โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Parallel ATAและเรด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง Parallel ATAและเรด

Parallel ATA vs. เรด

Parallel ATA (PATA) คือ ATA แบบขนาน เป็นมาตรฐานอินเตอร์เฟซสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเช่นฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์, ฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์และออปติคอลดิสก์ไดรฟ์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมาตรฐานการปรับปรุงโดย X3/คณะกรรมการ INCITS  โดยมีพื้นฐานจากมาตรฐาน AT Attachment (ATA) และ AT Attachment Packet Interface (ATAPI)  มาตรฐาน ATA แบบขนาน เป็นผลมาจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของการพัฒนาด้านเทคนิคที่เพิ่มขึ้นซึ่งเริ่มต้นจาก AT Attachment อินเตอร์เฟซ ได้รับการพัฒนาสำหรับใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในช่วงต้น(PC AT) อินเตอร์เฟซ ATA ได้รับการพัฒนาเริ่มต้นในตัวเองหลายขั้นตอนจาก Western Digital เดิมคือ อินเตอร์เฟซแบบบูรณาการไดรฟ์อิเลคโทรนิคนิคส์ (Integrated Drive Electronics:IDE)  เป็นผลให้เกิดคำพ้องความหมายใกล้เคียงกับ ATA / ATAPI และยังคงใช้งานร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Extended IDE (EIDE) หรือ ส่วนขยายของ IDE และ Ultra ATA (UATA) หรือ อัลตร้า ATA ต่อมาหลังจากการเปิดตัวของ Serial ATA (SATA) ในปี 2003 ชื่อ ATA ถูกเปลี่ยนเป็น Parallel ATA หรือ PATA สาย ATA แบบขนานอนุญาตให้มีความยาวสูงสุดที่ 18 (457 มิลลิเมตร) เพราะขีดจำกัดนี้ เทคโนโลยีนี้จึงปรากฏใช้เป็นอินเตอร์เฟซภายในสำหรับจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่ ATA มีให้พบมากที่สุดและเป็นอินเตอร์เฟซที่ราคาไม่แพง มันได้ถูกแทนที่โดย SATA ในระบบใหม. รด (ออกเสียงอย่าง เหรด; Redundant Array of Inexpensive DisksDavid A. Patterson, Garth Gibson, and Randy H. Katz:. University of California Berkley. 1988. หรือ Redundant Array of Independent Disks: RAID) คือเทคโนโลยีการนำฮาร์ดดิสก์ หลายๆ อันมาต่อเข้าด้วยกันเพื่อให้มองเห็นเป็นอันเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล หรือเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล หลักการโดยรวมของ RAID คือ การสำเนาข้อมูล (mirroring) การแบ่งส่วนข้อมูล (striping) และการแก้ไขความผิดพลาด (error correction) การตั้งค่า RAID จะแบ่งเป็นระดับ (level) โดยที่แต่ละระดับจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น ที่ระดับ 0 จะใช้วิธีการแบ่งส่วนข้อมูลเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียนข้อมูล แต่ไม่ช่วยในเรื่องของการแก้ไขความผิดพลาด ในขณะที่ระดับ 1 จะช่วยในการแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูล แต่ต้องแลกกับการเนื้อที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็นต้น นอกจากนี้ในการตั้งค่าบางรูปแบบยังสามารถผสมระดับต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นระดับแบบซ้อน เช่น RAID 10 หรือ RAID 0+1 จะเป็นการสร้าง RAID 0 อยู่บน RAID 1 ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและการแก้ไขความผิดพลาด เป็นต้น Raid 0 (striping) ช่วยให้การบันทึกข้อมูลได้เร็วขึ้น แต่ถ้ามีฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย จะทำให้ข้อมูลทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 200 GB Raid 1 (mirroring) ช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัย ถ้าฮาร์ดดิสก์เครื่องใดเสีย อีกเครื่องหนึ่งก็จะทำงานแทนได้ สมมติมีฮาร์ดดิสก์ 2 เครื่อง เครื่องละ 100 GB จะมีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 GB Raid 0+1 เป็นการผสมผสานระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย นอกจาก เรด 0, เรด 1 และ เรด 0+1 แล้ว ยังมีเรดอีกหลายระดับ รายละเอียดตามด้านล่างนี้ แบบ RAID 0 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละลูกมีความจุ 500 GB ดังนั้นเราสามารถเก็บข้อมูลได้ 1000 Gb แต่เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกใดลูกหนึ่งเสีย ก็จะทำให้ ฮาร์ดดิสก์ ใช้งานไม่ได้ทั้งสองลูกเลย เพราะ เมื่อเราสั่งเก็บข้อมูล ข้อมูลจะแยกเป็นสองส่วนและแบ่งเก้บในฮาร์ดดิสก์คนละลูก ทำให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูง แต่ข้อเสียก็คือหาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะส่งผลกับข้อมูลทั้งระบบทันที แบบ RAID 1 ยกตัวอย่าง มีฮาร์ดดิสก์ 2 ลูกแต่ละคนมีความจุ 500 GB แต่เราจะสามารถเก็บข้อมูลได้แค่ 500 GB เพราะฮาร์ดดิสก์อีกลูกจะมีไว้สำหรับเก็บข้อมูล ทำให้เมื่อฮาร์ดดิสก์ลูกหลักเสียอีกตัวก็จะทำงานแทนทันที จุดเด่นของ RAID 1 คือความปลอดภัยของข้อมูล ไม่เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความเร็วเหมือนอย่าง RAID 0 แม้ว่าประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลของ RAID 1 จะสูงขึ้นก็ตาม แบบ RAID 3 (N +1) ในกรณีนี้ต้องมีฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 3 ลูก ตัวอย่างเช่นฮาร์ดดิสก์ 3 ลูก แต่ละลูกมีความจุ 200 GB ดังนั้น server เราจะสามารถจุข้อมูลได้ 400 Gb อีก 200 Gb เก็บไว้สำรองข้อมูลในกรณีที่ลูกแรกหรือ ลูกที่สองเสีย ฮาร์ดดิสก์ลูกที่ 3 จะทำงานให้แทนลูกที่เสียทันที ดังนั้น RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video เป็นต้น แบบ RAID 5 (N +1) มีความสามารถเช่นเดียวกับ RAID 3 แต่จุดเด่นของ RAID 5 คือ เทคโนโลยี Hot Swap ทำให้สามารถเปลี่ยน harddisk ในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในขณะที่ระบบยังทำงานอยู่ เหมาะสำหรับงาน Server ต่างๆ ที่ต้องทำงานต่อเนื่อง RAID 6 (N +2) อาศัยพื้นฐานการทำงานของ RAID 5 แต่จะดีกว่า RAID 5 ตรงที่ว่ามี backup hard disk ถึง สองลูก และยอมให้เราทำการ Hot Swap ได้พร้อมกัน 2 ตัว ทำให้เหมาะกับงานที่ต้องการความปลอดภัยและเสถียรภาพของข้อมูลที่สูงมากๆ แบบ RAID 10 หรือ RAID 1 +0 คือการใช้ประโยชน์ของ RAID 0 และ RAID 1 เช่นเรามี ฮาร์ดดิสก์ 6 ลูก เราให้สามลูกแรกเป็น ลูกที่ใช้งานจริง ส่วนสามลูกหลังเป็นฮาร์ดดิสก์สำรอง ในกรณี ฮาร์ดดิสก์สามลูกแรกมีลูกใดลูกหนึ่งเสีย ฮาร์ดดิสก์สามลูกหลังจะทำงานแทนทันที แต่มีข้อเสียคือ เราต้องซื้อ Harddisk เป็นสองเท่าในการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน เพื่อเพิ่มในส่วนที่ใช้งานและส่วนที่สำรอง เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างมาก แต่ไม่ต้องการความจุมากนัก แบบ RAID 53 จะเป็นการรวมกันของ RAID ระดับ 0 และ 3 เพื่อความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลที่มากขึ้น แต่ยังมีตัวสำรองในการป้องกันระบบล่มทั้งระบบ ในเวลาที่มี Harddisk เสี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง Parallel ATAและเรด

Parallel ATAและเรด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง Parallel ATAและเรด

Parallel ATA มี 0 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรด มี 1 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (0 + 1)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Parallel ATAและเรด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »