โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแปซิฟิก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง 1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแปซิฟิก

1 พฤศจิกายน vs. มหาสมุทรแปซิฟิก

วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 305 ของปี (วันที่ 306 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 60 วันในปีนั้น. มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง 1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแปซิฟิก

1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแปซิฟิก มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช่องแคบมาเจลลันมหาสมุทรแอตแลนติกแผ่นดินไหวเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

ช่องแคบมาเจลลัน

วเทียมบริเวณช่องแคบมาเจลลัน ช่องแคบมาเจลลัน (Strait of Magellan, Magellanic Strait; Estrecho de Magallanes) เป็นทางเดินเรือที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนใต้ของแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาใต้กับกลุ่มเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก ตั้งชื่อตามชื่อของเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ช่องแคบนี้เป็นทางเชื่อมสำคัญระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวประมาณ 570 กิโลเมตร ส่วนที่แคบที่สุดอยู่บริเวณเกาะการ์โลสที่ 3 ทางด้านตะวันตกของช่องแคบ ซึ่งกว้างเพียง 2 กิโลเมตร เนื่องจากมาเจลลันเดินเรือมาถึงที่นี่ในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันสมโภชนักบุญทั้งหลายพอดี ในตอนแรกเขาจึงตั้งชื่อว่า "ช่องแคบแห่งเหล่านักบุญ" (Strait of All Saints) แต่ต่อมาพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มาเจลลันถวายงานทรงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "ช่องแคบมาเจลลัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ปัจจุบันตลอดช่องแคบมาเจลลันถือเป็นน่านน้ำของชิลี แต่ปากทางด้านแอตแลนติกบางจุดเป็นอาณาเขตของอาร์เจนตินา อย่างไรก็ตาม เรือชาติต่าง ๆ ยังสามารถเดินทางผ่านช่องแคบนี้ได้อย่างเสรี ก่อนที่จะมีการเปิดใช้คลองปานามาซึ่งสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1914 ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางข้ามมหาสมุทรที่สำคัญและปลอดภัยสำหรับเรือกลจักรไอน้ำ แต่ถ้าเป็นเรือใบ เช่น เรือแบบคลิปเปอร์ จะนิยมใช้ช่องแคบเดรกซึ่งอยู่ใต้ลงไปอีก เพราะมีเนื้อที่ให้กลับลำเรือได้กว้างกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ปั่นป่วนและคาดคะเนได้ยาก.

1 พฤศจิกายนและช่องแคบมาเจลลัน · ช่องแคบมาเจลลันและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแอตแลนติก · มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นดินไหว

แผนที่โลกแสดงจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวระหว่างปี พ.ศ. 2506–2541 ทั้งสิ้น 358,214 จุด แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปจะไม่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา เรียกว่า วิทยาแผ่นดินไหว เมื่อจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อยู่นอกชายฝั่ง อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ นอกจากนี้ แผ่นดินไหวยังอาจก่อให้เกิดดินถล่ม และบางครั้งกิจกรรมภูเขาไฟตามมาได้ แผ่นดินไหววัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดซึ่งทั่วโลกรายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่าประมาณ 5 สำหรับแผ่นดินไหวอีกจำนวนมากที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ สองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง ขึ้นอยู่กับความลึก แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มีขนาดมากกว่า 9 เล็กน้อย แม้จะไม่มีขีดจำกัดว่าขนาดจะมีได้ถึงเท่าใด แผ่นดินไหวใหญ่ล่าสุดที่มีขนาด 9.0 หรือมากกว่า คือ แผ่นดินไหวขนาด 9.0 ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 และเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกในญี่ปุ่น ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนวัดโดยมาตราเมร์กัลลีที่ถูกดัดแปลง หากตัวแปรอื่นคงที่ แผ่นดินไหวที่อยู่ตื้นกว่าจะสร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากกว่าแผ่นดินไหวที่อยู่ลึกกว.

1 พฤศจิกายนและแผ่นดินไหว · มหาสมุทรแปซิฟิกและแผ่นดินไหว · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

ฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดือ มากัลไยช์ (Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 5 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง..

1 พฤศจิกายนและเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน · มหาสมุทรแปซิฟิกและเฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง 1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแปซิฟิก

1 พฤศจิกายน มี 82 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาสมุทรแปซิฟิก มี 97 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 2.23% = 4 / (82 + 97)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 1 พฤศจิกายนและมหาสมุทรแปซิฟิก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »