โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ดัชนี ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

70 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องช่องไขสันหลังตีบพยาธิวิทยาพังผืดอักเสบมีเนื้อตายพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้ากระดูกกระดูกสะบ้ากระดูกสันหลังหักกระดูกหักกระดูกอัลนากระดูกอ่อนกระดูกต้นแขนกระดูกน่องกระดูกแข้งกระดูกเรเดียสกลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อนกลุ่มอาการเดอ เกอแวงกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อโครงร่างกะโหลกศีรษะการกลายเป็นกระดูกการอักเสบการติดเชื้อฝีฝีโบรดีมือยารอยโรครูมาติซึมลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่างศอกศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์สารเคมีออสติโอคอนไดรติส ดีสซิแคนส์อัมพาตอาการอาการแสดงองค์การอนามัยโลกถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติดถุงน้ำแกงเกลียนขาข้ออักเสบข้ออักเสบรูมาตอยด์ข้อต่อข้อเสื่อมความเจ็บปวดความเค้นคอต่อมไร้ท่อ...ปวดในข้อปอดนิ้ว (อวัยวะ)นิ้วมือแขนโภชนาการโรคโรคกระดูกพรุนโรคคะวะซะกิโรคติดเชื้อโรคโปลิโอโรคเกาต์ไฟโบรไมอัลเจียไหล่เชิงกรานเมแทบอลิซึมเอ็นเท้าเนื้อเยื่อเกี่ยวพันICD-10 ขยายดัชนี (20 มากกว่า) »

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องไขสันหลังตีบ

ช่องไขสันหลังตีบ เป็นโรคที่เกิดจากการตีบแคบลงของช่องไขสันหลัง เกิดการกดทับไขสันหลังและเส้นประสาท มักเกิดจากความเสื่อมตามอายุ, spinal disc herniation ภาวะกระดูกพรุน หรือเนื้องอก หมวดหมู่:โรค หมวดหมู่:เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หมวดหมู่:ประสาทวิทยา หมวดหมู่:ศัลยกรรม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและช่องไขสันหลังตีบ · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิวิทยา

วิทยา เป็นการศึกษาและวินิจฉัยโรคจากการตรวจอวัยวะ, เนื้อเยื่อ, เซลล์, สารคัดหลั่ง, และจากทั้งร่างกายมนุษย์ (จากการชันสูตรพลิกศพ) พยาธิวิทยายังหมายถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของการดำเนินโรค ซึ่งหมายถึงพยาธิวิทยาทั่วไป (General pathology) พยาธิวิทยาทางการแพทย์แบ่งออกเป็น 2 สาขาหลักๆ ได้แก่ พยาธิกายวิภาค (Anatomical pathology) และพยาธิวิทยาคลินิก (Clinical pathology) นอกจากการศึกษาในคนแล้ว ยังมีการศึกษาพยาธิวิทยาในสัตว์ (Veterinary pathology) และในพืช (Phytopathology) ด้วย วิชาพยาธิวิทยามักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพยาธิหรือปรสิตเนื่องจากมีคำที่พ้องรูปกัน ซึ่งในความเป็นจริงวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิคือวิชาปรสิตวิทยา (Parasitology) ส่วนผู้ที่มีอาชีพทางด้านพยาธิวิทยาเรียกว่าพยาธิแพท.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและพยาธิวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย

พังผืดอักเสบมีเนื้อตาย (necrotizing fasciitis) เป็นการติดเชื้อของเนื้อเยื่ออ่อนที่ทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อ เกิดขึ้นและลุกลามได้อย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจมีอาการผิวหนังบริเวณที่เป็นกลายเป็นสีแดงหรือสีม่วง เจ็บปวด มีไข้ และอาเจียนได้ อวัยวะที่พบบ่อยคือแขนขาและบริเวณฝีเย็บ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแยกที่ผิวหนังเช่นจากรอยบาดหรือแผลไฟไหม้ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องต่างๆ เช่น เบาหวาน มะเร็ง โรคอ้วน การติดสุรา การใช้ยาเสพติด และโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ส่วนใหญ่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แบ่งออกเป็นสี่ชนิดขึ้นอยู่กับเชื้อที่เป็นสาเหตุ ผู้ป่วยราว 55-80% ติดเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 1 ชนิด เชื้อที่พบบ่อยถึงหนึ่งในสามคือแบคทีเรีย Staphylococcus aureus สายพันธุ์ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA) การตรวจภาพรังสีอาจมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยในผู้ป่วยบางราย หมวดหมู่:ภาวะเกี่ยวกับผิวหนังซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรีย หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคของฟาสเชีย หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย หมวดหมู่:เนื้อตายเน่า.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและพังผืดอักเสบมีเนื้อตาย · ดูเพิ่มเติม »

พังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า

ังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า (plantar fasciitis) หรือโรครองช้ำ เป็นโรคที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้าและฝ่าเท้า ส่วนใหญ่จะเจ็บมากที่สุดในการลงน้ำหนักที่เท้าครั้งแรกของวันหลังตื่นนอนหรือหลังจากการได้พักเป็นระยะเวลาหนึ่ง อาการเจ็บอาจถูกกระตุ้นได้โดยการกระดกเท้าขึ้น และอาจเจ็บมากขึ้นกรณีที่ผู้ป่วยมีเอ็นร้อยหวายที่แข็งตึง อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะค่อยๆ เป็น ผู้ป่วยหนึ่งในสามจะเป็นที่เท้าทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่ภาวะนี้ไม่ทำให้มีไข้และไม่ทำให้มีเหงื่อออกตอนกลางคืน สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน --> แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเช่นการยืนนานๆ การออกกำลังกายมาก และความอ้วน นอกจากนี้ยังพบว่าสัมพันธ์กับการมีเท้าบิดเข้าใน และพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย แม้จะมีการพบปุ่มงอกกระดูกส้นเท้าร่วมกับภาวะนี้บ่อยครั้งแต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าปุ่มงอกนี้มีบทบาทในการทำให้เกิดภาวะนี้หรือไม่ --> ภาวะพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้านี้ถือเป็นโรคของจุดเกาะเส้นเอ็นที่มีการฉีกขาดขนาดเล็ก คอลลาเจนเสื่อมสภาพ และเกิดแผลเป็น ดังนั้นการอักเสบจึงมีบทบาทน้อยในการเกิดภาวะนี้ จึงมีการเสนอให้เปลี่ยนชื่อภาวะนี้จาก plantar fasciitis เป็น plantar fasciosis ("โรคของพังผืดที่ฝ่าเท้า") การวินิจฉัยส่วนใหญ่ทำได้โดยการอาศัยประวัติและผลการตรวจร่างกาย บางครั้งอาจทำอัลตราซาวนด์ช่วยในการวินิจฉัย ภาวะอื่นๆ ที่อาจมีอาการคล้ายกันได้เช่น โรคข้อเสื่อม กระดูกสันหลังอักเสบยึดติด กลุ่มอาการแผ่นไขมันฝ่าเท้า โรคข้อแบบปฏิกิริยา เป็นต้น ภาวะนี้ส่วนใหญ่หายได้โดยใช้เวลาและการรักษาแบบอนุรักษ์ ในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกแพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้เท้า เปลี่ยนกิจกรรม ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น และยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น หากยังบรรเทาอาการไม่ได้อาจพิจารณาทางเลือกอื่น เช่น กายภาพบำบัด การใช้กายอุปกรณ์ การดาม หรือการฉีดสเตียรอยด์ เป็นต้น หากยังไม่ได้ผลอีก อาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและพังผืดอักเสบที่ฝ่าเท้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสะบ้า

กระดูกสะบ้า หรือ สะบ้าหัวเข่า (patella of knyecaeiei) เป็นกระดูกหนารูปสามเหลี่ยม ซึ่งเกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกต้นขาและอยู่คลุมและปกป้องทางด้านหน้าของข้อเข่า กระดูกสะบ้านับเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกนี้ยึดเกาะกับเอ็นกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อกลุ่มควอดริเซ็บ ฟีเมอริส (quadriceps femoris) ซึ่งทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า กล้ามเนื้อวาสตัส อินเตอร์มีเดียส (vastus intermedius) เกาะกับฐานของกระดูกสะบ้า และกล้ามเนื้อวาสตัส แลทเทอราลิส (vastus lateralis) กับกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียส (vastus medialis) เกาะกับขอบกระดูกด้านข้างกับด้านใกล้กลางของกระดูกสะบ้าตามลำดับ กระดูกสะบ้าสามารถวางตัวอยู่อย่างเสถียรได้เนื่องจากมีกล้ามเนื้อวาสตัส มีเดียสมาเกาะปลายและมีส่วนยื่นของคอนไดล์ด้านหน้าของกระดูกต้นขา (anterior femoral condyles) ซึ่งป้องกันไม่ให้ข้อเคลื่อนไปทางด้านข้างลำตัวระหว่างการงอขา นอกจากนี้เส้นใยเรตินาคิวลัม (retinacular fibre) ของกระดูกสะบ้าก็ช่วยให้กระดูกสะบ้าอยูมั่นคงระหว่างการออกกำลังกาย หน้าที่หลักของกระดูกสะบ้า คือเมื่อเกิดการเหยียดข้อเข่า (knee extension) กระดูกสะบ้าจะเพิ่มกำลังงัดของคานซึ่งเอ็นกล้ามเนื้อสามารถออกแรงบนกระดูกต้นขาโดยการเพิ่มมุมที่แรงของเอ็นกระทำ การสร้างกระดูกของกระดูกสะบ้าเกิดขึ้นเมื่ออายุ 2-6 ปี แต่ในบางคนอาจไม่พบกระบวนการนี้เนื่องจากความพิการแต่กำเนิด ในจำนวนร้อยละ 2 ของประชากรมีกระดูกสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซึ่งไม่เกิดอาการแสดงใดๆ สำหรับในสัตว์ชนิดอื่นๆ กระดูกสะบ้าจะเจริญเต็มที่เฉพาะในยูเธอเรีย (eutheria; หรือสัตว์ที่มีรก) แต่ในสัตว์พวกมาร์ซูเปียเลีย (marsupial; หรือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง) จะไม่มีการสร้างเป็นกระดูก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกสะบ้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสันหลังหัก

กายอุปกรณ์/อุปกรณ์พยุงเพื่อยืดกระดูกสันหลังด้านหน้ารูปกางเขน (CASH Orthosis) กระดูกสันหลังหัก (spinal fracture, vertebral fracture, broken back) เป็นภาวะกระดูกหักที่กระดูกสันหลัง โดยมีรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้ง กระดูกสันหลังหักเหตุอัด (vertebral compression fracture) กระดูกแตก (burst fracture), กระดูกคอหัก (cervical fracture), กระดูกคอหักแบบ Jefferson, กระดูกคอหักแบบ Flexion teardrop, กระดูกสันหลังหักที่คอหรือที่อกแบบ Clay-shoveler, แบบ Chance, และแบบ Holdsworth fracture กระดูกสันหลังหักที่อก (thoracic vertebrae) และที่เอว (lumbar vertebrae) มักสัมพันธ์กับการบาดเจ็บที่อาจถึงตายหรือทำให้พิการ (major trauma) และอาจทำให้ไขสันหลังเสียหาย ซึ่งมีผลเป็นความบกพร่องทางประสาท (neurological deficit) หมวดหมู่:ความผิดปกติของไขสันหลัง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกสันหลังหัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหัก

กระดูกหักเป็นภาวะทางการแพทย์ที่เกิดความเสียหายกับความต่อเนื่องของผิวกระดูก อาจเกิดจากแรงกระแทกหรือแรงเค้น หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อยที่เกิดกับกระดูกที่อ่อนแออยู่เดิม เช่น จากโรคกระดูกพรุน มะเร็งกระดูก หรือการสร้างกระดูกไม่สมบูรณ์ ซึ่งกรณีนี้จะเรียกว่ากระดูกหักเหตุโร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกหัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอัลนา

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกอัลนา (Ulna) หรือ กระดูกปลายแขนด้านนิ้วก้อย เป็นหนึ่งในสองกระดูกที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขนซึ่งเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อที่สำคัญของรยางค์บน คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) และขนานไปกับกระดูกเรเดียส และเชื่อมกันโดยเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เช่นเดียวกับกระดูกเรเดียส กระดูกอัลนาเป็นจุดเกาะที่สำคัญของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกน่อง

กระดูกน่อง หรือ กระดูกฟิบูลา เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างของกระดูกแข้ง (tibia) ซึ่งกระดูกสองชิ้นนี้มีข้อต่อกันทางด้านบนและด้านล่าง กระดูกนี้มีขนาดเล็กกว่ากระดูกแข้ง เมื่อเทียบสัดส่วนกับความยาวจะพบว่ากระดูกน่องเป็นกระดูกที่ผอมที่สุดในบรรดากระดูกยาวทั้งหมด ส่วนต้นกระดูกมีขนาดเล็ก วางตัวอยู่ด้านหลังของหัวกระดูกแข้งใต้ต่อระดับข้อเข่า และไม่ได้เป็นกระดูกองค์ประกอบของข้อเข่า ส่วนปลายของกระดูกนี้เอียงยื่นไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ปลายล่างของกระดูกนี้ยื่นลงต่ำกว่าปลายกระดูกแข้ง สร้างเป็นส่วนด้านข้างของข้อเท้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกน่อง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแข้ง

กระดูกแข้ง หรือ กระดูกทิเบีย (tibia) เป็นหนึ่งในสองกระดูกของขาท่อนล่างใต้เข่า มีขนาดใหญ่กว่ากระดูกน่อง พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกแข้ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเรเดียส

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกเรเดียส (Radius, ภาษาละตินอ่านว่า ราดิอุส) หรือกระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ เป็นหนึ่งในกระดูกสองชิ้นที่เป็นแกนหลักของส่วนปลายแขน และเชื่อมต่อระหว่างข้อต่อสองจุดที่สำคัญ คือข้อศอก (elbow) และข้อมือ (wrist) กระดูกเรเดียสจะมีลักษณะเป็นแท่งยาวคล้ายรูปปริซึม และวางอยู่ทางด้านข้างของกระดูกอัลนา (Ulna, ภาษาละตินอ่านว่า อุลนา) โดยจะมีแผ่นของเอ็นซึ่งเรียกว่า เอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) และยังเป็นกระดูกที่มีจุดเกาะของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของปลายแขนและมืออีกด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกระดูกเรเดียส · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน

กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน (complex regional pain symdrome, CRPS) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งมีลักษณะเฉพาะคือมีอาการเจ็บปวดรุนแรง บวม และมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ผิวหนัง ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด สมาคมวิจัยเรื่องความเจ็บปวดนานาชาติ (The International Association for the Study of Pain) ได้จำแนกประเภทของ CRPS ออกเป็น 2 ชนิด ตามการมีรอยโรคที่เส้นประสาทภายหลังการบาดเจ็.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเดอ เกอแวง

กลุ่มอาการเดอ เกอแวง (de Quervain syndrome) หรือโรคปลอกเอ็นกล้ามเนื้อเรเดียล สไตลอยด์อักเสบ (radial styloid tenosynovitis) เป็นการอักเสบของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อของเอ็นกล้ามเนื้อสองชิ้นที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกลุ่มอาการเดอ เกอแวง · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อโครงร่าง

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงร่าง กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscle) เป็นกล้ามเนื้อลายชนิดหนึ่งซึ่งมักมีส่วนยึดติดกับกระดูก กล้ามเนื้อโครงร่างเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยสร้างแรงกระทำกับกระดูกและข้อผ่านการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุม (ผ่านการกระตุ้นเส้นประสาทโซมาติก) อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้อโครงร่างสามารถหดตัวนอกเหนือการควบคุมได้ผ่านรีเฟลกซ์ เซลล์กล้ามเนื้อ (บางครั้งเรียกว่า ใยกล้ามเนื้อ) มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว หนึ่งเซลล์มีหลายนิวเคลียส นิวเคลียสของเซลล์กล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ส่วนริมเซลล์ ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ เพื่อให้ตรงกลางเซลล์มีที่ว่างสำหรับ myofibril (ในทางกลับกัน หากนิวเคลียสของเซลล์กล้ามเนื้อโครงร่างไปอยู่ตรงกลางเซลล์ จะถือว่าเป็นภาวะทางพยาธิวิทยาที่เรียกว่า centronuclear myopathy) กล้ามเนื้อโครงร่างจะมีปลายข้างหนึ่ง (จุดเกาะต้น) เกาะติดกับกระดูกส่วนที่ใกล้กับแกนกลางร่างกายมากกว่าและมักเป็นกระดูกที่ค่อนข้างยึดแน่น และปลายอีกข้างหนึ่ง (จุดเกาะปลาย) เกาะข้ามข้อไปยังกระดูกอีกชิ้นหนึ่งที่อยู่ห่างจากแกนกลางร่างกายมากกว่า การหดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างจะทำให้กระดูกหมุนตามข้อ เช่น กล้ามเนื้อที่ชื่อว่า biceps brachii มีจุดเกาะต้นอยู่ที่กระดูกสะบัก และมีจุดเกาะปลายอยู่ที่กระดูกเรเดียส (ส่วนหนึ่งของแขนท่อนล่าง) เมื่อกล้ามเนื้อนี้หดตัว จะทำให้เกิดการงอแขนที่ข้อศอก เป็นต้น การแบ่งประเภทของกล้ามเนื้อโครงร่างนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน วิธีหนึ่งคือแบ่งตามโปรตีนที่มีอยู่ใน myosin วิธีนี้จะทำให้ได้กล้ามเนื้อโครงร่างสองชนิด คือ ชนิดที่หนึ่ง (Type I) และชนิดที่สอง (Type II) กล้ามเนื้อ Type I จะมีสีออกแดง มีความทนมากและทำงานได้นานก่อนจะล้าเนื่องจากใช้พลังงานจากกระบวนการ oxidative metabolism ส่วนกล้ามเนื้อ Type II จะมีสีออกขาว ใช้สำหรับการทำงานที่ต้องการความเร็วและกำลังมากในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะล้าไป กล้ามเนื้อชนิดนี้ใช้พลังงานจากทั้งกระบวน oxidative metabolism และ anaerobic metabolism ขึ้นอยู่กับชนิดย่อยแต่ละชนิด * fr:Muscle strié.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกล้ามเนื้อโครงร่าง · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นกระดูก

การกลายเป็นกระดูก หรือ การสร้างกระดูก เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน หลอดเลือดเหล่านี้จะนำแร่ธาตุ เช่นแคลเซียม และเข้ามาในเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกแข็ง การสร้างกระดูกเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต คือมีกระบวนการสร้างและสลายทดแทนกันอยู่ตลอด โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีออสติโอคลาสต์ (osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวนการก่อรูปกระดูก (bone remodeling) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและการกลายเป็นกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ฝี

ฝี เป็นกลุ่มของหนองซึ่งเป็นซากเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) ที่ตายแล้วสะสมอยู่ภายในโพรงของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่นๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ซึ่งทำให้มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุกและเกิดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นมากขึ้น โครงสร้างของฝีภายนอกจะประกอบด้วยผนังหรือแคปซูลล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแคปซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้ ฝีมีความแตกต่างจากหนองขัง (empyema) ในแง่ที่ว่าหนองขังเป็นกลุ่มของหนองในโพรงที่มีมาก่อนอยู่แล้ว แต่ฝีเป็นโพรงหนองที่สร้างขึ้นมาภายหลังการติดเชื้อ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและฝี · ดูเพิ่มเติม »

ฝีโบรดี

ฝีโบรตี (Brodie abscess) คือโรคกระดูกและไขกระดูกอักเสบแบบกึ่งเฉียบพลันอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจคงอยู่ในลักษณะนี้ได้หลายปีก่อนที่จะกลายเป็นกระดูกและไขกระดูกอักเสบเต็มขั้น ตามแบบฉบับแล้วจะเกิดมีขึ้นหลังจากได้ทำการระบายโพรงหนองที่เชื่อมระหว่างกระดูกแข้งกับผิวหนัง เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ Staphylococcus aureus Category:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Category:โรคของกระดูก หมวดหมู่:โรคติดเชื้อแบคทีเรีย.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและฝีโบรดี · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและมือ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและยา · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

รูมาติซึม

รูมาติซึม หรือ รูมาติสซั่ม (Rheumatism) หรือ โรครูมาติก (Rheumatic disorder) เป็นคำกว้างๆ หมายถึงปัญหาทางการแพทย์ที่เกิดกับข้อต่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน วิชาที่ศึกษาและการรักษาความผิดปกตินี้เรียกว่าวิทยารูมาติก ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและรูมาติซึม · ดูเพิ่มเติม »

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง หรือ เอสแอลอี (systemic lupus erythematosus, SLE, lupus) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเข้าโจมตีเนื้อเยื่อปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายแบบตั้งแต่เล็กน้อยแทบไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต อาการที่พบบ่อยได้แก่ ข้ออักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ผมร่วง แผลในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง ซึ่งมักพบที่บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมักมีระยะที่อาการเป็นมาก อาจเรียกว่าระยะกำเริบ และระยะที่อาการเป็นน้อย เรียกว่าระยะสงบ สาเหตุที่แท้จริงของเอสแอลอีนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในแฝดไข่ใบเดียวกัน (แฝดเหมือน) จะพบว่าหากคนหนึ่งป่วยเอสแอลอี อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูงถึง 24% ที่จะเป็นโรคด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าเพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้แก่ ฮอร์โมนเพศหญิง แสงแดด การสูบบุหรี่ ภาวะพร่องวิตามินดี และโรคติดเชื้อบางชนิด กลไกหลักที่ทำให้เกิดอาการของโรคคือการเกิดแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อร่างกายตัวเอง เรียกว่า ออโตแอนดิบอดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแอนติบอดีต่อนิวเคลียส ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ การวินิจฉัยบางครั้งอาจทำได้ยาก ต้องใช้ทั้งอาการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบกัน โรคอื่นๆ ในกลุ่มของโรคลูปัสมีอีกหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคอาจมีอาการทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างจากเอสแอลอี โรคเหล่านี้ เช่น ลูปัส อีริทีมาโตซัส ชนิดรูปคล้ายจาน, ลูปัส อีริทีมาโตซัส ที่ผิวหนังแบบกึ่งเฉียบพลัน และ ลูปัส อีริทีมาโตซัส ในทารกแรกเกิด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเอสแอลอีให้หายขาด การรักษาจะเน้นไปที่การระงับอาการด้วยการลดการอักเสบ และลดกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาที่ใช้ เช่น ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน และเมโทเทรกเซท ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้นยังไม่พบว่ามีวิธีใดที่รักษาแล้วเห็นผล ผู้ป่วยอาจมีอายุขัยสั้นกว่าคนปกติ โดยโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ป่วย 80% จะอยู่รอดได้นานกว่า 15 ปี หากผู้ป่วยหญิงเกิดตั้งครรภ์จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก แต่ส่วนใหญ่จะสามารถมีลูกได้ ความชุกของเอสแอลอีมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยอยู่ที่ 20-70 ต่อ 100,000 ประชากร ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะพบโรคนี้บ่อยที่สุดโดยพบถึง 9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย ช่วงอายุที่พบได้บ่อยอยู่ที่ 15-45 ปี แต่ก็พบในช่วงอายุอื่นๆ ได้เช่นกัน ชาวแอฟริกา แคริบเบียน และจีน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนขาว ส่วนความชุกของโรคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้คือ ลูปัส (Lupus) เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า หมาป่า ชื่อนี้มีที่มาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 13 โดยเชื่อว่ามาจากการที่ผื่นที่พบในผู้ป่วยมีลักษณะเหมือนถูกหมาป่ากัด คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ "โรคพุ่มพวง" เนื่องจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง · ดูเพิ่มเติม »

ศอก

อก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและศอก · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์

ต้นไม้บนหน้าปกหนังสือ ''Orthopaedia'' ของนิโกลาส์ แอนดรี หรือที่รู้จักว่า ต้นไม้ของแอนดรี (Andry tree) นิยมใช้เป็นสัญลักษณ์สากลของวิชาออร์โทพีดิกส์ ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ หรือ ออร์โทพีดิกส์ (Orthopedic surgery, Orthopaedic surgery, Orthopedics, Orthopaedics) (โดยทั่วไปมักสะกดว่า ออร์โธปิดิกส์ หรือ ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์) เป็นสาขาวิชาหนึ่งของวิชาศัลยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งในประเทศไทยแบ่งสาขาวิชาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

สารเคมี

รเคมี (chemical substance) เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือได้จากกระบวนการเคมี อาท.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและสารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ออสติโอคอนไดรติส ดีสซิแคนส์

ออสติโอคอนไดรติส ดีสซิแคนส์ (Osteochondritis dissecans, OCD) เป็นโรคอย่างหนึ่งของข้อต่อซึ่งมีการแตกออกระหว่างกระดูกอ่อนผิวข้อกับกระดูกใต้กระดูกอ่อน โรคนี้เกิดจากการขาดเลือดของกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้กระดูกบริเวณดังกล่าวตายแบบ avascular necrosis หรือการตายของเนื้อเยื่อที่เกิดจากการขาดเลือด กระดูกที่ตายจะถูกดูดซึมไป ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณนั้นเสียหายง่าย ต่อมาจึงเกิดการแตก (dissection) ของทั้งกระดูกและกระดูกอ่อนออกมา มีชิ้นกระดูกลอยในช่องว่างไขข้อ ทำให้เกิดอาการปวดและทำความเสียหายต่อผิวข้อมากขึ้น หมวดหมู่:โรคหายาก หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรคของกระดูกอ่อน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและออสติโอคอนไดรติส ดีสซิแคนส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและอาการแสดง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด

งหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด หรือ โรคข้อไหล่ติด (adhesive capsulitis (of shoulder), frozen shoulder) เป็นโรคที่เกิดกับถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลของไหล่เอาไว้ ถุงหุ้มข้อนี้เกิดอักเสบ ติดยึด เกิดการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวดเรื้อรัง อาการทางคลินิกของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและถุงหุ้มข้อไหล่อักเสบยึดติด · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำแกงเกลียน

งน้ำแกงเกลียน (ganglion cyst) หรือถุงน้ำเยื่อหุ้มข้อ (synovial cyst, ชื่ออื่นๆ เช่น myxoid cyst, Gideon's disease, Bible cyst, Bible bump) เป็นก้อนถุงน้ำชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับข้อต่อหรือปลอกหุ้มเส้นเอ็น พบที่ข้อมือด้านหลังบ่อยที่สุด และที่ข้อมือด้านหน้ารองลงมา มักค่อยๆ ปรากฎขึ้นใช้เวลาหลายเดือน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการอื่นนอกจากมีก้อน บางครั้งอาจมีอาการเจ็บปวดหรือชาร่วมด้วยได้ ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือกลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล หรือเส้นประสาทข้อมือถูกกดทับ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรค เชื่อว่ากลไกที่ทำให้เกิดโรคมาจากการเว้าออกของเยื่อหุ้มข้อต่อ การเล่นยิมนาสติกเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจร่างกาย ร่วมกับการใช้ไฟส่องบริเวณรอยโรค หากสงสัยโรคอื่นร่วมด้วยอาจจำเป็นต้องตรวจภาพรังสีเพื่อแยกโรคอื่นออก การรักษาอาจทำได้โดยการเฝ้าดูและติดตามอาการ การผ่าตัดแยกข้อต่อบริเวณที่เกิดถุงน้ำ การเจาะดูดด้วยเข็ม หรือการผ่าตัด ผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งจะมีอาการดีขึ้นได้เอง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยถุงน้ำแกงเกลียนที่ข้อมือรายใหม่ประมาณ 3 ใน 10,000 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงวัยสาวถึงวัยกลางคน ปัจจุบันการพยายามรักษาเองด้วยการทุบให้แตกไม่เป็นที่แนะนำอีกต่อไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและถุงน้ำแกงเกลียน · ดูเพิ่มเติม »

ขา

แผนภาพของขาแมลง ขา เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของสัตว์ที่รองรับน้ำหนักทั้งหมด อยู่ระหว่างข้อเท้าและสะโพก ใช้ในการเคลื่อนที่ ปลายสุดของขามักเป็นโครงสร้างที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงเป็นโครงสร้างอื่นที่รับน้ำหนักของสัตว์บนพื้น (ดู เท้า) รยางค์ล่าง (lower limb) ของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีสองขา (bipedal vertebrate) มักจะเป็นขาของสัตว์นั้นๆ ส่วนรยางค์บน (upper limb) มักจะเป็นแขนหรือปีก จำนวนขาของสัตว์มักเป็นจำนวนคู่ นักอนุกรมวิธานอาจจัดสัตว์ออกเป็นกลุ่มตามจำนวน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและขา · ดูเพิ่มเติม »

ข้ออักเสบ

้ออักเสบ (Arthritis) เป็นกลุ่มของภาวะที่เกิดการทำลายข้อต่อของร่างกาย ข้ออักเสบมีได้มากกว่าร้อยรูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือข้อเสื่อม (osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การติดเชื้อของข้อและอายุ ส่วนข้ออักเสบรูปแบบอื่นเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อสะเก็ดเงิน จากภาวะภูมิต้านตนเอง ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อและทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตซึ่งเรียกว่า โรคเกาต์เทียม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและข้ออักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis, RA) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อของร่างกายเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ร่วมกับอาการบวมและร้อน อาการเจ็บปวดและตึงเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากข้อต่อนั้นได้พัก มักเป็นที่ข้อต่อของมือและข้อมือ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง นอกจากข้อต่อแล้วยังสามารถแสดงอาการที่ระบบอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยมักมีอาการไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หมวดหมู่:ข้ออักเสบ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:โรคของฟาสเชีย หมวดหมู่:โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและข้ออักเสบรูมาตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อเสื่อม

้อเสื่อม (Arthrosis, Osteoarthritis; OA) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความเสื่อมจากการใช้งานของข้อต่อ ได้แก่ กระดูกอ่อนผิวข้อและมีการเจริญงอกเกินของกระดูก ซึ่งมักจะมีอาการปวดข้อ ข้อยึดติดโดยเฉพาะตอนเช้าหลังไม่ได้ทำกิจกรรม เคลื่อนไหวข้อได้ลดลง อาจมีเสียงกรอบแกรบที่ข้อ อาจพบข้อบวมหรือข้ออักเสบได้ ข้อเสื่อมเป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด การรักษาโรคข้อเสื่อมทำโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ ลดน้ำหนัก ออกกำลังให้พอเหมาะไม่ใช้ข้อมากเกินไป เช่น การว่ายน้ำ การเดิน พักผ่อนให้เพียงพอ กายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อต่อเคลื่อนไหวได้และให้กล้ามเนื้อมีกำลัง ส่วนการใช้ยาสามารถใช้พาราเซตามอลเพื่อระงับอาการปวด ซึ่งนับเป็นยาหลักที่ได้รับการแนะนำให้ใช้ในแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม อาจใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตรอยด์ระงับอาการปวดและการอักเสบ ส่วนการใช้สเตอรอยด์ชนิดรับประทานไม่แนะนำเพราะมีผลข้างเคียงสูง แต่การฉีดสเตอรอยด์เข้าข้อช่วยระงับปวดในระยะสั้นเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน การฉีดกรดไฮยาลูโรนิกเข้าข้อจากการศึกษาทบทวนวรรณกรรมในปี..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและข้อเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ความเค้น

ในกลศาสตร์ภาวะต่อเนื่อง ความเค้น (Stress) เป็นการวัดแรงเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่ผิวภายในวัตถุแปรรูปซึ่งมีแรงภายในกระทำ ความเค้นเป็นการวัดความเข้มข้นของแรงภายในซึ่งกระทำระหว่างอนุภาพของวัตถุแปรรูปข้ามพื้นที่ผิวจินตนาการ แรงภายในเหล่านี้เกิดขึ้นระหว่างอนุภาพภายในวัตถุดังที่เป็นแรงปฏิกิริยาต่อแรงภายนอกซึ่งกระทำต่อวัตถุ แรงภายนอกต่างก็เป็นแรงพื้นผิวหรือแรงเนื่องจากน้ำหนักมาก หน่วยเอสไอสำหรับวัดความเค้น คือ ปาสคาล (สัญลักษณ์ Pa) ซึ่งมีค่าเท่ากับหนึ่งนิวตัน (แรง) ต่อหนึ่งตารางเมตร (หน่วยพื้นที่) หน่วยของความเค้นคือหน่วยเดียวกันกับความดัน ซึ่งเป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างแรงต่อพื้นที่ผิวเช่นกัน หมวดหมู่:กลศาสตร์ดั้งเดิม หมวดหมู่:วัสดุศาสตร์ หมวดหมู่:กลศาสตร์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและความเค้น · ดูเพิ่มเติม »

คอ

อ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีรยางค์หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกศีรษะออกจากลำตัว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและคอ · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมไร้ท่อ

ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) คือ ต่อมที่มีการผลิตสารแล้วลำเลียงสารทางกระแสเลือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและต่อมไร้ท่อ · ดูเพิ่มเติม »

ปวดในข้อ

อาการปวดในข้อ (arthralgia) เป็นอาการที่อาจเกิดจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ การอักเสบ หรือภาวะแพ้ยาก็ได้ ตาม MeSH แล้ว คำนี้ใช้เพื่อแยกจากคำว่า "ข้ออักเสบ" (arthritis) เพื่อระบุว่าอาการเจ็บข้อนี้ไม่ได้เกิดจากการอักเสบของข้อ หมวดหมู่:วิทยารูมาติก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและปวดในข้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและปอด · ดูเพิ่มเติม »

นิ้ว (อวัยวะ)

นิ้วมือทั้งห้าของมนุษย์ นิ้ว (digits) เป็นอวัยวะของมนุษย์ที่อยู่ปลายสุดของมือหรือเท้า แบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและนิ้ว (อวัยวะ) · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วมือ

นิ้วมือ เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เอ็น และผิวหนังห่อหุ้ม มีตำแหน่งอยู่ตรงปลายสุดของแขนถัดจากมือ ซึ่งสามรถเคลื่อนไหวได้โดยการสั่งการของสมองและระบบประสาท.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและนิ้วมือ · ดูเพิ่มเติม »

แขน

แขน เป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของมนุษย์อยู่ระหว่างไหล่กับข้อศอก ใช้ในการเคลื่อนที่ สัตว์บางชนิดจะมีแขนเช่นลิงในการหยิบจับหรือคลาน ส่วนปลายแขนหมายถึงแขนตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอก ต้นแขนหมายถึงหมายถึงแขนตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ โครงสร้างของแขน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและแขน · ดูเพิ่มเติม »

โภชนาการ

ีระมิดอาหารซึ่งเผยแพร่ในปี 2548 เพื่อแนะนำปริมาณการบริโภคอาหาร โภชนาการเป็นการคัดเลือกอาหารและเตรียมอาหาร และการย่อยเพื่อให้ร่างกายดูดซึม การทานอาหารเพื่อสุขภาพสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง นักกำหนดอาหารเป็นวิชาชีพสาธารณสุขผู้มีความชำนาญพิเศษในโภชนาการมนุษย์ การวางแผนมื้ออาหาร เศรษฐศาสตร์และการเตรียม พวกเขาได้รับการฝึกเพื่อให้คำแนะนำทางอาหารที่ปลอดภัยและอิงหลักฐาน และการจัดการต่อปัจเจกบุคคล ตลอดจนสถาบัน นักโภชนาการคลินิกเป็นวิชาชีพสาธารณสุขซึ่งมุ่งเจาะจงต่อบทบาทของโภชนาการในโรคเรื้อรัง ซึ่งรวมการป้องกันหรือการรักษาโรคที่เป็นไปได้โดยการจัดการกับการพร่องสารอาหารก่อนพึ่งยา อาหารไม่ดีอาจมีผลทำร้ายสุขภาพ ทำให้เกิดโรคความพร่อง เช่น ลักปิดลักเปิด, สภาพที่ร้ายแรงถึงชีวิต เช่น โรคอ้วน และโรคเมทาบอลิก และโรคทั่วร่างกายเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด เบาหวานและกระดูกพรุน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโภชนาการ · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคกระดูกพรุน

รคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่ลดความแข็งแรงของกระดูกและเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกหัก โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ ซึ่งมักเกิดกับกระดูกไขสันหลัง, กระดูกแขนท่อนปลายและกระดูกสะโพก โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยต้องอาศัยการตรวจกระดูกเท่านั้นจึงจะทราบ ผู้ที่มีภาวะกระดูกหักจะมีอาการปวดเรื้อรังและสมรรถภาพการเคลื่อนไหวลดลง เพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูงกว่าเพศชาย มนุษย์เราจะมีมวลกระดูกมากที่สุดในวัยราว 35 ปี มวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อพ้นวัยนี้ไป โรคกระดูกพรุนมีสาเหตุมาจากการมีมวลกระดูกที่ต่ำกว่าคนทั่วไป หรือการมีอัตราการเสื่อมของกระดูกที่เร็วกว่าคนทั่วไป อัตราการเสื่อมของกระดูกจะเพิ่มขึ้นในวัยหมดประจำเดือนของสตรี (ราว 40-50 ปี) จากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง โรคกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นจากเหตุหรือพฤติกรรมอื่นๆ อาทิ การติดสุรา, ภาวะเบื่ออาหาร, ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน, โรคกระเพาะอาหารและลำไส้, การรับศัลยกรรมผ่าตัดเอารังไข่ออก, โรคไต รวมถึงการสูบบุหรี.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโรคกระดูกพรุน · ดูเพิ่มเติม »

โรคคะวะซะกิ

รคคะวะซะกิ (川崎病; Kawasaki disease) หรือ กลุ่มอาการเยื่อเมือกผิวหนังต่อมน้ำเหลือง (Mucocutaneous lymph node syndrome; MCLS, MLNS หรือ MCLNS) เป็นโรคที่พบในเด็กญี่ปุ่นเป็นที่แรก โดยนายโทมิซากุ คะวะซะกิ (ชื่ออื่น: Tomisaku Kawazaki) เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยส่วยใหญ่จะพบในเด็ก อาการที่พบของโรคที่ประกอบด้วยอาการมีไข้สูง (fever) เกิดจากหลอดเลือดแดงอักเสบ มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง (peeling of the palm) และเยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และ ตาแดง (congested conjuctiva) และ ภาวะเส้นโลหิตแดงหัวใจโป่งพองเป็นถุงขังโลหิตไว้ (coronary anuerysm) เป็นโรคที่พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง อัตราชายต่อหญิง 1.5: 1 พบในเด็กเล็กประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 2 ปี ร้อยละ 80 อายุน้อยกว่า 4 ปี พบได้ทุกเชื้อชาติในโลกแต่พบมากโดยเฉพาะในเด็กญี่ปุ่นมากกว่าชาติอื่น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโรคคะวะซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โรคโปลิโอ

รคโปลิโอ (poliomyelitis, polio, infantile paralysis) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสเฉียบพลันซึ่งติดต่อจากคนสู่คนทางอุจจาระ-ปาก ชื่อนี้มาจากภาษากรีกว่า (πολιός) หมายถึง สีเทา, (µυελός) หมายถึงไขสันหลัง และคำอุปสรรค -itis หมายถึงการอักเสบ การติดเชื้อโปลิโอกว่า 90% จะไม่ทำให้เกิดอาการใด ๆ โดยผู้ติดเชื้ออาจมีอาการได้หลายอย่างหากได้รับไวรัสเข้ากระแสเลือด ผู้ป่วย 1% จะมีการติดเชื้อไวรัสเข้าสู่ระบบประสาทกลาง ทำให้เซลล์ประสาทสั่งการถูกทำลาย ทำให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงและอัมพาตอ่อนเปียก ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเส้นประสาทที่ถูกทำลาย รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดคือโปลิโอไขสันหลัง ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนแรงแบบไม่สมมาตรมักเป็นที่ขา โปลิโอก้านสมองส่วนท้ายทำให้เกิดการอัมพาตของกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทสมอง โปลิโอไขสันหลังและก้านสมองส่วนท้ายจะทำให้มีอาการร่วมกันทั้งการอัมพาตก้านสมองส่วนท้ายและไขสันหลัง โรคโปลิโอค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโรคโปลิโอ · ดูเพิ่มเติม »

โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและโรคเกาต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟโบรไมอัลเจีย

ฟโบรไมอัลเจีย คือกลุ่มอาการปวดเรื้อรังที่มีอาการนานกว่า 3 เดือน โดยมีการกระจายของอาการปวดหลายแห่งหรือทั่วร่างกาย และมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการปวดร่วมด้วยสี่กลุ่มเพื่อใช้เป็นตัวช่วยบอกความรุนแรงของโรค คือ อาการอ่อนเพลีย การนอนหลับที่ผิดปกติ สมาธิ/ความจำบกพร่อง และรวมถึงอาการอื่นๆ ซึ่งจะเป็นอาการที่ไม่จำเพาะ นับรวมกันเป็นอีกหนึ่งกลุ่ม.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไฟโบรไมอัลเจีย · ดูเพิ่มเติม »

ไหล่

แคปซูลของข้อต่อไหล่ขณะกางแขนออก มุมมองทางด้านหน้า ไหล่ หรือ บ่า (shoulder) เป็นส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์ที่อยู่บริเวณข้อต่อไหล่ ซึ่งประกอบด้วยกระดูกต้นแขนประกอบกับกระดูกสะบัก ไหล่ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกไหปลาร้า (clavicle), กระดูกสะบัก (scapula) และกระดูกต้นแขน (humerus) ร่วมกับกล้ามเนื้อ เอ็น และเอ็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง ข้อต่อระหว่างกระดูกต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันเป็นข้อต่อไหล่ ไหล่เป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้แขนและมือสามารถการเคลื่อนที่ได้อย่างมาก และยังมีความแข็งแรงมากเพื่อใช้ในการออกแรงยกของ ดัน และดึง จากหน้าที่การทำงานของไหล่ดังกล่าวทำให้ไหล่เป็นบริเวณที่คนมักบาดเจ็บหรือปวดล้าอยู่สม่ำเสมอ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไหล่ · ดูเพิ่มเติม »

เชิงกราน

งกราน (pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone), กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum), และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium), กระดูกก้น (ischium), และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเชิงกราน · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เอ็น

อ็น หรือ เอ็นยึด (ligament) เป็นคำกว้างๆ หมายถึง กลุ่มหรือมัดเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งเรียงตัวในทิศทางเดียว เห็นได้ชัดและไม่มีกล้ามเนื้อยึดที่ปลาย ทั้งนี้เอ็นมีความหมายถึงโครงสร้างได้ 3 ชนิด โดยทั่วไปเอ็นหมายถึงเนื้อเยื่อเส้นใยที่ยึดระหว่างกระดูก เรียกว่า "เอ็นข้อต่อ" (articular ligament, articular larua) "เอ็นเส้นใย" (fibrous ligaments) หรือ "เอ็นแท้" (true ligaments) นอกจากนี้ เอ็น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

เท้า

ท้า เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์หลายชนิด ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ ในสัตว์หลายชนิดมีเท้าเป็นอวัยวะที่แยกออกต่างหากอยู่ปลายสุดของขา ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นรวมทั้งกรงเล็บ (claws) และเล็บ (nail).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเท้า · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 13: โรคของระบบกล้ามเนื้อโครงร่าง และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและICD-10 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ICD-10 บท MICD-10 บท M: โรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงสร้าง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »