โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Neurapraxiaและศักยะงาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง Neurapraxiaและศักยะงาน

Neurapraxia vs. ศักยะงาน

Neurapraxia เป็นความผิดปกติของระบบประสาทนอกส่วนกลางที่ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อ (motor) หรือการรับความรู้สึก (sensory) เสียหายเนื่องจากส่งกระแสประสาทไม่ได้ โดยเฉลี่ยจะคงยืนประมาณ 6-8 อาทิตย์ก่อนหาย ภาวะนี้มักจะมีเหตุจากความบาดเจ็บต่อระบบประสาทเนื่องจากแรงกระแทกจากภายนอกต่อเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) และต่อใยประสาทสั่งการ ซึ่งสร้างแรงกดที่เส้นประสาทอย่างซ้ำ ๆ หรือคงยืน เพราะแรงกดนี้ การขาดเลือดเฉพาะที่ก็จะเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดรอยโรคที่เส้นประสาท ซึ่งร่างกายมนุษย์โดยธรรมชาติจะตอบสนองเป็นอาการบวมน้ำรอบ ๆ จุดที่ถูกกด รอยโรคจะหยุดหรือขัดขวางกระแสประสาทที่ช่วงหนึ่งในเส้นประสาท ทำให้ระบบประสาทต่อจากจุดนั้นไม่ทำงานหรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์ แล้วทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการนี้ทำปลอกไมอีลินที่หุ้มเส้นประสาทให้เสียหายอย่างชั่วคราว แต่ไม่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย จึงไม่ใช่ความเสียหายอย่างถาวร ดังนั้น กระบวนการที่ทำให้เสียเส้นประสาทอย่างถาวรคือ Wallerian degeneration จึงไม่เกิดขึ้นเนื่องกับอาการนี้ เพื่อจะจัดว่าเป็น neurapraxia ตามระบบจำแนกความบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลาง Seddon classification เมื่อกระแสประสาทกลับสามารถส่งต่อได้แล้ว อาการจะต้องหายอย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะจัดเป็นอาการที่หนักกว่า เช่น axonotmesis หรือ neurotmesis ดังนั้น neurapraxia จึงเป็นการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลางแบบเบาสุด เป็นอาการที่สามัญต่อนักกีฬามืออาชีพ โดยเฉพาะนักอเมริกันฟุตบอล และเป็นอาการที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา คำว่า Neurapraxia เป็นคำอนุพัทธ์ของคำว่า apraxia (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) ซึ่งเป็น "การเสียหรือความพิการของสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวแบบประสานและซับซ้อน โดยการควบคุมกล้ามเนื้อหรือการรับความรู้สึกจะไม่บกพร่อง". การเกิดกระแสประสาท ในวิชาสรีรวิทยา ศักยะงาน (action potential) เป็นเหตุการณ์ที่กินเวลาสั้น ๆ ซึ่งศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) ไฟฟ้าของเซลล์เพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยแนววิถีต่อเนื่อง ศักยะงานเกิดขึ้นในเซลล์สัตว์หลายชนิด เรียกว่า เซลล์ที่เร้าได้ (excitable cell) ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไร้ท่อ (endocrine cell) เช่นเดียวกับเซลล์พืชบางเซลล์ ในเซลล์ประสาท ศักยะงานมีบทบาทศูนย์กลางในการสื่อสารเซลล์ต่อเซลล์ ส่วนในเซลล์ประเภทอื่น หน้าที่หลักของศักยะงาน คือ กระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น ในเซลล์กล้ามเนื้อ ศักยะงานเป็นขั้นแรกในชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การหดตัว ในเซลล์บีตาของตับอ่อน ศักยะงานทำให้เกิดการหลั่งอินซูลิน ศักยะงานในเซลล์ประสาทยังรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "กระแสประสาท" หรือ "พลังประสาท" (nerve impulse) หรือ spike ศักยะงานสร้างโดยช่องไอออนที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated ion channel) ชนิดพิเศษที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ช่องเหล่านี้ถูกปิดเมื่อศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ใกล้กับศักยะพัก (resting potential) แต่จะเริ่มเปิดอย่างรวดเร็วหากศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้นถึงค่าระดับกั้น (threshold) ที่นิยามไว้อย่างแม่นยำ เมื่อช่องเปิด จะทำให้ไอออนโซเดียมไหลเข้ามาในเซลล์ประสาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า (electrochemical gradient) การเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งเพิ่มศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปอีก ทำให้ช่องเปิดมากขึ้น และเกิดกระแสไฟฟ้าแรงขึ้นตามลำดับ กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปกระทั่งช่องไอออนที่มีอยู่เปิดออกทั้งหมด ทำให้ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์แกว่งขึ้นอย่างมาก การไหล่เข้าอย่างรวดเร็วของไอออนโซเดียมทำให้สภาพขั้วของเยื่อหุ้มเซลล์กลายเป็นตรงข้าม และช่องไอออนจะหยุดทำงาน (inactivate) อย่างรวดเร็ว เมื่อช่องโซเดียมปิด ไอออนโซเดียมจะไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ประสาทได้อีกต่อไป และจะถูกลำเลียงแบบใช้พลังงานออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้น ช่องโปแทสเซียมจะทำงาน และมีกระแสไหลออกของไอออนโปแทสเซียม ซึ่งคืนประจุไฟฟ้ากลับสู่สถานะพัก หลังเกิดศักยะงานแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ระยะดื้อ (refractory period) เนื่องจากกระแสโปแทสเซียมเพิ่มเติม กลไกนี้ป้องกันมิให้ศักยะงานเดินทางย้อนกลับ ในเซลล์สัตว์ มีศักยะงานอยู่สองประเภทหลัก ประเภทหนึ่งสร้างโดย ช่องโซเดียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า อีกประเภทหนึ่งโดยช่องแคลเซียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า ศักยะงานที่เกิดจากโซเดียมมักคงอยู่น้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที ขณะที่ศักยะงานที่เกิดจากแคลเซียมอาจอยู่ได้นานถึง 100 มิลลิวินาทีหรือกว่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง Neurapraxiaและศักยะงาน

Neurapraxiaและศักยะงาน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ปลอกไมอีลิน

ปลอกไมอีลิน

ตำแหน่งที่อยู่ของเยื่อไมอีลิน ไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นเยื่อหุ้มแอกซอน (Axon) ของเซลล์ประสาท เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ถูกสร้างจากเซลล์เกลีย และชวานน์เซลล์ในระบบประสาทรอบนอก (PNS) ได้รับการค้นพบโดยรูดอล์ฟ เวอร์โชฟ เมื่อเยื่อไมอีลินมีการชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทเกิดการติดขัดได้.

Neurapraxiaและปลอกไมอีลิน · ปลอกไมอีลินและศักยะงาน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง Neurapraxiaและศักยะงาน

Neurapraxia มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศักยะงาน มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 1 / (15 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Neurapraxiaและศักยะงาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »