โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

PSR B1257+12

ดัชนี PSR B1257+12

PSR B1257+12 หรือบางครั้งเรียกอย่างย่อว่า PSR 1257+12 เป็นพัลซาร์ดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกราว 980 ปีแสง ในกลุ่มดาวหญิงสาว ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน เมื่อปี..

18 ความสัมพันธ์: พัลซาร์กลุ่มดาวหญิงสาววินาทีอเล็กซานเดอร์ โวลส์ชานดาวนิวตรอนดาวเคราะห์พัลซาร์ดาวเคราะห์นอกระบบซากมหานวดาราปีแสงแถบลำดับหลักแถบดาวเคราะห์น้อยแถบไคเปอร์โลกเดล เฟรลเนเจอร์ (วารสาร)PSR B1257+12 APSR B1257+12 BPSR B1257+12 C

พัลซาร์

แผนภาพของพัลซาร์ ทรงกลมตรงกลางหมายถึงดาวนิวตรอน เส้นโค้งรอบๆ คือเส้นสนามแม่เหล็ก ส่วนรูปกรวยที่พุ่งออกมาคือลำการแผ่รังสี พัลซาร์ (Pulsar; มาจากการรวมกันของ 2 คำ คือ pulsating และ star) คือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมาก และแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ คาบการหมุนที่สังเกตได้อยู่ระหว่าง 1.4 มิลลิวินาที ถึง 8.5 วินาที เราสามารถสังเกตเห็นการแผ่รังสีได้จากลำรังสีที่ชี้มาทางโลกเท่านั้น ลักษณะปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ประภาคาร (lighthouse effect) และการที่สังเกตเห็นรังสีเป็นช่วงๆ (pulse) นี้เองเป็นที่มาของชื่อพัลซาร์ พัลซาร์บางแห่งมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ เช่น ดาว PSR B1257+12 เวอร์เนอร์ เบ็คเกอร์ แห่งสถาบันมักซ์ พลังค์เพื่อการศึกษาฟิสิกส์นอกโลก (Max Planck Institute for Extraterrestrial Physics) ได้กล่าวเอาไว้ในปี 2549 ว่า "ทฤษฎีว่าด้วยเหตุที่พัลซาร์แผ่รังสีออกมายังคงเป็นสิ่งลึกลับ แม้จะมีการเฝ้าศึกษามาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว".

ใหม่!!: PSR B1257+12และพัลซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหญิงสาว

กลุ่มดาวหญิงสาว หรือ กลุ่มดาวกันย์ (♍) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายโดยอาศัยดาวรวงข้าว ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่ม หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวหญิงสาว.

ใหม่!!: PSR B1257+12และกลุ่มดาวหญิงสาว · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: PSR B1257+12และวินาที · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน

อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน (Aleksander Wolszczan) เกิด 29 เมษายน..

ใหม่!!: PSR B1257+12และอเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวนิวตรอน

วนิวตรอน (Neutron Star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวาชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมากมีส่วนประกอบเพียงนิวตรอนที่อะตอมไร้กระแสไฟฟ้า (นิวตรอนมีมวลสารใกล้เคียงโปรตอน) และดาวประเภทนี้สามารถคงตัวอยู่ได้ด้วยหลักการกีดกันของเพาลีเกี่ยวกับแรงผลักระหว่างนิวตรอน ดาวนิวตรอนมีมวลประมาณ 1.35 ถึง 2.1 เท่ามวลดวงอาทิตย์ และมีรัศมี 20 ถึง 10 กิโลเมตรตามลำดับ (เมื่อดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้น รัศมีของดาวจะลดลง) ดาวนิวตรอนจึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 30,000 ถึง 70,000 เท่า ดังนั้นดาวนิวตรอนจึงมีความหนาแน่นที่ 8*1013 ถึง 2*1015 กรัมต่อลูกบากศ์เซนติเมตร ซึ่งเป็นช่วงของความหนาแน่นของนิวเคลียสอะตอม ต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นประมาณ 150,000 กิโลเมตรต่อวินาที หรือประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง โดยทั่วไปแล้ว ดาวที่มีมวลน้อยกว่า 1.44 เท่ามวลดวงอาทิตย์ จะเป็นดาวแคระขาวตามขีดจำกัดของจันทรสิกขาร์ ถ้าอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 เท่ามวลดวงอาทิตย์อาจจะเป็นดาวควาร์ก (แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ส่วนดาวที่มีมวลมากกว่านี้จะกลายเป็นหลุมดำไป เมื่อดาวฤกษ์มวลมากเกิดซูเปอร์โนวาและกลายเป็นดาวนิวตรอน ส่วนแก่นของมันจะได้รับโมเมนตัมเชิงมุมมา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรัศมีจากใหญ่ไปเล็กนั้นจะทำให้ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองขึ้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะหมุนรอบตัวเองช้าลงทีละน้อย ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนที่มีการบันทึกได้นั้นอยู่ระหว่าง 700 รอบต่อวินาทีไปจนถึง 30 วินาทีต่อรอบ ความเร่งที่พื้นผิวอยู่ที่ 2*1011 ถึง 3*1012 เท่ามากกว่าโลก ด้วยเหตุนี้ดาวนิวตรอนจึงสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงหรือพัลซาร์ และกระแสแม่เหล็กออกมาปริมาณมหาศาล การที่ดาวนิวตรอนสามารถส่งคลื่นวิทยุออกมาเป็นช่วงๆ นั้นทำได้อย่างไร ยังคงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ แม้ว่าจะมีการวิจัยเรื่องนี้มานานกว่า 40 ปีแล้วก็ตามในดาราจักรของเรานั้นเราพบเพียงไม่กี่สิบดวงเท่านั้น เรายังพบอีกว่า ดาวนิวตรอนน่าจะเป็นต้นกำเนิดของ แสงวาบรังสีแกมมา ที่มีความสว่างมากกว่าซูเปอร์โนวา หลายเท.

ใหม่!!: PSR B1257+12และดาวนิวตรอน · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์พัลซาร์

วาดของศิลปิน แสดงระบบดาวเคราะห์ของ PSR B1257+12 ดาวเคราะห์พัลซาร์ (Pulsar planet) คือดาวเคราะห์ที่พบโคจรอยู่รอบพัลซาร์ หรือเคลื่อนที่อยู่รอบดาวนิวตรอนด้วยความเร็วสูง ดาวเคราะห์พัลซาร์ดวงแรกที่มีการค้นพบ อยู่รอบพัลซาร์มิลลิวินาทีดวงหนึ่ง จัดเป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่มีการค้นพบด้ว.

ใหม่!!: PSR B1257+12และดาวเคราะห์พัลซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: PSR B1257+12และดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ซากมหานวดารา

ซากมหานวดารา N49 ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ ซากมหานวดารา (supernova remnant; SNR) คือโครงสร้างที่เกิดจากการระเบิดขนาดใหญ่ของดวงดาวในปรากฏการณ์ มหานวดารา ซากมหานวดาราคงอยู่ด้วยคลื่นช็อคที่ขยายตัวออกมา ประกอบด้วยวัตถุที่ดีดตัวออกมาจากการระเบิด รวมถึงวัตถุมวลสารระหว่างดาวระหว่างเส้นทางที่ถูกกวาดเข้ามารวมด้วย เส้นทางการเกิดมหานวดารามีสองทางคือ เมื่อดาวฤกษ์มวลมากไม่มีเชื้อเพลิงต่อไปและหยุดสร้างพลังงานฟิวชั่นที่แกนกลาง จึงเกิดการแตกสลายจากภายในด้วยแรงจากความโน้มถ่วงของมันเองกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ หรือดาวแคระขาวที่รวบรวมวัตถุจากดาวข้างเคียงเข้ามาจนกระทั่งมีขนาดถึงมวลวิกฤต และเกิดการระเบิดนิวเคลียร์ความร้อนขึ้น ผลจากการระเบิดมหานวดาราทั้งสองกรณีทำให้มวลสารระหว่างดาวส่วนใหญ่หรือทั้งหมดถูกขับออกไปด้วยความเร็วประมาณ 10% ของความเร็วแสง หรือราว 3,000 กิโลเมตร/วินาที เมื่อมวลสารเหล่านี้ปะทะกับอวกาศหรือแก๊สระหว่างดาวที่อยู่รอบๆ จึงเกิดเป็นคลื่นช็อคที่ทำให้แก๊สมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นมากถึงขนาด 10 ล้านเคลวิน และกลายเป็นพลาสมา ซากมหานวดาราที่โด่งดังที่สุดและถูกเฝ้าสังเกตมากที่สุดน่าจะได้แก่ SN 1987A ซึ่งเป็นมหานวดาราในเมฆแมเจลแลนใหญ่ ค้นพบในปี..

ใหม่!!: PSR B1257+12และซากมหานวดารา · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: PSR B1257+12และปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

แถบลำดับหลัก

ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ที่พล็อตความสว่างแท้จริง (หรือความส่องสว่างสัมบูรณ์) ของดาวฤกษ์เทียบกับดัชนีสี แถบลำดับหลักจะมองเห็นเป็นแถบขวางโดดเด่นวิ่งจากด้านบนซ้ายลงไปยังด้านล่างขวา แถบลำดับหลัก (Main sequence) คือชื่อเรียกแถบต่อเนื่องและมีลักษณะพิเศษที่ปรากฏอยู่บนแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่าง แผนภาพคู่ลำดับสี-ความสว่างนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ หรือ HR Diagram ซึ่งเป็นผลการศึกษาร่วมกันระหว่างเอจนาร์ แฮร์ทสชปรุง กับเฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์ ดาวที่อยู่บนแถบนี้จะรู้จักกันว่า ดาวบนแถบลำดับหลัก หรือดาวฤกษ์แคระ หลังจากที่ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นแล้ว มันจะสร้างพลังงานออกมาจากย่านใจกลางอันหนาแน่นและร้อนจัดโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของอะตอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ระหว่างที่กระบวนการนี้ดำเนินไปในช่วงอายุของดาว จะสามารถระบุตำแหน่งบนแถบลำดับหลักได้โดยใช้มวลของดาวเป็นข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีและปัจจัยอื่น ๆ อีก โดยทั่วไปยิ่งดาวฤกษ์มีมวลมากก็จะยิ่งมีช่วงอายุบนแถบลำดับหลักสั้นยิ่งขึ้น หลังจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แกนกลางถูกใช้จนหมดไป ดาวฤกษ์ก็จะเคลื่อนออกไปจากแถบลำดับหลัก บางคราวอาจพิจารณาแถบลำดับหลักออกเป็นแถบบนและแถบล่าง ขึ้นกับกระบวนการที่ดาวฤกษ์ใช้ในการสร้างพลังงาน ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะหลอมอะตอมไฮโดรเจนเข้าด้วยกันพร้อมกับกระบวนการสร้างฮีเลียม กระบวนการนี้เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่โปรตอน-โปรตอน ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่านี้ ก็จะอยู่ในแถบลำดับหลักบน นิวเคลียร์ฟิวชันจะใช้อะตอมของคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจนเป็นสื่อกลางในการผลิตฮีเลียมจากอะตอมไฮโดรเจน เนื่องจากอุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่แกนกลางกับที่พื้นผิวดาวนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ จึงมีการส่งผ่านพลังงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่องผ่านชั้นดาวจนกระทั่งมันแผ่รังสีออกไปจากบรรยากาศของดาว กลไกสองประการที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานเหล่านี้คือ การแผ่รังสี และการพาความร้อน ในประเภทที่ขึ้นกับเงื่อนไขเฉพาะของดาวแต่ละดวง การพาความร้อนจะเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมาก หรือเป็นพื้นที่อับแสง หรือทั้งสองอย่าง เมื่อมีการพาความร้อนเกิดขึ้นในแกนกลาง มันจะกระตุ้นเศษเถ้าฮีเลียมขึ้น เป็นการรักษาระดับสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้ในปฏิกิริยาฟิวชัน หมวดหมู่:ดาวฤกษ์แถบลำดับหลัก หมวดหมู่:ประเภทของดาวฤกษ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของดาวฤกษ์.

ใหม่!!: PSR B1257+12และแถบลำดับหลัก · ดูเพิ่มเติม »

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G. A.; Pitjeva, E. V.; Vasilyev, M. V.; Yagudina, E. I. (July 2002).

ใหม่!!: PSR B1257+12และแถบดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

แถบไคเปอร์

กราฟิกแสดงแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ยานนิวฮอไรซันส์ ที่ใช้ในการสำรวจแถบไคเปอร์ และดาวพลูโต แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: PSR B1257+12และแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: PSR B1257+12และโลก · ดูเพิ่มเติม »

เดล เฟรล

ล เฟรล (Dale A. Frail) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวแคนาดา ประจำที่หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ (National Radio Astronomy Observatory; NRAO) ที่ Socorro รัฐนิวเม็กซิโก ได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยโตรอนโตเมื่อปี..

ใหม่!!: PSR B1257+12และเดล เฟรล · ดูเพิ่มเติม »

เนเจอร์ (วารสาร)

วารสาร''เนเจอร์''ฉบับแรก วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1869 เนเจอร์ เป็นวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: PSR B1257+12และเนเจอร์ (วารสาร) · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 A

PSR B1257+12 A เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว ดาวเคราะห์นี้นับว่าเป็นวัตถุที่โคจรอยู่ด้านในสุดรอบพัลซาร์ PSR B1257+12 หรืออาจเรียกว่าเป็นดาวเคราะห์พัลซาร์ก็ได้ มวลของดาวเคราะห์นี้เท่ากับประมาณสองเท่าของมวลดวงจันทร์ของโลก นับถึงปี..

ใหม่!!: PSR B1257+12และPSR B1257+12 A · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 B

PSR B1257+12 B เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว PSR B1257+12 B ยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงแรกที่เคยค้นพบนอกระบบสุริยะ และในปัจจุบันคือวัตถุที่สามที่รู้จักกันในวงโคจรพัลซาร์ PSR B1257+12 ซึ่งมันเป็นวงกลมที่ระยะห่าง 0.36 AU กับระยะเวลาการโคจรประมาณ 66 วัน.

ใหม่!!: PSR B1257+12และPSR B1257+12 B · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 C

PSR B1257+12 C เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว PSR B1257+12 C ยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงแรกที่เคยค้นพบนอกระบบสุริยะ และในปัจจุบันคือวัตถุที่สามที่รู้จักกันในวงโคจรพัลซาร์ PSR B1257+12 เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เท่าโลกเกือบสี่เท.

ใหม่!!: PSR B1257+12และPSR B1257+12 C · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PSR 1257+12

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »