โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ดัชนี ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอก

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

123 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องช่องอกฟีโอโครโมไซโตมากระจกตากระดูกกระดูกยาวกระดูกสะบักกระดูกสันหลังกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บกระดูกสันอกกระดูกสั้นกระดูกอ่อนกระดูกซี่โครงกระดูกไหปลาร้ากระเพาะอาหารกระเพาะปัสสาวะกลีบสมองกลีบหน้ากลีบท้ายทอยกลีบขมับกลีบข้างกล่องเสียงกะโหลกศีรษะก้านสมองมะเร็งมะเร็งกระเพาะปัสสาวะมะเร็งรังไข่มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งหลอดอาหารมะเร็งผิวหนังมะเร็งท่อน้ำดีมะเร็งตับอ่อนมะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกินมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเม็ดเลือดขาวมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติกมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มะเร็งเยื่อบุมดลูกมะเร็งเต้านมมะเร็งเซลล์ตับมดลูกม้ามรกระบบหายใจระบบขับถ่ายปัสสาวะ...ระบบประสาทกลางระบบประสาทอิสระระบบน้ำเหลืองรังไข่ริมฝีปากลำไส้ลำไส้ใหญ่ลำไส้เล็กลำไส้เล็กส่วนกลางลำไส้เล็กส่วนต้นลำไส้เล็กส่วนปลายศีรษะสมองสมองน้อยสมองใหญ่หลอดลมหลอดอาหารหัวใจหูชั้นกลางหน้าอวัยวะเพศอาการอาการแสดงองค์การอนามัยโลกผิวหนังจอตาทรวงอกทวารหนักทางเดินอาหารของมนุษย์ท่อลมท่อปัสสาวะท่อไตท้องขาคอคอหอยตับตับอ่อนตาต่อมหมวกไตต่อมน้ำลายต่อมน้ำเหลืองต่อมใต้สมองต่อมไพเนียลต่อมไร้ท่อต่อมไทมัสต่อมไทรอยด์ประสาทสมองปอดปากนิวโรบลาสโตมาแขนโพลีไซทีเมีย เวอราโยนีโรคไฝเมลาโนไซต์ไส้ติ่งไขสันหลังไตเชิงกรานเมลาโนมาเมดิแอสตินัมเยื่อบุช่องท้องเยื่อหุ้มสมองเยื่อตาเส้นประสาทรับกลิ่นเส้นประสาทตาเต้านมเนื้องอกเนื้องอกมดลูกเนื้องอกไม่ร้ายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันICD-10 ขยายดัชนี (73 มากกว่า) »

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องอก

องอก (thoracic cavity หรือ chest cavity) เป็นช่องว่างในร่างกายมนุษย์ (และสัตว์ชนิดอื่นๆ) ที่ถูกหุ้มด้วยผนังช่องอก (thoracic wall) (กระดูกทรวงอก รวมทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ และพังผืด).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและช่องอก · ดูเพิ่มเติม »

ฟีโอโครโมไซโตมา

ฟีโอโครโมไซโตมา (pheochromocytoma) เป็นเนื้องอกประสาทต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine tumor) ของต่อมหมวกไตส่วนใน เจริญมาจากเซลล์โครมาฟิน (chromaffin cell) หรือเนื้อเยื่อโครมัฟฟินนอกต่อมหมวกไตที่ไม่ได้ย้ายที่มาตอนเกิด และหลั่งสารคาเตโคลามีน (catecholamine) จำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นอะดรีนาลีนหากเนื้องอกอยู่ในต่อมหมวกไต และนอร์อะดรีนาลีน พาราแกงกลิโอมา (paraganglioma) นอกต่อมหมวกไต (บางครั้งเรียกว่าฟีโอโครโมไซโตมานอกต่อมหมวกไต) เป็นเนื้องอกที่มีความใกล้เคียงกันแต่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งเจริญมาจากปมประสาทของระบบประสาทซิมพาเทติก จะตั้งชื่อตามตำแหน่งทางกายวิภาคที่เก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและฟีโอโครโมไซโตมา · ดูเพิ่มเติม »

กระจกตา

กระจกตา เป็นส่วนโปร่งใสด้านหน้าของตาซึ่งคลุมอยู่หน้าม่านตา, รูม่านตา, และห้องหน้า (anterior chamber) กระจกตาทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์ตา (lens) และช่วยในการโฟกัสภาพ โดยกระจกตามีส่วนเกี่ยวกับกำลังการรวมแสง (optical power) ของตาถึง 80%Cassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระจกตา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกยาว

กระดูกต้นแขน เป็น'''กระดูกยาว'''ชนิดหนึ่ง กระดูกยาว (Long bone) เป็นประเภทหนึ่งของกระดูกที่มีความยาวมากกว่าความกว้าง ซึ่งมีการเติบโตแบบปฐมภูมิโดยการยืดออกของไดอะไฟซิส (diaphysis) โดยมีเอพิไฟซิส (epiphysis) อยู่ที่ปลายของกระดูกที่เจริญ ปลายของเอพิไฟซิสถูกคลุมด้วยกระดูกอ่อนชนิดไฮยาลิน คาร์ทิเลจ (hyaline cartilage) (หรือ "articular cartilage") การเจริญเติบโตทางยาวของกระดูกยาวเป็นผลจากการสร้างกระดูกแบบแทนที่กระดูกอ่อน (endochondral ossification) ที่บริเวณแผ่นเอพิไฟเซียล (epiphyseal plate) การยืดยาวออกของกระดูกถูกกระตุ้นโดยการสร้างโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ซึ่งหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ตัวอย่างของกระดูกยาว เช่น กระดูกต้นขา กระดูกแข้ง และกระดูกน่องของขา กระดูกต้นแขน กระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาของแขน กระดูกฝ่ามือและกระดูกฝ่าเท้า (metatarsal) ของมือและเท้า และกระดูกนิ้วมือและกระดูกนิ้วเท้า กระดูกยาวของขามนุษย์มีความยาวเกือบเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงในผู้ใหญ่ นอกจากนั้นโครงสร้างที่เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นความสูงก็ได้แก่กระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะ ด้านนอกของกระดูกประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) นอกจากนี้เปลือกนอกของกระดูกยาวเป็นกระดูกเนื้อแน่น หรือกระดูกทึบ (compact bone) ชั้นลึกลงไปเป็นชั้นกระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, กระดูกพรุน หรือกระดูกโปร่ง (cancellous bone หรือ spongy bone) ซึ่งมีไขกระดูก (bone marrow) ส่วนด้านในของกระดูกยาวเป็นช่องว่างเรียกว่า medullary cavity ซึ่งแกนกลางของโพรงกระดูกประกอบด้วยไขกระดูกเหลือง (yellow marrow) ในผู้ใหญ่ ซึ่งจะพบมากในผู้หญิง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกยาว · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ

150px กระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (sacrum) เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง ซึ่งเดิมมี 8 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด (sacral foramina) เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานแล.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันอก

กระดูกสันอก (Sternum) เป็นกระดูกชนิดกระดูกแบบแบน (Flat bone) ที่วางตัวอยู่ตรงกลางของทรวงอก และติดต่อกับกระดูกซี่โครงโดยข้อต่อและกระดูกอ่อนซี่โครง (costas cartilage) เพื่อประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งของผนังช่องอก เพื่อป้องกันโครงสร้างที่อยู่ภายในช่องอกจากการกระทบกระเทือน นอกจากนี้ยังมีข้อต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ซึ่งเป็นกระดูกที่ค้ำจุนส่วนไหล่อีกด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกสันอก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสั้น

กระดูกสั้น (short bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในบริเวณที่ต้องการความแข็งแรง และความกระชับอัดแน่น และเป็นบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวน้อย บริเวณนั้นจะประกอบด้วยกระดูกสั้นจำนวนมาก เช่นในกระดูกข้อมือ (carpus) และกระดูกข้อเท้า (tarsus) รูปร่างของกระดูกสั้นจะมีความยาวใกล้เคียงกับความกว้าง กระดูกสั้นจะประกอบด้วยกระดูกฟ่าม, กระดูกฟองน้ำ, กระดูกพรุน, หรือกระดูกโปร่ง (cancellous tissue) หุ้มด้วยแผ่นของเนื้อเยื่อกระดูกเนื้อแน่นหรือกระดูกทึบ (compact substance) บางๆ กระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) เช่นกระดูกสะบ้า (patellae) มักจะเป็นกระดูกสั้น กระดูกสั้นหลายชิ้นที่มักแตกง่ายกว่ากระดูกขนาดใหญ่เนื่องจากไม่มีสิ่งรองรับและมีไขกระดูกจำนวนมาก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกสั้น · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไหปลาร้า

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) เป็นกระดูกแบบยาว (long bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) ชื่อของกระดูกไหปลาร้าในภาษาอังกฤษ Clavicle เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน clavicula ซึ่งแปลว่า กุญแจเล็กๆ เนื่องจากกระดูกชิ้นนี้จะมีการหมุนรอบแกน ในแนวนอนคล้ายกับการไขกุญแจ ขณะที่แขนกางออก กระดูกไหปลาร้ายังเป็นกระดูกที่สามารถมองเห็น แนวของกระดูกได้จากภายนอกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเพศหญิงซึ่งมีไขมันในบริเวณรอบๆกระดูกน้อยกว่า นอกจากในมนุษย์แล้ว กระดูกไหปลาร้ายังพบในสัตว์สี่ขา (tetrapods) ชนิดอื่นๆ แต่อาจมีรูปร่างเล็กกว่าหรืออาจไม่พบเลย กระดูกไหปลาร้าจะเจริญในสัตว์ที่ใช้ส่วนรยางค์หน้าในการหยิบจับ แต่จะไม่เจริญมากนักในสัตว์ที่ใช้รยางค์หน้าในการรองรับน้ำหนักหรือการวิ่ง กระดูกไหปลาร้าเปรียบเสมือนไม้ค้ำ ประคองแขนทั้งสองข้างไว้ ทำให้แขนสามารถเคลื่อนไหว ได้อย่างเป็นอิสระอยู่บนลำตัว กระดูกชิ้นนี้อยู่ในตำแหน่ง ที่ง่ายต่อการกระแทก บาดเจ็บ และรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านมาจาก แขนไปสู่ลำตัว กระดูกไหปลาร้าจึงเป็นกระดูกชิ้นที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย โดยมักจะหักเนื่องจาก ล้มหรือตกจากที่สูง โดยลงกระแทกบริเวณไหล่ หรือกระแทกในท่าแขนที่เหยียดออก แรงจะส่งผ่านไปตามแขน ไหล่ ไปสู่กระดูกไหปลาร้า และจะหักในส่วนที่อ่อนแอที่สุด (คือรอยต่อระหว่าง 1/3กลาง กับ 1/3ด้านนอก) หลังจากหักจะถูกกล้ามเนื้อและน้ำหนักของแขนดึงให้ผิดรูปไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระดูกไหปลาร้า · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องอุ้งเชิงกรานด้านหลังกระดูกหัวหน่าว มีลักษณะเป็นถุงกลวงยืดหยุ่นได้ ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกระเพาะปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบสมอง

กลีบสมอง (Lobes of the brain) เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในการแบ่งกลีบของสมองในระยะดั้งเดิม เป็นการแบ่งตามลักษณะทางกายวิภาค ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต่างๆ กันของสมอง เทเลนเซฟาลอน ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองมนุษย์แบ่งออกได้เป็นกลีบต่างๆ เช่นเดียวกันกับสมองส่วนซีรีเบลลัม แต่หากไม่ระบุให้เจาะจงลงไป การแบ่งกลีบของสมองมักหมายถึงการแบ่งกลีบเฉพาะของซีรีบรัม เทเลนเซฟาลอนแบ่งออกได้เป็น 4 กลีบ ได้แก่ #73B2F9 ซีรีเบลลัม (cerebellum).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกลีบสมอง · ดูเพิ่มเติม »

กลีบหน้า

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นบริเวณของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) แต่ละข้าง และอยู่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ส่วนสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ตั้งอยู่ล่างและหลังต่อสมองกลีบหน้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกลีบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กลีบท้ายทอย

มองกลีบท้ายทอย หรือ กลีบท้ายทอย (occipital lobe, lobus occipitalis) เป็นกลีบสมองที่เป็นศูนย์ประมวลผลของการเห็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งโดยมากประกอบด้วยเขตต่างๆ ทางกายวิภาคของคอร์เทกซ์สายตา คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม เป็นส่วนเดียวกับ เขตบร็อดแมนน์ 17 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า V1 ซึ่งในมนุษย์ อยู่ที่สมองกลีบท้ายทอยใกล้กลาง (medial) ภายในร่องแคลคารีน (calcarine sulcus) เขต V1 นั้น บ่อยครั้งดำเนินต่อไปทางด้านหลังของสมองกลีบท้ายทอย และบ่อยครั้งเรียกว่า คอร์เทกซ์ลาย (striate cortex) เพราะเป็นเขตที่ระบุได้โดยริ้วลายขนาดใหญ่ของปลอกไมอีลิน ที่เรียกว่า ลายเจ็นนารี (Stria of Gennari) ส่วนเขตมากมายอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลทางสายตาที่อยู่นอก V1 เรียกว่า เขตคอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) ซึ่งแต่ละเขตมีกิจเฉพาะของตนในการประมวลข้อมูลทางสายตา รวมทั้งการประมวลผลด้านปริภูมิ ด้านการแยกแยะสี และการรับรู้การเคลื่อนไหว ชื่อของสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) เป็นชื่อสืบมาจากกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า ob ซึ่งแปลว่า "ท้าย" และ caput ซึ่งแปลว่า "ศีรษะ".

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกลีบท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและก้านสมอง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะคือเนื้องอกร้าย (การเจริญและแบ่งตัวของเซลล์โดยไม่มีการควบคุม) ชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดที่เกิดมาจากเซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ เรียกว่าทรานซิชันแนลเซลล์คาร์ซิโนมา (transitional cell carcinoma, มะเร็งเยื่อบุจากเซลล์แบบเปลี่ยนผ่าน) หรือยูโรทีเลียลเซลล์คาร์ซิโนมา (urothelial cell carcinoma, มะเร็งเยื่อบุชนิดเซลล์เยื่อบุทางเดินปัสสาวะ) หมวดหมู่:เนื้องอกของทางเดินปัสสาวะ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับรังไข่ ในระยะแรกส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยมากหรือไม่มี ถ้ามีมักเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น ท้องอืด ปวดท้องน้อย กินอาหารลำบาก ปัสสาวะบ่อย อาการเหล่านี้มักสับสนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ง่าย ตำแหน่งที่มะเร็งมักแพร่กระจายไปได้แก่เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลือง ปอด และตับ สตรีที่มีการตกไข่มากครั้งตลอดวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า สาเหตุของความเสี่ยงในกรณีนี้เช่น ไม่มีบุตร มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย หรือประจำเดือนหมดช้า ความเสี่ยงอื่นเช่นการจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ และความอ้วน ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน การทำหมัน และการให้นมบุตร ผู้ป่วยประมาณ 10% มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากพันธุกรรม โดยสตรีที่มีการกลายพันธุ์ที่ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความเสี่ยงประมาณ 50% ที่จะเกิดโรค มะเร็งรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งเยื่อบุ คิดเป็น 95% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุแบ่งออกได้อีกเป็นห้าชนิดย่อยหลักๆ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดน้ำใสความรุนแรงสูง เชื่อว่าเนื้องอกเหล่านี้เจริญมาจากเซลล์ที่ปกคลุมผิวของรังไข่ แต่บางประเภทก็อาจเจริญมาจากท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ที่พบ่อยรองลงมาเช่นเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเนื้องอกของเซลล์โครงสร้างต่อมเพศ เป็นต้น การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ยืนยันได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการ อัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65% อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มีชนิดย่อยหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นอะดีโนคาร์ซิโนมา (ประมาณ 50-80% ของมะเร็งหลอดอาหาร) และมะเร็งเซลล์สความัส มะเร็งเซลล์สความัสเกิดขึ้นมาจากเซลล์ที่บุผิวเยื่อเมือกส่วนบนของหลอดอาหาร ส่วนอะดีโนคาร์ซิโนมาเกิดขึ้นมาจากเซลล์แกลนดูลาร์ที่อยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เนื้องอกในหลอดอาหารมักทำให้มีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) อาการเจ็บ และอาการอื่นๆ โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เนื้องอกที่มีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะที่อาจรักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด เนื้องอกขนาดใหญ่มักไม่สามารถผ่าตัดได้ซึ่งจะได้รับการรักษาด้วยการรักษาประทัง ซึ่งสามารถชะลอการโตของเนื้องอกได้ด้วยการใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือรักษาร่วมกัน ในบางกรณีการใช้เคบีบำบัดหรือรังสีรักษาอาจทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงจนสามารถผ่าตัดได้ก็ได้ พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับว่าโรคกระจายไปมากแค่ไหนและมีปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ หรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนัง (Skin cancers) ได้รับการตั้งชื่อตามชนิดของเซลล์ผิวหนังตามที่ได้เกิดขึ้น มะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์เกิดจากเซลล์ชั้นฐานของหนังกำพร้า และเป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่พบมากที่สุดแต่เป็นอันตรายน้อย ส่วนมะเร็งผิวหนังสะแควมัสเซลล์คาร์ซิโนมาเกิดขึ้นในผิวหนังชั้นกลาง และพบได้น้อยกว่าโดยทั่วไป แต่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย และหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต สำหรับชนิดเมลาโนมา ที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (เมลาโนไซต์) เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุด แต่เป็นอันตรายมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะแพร่กระจาย และหากไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุมักมาจากการถูกรังสียูวีมากเกินไปจากดวงอาทิตย์หรือเตียงอาบแดด ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปจะใช้การผ่าตัด เมลาโนมาจัดเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่มีอัตราการรอดสูงสุด โดยมีกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ได้รอดชีวิตยืนยาวกว่า 10 ปีในสหราชอาณาจักรระหว่างปี..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดี หรือ โคแลงจิโอคาร์ซิโนมา (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดกับท่อน้ำดีซึ่งเป็นอวัยวะที่นำน้ำดีจากตับมายังลำไส้เล็ก มะเร็งอื่นๆ ในทางเดินน้ำดีมีเช่นมะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งของกระเปาะของวาเตอร์เป็นต้น มะเร็งท่อน้ำดีถือเป็นมะเร็งชนิดต่อมอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างพบน้อยโดยมีอุบัติการณ์ต่อปีประมาณ 1-2 รายต่อ 100,000 คนในโลกตะวันตก แต่อุบัติการณ์ของมะเร็งท่อน้ำดีในไทยกลับมีสูงมากที่สุดในโลก และในช่วงหลายสิบปีมานี้อัตราอุบัติการณ์ของมะเร็งท่อนำดีทั่วโลกกำลังเพิ่มขึ้น อาการเด่นของมะเร็งท่อน้ำดีคือการมีผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติ ปวดท้อง ดีซ่าน น้ำหนักลด และอาจมีอาการคันทั่วไป มีไข้ สีของอุจจาระและปัสสาวะเปลี่ยนไป โรคนี้วินิจฉัยโดยอาศัยผลตรวจเลือด ผลตรวจภาพรังสี ผลการส่องกล้อง และบางครั้งอาจต้องอาศัยการผ่าตัดเปิดสำรวจ มะเร็งท่อน้ำดีมักปรากฏอาการในระยะท้ายๆ ของโรคซึ่งทำให้เป็นการจำกัดทางเลือกในการรักษา ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งท่อน้ำดี เช่น โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ ความผิดปกติแต่กำเนิดของตับ การติดเชื้อพยาธิในตับอย่างเช่น พยาธิใบไม้ในตับ Opisthorchis viverrini หรือ Clonorchis sinensis การสัมผัสสารทึบรังสีบางชนิดเช่น Thorotrast เป็นต้น อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีส่วนใหญ่ไม่ปรากฏปัจจัยเสี่ยงชัดเจน มะเร็งท่อน้ำดีเป็นโรคที่สามารถมีอันตรายถึงตายได้อย่างรวดเร็วและไม่มีทางรักษาหากไม่สามารถตัดเนื้อมะเร็งออกให้หมดได้ ยังไม่มีการรักษาใดๆ ที่มีโอกาสรักษาโรคให้หายได้นอกจากการผ่าตัด ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็เป็นระยะที่โรคลุกลามไปมากและไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีมักได้รับการดูแลรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดหรือรังสีรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง การรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ยังใช้ร่วมกับการผ่าตัดหลังการผ่าตัดสำเร็จด้วย งานวิจัยทางการแพทย์บางสายพยายามใช้วิธีการใหม่ๆ ในการรักษามะเร็งท่อน้ำดี วิธีการเหล่านี้เช่น การรักษาด้วยยาแบบ targeted therapy (เช่น ยา erlotinib) หรือ photodynamic therapy รวมทั้งมีการวิจัยหาทางวินิจฉัยโรคโดยใช้การตรวจวัดระดับของผลผลิตจากเซลล์สโตรมัลของมะเร็ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งท่อน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อนคือเนื้องอกร้ายซึ่งเกิดขึ้นจากเซลล์ของตับอ่อน ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคืออะดีโนคาร์ซิโนมาซึ่งเจริญมาจากเซลล์ส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (ต่อม exocrine) ของตับอ่อน อีกส่วนหนึ่งเป็นมะเร็งที่เจริญมาจากเซลล์ไอสเล็ท และจัดเป็นเนื้องอกแบบนิวโรเอนโดไครน์ อาการของมะเร็งตับอ่อนขึ้นกับตำแหน่ง ขนาด และชนิดของเนื้องอก ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้อง หรือดีซ่านได้ มะเร็งตับอ่อนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่สี่ของการเสียชีวิตจากมะเร็งทั่วโลก เป็นมะเร็งที่เมื่อนับรวมทุกระยะรวมกันแล้วถือว่ามีพยากรณ์โรคไม่ดี มีอัตราการรอดชีวิตที่ 1 ปี 25% และที่ 5 ปี 6% สำหรับผู้ป่วยระยะไม่ลุกลาม อัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี อยู่ที่ 20% ในขณะที่ค่ามัธยฐานการรอดชีวิตของผู้ป่วยระยะลุกลามอวัยวะข้างเคียงและระยะแพร่กระจาย (ซึ่งเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่คิดเป็น 80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อน) อยู่ที่ 10 และ 6 เดือน ตามลำดั.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในต่อมลูกหมากซึ่งเป็นต่อมในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ส่วนใหญ่เป็นมะเร็งที่โตช้า แต่ในบางรายก็มีความรุนแรงได้มาก เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ โดยเฉพาะไปยังกระดูกและต่อมน้ำเหลือง ในช่วงแรกเริ่มอาจไม่มีอาการ แต่ในช่วงหลังๆ อาจทำให้เกิดความเจ็บปวด ปัสสาวะลำบาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และเสียชีวิตได้ หมวดหมู่:จุลพยาธิวิทยา.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟซัยต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ปกติคือป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อและโรคบางชนิด ทำให้ลิมโฟซัยต์ทำหน้าที่ผิดปกติไป ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติอาจแบ่งตัวได้เร็วกว่าเซลล์ปกติหรืออาจมีอายุยืนกว่าปกติ ลิมโฟซัยต์ที่ผิดปกติเหล่านี้อาจอยู่เป็นก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก ในเลือด หรือในอวัยวะอื่นได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin's lymphoma) หรือ โรคฮอดจ์กิน (Hodgkin's disease) เป็น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดหนึ่งที่ได้รับการอธิบายโดย Thomas Hodgkin ในปี พ.ศ. 2375 มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน มีลักษณะทางคลินิคคือจะแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปยังต่อมน้ำเหลืองหนึ่งไปเรื่อยๆ และแพร่กระจายไปทั่วร่างกายในที่สุด ทางพยาธิวิทยาจะพบว่าโรคนี้มี Reed-Sternberg cell อยู่ โรค Hodking'sมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้เป็นโรคมะเร็งชนิดแรกที่สามารถรักษาได้ด้วยการฉายรังสี ต่อมาก็เป็นมะเร็งชนิดแรกที่ได้รับการรักษาด้วย combination chemotherapy อีกด้วย อัตราการรักษาอยู่ที่ประมาณ 93% ทำให้โรคนี้เป็นโรคมะเร็งที่มีโอกาสรักษาหายได้มากที่สุดชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอด์จกิน · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งปอด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดที่ปากมดลูก เกิดจากการที่เซลล์มีการเจริญเติบโตผิดปกติและมีความสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือส่วนอื่นของร่างกาย ในระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อมีอาการแล้วอาการที่พบบ่อยคือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน หรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งก็อาจไม่มีอาการใดๆ จนลุกลามไปมากแล้วก็ได้ การรักษาส่วนใหญ่อาศัยการผ่าตัดในระยะแรกๆ และการใช้เคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษาในระยะที่เป็นมาก การตรวจคัดกรองโดยการใช้การทดสอบแปปสามารถตรวจหาความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งของเซลล์และเนื้อเยื่อปากมดลูกได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งปากมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ลูคิเมีย (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ (B-cell chronic lymphocytic leukemia, B-CLL) หรือรู้จักในชื่อ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดลิมโฟไซติก (chronic lymphoid leukemia, CLL) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทที่พบมากที่สุด CLL มีผลกระทบต่อลิมโฟไซต์บีเซลล์ บีเซลล์ถูกสร้างขึ้นจากไขกระดูก เติบโตในต่อมน้ำเหลือง และโดยปกติจะสู้รับการติดเชื้อโดยสร้างแอนติบอดี เมื่อเป็นโรค ดีเอ็นเอของบีเซลล์จะได้รับความเสียหาย จนไม่สามารถสร้างแอนติบอดีได้ นอกเหนือจากนั้น บีเซลล์จะเติบโตนอกเหนือการควบคุมและจะสะสมอยู่ในไขกระดูกและเลือด ซึ่งจะไปเบียดเสียดเซลล์เลือดสุภาพดี CLL เป็นระยะหนึ่งของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟไซต์เล็ก (SLL) ซึงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบีเซลล์ปรเะภทหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลือง CLL และ SLL ถูกมองว่าเป็นโรคเบื้องหลังอย่างเดียวกัน เพียงแต่ปรากฏแตกต่างกัน CLL เป็นโรคที่เกิดในผู้ใหญ่ แต่ในกรณีหายาก ก็เกิดในวัยรุ่นและเด็กสืบสายโลหิตได้เช่นกัน ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งเพิ่งถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค CLL มีอายุเกิน 50 ปี และส่วนใหญ่เป็นชาย คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยโดยไม่มีอาการแสดง โดยผลการตรวจเลือดเป็นประจำซึ่งให้ค่าจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวสูง แต่ เมื่อโรคพัฒนาขึ้น CLL จะส่งผลให้ต่อมน้ำเหลือง ไตและตับบวม และทำให้เกิดโลหิตจางและการติดเชื้อตามมา CLL ช่วงแรกจะไม่ถูกรักษา และ CLL ระยะท้ายจะถูกรักษาด้วยเคมีบำบัดและแอนติบอดีชนิดโมโนโคลน (monoclonal antibody) การวิเคราะห์ดีเอ็นเอได้จำแนก CLL ออกเป็นสองประเภทหลัก โดยมีการอยู่รอดแตกต่างกัน CLL ที่ให้ผลเป็นบวกสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ย 5 ปี ส่วนชนิดที่ให้ผลเป็นลบสำหรับมาร์กเกอร์ ZAP-70 รอดชีพเฉลี่ยมากกว่า 25 ปี ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาจไม่ได้เข้ารับการรักษาเลยตลอดชีวิต.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรังชนิดบีเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ (Chronic Myelogenous Leukemia; CML) เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคือมีการเจริญอย่างไม่มีการควบคุมของ myeloid cells ในไขกระดูกและสะสมอยู่ในกระแสเลือด CML เป็น clonal bone marrow stem cell disorder ซึ่งจะเห็น proliferation ของ granulocyte ที่โตเต็มที่ (neutrophil, eosinophil และ basophil) และเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เหล่านี้เป็นจำนวนมาก CML เป็นผลจาก neoplastic transformation ของ pluripotential stem cell ซึ่งแม้จะเป็นต้นกำเนิดของเซลล์หลายชนิด แต่มักจะแสดงออกในรูปของ excessive granulopoiesis อย่างเดียว หรือมีเกล็ดเลือดสูงร่วมด้วย การที่มี myelopoiesis มากขึ้นนี้ไม่ใช่เป็นผลจากการแบ่งตัวเร็วขึ้น แต่เป็นผลจาก expansion ของ committed myeloid progenitors สาเหตุของ CML ที่แท้จริงยังไม่แน่นอน environmental factor ที่อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิด CML เพิ่มขึ้น คือ การฉายรังสี ผู้ที่รอดชีวิตจาก atomic bomb ที่ Hiroshima และ Nagasaki และผู้ป่วยที่เคยได้รับการฉายรังสีเพื่อรักษา ankylosing spondylitis มีอัตราการเกิด CML สูงกว่าคนทั่วไป ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วย CML จะพบ Philadelphia chromosome (Ph) ร่วมด้วย ซึ่งถือเป็น hallmark ของ CML การรักษานั้นแต่เดิมใช้การรักษาโดยใช้เคมีบำบัด interferon และการปลูกถ่ายไขกระดูก ในปัจจุบันมีการค้นพบวิธีการรักษาแบบ targeted therapy ซึ่งใช้รักษาโรค CML ได้เป็นอย่างดีและมีโอกาสหายขาดได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดไมอิลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก (acute lymphoblastic leukemia; ALL) เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง โดยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟบลาสต์ในเลือดมากกว่าปกต.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute myeloid leukemia, acute myelogenous leukemia, AML) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดในสายไมอิลอยด์ มีลักษณะเฉพาะของโรคคือมีการเจริญอย่างรวดเร็วผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ สะสมในไขกระดูกจนรบกวนการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ แม้มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบน้อยโดยนับเป็น 1.2% ของการตายจากมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม อุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เซลล์ในไขกระดูกถูกแทนที่โดยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งทำให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลง อาการเหล่านี้เช่น อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย เลือดออกง่าย มีจ้ำตามตัวง่าย ติดเชื้อง่าย ถึงแม้จะมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์แล้วหลายอย่างก็ตามแต่สาเหตุที่แท้จริงของโรคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเช่นเดียวกันกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดอื่นๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการรักษาและพยากรณ์โรคแตกต่างกัน อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีมีตั้งแต่ 15-70% และอัตราการกลับเป็นซ้ำมีตั้งแต่ 78-33% แล้วแต่ชนิด การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ในระยะแรกนั้นใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยมุ่งเหนี่ยวนำให้โรคสงบ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับเคมีบำบัดเพิ่มเติมหรือต้องได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตในไขกระดูก งานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ทำให้มีการทดสอบที่สามารถทำนายได้ว่ายาชนิดใดจะได้ผลดีกับผู้ป่วยรายใดโดยเฉพาะ และยังทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากเท่าใดอีกด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเยื่อบุมดลูก

มะเร็งเยื่อบุมดลูก (endometrial cancer) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเยื่อบุมดลูก (endometrium) เป็นมะเร็งนรีเวชที่พบบ่อยที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ endometrioid adenocarcinoma (มะเร็งชนิดต่อมที่คล้ายเยื่อบุมดลูก) ซึ่งมักเกิดในสตรีวัยหมดประจำเดือนมาแล้ว 20-30 ปี และสัมพันธ์กับความอ้วน การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกิน ผู้ป่วยมักมีเยื่อบุมดลูกงอกเกิน (endometrial hyperplasia) มาก่อน และมักมีอาการแรกเริ่มเป็นการมีเลือดออกทางช่องคลอด หมวดหมู่:หมวดหมู่:มะเร็งนรีเวช.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเยื่อบุมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเซลล์ตับ

มะเร็งเซลล์ตับ หรือ เฮปาโตเซลลูลาร์ คาร์ซิโนมา (hepatocellular carcinoma - HCC) เป็นมะเร็งที่กำเนิดขึ้นในตับ มะเร็งเซลล์ตับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 จากการเสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิดทั่วโลก โดยมีผู้ป่วยอยู่กว่า 500,000 คน อุบัติการณ์ของมะเร็งเซลล์ตับพบมากในเอเชียและแอฟริกาซึ่งมีการระบาดของโรคตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบบีและซีอยู่มาก โรคตับอักเสบจากไวรัสนี้มีส่วนอย่างมากในการทำให้เกิดโรคตับเรื้อรังและนำไปสู่มะเร็งเซลล์ตับในที่สุด อาการที่นำผู้ป่วยมะเร็งเซลล์ตับมาพบแพทย์ในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากอดีต ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ในระยะท้ายของโรคด้วยอาการปวดท้องด้านบนขวา น้ำหนักลด และมีอาการแสดงของโรคตับที่เป็นมากเกินกว่าร่างกายจะชดเชยได้ ปัจจุบันมะเร็งเซลล์ตับได้รับการตรวจพบในระยะแรกๆ มากขึ้นเนื่องจากการตรวจคัดกรองที่ทำเป็นประจำในผู้ป่วยตับแข็งโดยใช้ภาพถ่ายรังสีส่วนตัดและการตรวจด้วยระดับอัลฟาฟีโตโปรตีนในเลือด ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับผลดีจากการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกแม้จะชั่วคราว ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้เนื่องจากเมื่อตรวจพบโรคก็ลุกลามไปมากแล้ว หรือจากความรุนแรงของโรคตับเองซึ่งควรจะได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนตับ โดยรวมทั่วโลกมีผู้ป่วยเพียงจำนวนน้อยที่สามารถเข้าถึงการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ แม้แต่ในประเทศพัฒนาแล้วก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องความขาดแคลนอวัยวะ ในผู้ป่วยเหล่านี้การรักษาแบบทำลายชิ้นเนื้อเฉพาะที่เช่นการรักษาด้วยการทำลายชิ้นเนื้อด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency ablation) การอุดหลอดเลือดด้วยยา (chemoembolization) และยาเคมีบำบัดชนิดใหม่ๆ อาจช่วยยืดชีวิตของผู้ป่วยในลักษณะของการรักษาประทังได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมะเร็งเซลล์ตับ · ดูเพิ่มเติม »

มดลูก

มดลูก (Uterus) คือส่วนบริเวณตรงกลาง มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่และ ช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

ม้าม

ำลองภายในม้าม (Gray's Anatomy) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตั.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและม้าม · ดูเพิ่มเติม »

รก

ตำแหน่งของรกในครรภ์ รก คืออวัยวะพิเศษที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย ด้านหนึ่งของรกต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของทารก อีกด้านของรกจะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่มีการแลกเปลี่ยนสารต่าง ๆ ระหว่างกัน หมวดหมู่:ชีววิทยาการเจริญ หมวดหมู่:คัพภวิทยา หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและรก · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ หรือ การกำจัดของเสียทางไต ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดแล้วนำออกนอกร่างกายเป็นการทำงานของระบบขับถ่ายในรูปของปัสสาว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและระบบขับถ่ายปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทอิสระ

ระบบประสาทอิสระสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและระบบประสาทอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) จัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียน (circulatory system) ในร่างกาย ประกอบด้วยท่อที่เชื่อมโยงกันเรียกว่า ท่อน้ำเหลือง (lymphatic vessels) ภายในบรรจุของเหลวใสที่เรียกว่า น้ำเหลือง (lymph) โดยระบบน้ำเหลืองนั้นไม่เป็นระบบปิด มีหน้าที่หลักคือนำของเหลวที่ซึมออกมาจากหลอดเลือดฝอยกลับเข้าสู่หลอดเลือดดำของระบบไหลเวียนเลือด ซึ่งการอุดตันของการไหลเวียนน้ำเหลืองอาจทำให้เกิดการบวม (edema) ขึ้นได้ หน้าที่ของระบบน้ำเหลือง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและระบบน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

รังไข่

รังไข่ มี 2 อัน อยู่คนละข้างของมดลูก มีขนาดประมาณเท่านิ้วหัวแม่มือ หนักประมาณ 2-3 กรัม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและรังไข่ · ดูเพิ่มเติม »

ริมฝีปาก

ริมฝีปาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด ริมฝีปากจะนุ่ม เคลื่อนไหวได้ และทำหน้าที่เปิดออกเพื่อรับอาหารและใช้เปล่งเสียงและคำพูด ริมฝีปากมนุษย์เป็นอวัยวะที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัส และทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้เมื่อใช้จูบและในความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่าง ๆ หมวดหมู่:ริมฝีปาก หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและริมฝีปาก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้

thumb ในกายวิภาคศาสตร์, ลำไส้ เป็นส่วนหนึงในทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปสู่ทวารหนัก ในมนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่ ลำไส้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่ ในมนษุย์สามารถแบ่งลำไส้เล็กเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum), ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนลำไส้ใหญ่แบ่งได้เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Colon).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่ (Colon) เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนกลาง

ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum) เป็นส่วนที่สองของลำไส้เล็กในมนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนก ลำไส้เล็กส่วนกลางอยู่ระหว่างลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนปลาย ในมนุษย์โตเต็มวัย ลำไส้เล็กมีความยาวประมาณ 6-7 เมตร สองในห้าของความยาวลำไส้เล็กคือความยาวของลำไส้เล็กส่วนกลาง ซึ่งเท่ากับความยาวประมาณ 2.5 เมตร โดยลำไส้เล็กส่วนกลางนี้เป็นส่วนที่มีวิลไลมากที่สุดและมีการดูดซึมมากที่สุดด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและลำไส้เล็กส่วนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและลำไส้เล็กส่วนต้น · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนปลาย

ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) เป็นส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์เลื้อยคลาน และนก ลำไส้เล็กส่วนปลายอยู่ถัดมาจากลำไส้เล็กส่วนต้นและลำไส้เล็กส่วนกลาง ลำไส้เล็กส่วนปลายในมนุษย์มีความยาวประมาณ 2-4 เมตร และค่า pH จะอยู่ระหว่าง 7 ถึง 8.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและลำไส้เล็กส่วนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองน้อย

ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย (Cerebellum) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ (spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา รอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัมไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่ซีรีเบลลัมจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ (motor coordination) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของซีรีเบลลัมในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดซีรีเบลลัมในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าซีรีเบลลัมมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด (ประชาน; cognition), เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและสมองน้อย · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดลม

หลอดลม (trachea) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม หลอดลม หลอดลม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและหลอดลม · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หัวใจ

หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย คำคุณศัพท์ cardiac มาจาก kardia ในภาษากรีก ซึ่งหมายถึงหัวใจ หทัยวิทยาเป็นแขนงแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคและความผิดปกติของหัวใ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและหัวใจ · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นกลาง

หูชั้นกลาง (middle ear, auris media) คือหูส่วนที่อยู่หลังแก้วหู แต่ก่อนช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หูชั้นกลางจะมีกระดูกหู (ossicles) เล็ก ๆ 3 ท่อน ซึ่งถ่ายโอนแรงสั่นที่แก้วหูไปเป็นคลื่นภายในหูชั้นใน ช่องในหูชั้นกลางเรียกว่า โพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) โดยมีท่อยูสเตเชียน เชื่อมกับคอหอยส่วนจมูก (nasopharynx) ท่อยูสเตเชียนจะช่วยรักษาดุลความดันระหว่างหูชั้นกลางและคอ หน้าที่หลักของหูชั้นกลางก็คือถ่ายโอนพลังงานเสียงจากคลื่นในอากาศไปเป็นคลื่นในน้ำและในเยื่อของหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและหูชั้นกลาง · ดูเพิ่มเติม »

หน้า

หน้า อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและหน้า · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและอาการแสดง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ผิวหนัง

ผิวหนัง คือ สิ่งปกคลุมชั้นนอกที่อ่อนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง สิ่งปกคลุมสัตว์อื่น เช่น โครงร่างแข็งภายนอกของสัตว์ขาปล้องมีจุดกำเนิดการเจริญ โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีต่างออกไป ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผิวหนังเป็นอวัยวะใหญ่สุดของระบบผิวหนัง ซึ่งประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อเอ็กโทเดิร์มหลายชั้น และป้องกันกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็นและอวัยวะภายในที่อยู่ข้างใต้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดมีขนที่ผิวหนังด้วย ผิวหนังเป็นส่วนที่เปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นด่านป้องกันด่านแรกจากปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น ผิวหนังมีบทบาทสำคัญในการปกป้องร่างกายจากจุลชีพก่อโรคProksch E, Brandner JM, Jensen JM.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ทรวงอก

กายวิภาคศาสตร์ของทรวงอก ทรวงอก หรือ หน้าอก (chest) เป็นส่วนหนึ่งของกายวิภาคศาสตร์มนุษย์และในสัตว์หลายชนิด ซึ่งบางครั้งเรียกว่า อก (thorax).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและทรวงอก · ดูเพิ่มเติม »

ทวารหนัก

ทวารหนัก (anus) มาจากคำภาษาลาติน anus แปลว่า "วงแหวน" หรือ "วงกลม" เป็นรูเปิดตรงส่วนปลายของทางเดินอาหารของสัตว์ตรงข้ามกับปาก มีหน้าที่ในการควบคุมการปล่อยอุจจาระ, ของกึ่งแข็งที่ไม่เป็นที่ต้องการในระบบย่อยอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด อาจรวมถึง สิ่งที่สัตว์ชนิดนั้นไม่สามารถย่อยได้ เช่น กระดูก, Summary at ส่วนที่เหลือของอาหารหลังสารอาหารถูกนำออกไปหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสหรือลิกนิน (lignin), สิ่งที่อาจเป็นพิษหากคงอยู่ในทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์ในลําไส้ (gut bacteria) ที่ตายแล้วหรือเกินจำเป็นรวมถึงสิ่งมีชีวิตร่วมอาศัย (endosymbiont) อื่น ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และนก ใช้ช่องเปิดช่องเดียวกันเรียกว่าทวารรวม (cloaca) สำหรับขับถ่ายของเสียทั้งของเหลวและของแข็ง, สำหรับรวมเพศ และสำหรับวางไข่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยโมโนทรีมมีทวารรวมเช่นกัน คาดว่าเป็นลักษณะที่สืบทอดจากสัตว์มีถุงน้ำคร่ำยุคแรกสุดผ่านสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องมีช่องเปิดเดียวสำหรับขับของเหลวและของแข็ง และเพศเมียมีช่องคลอดแยกสำหรับการสืบพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่ม placentalia เพศหญิงมีช่องเปิดแยกสำหรับถ่ายอุจจาระ ขับปัสสาวะ และสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้มีช่องเปิดสำหรับอุจจาระและอีกช่องสำหรับทั้งปัสสาวะและสืบพันธุ์ แม้ช่องทางที่ไหลไปยังช่องเปิดนั้นแทบจะแยกกันอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาของทวารหนักเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและทวารหนัก · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหารของมนุษย์

right ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract, GI tract, alimentary canal หรือ gut) ระบบทางเดินอาหาร อาจเรียกอีกอย่างว่าระบบย่อยอาหาร (digestive tract) ระบบอวัยวะนี้มีเฉพาะในสัตว์หลายเซลล์ (multicellular animals) ที่ต้องกินอาหารและย่อยอาหาร เพื่อรับสารอาหารและพลังงานและขับถ่ายของเสียออกไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและทางเดินอาหารของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อลม

thumb ท่อลม (pneumatic tube, capsule pipeline, หรือ Pneumatic Tube Transport ย่อว่า PTT) เป็นระบบที่ใช้ส่งกระบอกบรรจุภัณฑ์ไปมาตามท่อโดยใช้อากาศหรือสุญญากาศขับดัน ระบบนี้ใช้ขนส่งของแข็ง ต่างจากท่อทั่วไปที่ใช้ส่งของเหลว สำนักงานต่าง ๆ เริ่มรับมาใช้ในระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กับต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยจำเป็นต้องขนส่งพัสดุขนาดเล็ก อย่างจดหมาย เอกสาร หรือเงินตรา เป็นการด่วนหรือภายในระยะทางอันสั้น เช่น ในอาคารหรือเมืองเดียวกัน ปัจจุบัน นิยมติดตั้งในโรงพยาบาลที่ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาและเสริมแต่งขึ้นอีกมากในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและท่อลม · ดูเพิ่มเติม »

ท่อปัสสาวะ

ท่อปัสสาวะ เป็นท่อนำน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะไปสู่ภายนอก ในชายท่อปัสสาวะยาวประมาณ 20 เซนติเมตร และยังเป็นทางผ่านของน้ำอสุจิ ท่อปัสสาวะในชายคดเคี้ยว คล้ายตัวเอส (S) ในหญิง ท่อปัสสาวะยาว 4 มิลลิเมตร จากมุมล่างสุดของกระเพาะปัสสาวะทอดโค้งลงล่างไปข้างหน้า เปิดสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก หน้ารูเปิดของช่องคลอด ต่ำกว่าคลิตอริสประมาณ 2.5 เซนติเมตร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและท่อปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

ท่อไต

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ ท่อไต (ureter) เป็นท่อเกิดจากใยกล้ามเนื้อเรียบซึ่งลำเลียงปัสสาวะจากไตสู่กระเพาะปัสสาวะ ในผู้ใหญ่ ท่อไตปกติยาว 25–30 เซนติเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3–4 มิลลิเมตร ในทางมิญชวิทยา ท่อไตมีเนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยนและชั้นกล้ามเนื้อเรียบเพิ่มในส่วนปลายหนึ่งในสามเพื่อช่วยบีบรูด หมวดหมู่:ท้อง หมวดหมู่:ระบบปัสสาวะ หมวดหมู่:ไต.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและท่อไต · ดูเพิ่มเติม »

ท้อง

ท้อง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและท้อง · ดูเพิ่มเติม »

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและขา · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและคอ · ดูเพิ่มเติม »

คอหอย

อหอย (pharynx, pharynges) เป็นส่วนหนึ่งของคอ (neck) และช่องคอ (throat) ตั้งอยู่ด้านหลังปากและโพรงจมูก และอยู่บนหลอดอาหาร กล่องเสียงและท่อลม (trachea).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและคอหอย · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและตา · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต อยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง ต่อมหมวกไต (adrenal gland,suprarenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ผลิตฮอร์โมนสำคัญๆหลายชนิด เช่น อะดรีนาลิน จะอยู่เหนือไตทั้ง2ข้าง มีหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด ต่อมหมวกไตแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมหมวกไต · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมน้ำลาย

ต่อมน้ำลาย (salivary gland) เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายอยู่ภายในบริเวณช่องปาก พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแมลง สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ส่วนในแมลงจะใช้สำหรับสร้างกาวหรือใย ต่อมน้ำลายของมนุษย์มีด้วยกัน 3 คู่ คือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมน้ำลาย · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลือง หรือ ปุ่มน้ำเหลือง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วนคือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ต่อมใต้สมองส่วนหน้าและส่วนกลาง มีต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อชนิดเดียวกัน ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าเป็นหน่วยเดียวกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นต่อมไร้ท่อแท้จริง ขณะที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อประสาท ที่ไม่ได้สร้างฮอร์โมนได้เอง แต่มีปลายแอกซอนของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ (Neurosecretory cell) จากไฮโปทาลามัสมาสิ้นสุด และหลั่งฮอร์โมนประสาทออกมาสู่กระแสเลือด ต่อมใต้สมองมีขนาดประมาณ 20 1.5 เซนติเมตร nani หน่านิ yaraniga ยาราไนก้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมใต้สมอง · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไพเนียล

ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) เป็นต่อมไร้ท่ออยู่ใต้สมอง อยู่บริเวณกึ่งบนสุดของร่างกายของสมองส่วนล่างซีรีบรัมซ้ายและขวา มีขนาดเท่ากับเม็ดถั่วมีสีเขียวปนน้ำตาล เรียกชื่อเต็มว่าเอนดิว ทหาร อะเซทิลยดินนำ้มัน ไฟฟ์เมทอคซิทริพทามีน(N acetyl -5- methoxytryptamine) เนื่องจากรูปร่างคล้ายลูกสน (pine cone) จึงเรียกว่าต่อมไพเนียล ในตอนกลางวันจะสร้างเซโรโตนิน กระตุ้นให้เราลุกตื่นขึ้น พอตกกลางคืนก็สร้าง เมลาโตนิน ให้เรารู้สึกง่วงนอน จึงเปรียบเสมือนนาฬิกาชีว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมไพเนียล · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) คือ ต่อมที่มีการผลิตสารแล้วลำเลียงสารทางกระแสเลือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทมัส

ต่อมไทมัส (thymus gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบน้ำเหลือง อยู่บริเวณหลังกระดูกหน้าอก (sternum) โดยจัดเป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่พบได้เพียงช่วงวัยหนึ่งเท่านั้น (primary lymphoid organ) ภายหลังจะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อไขมัน (fat tissue) ต่างๆจนไม่สามารถมองเห็นต่อมไทมัสได้อีก ตำแหน่งของต่อมไทมัสบริเวณอก กายวิภาคและตำแหน่งของต่อมไทมัส หมวดหมู่:อวัยวะ หมวดหมู่:ระบบต่อมไร้ท่อ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมไทมัส · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อมกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid), สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองหรือสาม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและต่อมไทรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสมอง

้นประสาทสมอง ประสาทสมอง (cranial nerve หรือ cerebral nerve) เป็นเส้นประสาทที่เกิดจากสมองและก้านสมองโดยตรง ตรงข้ามกับประสาทไขสันหลังซึ่งเกิดจากไขสันหลังหลายปล้อง ประสาทสมองเป็นทางเชื่อมของสารสนเทศระหว่างสมองและหลายบริเวณ ส่วนใหญ่คือศีรษะและคอ ประสาทไขสันหลังลงไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอที่หนึ่ง และประสาทสมองบทบาทสัมพันธ์กันเหนือระดับนี้ ประสาทสมองมีเป็นคู่และอยู่ทั้งสองข้าง ประสาทสมองในมนุษย์มีสิบสองหรือสิบสามเส้นแล้วแต่แหล่งที่มา ซึ่งกำหนดชื่อด้วยตัวเลขโรมัน I–XII และมีการกำหนดเลขศูนย์ให้ประสาทสมองเส้นที่ 0 (หรือประสาทปลาย) ตามลำดับที่มีจุดกำเนิดจากสมองส่วนหน้าไปถึงด้านหลังของสมองและก้านสมอง ประสาทปลาย ประสาทรับกลิ่น (I) และประสาทตา (II) กำเนิดจากสมองใหญ่หรือสมองส่วนหน้า ส่วนอีกสิบคู่ที่เหลือกำเนิดจากก้านสมอง ประสาทสมองเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทนอกส่วนกลาง โดยยกเว้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (ประสาทตา) ซึ่งมิใช่ประสาทส่วนปลายแท้จริงแต่เป็นลำเส้นใยประสาทของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เชื่อมจอตากับนิวเคลียสงอคล้ายเข่าข้าง (lateral geniculate nucleus) ฉะนั้น ทั้งประสาทตาและจอตาเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง แกนประสาทนำออกของประสาทอีกสิบสองเส้นที่เหลือทอดออกจากสมองและถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทนอกส่วนกลาง ปมประสาทกลางของประสาทสมองหรือนิวเคลียสประสาทสมองกำเนิดในระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนมากในก้านสมอง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและประสาทสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและปาก · ดูเพิ่มเติม »

นิวโรบลาสโตมา

นิวโรบลาสโตมาเป็นมะเร็งอย่างหนึ่งที่เจริญจากเซลล์ของนิวรัลเครสท์ในระบบประสาทซิมพาเทติก ถือเป็นเนื้องอกของระบบประสาทและต่อมไร้ท่อมักพบเกิดขึ้นในต่อมหมวกไต แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเนื้อเยื่อประสาทในคอ อก ท้อง และอุ้งเชิงกราน ถือเป็นมะเร็งชนิดก้อนนอกกะโหลกศีรษะที่พบบ่อยที่สุดในวัยเด็ก และเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในวัยทารก หมวดหมู่:เนื้องอกของต่อมไร้ท่อ หมวดหมู่:เนื้องอกของสมอง หมวดหมู่:การเจริญในผิวหนังและชั้นใต้ผิวหนัง หมวดหมู่:มะเร็งที่พบน้อย หมวดหมู่:เนื้องอกชนิดเซลล์กลมสีน้ำเงินขนาดเล็ก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและนิวโรบลาสโตมา · ดูเพิ่มเติม »

แขน

แขน เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของมนุษย์อยู่ระหว่างไหล่กับข้อศอก ใช้ในการเคลื่อนที่ สัตว์บางชนิดจะมีแขนเช่นลิงในการหยิบจับหรือคลาน ส่วนปลายแขนหมายถึงแขนตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอก ต้นแขนหมายถึงหมายถึงแขนตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ โครงสร้างของแขน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและแขน · ดูเพิ่มเติม »

โพลีไซทีเมีย เวอรา

ลีไซทีเมีย เวอรา (polycythemia vera) หรือภาวะเม็ดเลือดแดงมากแบบปฐมภูมิ (primary polycythemia) เป็นโรคกลุ่มไขกระดูกเจริญผิดปกติ (โรคไมอิโลโปรลิเฟอเรตีฟ) อย่างหนึ่ง ซึ่งไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงออกมามากผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีปัญหาสุขภาพจากการที่เลือดซึ่งมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไปนั้นข้นกว่าเลือดปกติ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ อาจมีอาการหรือไม่มีก็ได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและโพลีไซทีเมีย เวอรา · ดูเพิ่มเติม »

โยนี

นี (vulva) ประกอบด้วยแคม ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก, ปุ่มกระสัน, ปากของ"ท่อปัสสาวะ" (urethra), และปากช่องคลอ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและโยนี · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและโรค · ดูเพิ่มเติม »

ไฝเมลาโนไซต์

ฝเมลาโนไซต์ หรือ ไฝมีสี เป็นรอยโรคบนผิวหนังมีลักษณะเป็นจุดหรือตุ่มนูน มักมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ประกอบด้วยเซลล์ไฝ (nevus cell) ไฝโดยมากแล้วมักปรากฏขึ้นในอายุช่วง 20 ปีแรก ในขณะที่ทารก 1 ใน 100 คนมีไฝแต่กำเนิด ไฝที่เป็นภายหลังนั้นเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ไฝที่มีมาแต่กำเนิดจัดเป็นรูปพิการชนิดเล็กน้อยหรือเป็นก้อนเนื้อวิรูปและอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งไฝ (melanoma) ไฝอาจเกิดใต้ชั้นหนังแท้หรือเป็นเม็ดสีที่อยู่บนผิวหนังก็ได้ซึ่งเกิดจากเซลล์ชื่อว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ยิ่งร่างกายมีความเข้มข้นของเม็ดสีผิวที่เรียกว่าเมลานิน (melanin) มากยิ่งทำให้สีผิวคล้ำมากขึ้น ไฝจัดเป็นรอยโรคผิวหนังกลุ่มที่เรียกว่า ปาน (nevi).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและไฝเมลาโนไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไส้ติ่ง

้ติ่ง (appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก ชื่อ "vermiform" มากจากภาษาละติน แปลว่า "รูปตัวหนอน" ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและไส้ติ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและไต · ดูเพิ่มเติม »

เชิงกราน

งกราน (pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium), กระดูกก้น (ischium), และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเชิงกราน · ดูเพิ่มเติม »

เมลาโนมา

มลาโนมา (melanoma) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งเกิดจากเซลล์เมลาโนซัยต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่พบมากในผิวหนัง แต่ก็สามารถพบได้ในตา หู ทางเดินอาหาร เยื่อหุ้มสมอง และเยื่อบุช่องปากและอวัยวะเพศได้ ถือเป็นมะเร็งผิวหนังที่ค่อนข้างพบน้อยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4% ของมะเร็วผิวหนังทั้งหมด แต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 75 % ของมะเร็งผิวหนังทั้งหมด เซลล์เมลาโนซัยต์ในผิวหนังทำหน้าที่สร้างสารสีเมลานิน จนถึงปัจจุบัน วิธีการรักษาเมลาโนมาที่ได้ผลดี มีโอกาสหายขาดมากที่สุดยังคงเป็นการตัดเอาก้อนเนื้อออกตั้งแต่ระยะแรกที่เนื้องอกมีขนาดเล็ก มีผู้ป่วยเมลาโนมาได้รับการวินิจฉัยใหม่ในสหรัฐอเมริกาประมาณปีละ 60,000 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเป็นคอเคเซียนRies LAG, et al., eds.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเมลาโนมา · ดูเพิ่มเติม »

เมดิแอสตินัม

มดิแอสตินัม (Mediastinum) หรือ ประจันอก ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเมดิแอสตินัม · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุช่องท้อง

ื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่คลุมอยู่โดยรอบช่องท้อง และห่อหุ้มอวัยวะภายใน เยื่อบุช่องท้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเยื่อบุช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมอง

ื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) เป็นระบบของเยื่อหุ้มที่ปกคลุมระบบประสาทกลาง เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยชั้น 3 ชั้นได้แก่ เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater), เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater), และเยื่อเพีย หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) หน้าที่หลักของเยื่อหุ้มสมองและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) คือเพื่อปกป้องระบบประสาทกลาง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเยื่อหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อตา

ื่อตา (Conjunctiva) เป็นเยื่อเมือกใสประกอบด้วยเซลล์และเยื่อฐานซึ่งคลุมส่วนของตาขาวและบุด้านในของหนังตา เยื่อตาประกอบด้วยเนื้อเยื่อบุผิว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเยื่อตา · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทรับกลิ่น

นประสาท หรือ ประสาทรับกลิ่น หรือ ประสาทสมองเส้นที่ 1 หรือ เส้นประสาทโอลแฟ็กทอรี (olfactory nerve) เป็นเส้นประสาทสมองคู่แรกจากทั้งหมด 12 คู่ เซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นของเส้นประสาทนี้อยู่ในเยื่อเมือกรับกลิ่น (olfactory mucosa) ที่อยู่ด้านบนของโพรงจมูก เส้นประสาทรับกลิ่นประกอบด้วยใยประสาทรับความรู้สึกที่มาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวรับกลิ่น (olfactory epithelium) ไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ (olfactory bulb) โดยผ่านรูเปิดเล็กๆ จำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนตะแกรงที่เรียกว่า แผ่นคริบิฟอร์ม ของกระดูกเอทมอยด์ เซลล์ประสาทรับกลิ่นเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต และยืดแอกซอนใหม่ๆ ไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ เซลล์ Olfactory ensheathing glia ห่อหุ้มมัดของแอกซอนเหล่านี้และเชื่อว่าช่วยค้ำจุนให้เข้าไปยังระบบประสาทกลางได้สะดวกขึ้น ความรู้สึกของกลิ่นมาจากการกระตุ้นของตัวรับกลิ่น (olfactory receptor) โดยการกระตุ้นของโมเลกุลแก๊สซึ่งผ่านเข้าไปในจมูกระหว่างการหายใจเข้า ผลจากกลไกทางไฟฟ้าจะนำกระแสประสาทไปยังออลแฟคทอรี บัลบ์ ซึ่งต่อมาจะส่งกระแสประสาทไปยังส่วนต่างๆ ของระบบรับรู้กลิ่น (olfactory system) และส่วนอื่นๆ ของระบบประสาทกลางผ่านทางออลแฟคทอรี แทร็กท์ (olfactory tract) เส้นประสาทรับกลิ่นเป็นเส้นประสาทสมองที่สั้นที่สุด และเป็นหนึ่งในสองเส้นประสาทสมองที่ไม่เชื่อมต่อกับก้านสมอง (อีกเส้นหนึ่งคือเส้นประสาทตา).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเส้นประสาทรับกลิ่น · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทตา

ักษุประสาท, ประสาทตา, ประสาทการเห็น หรือ ประสาทสมองเส้นที่ 2 เป็นเส้นประสาทที่ทำหน้าที่รับภาพจากจอตาที่ดวงตา เพื่อไปแปลผลที่สมอง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเส้นประสาทตา · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกมดลูก

นื้องอกมดลูก (uterine fibroid, leiomyoma) เป็นเนื้องอกไม่ร้าย เกิดจากเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อเรียบที่มาจากชั้นกล้ามเนื้อเรียบ (myometrium เป็นส่วนกลางเป็นกล้ามเนื้อที่หนา) ของมดลูก ถ้ากลายเป็นมะเร็งถือว่าผิดปกติอย่างมากและเรียกได้ว่ามะเร็งกล้ามเนื้อเรียบ (leiomyosarcoma) ชื่อที่ใช้เรียกกันมีดังนี้ uterine leiomyoma, myoma, fibromyoma, fibroleiomyoma.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเนื้องอกมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกไม่ร้าย

เนื้องอกไม่ร้ายคือกลุ่มของเซลล์เนื้องอกที่ไม่มีศักยภาพที่จะรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียงและไม่สามารถแพร่กระจายได้ คุณสมบัติเหล่านั้นถือเป็นคุณสมบัติของมะเร็ง เพราะฉะนั้นเนื้องอกไม่ร้ายจึงถือว่าไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกไม่ร้ายจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามะเร็ง ตัวเซลล์ของเนื้องอกมักมีการพัฒนาประเภทไปมากกว่า (ใกล้เคียงกับเซลล์ปกติมากกว่า) ส่วนใหญ่มีเปลือกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันห่อหุ้ม หรือยังคงอยู่ภายใต้ชั้นเยื่อบุปกติ ตัวอย่างที่พบบ่อยของเนื้องอกไม่ร้ายได้แก่ไฝและเนื้องอกกล้ามเนื้อเรียบมดลูก เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:เนื้องอกไม่ร้าย.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเนื้องอกไม่ร้าย · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 2: เนื้องอกและICD-10 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ICD-10 Chapter II: NeoplasmsICD-10 บท C

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »