ report ว่า "รายงาน" หรือ รายงานกรณี หรือ รายงานเค้ส (case report) เป็นรายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการ อาการแสดง การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการติดตามผู้ป่วยคนหนึ่ง และอาจจะมีข้อมูลทางประชากรอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย ปกติจะเป็นรายงานเกี่ยวกับเค้สที่แปลกหรือใหม่ และบางครั้งจะมีการทบทวนวรรณกรรมของเค้สอื่น ๆ ที่ได้รับรายงานมาแล้ว.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและรายงานผู้ป่วย · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้

thumb ในกายวิภาคศาสตร์, ลำไส้ เป็นส่วนหนึงในทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปสู่ทวารหนัก ในมนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่ ลำไส้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่ ในมนษุย์สามารถแบ่งลำไส้เล็กเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum), ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนลำไส้ใหญ่แบ่งได้เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Colon).

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิแกนด์

ลิแกนด์ (ligand) มีความหมายตามวิชาดังนี้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและลิแกนด์ · ดูเพิ่มเติม »

วาร์ฟาริน

วาร์ฟาริน (warfarin, หรือชื่อการค้า คูมาดิน, มารีแวน, ยูนิวาร์ฟิน) เป็นสารกันเลือดเป็นลิ่มซึ่งปกติใช้ป้องกันภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดและภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด วาร์ฟารินมักเรียกผิด ๆ ว่าเป็น "ยาเจือจางเลือด" (blood thinner) เริ่มใช้ใน..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและวาร์ฟาริน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการระบาด

วิทยาการระบาด เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชากร และเป็นพื้นฐานและตรรกะที่ทำให้เกิดแนวคิดความสนใจในสาธารณสุขและเวชศาสตร์ป้องกัน สาขาวิชานี้วิธีที่สำคัญพื้นฐานของงานวิจัยด้านสาธารณสุข และเกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์อิงหลักฐาน (evidence-based medicine) ในการหาปัจจัยเสี่ยงของโรคและประเมินวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด งานของนักวิทยาการระบาดที่เกี่ยวข้องกับโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ มีขอบเขตตั้งแต่การสืบค้นการระบาดของโรค (outbreak investigation) ไปจนถึงการออกแบบการศึกษา การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ รวมทั้งการพัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานและการเตรียมผลการวิจัยเพื่อเสนอผลการวิจัย นักวิทยาการระบาดอาจอาศัยระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างเช่นชีววิทยาในการทำความเข้าใจการดำเนินโรค และระเบียบวิธีทางสังคมศาสตร๋ เช่นสังคมศาสตร์และปรัชญาเพื่อช่วยในการทำความเข้าใจปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงและไกล.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและวิทยาการระบาด · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหสัมพันธ์

ำหรับสถิติศาสตร์ สหสัมพันธ์ (correlation) หมายถึงความสัมพันธ์ทางสถิติระหว่างตัวแปรสุ่มตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป Several sets of (''x'', ''y'') points, with the Pearson correlation coefficient of ''x'' and ''y'' for each set. Note that the correlation reflects the noisiness and direction of a linear relationship (top row), but not the slope of that relationship (middle), nor many aspects of nonlinear relationships (bottom). N.B.: the figure in the center has a slope of 0 but in that case the correlation coefficient is undefined because the variance of ''Y'' is zero.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและสหสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและหน่วยรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะ

อวัยวะ เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่คล้ายกัน พืชและสัตว์ต้องพึ่งอวัยวะหลายชิ้นในระบบอวัยวะ หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system).

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction, ADR) คือภาวะซึ่งมีผลเสียจากการใช้ยาในขนาดปกติ ในการให้ยาแบบปกติ อาจเกิดหลังการให้ยาเพียงครั้งเดียว หรือเมื่อให้เป็นเวลานาน หรือเมื่อให้พร้อมกับยาอื่น ก็ได้ ภาวะนี้แตกต่างจากผลข้างเคียงของยาตรงที่ผลข้างเคียงของยานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์แต่เพียงอย่างเดียว วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยาเรียกว่า pharmacovigilance Category:เภสัชวิทยา.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและอาการไม่พึงประสงค์จากยา · ดูเพิ่มเติม »

อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้

อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ เป็นอาการเลือดออกทุกแบบในทางเดินอาหารตั้งแต่ปากถึงไส้ตรง เมื่อมีการเสียเลือดมากในเวลาสั้น ๆ อาจมีอาการอย่างอาเจียนเป็นเลือดสด อาเจียนเป็นเลือดสีคล้ำ อุจจาระเป็นเลือดหรืออุจจาระสีดำ อาการเลือดออกปริมาณน้อยเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะเลือดจากเหตุขาดเหล็กซึ่งส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยหรือเจ็บอกที่เกี่ยวกับหัวใจ อาการอื่นอาจมีปวดท้อง หายใจกระชั้น ผิวหนังซีด หรือหมดสติชั่วคราว บางครั้งผู้ที่มีอาการเลือดออกเล็กน้อยอาจไม่มีอาการเลย อาการเลือดออกตรงแบบแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบนและอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่าง สาเหตุของอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบน ได้แก่ โรคแผลเปื่อยเพปติก หลอดเลือดหลอดอาหารขอดเนื่องจากตับแข็งและมะเร็ง ฯลฯ สาเหตุของอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่างมีโรคริดสีดวงทวาร มะเร็งและโรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น การวินิจฉัยตรงแบบเริ่มด้วยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจเลือด อาการเลือดออกปริมาณเล็กน้อยอาจตรวจพบด้วยการทดสอบเลือดแฝงในอุจจาระ การส่องคล้องทางเดินอาหารส่วนล่างและส่วนบนอาจหาบริเวณที่เลือดออกได้ การสร้างภาพทางการแพทย์อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่ไม่ชัดเจน การรักษาเบื้องต้นมุ่งสนใจการกู้ชีพซึ่งอาจมีสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำและการถ่ายเลือด บ่อยครั้งที่ไม่แนะนำการถ่ายเลือดยกเว้นฮีโมโกลบินน้อยกว่า 70 หรือ 80 กรัมต่อลิตร อาจพิจารณาการรักษาด้วยสารยับยั้งปั๊มโปรตอน อ็อกทรีโอไทด์ (octreotide) และยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยบางคน หากมาตรการอื่นยังไม่มีประสิทธิภาพ อาจพยายามใช้บอลลูนหลอดอาหารในผู้ที่สงสัยว่าเป็นหลอดเลือดหลอดอาหารขอด โดยทั่วไปแนะนำการส่องกล้องหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและดูโอดีนัมหรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมงและอาจทำให้ได้การรักษาเช่นเดียวกับการวินิจฉัย อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบนพบบ่อยกว่าอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่าง อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบนพบในผู้ใหญ่ 50 ถึง 150 คนต่อ 100,000 คนต่อปี ส่วนอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่างมีการประมาณว่าเกิดในผู้ใหญ่ 20 ถึง 30 คนต่อ 100,000 คนต่อปี อาการเลือดออกนี้ทำให้มีการระบเข้ารักษาในโรงพยาบาลประมาณ 300,000 คนต่อปีในสหรัฐ ความเสี่ยงการเสียชีวิตจากอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้อยู่ระหว่าง 5% ถึง 30% ความเสี่ยงอาการเลือดออกในชายมีมากกว่าหญิงและเพิ่มขึ้นตามอ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

องคชาต

องคชาต (penis) เป็นอวัยวะเพศของเพศชายที่ใช้สืบพันธ์ุ และทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีลักษณะเป็นท่อนยาว อยู่ภายนอกร่างกายของเพศชาย ตรงบริเวณหัวหน่าวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำกาม ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อฟองน้ำ (corpus cavernosum) 1 คู่ และท่อปัสสาวะบางส่วน กล้ามเนื้อลักษณะฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด เมื่อมีอารมณ์ทางเพศทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต เพื่อให้สามารถสอดใส่องคชาตเข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิง ที่ปลายองคชาติเป็นจุดรวมของเส้นประสาท ซึ่งไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับคลิตอริสของเพศหญิง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและองคชาต · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและยา

องค์การอาหารและยา หรือ อ. อาจหมายถึง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและองค์การอาหารและยา · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

จุดประสานประสาท

องไซแนปส์เคมี ซึ่งเป็นการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทเพื่อเปลี่ยนกระแสประสาทเป็นสารสื่อประสาทในการนำสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ ไซแนปส์ (Synapse) หรือ จุดประสานประสาท เป็นช่องว่างพิเศษระหว่างส่วนแรก คือ เซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ กับส่วนที่สองที่อาจเป็นเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์หรือเซลล์ชนิดอื่น เช่น เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ของต่อม เป็นต้น เพื่อสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลในการทำงานของระบบประสาท ในทางประสาทวิทยาศาสตร์ ไซแนปส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและจุดประสานประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ทรามาดอล

ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาในกลุ่มโอปิออยด์ ใช้เป็นยาบรรเทาปวดสำหรับรักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง เป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กับโอปิออยด์อื่น และออกฤทธิ์ที่ระบบ GABAergic, noradrenergic และ serotonergic ทรามาดอลถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทยาของ ประเทศเยอรมนี ชื่อ "Grünenthal GmbH" และทำตลาดภายใต้ชื่อการค้าว่า "ทรามัล" ® (Tramal) Grünenthal มีสิทธิบัตรยาไขว้กับหลายบริษัท ยาตัวนี้จึงมีชื่อการค้าหลายชื่อ ทรามาดอลมีทั้งรูปยาฉีดเข้าเส้น เข้ากล้ามเนื้อ และตำรับยารับประทาน ทรามาดอลในท้องตลาดจะอยู่ในรูปเกลือไฮโดรคลอไรด์ คือ "ทรามาดอลไฮโดรคลอไรด์" (tramadol hydrochloride).

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและทรามาดอล · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ความพิการ

ัญลักษณ์สากลของคนพิการ คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหน.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ

วามผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ หรือ ภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (Posttraumatic stress disorder) มีชื่อย่ออย่างเป็นสากลว่า PTSD เป็นภาวะความเครียดที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว อาการมักเป็นหลังจากเจอสถานการณ์ที่สะเทือนใจ ซึ่งต่างจาก Acute stress reaction ที่จะเกิดอาการขึ้นทันที่ที่เจอเหตุการณ์นั้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตในปอดสูง

วามดันโลหิตในปอดสูง (Pulmonary hypertension) เป็นการเพิ่มขึ้นของความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสู่ปอดและหลอดเลือดดำจากปอดหรือหลอดเลือดในปอดหลอดอื่นๆ ซึ่งนำมาสู่อาการหายใจลำบาก, เวียนศีรษะ, หมดสติชั่วคราว, ขาบวม หรืออาการอื่นๆ ความดันโลหิตในปอดสูงอาจเกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน อาการนี้ถูกบัญญัติขึ้นโดย แอรนส์ ฟอน รอมแบร์ก (Ernst von Romberg) ในปี..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและความดันโลหิตในปอดสูง · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ความเกี่ยวดอง

ในทางนิติศาสตร์และมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ความเกี่ยวดอง หรือ สัมพรรคภาพ หมายถึงความเป็นญาติที่เกิดจากการสมรส ซึ่งแยกแยะออกจากการร่วมสายโลหิต เป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้ญาติของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย "เกี่ยวดองกัน" คือเป็นเครือญาติซึ่งกันและกัน ในภาษาไทย ญาติฝ่ายชายจะเรียกคู่สมรสฝ่ายหญิงว่า สะใภ้ เช่น ลูกสะใภ้ พี่สะใภ้ ป้าสะใภ้ ฯลฯ และญาติฝ่ายหญิงจะเรียกคู่สมรสฝ่ายชายว่า เขย เช่น ลูกเขย น้องเขย น้าเขย ฯลฯ ส่วนในภาษาอังกฤษจะเติมคำว่า -in-law ต่อท้ายระดับความเป็นญาติเช่น daughter-in-law หมายถึงลูกสะใภ้ เป็นต้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและความเกี่ยวดอง · ดูเพิ่มเติม »

ความเสี่ยงสัมพัทธ์

ในสถิติศาสตร์และวิทยาการระบาดเชิงคณิตศาสตร์ ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk, RR) คือความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์ (หรือการเกิดโรค) สัมพัทธ์ต่อการสัมผัสปัจจัย (exposure) โดยเป็นอัตราส่วนของความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ในกลุ่มสัมผัสปัจจัยเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้สัมผัสปัจจัย (ratio of the probability of the event occurring in the exposed group versus a non-exposed group) ตัวอย่างเช่น หากความน่าจะเป็นที่ผู้ที่สูบบุหรี่จะป่วยเป็นมะเร็งปอดอยู่ที่ 20% และความน่าจะเป็นที่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่จะป่วยเป็นมะเร็งปอดอยู่ที่ 1% เป็น สามารถนำมาเขียนเป็นตาราง 2 × 2 ได้ดังที่แสดงไว้ด้านขวา ในกรณีนี้ a.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและความเสี่ยงสัมพัทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์

อร์เทกซ์ (cortex) มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า เปลือก เปลือกไม้ เปลือกผลไม้ เปลือกเนยแข็ง หนังสัตว์ เปลือกหอย แกลบ เปลือกเมล็ด อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาตามรุ่นตามแผน

publisher.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและงานศึกษาตามรุ่นตามแผน · ดูเพิ่มเติม »

งานศึกษาแบบสังเกต

ในสาขาวิทยาการระบาดและสถิติศาสตร์ งานศึกษาแบบสังเกต"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ observational methods ว่า "วิธีวิจัยแบบสังเกต" และ study ว่า "งานศึกษา, การศึกษา" (observational study) เป็นการศึกษาที่อนุมานผลของวิธีการรักษาที่เป็นประเด็นการศึกษาต่อคนไข้ ใช้เมื่อการจัดคนไข้เข้ากับกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ซึ่งแตกต่างจากการทดลองเช่นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่สามารถจัดผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนให้อยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยสุ่มได้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและงานศึกษาแบบสังเกต · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับวาย

ตับวายคือภาวะที่ทำให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ทั้งหน้าที่ด้านการสังเคราะห์สารและหน้าที่ด้านกระบวนการสร้างและสลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ปกติของตับ อาจแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและตับวาย · ดูเพิ่มเติม »

ซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม

DNA molecule 1 differs from DNA molecule 2 at a single base-pair location (a C/T polymorphism). ซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม (single-nucleotide polymorphism) หรือสนิป (SNP) เป็นการแปรผันของลำดับดีเอ็นเอชนิดหนึ่งซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของนิวคลีโอไทด์หนึ่งตัวในจีโนมทำให้แตกต่างจากจีโนมของสิ่งมีชีวิตอื่นในสปีชีส์เดียวกันหรือต่างจากโครโมโซมอีกแท่งหนึ่งในสิ่งมีชีวิตเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนดีเอ็นเอในตำแหน่งเดียวกันจากคนสองคนพบเป็น AAGCCTA และ AAGCTTA มีความแตกต่างที่นิวคลีโอไทด์ตัวหนึ่ง เช่นนี้กล่าวได้ว่า SNP นี้มี 2 อัลลีล โดย SNP ส่วนใหญ่มีเพียง 2 อัลลีลเท่านั้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์ (ซูโอมี) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย ฟินแลนด์มีประชากรเพียง 5 ล้านคน ในพื้นที่ 338,145 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรที่เบาบาง แต่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและประเทศฟินแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปวดศีรษะ

อาการปวดศีรษะคืออาการปวดซึ่งเกิดกับบริเวณใดๆ ของศีรษะและคอ ซึ่งอาจเป็นอาการของหลายๆ ภาวะที่เกิดกับศีรษะและคอ ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อเยื่อสมองนั้นไม่สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้เนื่องจากไม่มีตัวรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวด ดังนั้นอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ รอบๆ สมองที่สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ โดยอวัยวะเหล่านี้อาจแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะ (หลอดเลือด เยื่อหุ้มสมอง และเส้นประสาทสมอง) และนอกกะโหลกศีรษะ (เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หลอดเลือด เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ตา หู โพรงอากาศ และเยื่อบุ) ระบบการจำแนกประเภทอาการปวดศีรษะมีใช้อยู่หลายระบบ ระบบหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายคือระบบของ International Headache Society (สมาคมอาการปวดศีรษะนานาชาติ) วิธีการรักษาอาการปวดศีรษะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหตุ แต่ส่วนใหญ่มักมีการใช้ยาแก้ปวดร่วมในการรักษาด้วยเสมอ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและปวดศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

นัยสำคัญทางสถิติ

ในสถิติศาสตร์ ผลศึกษาที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (statistical significance) หมายความว่าผลศึกษานั้นมีโอกาสน้อยที่จะเกิดจากความบังเอิญ การที่ผลการศึกษาหนึ่งๆ มีนัยสำคัญทางสถิตินั้น เป็นคนละประเด็นกับว่าผลที่ออกมานั้นมีนัยสำคัญในความเข้าใจทั่วไปหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาครั้งหนึ่งที่ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่นับหมื่นคนอาจทำให้กล่าวได้อย่างมั่นใจว่าคนในจังหวัดหนึ่งมีคะแนนไอคิวสูงกว่าคนอีกจังหวัดหนึ่งอยู่ 0.05 แต้ม ผลการศึกษานี้อาจมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความแตกต่างนั้นมีน้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญในความเข้าใจทั่วไป นักวิจัยหลายท่านยืนยันว่าการทดสอบหานัยสำคัญนั้นจะต้องมีการประเมินทางสถิติของขนาดผลลัพธ์ (effect-size statistics) ด้วยเสมอ ซึ่งจะเป็นการประมาณขนาดของความสำคัญของความแตกต่างที่สังเกตได้ ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้ทั่วไปของความสำคัญหรือนัยสำคัญ ขนาดของหลักฐานที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้ยอมรับได้ว่าเหตุการณ์นั้นๆ ไม่น่าจะเกิดขึ้นจากความบังเอิญเรียกว่าระดับความสำคัญหรือค่า critical p-value โดยในการทดสอบสมมติฐานทางสถิติแบบ Fisherian ดั้งเดิม (traditional Fisherian statistical hypothesis testing) กำหนดว่า p-value คือความน่าจะเป็นที่คำนวณได้จากเงื่อนไขเริ่มต้นของสมมติฐานแห่งความไม่แตกต่าง (null hypothesis) ซึ่งได้จากการสังเกต หากค่า p-value ที่คำนวณได้มีค่าน้อยอาจหมายความว่าสมมติฐานแห่งความไม่แตกต่างนั้นเป็นเท็จหรือได้มีเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เกิดขึ้นแล้ว.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและนัยสำคัญทางสถิติ · ดูเพิ่มเติม »

นาโปรเซน

นาโปรเซน (Naproxen; มีชื่อทางการค้าดังนี้: Aleve, Anaprox, Naprosyn, Naprelan) เป็นยาในกลุ่มเอ็นเซด (NSAID) ใช้ลดอาการปวดระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ลดไข้ การอักเสบ อาการตัวแข็งอันเนื่องจากข้อต่ออักเสบ ข้ออักเสบรูมาทอยด์ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคเก้าท์ โรคข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง ตะคริวระดู เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ ถุงน้ำเลี้ยงภายในข้อต่ออักเสบ และใช้รักษาอาการปวดระดู นาโปรเซนทำงานโดยการไปลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิด2004 * http://www.clinicaltrials.gov/show/NCT00007189 Alzheimer's Disease Anti-Inflammatory Prevention Trial ยาบรรเทาปวด หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:เอ็นเซด หมวดหมู่:ยาบรรเทาปวด โครงเภสัชกรรม.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและนาโปรเซน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ น้ำอสุจิ (Semen, seminal fluid) เป็นสารประกอบอินทรีย์เหลวที่อาจมีตัวอสุจิอยู่ ในภาษาบาลี อะ แปลว่าไม่ สุจิ หรือสุจี แปลว่าสะอาด น้ำอสุจิ จึงแปลว่า น้ำที่ไม่สะอาด เป็นน้ำที่หลั่งออกจากอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์และจากอวัยวะทางเพศอื่น ๆ ของสัตว์เพศชาย และสามารถทำการผสมพันธุ์กับไข่ของเพศหญิงได้ ในมนุษย์ น้ำอสุจิมีองค์ประกอบอื่น ๆ นอกจากตัวอสุจิ คือมีเอนไซม์ต่าง ๆ และน้ำตาลประเภทฟรุกโทส ที่ช่วยเลี้ยงตัวอสุจิให้ดำรงรอดอยู่ได้ และเป็นสื่อเพื่อที่ตัวอสุจิจะเคลื่อนที่ หรือ "ว่ายน้ำ" ไปได้ น้ำอสุจิโดยมากเกิดจากต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ seminal vesicle ว่า "ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ" (หรือมีชื่ออื่นว่า ถุงน้ำอสุจิ, ถุงพักน้ำอสุจิ) ซึ่งเป็นอวัยวะอยู่ที่เชิงกราน แต่ว่าตัวอสุจิเองสร้างจากอัณฑะ ส่วนกระบวนการที่นำไปสู่การปล่อยน้ำอสุจิเรียกว่า การหลั่งน้ำอสุจิ ในมนุษย์ น้ำอสุจิเป็นของเหลวสีขาวข้นที่หลั่งออกโดยผู้ชาย เมื่อถึงจุดสุดยอด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ เมื่อมีการสำเร็จความใคร่ หรือเมื่อขับออกตามธรรมชาติที่เรียกว่าฝันเปียก โดยจะมีการหลั่งน้ำอสุจิแต่ละครั้งประมาณ 3-4 ซีซี มีจำนวนตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและน้ำอสุจิ · ดูเพิ่มเติม »

แอสไพริน

แอสไพริน (aspirin) (BAN, USAN) หรือกรดอะซีทัลซาลิซิลิก (acetylsalicylic acid, ASA) เป็นยาซาลิซิเลต มักใช้เป็นยาระงับปวด ยาลดไข้และยาแก้อักเสบ แอสไพรินยังมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยยับยั้งการผลิตทรอมบ็อกเซน ซึ่งปกติเชื่อมโมเลกุลเกล็ดเลือดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างปื้นเหนือผนังหลอดเลือดที่เสียหาย เนื่องจากปื้นเกล็ดเลือดสามารถใหญ่เกินไปได้และยังขัดขวางการไหลของเลือด ทั้งเฉพาะที่และที่อยู่หลังจากนั้น แอสไพรินยังใช้ระยะยาวที่ขนาดต่ำเพื่อช่วยป้องกันอาการหัวใจล้ม โรคหลอดเลือดสมองและการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดลิ่มเลือด นอกจากนี้ อาจให้แอสไพรินขนาดต่ำทันทีหลังอาการหัวใจล้มเพื่อลดความเสี่ยงอาการหัวใจลมอีกหนและการตายของเนื้อเยื่อหัวใจ แอสไพรินอาจให้ผลป้องกันมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ ฤทธิ์ข้างเคียงหลักของแอสไพริน คือ แผลกระเพาะและลำไส้ เลือดไหลในกระเพาะอาหารและเสียงในหู โดยเฉพาะในขนาดสูง ในเด็กและวัยรุ่น ไม่แนะนำแอสไพรินสำหรับอาการคล้ายหวัดหรือการเจ็บป่วยจากไวรัส เพราะเสี่ยงต่อกลุ่มอาการไรย์ (Reye's syndrome) แอสไพรินอยู่ในกลุ่มยารักษาโรคชื่อ ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) แต่กลไกออกฤทธิ์ของมันต่างจาก NSAIDs อื่นส่วนมาก แม้มันและยาอื่นที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เรียก ซาลิซิเลต มีฤทธิ์คล้ายกับ NSAIDs (ลดไข้ แก้อักเสบ ระงับปวด) และยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (cyclooxygenase, COX) ตัวเดียวกัน แต่แอสไพรินยับยั้งแบบผันกลับไม่ได้ และไม่เหมือนยาอื่น มีผลกับเอนไซม์ COX-1 มากกว่า COX-2 เอ็ดเวิร์ด สโตน แห่งวิทยาลัยวอแดม (Wadham College) มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบส่วนประกอบกัมมันต์ของแอสไพรินครั้งแรกจากเปลือกต้นวิลโลว์ใน..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและแอสไพริน · ดูเพิ่มเติม »

โรคย้ำคิดย้ำทำ

รคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา --> ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ --> พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง --> บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ --> โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวต.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคย้ำคิดย้ำทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคออทิซึม

รคออทิซึม (Autism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า โรคออทิซึมมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างมาก แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีความซับซ้อนและยังไม่สามารถอธิบายกลุ่มอาการ ASD ได้จากปฏิสัมพันธ์หลายยีนหรือการกลายพันธุ์ ผู้ป่วยจำนวนน้อยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารก่อวิรูป (สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด) บางแหล่งข้อมูลเสนอสาเหตุของโรคออทิซึมไว้หลากหลาย เช่น การให้วัคซีนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน และสมมติฐานดังกล่าวยังขาดหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์ ความชุกของกลุ่มอาการ ASD เกิดราว 6 ใน 1,000 คน และเป็นในเด็กชายเป็น 4 เท่าของเด็กหญิง จำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคออทิซึมพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ทั้งนี้บางส่วนเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการวินิจฉัย แต่ความชุกแท้จริงเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ทราบ ผู้ป่วยโรคออทิซึมมีความผิดปกติที่หลายส่วนของสมองซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองมักสังเกตอาการผู้ป่วยได้ในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก แม้ว่าการบำบัดด้วยพฤติกรรมและการรับรู้โดยนักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยพัฒนาให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง มีทักษะด้านสังคมและการสื่อสารได้ แต่การรักษาที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้น้อยรายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ประสบความสำเร็.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคออทิซึม · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับแข็ง

รคตับแข็ง เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตั.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคตับแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคตื่นตระหนก

โรคตื่นตระหนก (panic disorder) เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่งซึ่งมีลักษณะเกิดอาการตื่นตระหนกกระทันหัน (panic attack) เป็นซ้ำ ทำให้เกิดช่วงวิตกกังวลสุดขีดเข้มข้นเป็นชุดระหว่างอาการตื่นตระหนกกระทันหัน อาจรวมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างสำคัญกินเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนและความวิตกกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความนัยหรือความกังวลว่าจะมีอาการครั้งต่อ ๆ ไป โรคตื่นตระหนกมิใช่อย่างเดียวกับโรคกลัวที่โล่ง (agoraphobia) แม้ผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกจำนวนมากยังเป็นโรคกลัวที่โล่งด้วย อาการตื่นตระหนกกระทันหันไม่สามารถทำนายได้ ฉะนั้นบุคคลจึงอาจเครียด วิตกกังวลหรือกังวลสงสัยว่าจะเกิดอาการครั้งถัดไปเมื่อไร โรคตื่นตระหนกอาจแยกได้เป็นภาวะทางการแพทย์ หรือภาวะเสียดุลเคมี DSM-IV-TR อธิบายโรคตื่นตระหนกและความวิตกกังวลไว้แยกกัน ขณะที่ความวิตกกังวลจะมีสิ่งกระตุ้นความเครียด (stressor) เรื้อรังนำมา ซึ่งสร้างปฏิกิริยาปานกลางซึ่งกินเวลาได้หลายวัน สัปดาห์หรือเดือน แต่อาการตื่นตระหนกเป็นเหตุการณ์เฉียบพลันซึ่งเกิดจากสาเหตุกระทันหันและไม่ได้คาดหมาย ระยะเวลาสั้นและอาการรุนแรงกว่ามาก อาการตื่นตระหนกกระทันหันเกิดในเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ อาการตื่นตระหนกในเยาวชนอาจเป็นทุกข์เป็นพิเศษ เพราะเด็กมีแนวโน้มเข้าใจน้อยกว่าว่าเกิดอะไรขึ้น และบิดามารดายังมีแนวโน้มประสบความทุกข์เมื่อเกิดอาการ หมวดหมู่:โรควิตกกังวล หมวดหมู่:ปัญหาอารมณ์ หมวดหมู่:โรคประสาท เกี่ยวข้องกับความเครียดหรือโซมาโตฟอร์ม หมวดหมู่:ความกลัว หมวดหมู่:การวินิจฉัยจิตเวช.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคตื่นตระหนก · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคซนสมาธิสั้น

มาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่ แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์ DSM-IV และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์ ICD-10 Cited source of Cowen (2012): อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970 มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโรคซนสมาธิสั้น · ดูเพิ่มเติม »

โคม่า

ม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับโคม่าจากการใช้ยา (induced coma) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วนเรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม (RAS) ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ เปลือกสมองเป็นส่วนของเนื้อเทาที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง ไตวายขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโคม่า · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไอบิวพรอเฟน

อบิวพรอเฟน หรือ ไอบิวพรอเฟิน (Ibuprofen) เป็นยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือเอ็นเซด (NSAID) ซึ่งใช้รักษาอาการปวด ไข้ และการอักเสบ รวมถึงอาการปวดระดู และข้ออักเสบรูมาติก โดยปรกติแล้ว ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับเอ็นเซดจะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าเอ็นเซดประเภทหนึ่งไม่ได้ผล ก็อาจใช้อีกประเภทได้ อนึ่ง ไอบิวพรอเฟนยังอาจใช้ระงับอาการ "ดักตัส อาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่" ในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจบริโภคทางปากหรือหลอดเลือด ไอบิวพรอเฟนนั้นมักออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง ไอบิวพรอเฟนมักก่อผลข้างเคียงเป็นอาการแสบร้อนกลางอกและผื่น แต่เมื่อเทียบกับเอ็นเซดประเภทอื่น ๆ ไอบิวพรอเฟนอาจมีผลข้างเคียงอย่างอาการเลือดออกในทางเดินอาหารน้อยกว่า ทว่า ถ้าใช้ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ไอบิวพรอเฟนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลว ไตล้มเหลว และตับล้มเหลว ถ้าใช้น้อยและไม่นาน ก็ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายขาดเลือด แต่ถ้าใช้มากและนานก็ไม่แน่ นอกจากนี้ ไอบิวพรอเฟนอาจทำให้โรคหืดแย่ลงได้ อนึ่ง แม้ยังไม่แน่ชัดว่า ไอบิวพรอเฟนเป็นอันตรายต่อครรภ์ในระยะแรกเริ่มหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มีอันตรายต่อครรภ์ในระยะท้าย ไอบิวพรอเฟนนั้น สตูเวิร์ด แอดัมส์ (Stewart Adams) ค้นพบใน..

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและไอบิวพรอเฟน · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทโครม

ซโตโครมซีกับฮีมซี ไซโทโครม (Cytochromes) เป็นโปรตีนที่มีหมู่ฮีมที่รับผิดชอบต่อการสร้าง ATP จากการขนส่งอิเล้กตรอน พบทั้งที่เป็นหน่วยเดียว เช่น ไซโทโครมซี หรือเป็นหน่วยย่อยของเอนไซม์เชิงซ้อนที่เร่งปฏิกิริยารีดอกซ.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและไซโทโครม · ดูเพิ่มเติม »

เพทิดีน

เพทิดีน (Pethidine ชื่อโดย INN) หรือ meperidine (USAN) (มีชื่ออื่น ๆ อีกดังนี้: isonipecaine; lidol; operidine; pethanol; piridosal; Algil®; Alodan®; Centralgin®; Demerol®; Dispadol®; Dolantin®; Dolestine®; Dolosal®; Dolsin®; Mefedina®) เป็นยาในกลุ่มโอปิออยด์ที่ออกฤทธิ์เร็ว มีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาปวดด้วย ในสหรัฐอเมริการู้จักกันทั่วไปในชื่อ เมเพอริดีน โดยมีชื่อการค้าว่า ดีเมอรอล (Demerol) หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:โอปิออยด์ หมวดหมู่:ยาบรรเทาปวด หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและเพทิดีน · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือด

กล็ดเลือด (platelet หรือ thrombocyte, เซลล์ลิ่มเลือด) เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดหยุดร่วมกับปัจจัยเลือดจับลิ่ม (coagulation factors) โดยเกาะกลุ่มและจับลิ่มการบาดเจ็บของหลอดเลือด เกล็ดเลือดไม่มีนิวเคลียสของเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไซโทพลาซึมที่มาจากเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte) ของไขกระดูก แล้วเข้าสู่ระบบไหลเวียน เกล็ดเลือดที่ยังไม่ปลุกฤทธิ์มีโครงสร้างคล้ายจานนูนสองข้าง (ทรงเลนส์) เส้นผ่านศูนย์กลางมากสุด 2–3 ไมโครเมตร เกล็ดเลือดพบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์อื่น เกล็ดเลือดไหลเวียนเป็นเซลล์นิวเคลียสเดี่ยวMichelson, Platelets, 2013, p. 3 ในสเมียร์เลือดที่ย้อมแล้ว เกล็ดเลือดปรากฏเป็นจุดสีม่วงเข้ม ประมาณ 20% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดเลือดแดง สเมียร์ใช้พิจารณาขนาด รูปทรง จำนวนและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด สัดส่วนของเกล็โเลือดต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ใหญ่สุขภาพดีอยู่ระหว่าง 1:10 ถึง 1:20 หน้าที่หลักของเกล็ดเลือด คือ การมีส่วนในการห้ามเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการหยุดการตกเลือด ณ จุดที่เนื้อเยื่อบุโพรงฉีกขาด พวกมันจะมารวมกันตรงนั้นและจะอุดรูรั่วถ้ารอยฉีกขาดนั้นไม่ใหญ่เกินไป ขั้นแรก เกล็ดเลือดจะยึดกับสสารนอกเยื่อบุโพรงที่ฉีกขาด เรียก "การยึดติด" (adhesion) ขั้นที่สอง พวกมันเปลี่ยนรูปทรง เปิดตัวรับและหลั่งสารเคมีนำรหัส เรียก การปลุกฤทธิ์ (activation) ขั้นที่สาม พวกมันเชื่อมต่อกันโดยสะพานตัวรับ เรียก การรวมกลุ่ม (aggregation) การก่อก้อน (clot) เกล็ดเลือด (การห้ามเลือดปฐมภูมิ) นี้สัมพันธ์กับการปลุกฤทธิ์การจับลิ่มของเลือดเป็นลำดับ (coagulation cascade) โดยมีผลลัพธ์ทำให้เกิดการพอกพูน (deposition) และการเชื่อมกันของไฟบริน (การห้ามเลือดทุติยภูมิ) กระบวนการเหล่านี้อาจซ้อนทับกันได้ สเปกตรัมมีตั้งแต่มีก้อนเกล็ดเลือดเป็นหลัก หรือ "ลิ่มขาว" ไปจนถึงมีก้อนไฟบรินเป็นหลัก หรือ "ลิ่มแดง" หรือแบบผสมที่ตรงแบบกว่า ผลลัพธ์คือ ก้อน บางคนอาจเพิ่มการหดตัวของก้อนและการยับยั้งเกล็ดเลือดในเวลาต่อมาเป็นขั้นที่สี่และห้าเพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์ และบ้างว่าขั้นที่หกเป็นการซ่อมบาดแผล ภาวะเกล็ดเลือดน้อยเกิดจากมีการผลิตเกล็ดเลือดลดลงหรือมีการทำลายมากขึ้น ภาวะเกล็ดเลือดมากอาจเป็นแต่กำเนิด แบบปฏิกิริยา (ต่อไซโทไคน์) หรือเนื่องจากการผลิตที่ไม่มีการควบคุม อาจเป็นโรคเนื้องอกไมอิโลโปรลิเฟอเรตีฟ (myeloprolerative neoplasm) อย่างหนึ่งหรือเนื้องอกของมัยอีลอยด์อื่นบางอย่าง นอกจากนี้ ยังมีภาวะเกล็ดเลือดทำหน้าที่ผิดปกติ (thrombocytopathy) เกล็ดเลือดปกติสามารถสนองต่อความปกติบนผนังหลอดเลือดมากกว่าการตกเลือด ทำให้มีการยึดเกาะ/การปลุกฤทธิ์ที่ไม่เหมาะสมและภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดในภาวะที่หลอดเลือดมิได้ฉีกขาด ภาวะนี้มีกลไกแตกต่างจากก้อนปกติ ตัวอย่าง คือ การขยายก้อนไฟบรินจากภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด การขยายของพลาก (plaque) หลอดเลือดแดงที่ไม่เสถียรหรือแตก ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงมีลิ่มเลือด และภาวะหลอดเลือดระบบไหลเวียนขนาดเล็กมีลิ่มเลือด (microcirculatory thrombosis) ลิ่มหลอดเลือดแดงอาจอุดกั้นการไหลของเลือดบางส่วน ทำให้มีการขาดเลือดเฉพาะที่ใต้ต่อจุดอุดตัน หรืออุดกั้นสมบูรณ์ ทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อใต้ต่อจุดอุดตัน.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและเกล็ดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชจลนศาสตร์

เภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetics) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาเภสัชวิทยาที่กล่าวถึงกระบวนการของร่างกายในการจัดการยาเมื่อเปรียบเทียบกับเวลา หรือการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของยาในร่างกาย ณ เวลาต่างๆ ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญทางเภสัชจลนศาสตร์ใน 4 ขั้นตอน คือ การดูดซึม (Absorption), การกระจายยา (Distribution), กระบวนการเผาผลาญ (Metabolism) และการขับยาออกจากร่างกาย (Excretion) นิยมเรียกอย่างย่อว่า ADME การดูดซึมของยาส่งผลต่อชีวปริมาณการออกฤทธิ์ (Bioavailability) ของยาซึ่งขึ้นกับรูปแบบวิธีการให้ยาหรือวิธีการบริหารยาในรูปแบบต่างๆกัน การดูดซึมยังส่งผลอย่างต่อเนื่องไปยังกระบวนการกระจายยา ซึ่งมีปัจจัยต่างๆในร่างกายที่สนับสนุนหรือลดการกระจายยาไปยังอวัยวะเป้าหมาย (Target Organ) และกระบวนการเผาผลาญของยาเพื่อการกำจัดยาออกนอกร่างกาย ในบางกรณีนิยมเรียก "ADME" เป็น "ADMET" ซึ่งเป็นการเพิ่มการขนส่ง (Transport) หรือความเป็นพิษ (Toxicity) เข้าไปผนวกด้วย เภสัชจลนศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการศึกษาวิชาเภสัชวิทยา หมวดหมู่:เภสัชวิทยา.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและเภสัชจลนศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

Case series

Case series หรือ clinical series เป็นแบบงานวิจัยทางการแพทย์ที่ติดตามผู้ร่วมการทดลอง ที่ได้รับสารหรือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง (exposure) เช่นคนไข้ที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน หรือที่ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์เพื่อหาการได้รับปัจจัยและผลทางสุขภาพที่เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ Case series อาจเป็นแบบติดต่อกัน (consecutive) หรือไม่ติดต่อกัน (non-consecutive) ขึ้นอยู่กับว่า รายงานรวมคนไข้ที่เป็นประเด็นทั้งหมด ที่มาหาผู้เขียนในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ หรือรวมเพียงแค่บางส่วน เป็นการศึกษาเชิงพรรณา (descriptive) ที่ไม่เหมือนกับการศึกษาเชิงวิเคราะห์อื่น ๆ เช่นงานศึกษาตามรุ่น (cohort study) งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control study) หรือการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เพราะว่า งานศึกษาแบบนี้ไม่ได้ทดสอบสมมุติฐาน คือ ไม่ได้หาหลักฐานเพื่อตรวจสอบเหตุและผล (แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์แบบ "case-only" ที่ใช้ต่อข้อมูลจากการศึกษาประเภทนี้ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสาร ที่ได้รับกับลักษณะทางพันธุกรรม) เป็นการศึกษาที่ค่อนข้างเสี่ยงต่อความเอนเอียงโดยการคัดเลือก (selection bias) ยกตัวอย่างเช่น งานที่รายงานคนไข้หลาย ๆ คนที่มีโรคอย่างหนึ่ง และ/หรือ สารที่ได้รับที่เป็นประเด็นสงสัย จะชักตัวอย่างคนไข้จากกลุ่มประชากรหนึ่ง ๆ (เช่นจากโรงพยาบาลหรือคลินิก) ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนของประชากรทั้งกลุ่มไม่ได้ ความสามารถในการเชื่อมเหตุกับผล (Internal validity) ในงานศึกษาแบบนี้ อยู่ในระดับที่ต่ำมาก เพราะไม่มีกลุ่มที่ใช้เปรียบเทียบ เพราะผลที่ได้จากปรากฏการณ์อื่น ๆ เช่นยาหลอก, Hawthorne effect (ผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เพราะการเปลี่ยนแปลง), Pygmalion effect (ผลที่ได้เพราะความคาดหวังที่มีต่อคนไข้), time effect, practice effect, หรือ natural history effect ไม่สามารถแยกออกจากผลที่เกิดจากปัจจัยที่เป็นประเด็นศึกษาได้ คือ ถ้ามีกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลจากปรากฏการณ์อื่นเหล่านั้นเหมือน ๆ กัน การเปรียบเทียบผลที่ได้จากสองกลุ่มก็จะแสดงผลที่ได้จากปัจจัยที่เป็นประเด็น โดยที่มีค่าที่เกิดจากปรากฏการณ์อื่น ๆ เหล่านั้นหักล้างออกไปแล้ว ดังนั้น เราจะสามารถประเมินผลที่ได้จริง ๆ จากปัจจัย ก็ต่อเมื่อใช้กลุ่มเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ส่วนของการศึกษาประเภทนี้.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและCase series · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ใหม่!!: Selective serotonin re-uptake inhibitorsและSelective serotonin re-uptake inhibitors · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

SSRISSRIsSelective serotonin re-uptake inhibitorSelective serotonin reuptake inhibitorSelective serotonin reuptake inhibitorsSerotonin specific reuptake inhibitorSerotonin specific reuptake inhibitorsSerotonin-specific reuptake inhibitorSerotonin-specific reuptake inhibitorsยายับยั้งการนำเซโรโทนินโดยเฉพาะไปใช้ใหม่สารยับยั้งการนำเซโรโทนินโดยเฉพาะไปใช้ใหม่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »