โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

CYP3A4และคโลนะเซแพม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง CYP3A4และคโลนะเซแพม

CYP3A4 vs. คโลนะเซแพม

ซโทโครม P450 3A4 (Cytochrome P450 3A4; ชื่อย่อ: CYP3A4) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ ส่วนใหญ่พบได้ที่ตับและลำไส้ โดยเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ออกซิไดซ์โมเลกุลอินทรีย์แปลกปลอมขนาดเล็ก (ซีโนไบโอติค) เช่น สารพิษ หรือยา เพื่อให้ร่างกายสามารถกำจัดสารแปลกปลอมเหล่านี้ออกไปได้ ยารักษาโรคส่วนใหญ่มักถูกทำให้หมดฤทธิ์ได้โดยเอนไซม์ CYP3A4 แต่ในทางตรงกันข้าม กลับมียาบางชนิดที่ถูกทำให้มีฤทธิ์ในการรักษาได้ด้วยเอนไซม์นี้ อย่างไรก็ตาม สารบางอย่าง เช่น น้ำเกรปฟรูต และยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ได้ โดยผลที่เกิดขึ้นจากอันตรกิริยาระหว่างสารเหล่านี้กับเอนไซม์ CYP3A4 อาจเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพการรักษาของยาที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้วยเอนไซม์ CYP3A4 ได้ CYP3A4 เป็นเอนไซม์ในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ซึ่งเอนไซม์สมาชิกอื่นในกลุ่มเอนไซม์นี้ล้วนมีส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิดที่แตกต่างกันออกไป แต่ CYP3A4 เป็นเอนไซม์มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงยาได้หลากหลายชนิดมากที่สุด CYP3A4 เป็นเอนไซม์ที่เป็นสารฮีโมโปรตีนเช่นเดียวกันกับเอนไซม์อื่นในตระกูลนี้ กล่าวคือ เป็นโปรตีนที่มีกลุ่มของฮีมซึ่งมีอะตอมของธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ ในมนุษย์ โปรตีน CYP3A4 จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A4 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q21.1. ลนะเซแพม (Clonazepam) เป็นยากันชักและรักษาโรคตื่นตระหนก และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เรียกว่า อาการนั่งไม่ติดที่ (akathisia) เป็นยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน --> ใช้โดยการรับประทาน มีผลภายในหนึ่ง ชม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง CYP3A4และคโลนะเซแพม

CYP3A4และคโลนะเซแพม มี 24 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การฉีดเข้าหลอดเลือดดำกาเฟอีนยากันชักยาระงับอาการทางจิตยาแก้ซึมเศร้าระบบประสาทกลางริสเพอริโดนริโตนาเวียร์สมองสารต้านฮิสตามีนอาการไม่พึงประสงค์จากยาอิริโทรมัยซินคลาริโทรมัยซินคาร์บามาเซพีนคีโตโคนาโซลตับโปรตีนไดแอซิแพมไซเมทิดีนเบ็นโซไดอาเซพีนเฟนิโทอินเกรปฟรูตเมแทบอลิซึมเอนไซม์

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

CYP3A4และการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · การฉีดเข้าหลอดเลือดดำและคโลนะเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

กาเฟอีน

กาเฟอีน (caféine) เป็นสารแซนทีนอัลคาลอยด์ ซึ่งสามารถพบได้ในอาหารหลายชนิดได้แก่ เมล็ดกาแฟ, ชา, โคล่า กาเฟอีนถือว่าเป็นยากำจัดศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพราะมันออกฤทธิ์ทำให้อัมพาต และสามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้ กาเฟอีนยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัวและลดความง่วงได้ เครื่องดื่มหลายชนิดมีกาเฟอีนเป็นส่วนผสม เช่นในกาแฟ น้ำชา น้ำอัดลม รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก.

CYP3A4และกาเฟอีน · กาเฟอีนและคโลนะเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

ยากันชัก

แอนติอิพิเลปติก (อังกฤษ:antiepileptics) มีอีกชื่อว่า แอนติคอนวัลแซนต์ (anticonvulsants) เป็นยาต้านและป้องกันอาการชักเช่นอาการชักจากลมบ้าหมู กลไกการออกฤทธิ์คือการบล็อกโวลเตก-เซนซิตีพ โซเดียมแชแนล (voltage-sensitive sodium channel) ในสมอง.

CYP3A4และยากันชัก · คโลนะเซแพมและยากันชัก · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับอาการทางจิต

ระงับอาการทางจิต (Antipsychotic หรือ Neuroleptic) หรือ ยากล่อมประสาทหลัก (Major tranquilizer) เป็นยาประเภทหนึ่งที่ใช้รักษาโรคจิต (ได้แก่อาการหลงผิด, ประสาทหลอน, อาการจิตหวาดระแวง หรือ ความผิดปรกติในความคิด) โดยเฉพาะโรคจิตเภทและโรคอารมณ์สองขั้ว อย่างไรก็ตาม มีการใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคจิตเช่นกัน การใช้ยาประเภทนี้ติดต่อกันในระยะยาวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันได้แก่ การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ, เต้านมโต, และโรคอ้วนลงพุง ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากการใช้ยาประเภทนี้.

CYP3A4และยาระงับอาการทางจิต · คโลนะเซแพมและยาระงับอาการทางจิต · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

CYP3A4และยาแก้ซึมเศร้า · คโลนะเซแพมและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

CYP3A4และระบบประสาทกลาง · คโลนะเซแพมและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ริสเพอริโดน

ริสเพอริโดน (Risperidone) หรือชื่อทางการค้าคือ ไรสเปอร์ดัล (Risperdal) เป็นยาระงับอาการทางจิต ใช้โดยหลักเพื่อรักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม --> เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อ โดยแบบฉีดมีฤทธิ์ยาวนานประมาณ 2 อาทิตย์ ผลข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งปัญหาการเคลื่อนไหว (extrapyramidal symptoms) ความง่วง ปัญหาในการมองเห็น ท้องผูก และน้ำหนักเพิ่ม ผลข้างเคียงหนักอาจรวมความพิการทางการเคลื่อนไหวแบบถาวรคืออาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น และภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก (hyperglycemia) ในผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) เนื่องจากภาวะสมองเสื่อม อาจจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิต --> ยังไม่ชัดเจนว่ายาปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์หรือไม่ --> ริสเพอริโดนเป็นยากลุ่ม atypical antipsychotic --> กลไกการออกฤทธิ์ของมันยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบโดพามีน (dopamine antagonist) งานศึกษาเกี่ยวกับยาเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกาในปี..

CYP3A4และริสเพอริโดน · คโลนะเซแพมและริสเพอริโดน · ดูเพิ่มเติม »

ริโตนาเวียร์

ริโตนาเวียร์ (Ritonavir) หมวดหมู่:ยาหลักขององค์การอนามัยโลก หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

CYP3A4และริโตนาเวียร์ · คโลนะเซแพมและริโตนาเวียร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

CYP3A4และสมอง · คโลนะเซแพมและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สารต้านฮิสตามีน

รต้านฮิสตามีน (antihistamine) หรือ ทั่วไปเรียกว่า ยาแก้แพ้ เป็น ยา ที่ใช้กำจัดหรือลดผลของ ฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นเป็นสารเคมีที่ถูกปลดปล่อยภายในร่างกายจาก ปฏิกิริยาภูมิแพ้ (allergic reactions) โดยผ่านการกระทำที่ ตัวรับฮิสตามีน (histamine receptors) สารที่มีผลในการรักษาจะออกฤทธิ์ในการยับยั้งตัวรับฮีสทามีนนี้จึงถูกเรียกว่า สารต้านฮีสตามีน - สารอื่นที่มีผลต้านฮีสทามีนแต่ไม่ออกฤทธิ์ที่ ตัวรับฮิสตามีน จะไม่เป็นสารต้านฮีสทามีนที่แท้จริง โดยทั่วไป สารต้านฮีสตามีนจะหมายถึง ตัวรับปฏิปักษ์ H1 ซึ่งเรียกว่า สารต้านฮิสตามีน-H1 เราพบว่า สารต้านฮิสตามีน-H1เป็น ตัวทำการกลับ (inverse agonist) ที่ตัวรับฮิสตามีน-H1มากกว่าที่จะเป็น ตัวรับปฏิปักษ์ per se.

CYP3A4และสารต้านฮิสตามีน · คโลนะเซแพมและสารต้านฮิสตามีน · ดูเพิ่มเติม »

อาการไม่พึงประสงค์จากยา

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (adverse drug reaction, ADR) คือภาวะซึ่งมีผลเสียจากการใช้ยาในขนาดปกติ ในการให้ยาแบบปกติ อาจเกิดหลังการให้ยาเพียงครั้งเดียว หรือเมื่อให้เป็นเวลานาน หรือเมื่อให้พร้อมกับยาอื่น ก็ได้ ภาวะนี้แตกต่างจากผลข้างเคียงของยาตรงที่ผลข้างเคียงของยานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์แต่เพียงอย่างเดียว วิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากยาเรียกว่า pharmacovigilance Category:เภสัชวิทยา.

CYP3A4และอาการไม่พึงประสงค์จากยา · คโลนะเซแพมและอาการไม่พึงประสงค์จากยา · ดูเพิ่มเติม »

อิริโทรมัยซิน

อีริโธรมัยซิน (Erythromycin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าว รวมถึงอีริโธรมัยซินนั้นมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรียได้คล้ายคลึงหรือกว้างกว่ายาในกลุ่มเพนนิซิลิน (Penicillins) เล็กน้อย โดยยาดังกล่าวมักถูกสั่งใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ต่อยากลุ่มเพนนิซิลิน สำหรับในกรณีที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจนั้น ยาดังกล่าวจะออกฤทธิ์ครอบคุลมเชื้อกลุ่ม Atypical pathogens ได้ดีกว่า ได้แก่ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) และ ลิจิโอเนลลา (Legionella) โดยบริษัทแรกที่ผลิตยาชนิดนี้ออกสู่ตลาดเป็นรายแรกคือ Eli Lilly and Company จนกระทั่งในปัจจุบัน ยาชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ erythromycin ethylsuccinate (EES) ซึ่งเป็นรูปแบบเกลือเอสเทอร์ที่ถูกใช้กันโดยส่วนใหญ่ และยาดังกล่าวมักถูกนำไปปรับประยุกต์เพื่อใช้ในการบริหารยาโดยการหยอดตาสำหรับเด็กแรกเกิดเพื่อป้องกันเยื่อตาอักเสบในทารกแรกเกิด (neonatal conjunctivitis) และถือเป็นยาทางเลือกรองสำหรับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual transmitted diseases; STDs) บางโรคอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการใช้อีริโธรมัยซินเพื่อรักษาภาวะที่มีระยะเวลาที่ใช้ในการบีบตัวของกระเพาะอาหารเพื่อดันอาหารลงสู่ลำไส้เล็กนานกว่าปกติ (Delayed gastric emptying time) แต่การใช้ในข้อบ่งชี้ดังกล่าวนั้น เป็นการใช้ยาจากประโยชน์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในฉลาก (Off-label use basis) ในกรณีที่ต้องการผลทางเภสัชจลนศาตร์ที่ดีกว่าในผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (hospitalized patients) อาจมีการพิจารณาใช้ยาอีริโธรมัยซินในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV) แทน อย่างไรก็ตาม การใช้ยาอีริโธรมัยซินในรูปแบบรับประทานเพื่อแก้ไขความผิดปกติของทางเดินอาหารข้างต้นนั้นยังมีข้อมูลจำกัดในเรื่องของประสิทธิภาพของยาในระยะยาว จากสูตรโคงสร้างทางเคมีของอีริโธรมัยซินซึ่งเป็นสารประกอบแมคโครไซคลิค (macrocyclic compound) ที่ประกอบไปด้วยวงแหวนแลคโตน (Lactone ring) จำนวน 14 วง, มีศูนย์ไครัล (Chiral center หรือ asymmetric center) มากถึง 10 ตำแหน่ง และต่อกับน้ำตาลอีก 2 โมเลกุล คือ (L-cladinose และ D-desosamine) ทำให้สารประกอบชนิดนี้ยากต่อการสังเคราะห์เลียนแบบเป็นอย่างมาก ดังนั้น การผลิตยาอีริโธรมัยซินนี้จึงต้องผลิตจากการคัดแยกจากสารผสมที่ได้จากการสันดาปของเชื้อแอคติโนมัยสีท (Actinomycete) ชื่อวิทยาศาสตร์ แซคคาโรโพลีสปอรา อีรีธราอี (''Saccharopolyspora erythraea'') อีริโธรมัยซินเป็นยาอีกหนึ่งชนิดในรายการจำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) ซึ่งเป็นรายการยาที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน (ฺBasic health system) ของแต่ละประเท.

CYP3A4และอิริโทรมัยซิน · คโลนะเซแพมและอิริโทรมัยซิน · ดูเพิ่มเติม »

คลาริโทรมัยซิน

คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะประเภทแมคโคไรด์ หมวดหมู่:แมกโครไลด์.

CYP3A4และคลาริโทรมัยซิน · คลาริโทรมัยซินและคโลนะเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บามาเซพีน

ร์บามาเซพีน (Carbamazepine) หรือชื่อทางการค้าคือ เทเกรทอล (Tegretol) เป็นยาสามัญใช้สำหรับรักษาโรคลมชักและอาการปวดเส้นประสาท แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้รักษาโรคชักเหม่อและกล้ามเนื้อกระตุกรัว นอกจากนี้ ยังถูกใช้ควบคู่กับยาอื่นๆในการรักษาโรคจิตเภทและเป็นยารองในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว ยาคาร์บามาเซพีนมีการทำงานเหมือนกับยาเฟนิโทอินและวาลโปรเอท ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคาร์บามาเซพีนได้แก่คลื่นไส้และง่วง ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ เป็นผื่นคัน, ไขกระดูกลดลง, คิดฆ่าตัวตาย หรือเกิดภาวะสับสน ยาชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคชักเหม่อไม่ควรหยุดใช้ยาชนิดนี้โดยทันที ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ยาชนิดนี้ยังทำให้การได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้ด้วย คาร์บามาเซพีนถูกค้นพบในปี..

CYP3A4และคาร์บามาเซพีน · คาร์บามาเซพีนและคโลนะเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

คีโตโคนาโซล

ีโตโคนาโซล (ketoconazole) เป็นกลุ่มยาต้านเชื้อราในกลุ่มเอโซล (Azole antifungals) ผลิตจากสารสังเคราะห์อนุพันธ์ของอิมิดาโซลไดออกโซโลน (imidazole dioxolone) ในทางการแพทย์ใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยาคีโตโคนาโซล สามารถใช้ได้ทั้งการรับประทานโดยรับประทานพร้อมอาหาร และใช้ทาภายนอกบริเวณที่ติดเชื้อ.

CYP3A4และคีโตโคนาโซล · คีโตโคนาโซลและคโลนะเซแพม · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

CYP3A4และตับ · คโลนะเซแพมและตับ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตีน

3 มิติของไมโอโกลบิน (โปรตีนชนิดหนึ่ง) โปรตีน (protein) เป็นสารประกอบชีวเคมี ซึ่งประกอบด้วยพอลิเพปไทด์หนึ่งสายหรือมากกว่า ที่พับกันเป็นรูปทรงกลมหรือเส้นใย โดยทำหน้าที่อำนวยกระบวนการทางชีววิทยา พอลิเพปไทด์เป็นพอลิเมอร์สายเดี่ยวที่เป็นเส้นตรงของกรดอะมิโนที่เชื่อมเข้ากันด้วยพันธะเพปไทด์ระหว่างหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนของกรดอะมิโนเหลือค้าง (residue) ที่อยู่ติดกัน ลำดับกรดอะมิโนในโปรตีนกำหนดโดยลำดับของยีน ซึ่งเข้ารหัสในรหัสพันธุกรรม โดยทั่วไป รหัสพันธุกรรมประกอบด้วยกรดอะมิโนมาตรฐาน 20 ชนิด อย่างไรก็ดี สิ่งมีชีวิตบางชนิดอาจมีซีลีโนซิสตีอีน และไพร์โรไลซีนในกรณีของสิ่งมีชีวิตโดเมนอาร์เคียบางชนิด ในรหัสพันธุกรรมด้วย ไม่นานหรือระหว่างการสังเคราะห์ สารเหลือค้างในโปรตีนมักมีขั้นปรับแต่งทางเคมีโดยกระบวนการการปรับแต่งหลังทรานสเลชัน (posttranslational modification) ซึ่งเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี การจัดเรียง ความเสถียร กิจกรรม และที่สำคัญที่สุด หน้าที่ของโปรตีนนั้น บางครั้งโปรตีนมีกลุ่มที่มิใช่เพปไทด์ติดอยู่ด้วย ซึ่งสามารถเรียกว่า โปรสทีติกกรุป (prosthetic group) หรือโคแฟกเตอร์ โปรตีนยังสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุหน้าที่บางอย่าง และบ่อยครั้งที่โปรตีนมากกว่าหนึ่งชนิดรวมกันเพื่อสร้างโปรตีนเชิงซ้อนที่มีความเสถียร หนึ่งในลักษณะอันโดดเด่นที่สุดของพอลิเพปไทด์คือความสามารถจัดเรียงเป็นขั้นก้อนกลมได้ ขอบเขตซึ่งโปรตีนพับเข้าไปเป็นโครงสร้างตามนิยามนั้น แตกต่างกันไปมาก ปรตีนบางชนิดพับตัวไปเป็นโครงสร้างแข็งอย่างยิ่งโดยมีการผันแปรเล็กน้อย เป็นแบบที่เรียกว่า โครงสร้างปฐมภูมิ ส่วนโปรตีนชนิดอื่นนั้นมีการจัดเรียงใหม่ขนานใหญ่จากโครงสร้างหนึ่งไปยังอีกโครงสร้างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้มักเกี่ยวข้องกับการส่งต่อสัญญาณ ดังนั้น โครงสร้างโปรตีนจึงเป็นสื่อกลางซึ่งกำหนดหน้าที่ของโปรตีนหรือกิจกรรมของเอนไซม์ โปรตีนทุกชนิดไม่จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการจัดเรียงก่อนทำหน้าที่ เพราะยังมีโปรตีนบางชนิดทำงานในสภาพที่ยังไม่ได้จัดเรียง เช่นเดียวกับโมเลกุลใหญ่ (macromolecules) อื่น ดังเช่น พอลิแซกคาไรด์และกรดนิวคลีอิก โปรตีนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งมีชีวิตและมีส่วนเกี่ยวข้องในแทบทุกกระบวนการในเซลล์ โปรตีนจำนวนมากเป็นเอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมี และสำคัญต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม โปรตีนยังมีหน้าที่ด้านโครงสร้างหรือเชิงกล อาทิ แอกตินและไมโอซินในกล้ามเนื้อและโปรตีนในไซโทสเกเลตอน ซึ่งสร้างเป็นระบบโครงสร้างค้ำจุนรูปร่างของเซลล์ โปรตีนอื่นสำคัญในการส่งสัญญาณของเซลล์ การตอบสนองของภูมิคุ้มกัน การยึดติดกันของเซลล์ และวัฏจักรเซลล์ โปรตีนยังจำเป็นในการกินอาหารของสัตว์ เพราะสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนทั้งหมดตามที่ต้องการได้ และต้องได้รับกรดอะมิโนที่สำคัญจากอาหาร ผ่านกระบวนการย่อยอาหาร สัตว์จะแตกโปรตีนที่ถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนอิสระซึ่งจะถูกใช้ในเมตาบอลิซึมต่อไป โปรตีนอธิบายเป็นครั้งแรกโดยนักเคมีชาวดัตช์ Gerardus Johannes Mulder และถูกตั้งชื่อโดยนักเคมีชาวสวีเดน Jöns Jacob Berzelius ใน..

CYP3A4และโปรตีน · คโลนะเซแพมและโปรตีน · ดูเพิ่มเติม »

ไดแอซิแพม

แอซิแพม (Diazepam) หรือชื่อทางการค้าคือ แวเลียม (Valium) เป็นยาในกลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน มีฤทธิส่งผลให้สงบจิตใจลง ใช้ในการรักษาโรควิตกกังวล, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา, โรคสั่นเพ้อเหตุขาดเบ็นโซไดอาเซพีน, อาการกล้ามเนื้อกระตุก, อาการชัก, โรคนอนไม่หลับ และกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข การใช้ยาชนิดนี้อย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดอาการหลง ๆ ลืม ๆ สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีรับประทาน, สอดใส่เข้าสู่ไส้ตรง, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำ หากใช้วิธีฉีดเข้าหลอดเลือดจะออกฤทธิ์ใน 1 ถึง 5 นาที หากใช้วิธีรับประทาน จะออกฤทธิ์ภายใน 40 นาที อาการข้างเคียงทั่วไปของการใช้ยาไดแอซิแพมได้แก่ ง่วงนอน, มองไม่ชัด ส่วนอาการข้างเคียงระดับรุนแรงซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากนั้น ได้แก่ การฆ่าตัวตาย, หายใจลำบาก หากผู้ป่วยโรคลมชักใช้ยานี้บ่อยเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงจากอาการชัก การใช้ยานี้ในระยะยาวอาจก่อให้เกิดภาวะดื้อยาและเกิดอาการเสพติดยา การเลิกยาในทันทีเป็นอันตรายอย่างมากในผู้ป่วยที่ใช้ยาระยะยาว โดยจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการรู้คิดไปเป็นเวลากว่าครึ่งปี ไดแอซิแพมเป็นหนึ่งในยาที่ถูกสั่งจ่ายมากที่สุดตั้งแต่เริ่มการจ่ายในปี..

CYP3A4และไดแอซิแพม · คโลนะเซแพมและไดแอซิแพม · ดูเพิ่มเติม »

ไซเมทิดีน

ซเมติดีน (Cimetidine) เป็นฮีสตามีน H2-รีเซพเตอร์ แอนตาโกนิสต์ ที่ยับยั้งการผลิตดรดในกระเพาะอาหาร ใช้รักษาอาการฮาร์ตเบิร์น และ แผลในกระเพาะอาหาร ผลิตและจำหน่ายโดยแกลกโซสมิทไคลน์ (GlaxoSmithKline) มีชื่อาทงการค้าว่า ทากาเมท®, (Tagamet&reg) ได้รับการอนุมัติจาก อ.สหรัฐอเมริกา เมื่อ 1 มกราคม, 2522.

CYP3A4และไซเมทิดีน · คโลนะเซแพมและไซเมทิดีน · ดูเพิ่มเติม »

เบ็นโซไดอาเซพีน

รงสร้างทางเคมีของเบ็นโซไดอาเซพีน เบ็นโซไดอาเซพีน (Benzodiazepine) หรือเรียกสั้นๆว่า "เบ็นโซส" เป็นกลุ่มยาในหมวดสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เกิดขึ้นจากการทำพันธะโครงสร้างทางเคมีระหว่างเบนซีนกับไดอาเซพีน ทั้งนี้ในปี..

CYP3A4และเบ็นโซไดอาเซพีน · คโลนะเซแพมและเบ็นโซไดอาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

เฟนิโทอิน

ฟนิโทอิน (Phenytoin) หรือชื่อทางการค้าคือ ไดแลนติน (Dilantin)Drugs.com Page accessed Feb 27, 2016 เป็นยากันชัก ใช้สำหรับป้องกันอาการโคลนัสและการเป็นลมชักอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่ไม่สามารถใช้ป้องกันอาหารชักเหม่อได้ มีแบบรับประทานสำหรับผู้ป่วยทั่วไป แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะชักต่อเนื่อง แพทย์อาจจ่ายยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีนเพื่อบรรเทาอาการชัก หากยังไม่ดีขึ้นจึงจะใช้ยาเฟนิโทอินโดยการฉีด ซึ่งจะออกฤทธิภายใน 30 นาทีและจะคงฤทธิได้นานถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ เฟนิโทอินยังถูกใช้เพื่อรักษาอารหัวใจเต้นผิดจังหวะและความเจ็บปวดทางประสาทอีกด้วย ทั้งนี้ แพทย์อาจวัดความดันเพื่อกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสม ผลข้างเคียงของการใช้เฟนิโทอิน ได้แก่ อาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ไม่อยากอาหาร, มองไม่ชัด, ขนขึ้นเร็ว และเหงือกบวม ผลข้างเคียงแบบรุนแรงได้แก่ ง่วงนอน, ทำร้ายตนเอง, โรคตับ, ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อย, ความดันโลหิตต่ำ และผิวลอก ยาประเภทนี้ห้ามใช้ระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติในทารก แต่ปลอดภัยหากจะใช้ระหว่างภาวะให้นมบุตร เฟนิโทอินถูกสร้างขึ้นในปี..

CYP3A4และเฟนิโทอิน · คโลนะเซแพมและเฟนิโทอิน · ดูเพิ่มเติม »

เกรปฟรูต

กรปฟรูต เป็นไม้ผลกึ่งเขตร้อนในสกุล Citrus ที่เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผล ซึ่งแต่เดิมเคยเรียกว่า ผลไม้ต้องห้ามแห่งบาร์เบโดส ปกติแล้วไม้ไม่ผลัดใบชนิดนี้จะพบว่าสูงประมาณ 5-6 เมตร แต่ความจริงแล้วสามารถสูงได้ถึง 13-15 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม รูปร่างยาว (มากกว่า 15 เซนติเมตร) และผอม ดอกมี 4 กลีบ สีขาว ขนาด 5 เซนติเมตร ผลมีเปลือกสีเหลือง รูปกลมแป้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร เนื้อผลแบ่งเป็นกลีบ สีเหลืองแบบกรด ผลเป็นที่นิยมตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ก่อนหน้านั้นเพียงแต่ปลูกเป็นไม้ประดับ สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ มีสวนอยู่ในฟลอริดา เท็กซัส แอริโซนา และแคลิฟอร์เนีย ในภาษาสเปน ผลไม้ชนิดนี้รู้จักในชื่อว่า Toronja หรือ Pomelo.

CYP3A4และเกรปฟรูต · คโลนะเซแพมและเกรปฟรูต · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

CYP3A4และเมแทบอลิซึม · คโลนะเซแพมและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

CYP3A4และเอนไซม์ · คโลนะเซแพมและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง CYP3A4และคโลนะเซแพม

CYP3A4 มี 116 ความสัมพันธ์ขณะที่ คโลนะเซแพม มี 99 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 24, ดัชนี Jaccard คือ 11.16% = 24 / (116 + 99)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง CYP3A4และคโลนะเซแพม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »