โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

15 กันยายนและประเทศจีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง 15 กันยายนและประเทศจีน

15 กันยายน vs. ประเทศจีน

วันที่ 15 ก.. เป็นวันที่ 258 ของปี (วันที่ 259 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 107 วันในปีนั้น. ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง 15 กันยายนและประเทศจีน

15 กันยายนและประเทศจีน มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2542รถถังสหรัฐสหประชาชาติประเทศไทย

พ.ศ. 2542

ทธศักราช 2542 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1999 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ปีสากลแห่งผู้สูงอายุและเป็นปีมหามงคลในโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ (พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒).

15 กันยายนและพ.ศ. 2542 · ประเทศจีนและพ.ศ. 2542 · ดูเพิ่มเติม »

รถถัง

รถถัง Mark IV รถถัง เป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะติดตีนตะขาบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการรบที่แนวหน้าซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความคล่องตัว การรุก และการป้องกัน อำนาจการยิงของมันมาจากปืนหลักขนาดใหญ่ของมันที่ติดตั้งอยู่บนป้อมส่วนบนที่หมุนได้พรัอมกับมีปืนกลติดตั้งอยู่เพื่อเป็นอาวุธรอง ในขณะที่เกราะขนาดหนักและความสามารถในการเคลื่อนที่ของมันเป็นสิ่งที่คอยปกป้องชีวิตของพลประจำรถ นั่นทำให้มันสามารถทำงานหลักของทหารราบยานเกราะได้ทั้งหมดในสมรภูมิ รถถังเริ่มนำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้งแรกโดยอังกฤษ ได้แก่ Mark IV tank เพื่อใช้มันสนับสนุนทหารราบในการฝ่าทะลุแนวสนามเพลาะ พวกมันถูกใช้ในยุทธการซอมม์ในจำนวนน้อยมาก ในช่วงที่มันถูกสร้างขึ้นมันถูกเรียกว่ายานลำเลียงน้ำเพื่อปกปิดวัตถุประสงค์การใช้งานจริงของมัน คำว่า"แท็งค์" (tank) นั้นมาจากคำว่า "Water tank" ที่แปลว่าถังน้ำ ด้วยวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนทหารราบมันจึงทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การมาของ Mark IV tank ทำให้ฝ่ายเยอรมันพัฒนารถถังของตนเอง ได้แก่ A7V เพื่อตอบโต้ฝ่ายอังกฤษ รถถัง A7V ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกในโลกที่พัฒนารถถังที่ติดตั้งปืนบนป้อมซึ่งหมุนได้ 360 องศาได้แก่ Renault FT และใช้พลรถถังเพียง 2 คน ในการควบคุมรถถัง ต่างจาก Mark IV tank ของอังกฤษที่ต้องใช้พลรถถังถึง 8 คนในการควบคุม และ A7V ของเยอรมนีที่ใช้พลรถถัง 18 คน การพัฒนาในสงครามของมันเกิดขึ้นในสงครามโลกครั้งที่สองทำให้มันเป็นแนวคิดหลักของสงครามยานเกราะซึ่งอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นบทบาทหลักในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้นำรถถังที-34 มาใช้ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในสงครามและเป็นต้นตำรับของรถถังหลัก เยอรมนีใช้การโจมตีสายฟ้าแลบ ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการใช้กองกำลังรถถังเป็นหลักโดยมีปืนใหญ่และการยิงทางอากาศเข้าสนับสนุนเพื่อเจาะทะลุแนวป้องกันของศัตรู ปัจจุบันรถถังนั้นไม่ปฏิบัติการเพียงลำพังนัก พวกมันจะรวมกันเป็นหน่วยซึ่งจะมีทหารราบให้การสนับสนุน ทหารเหล่านั้นจะทำงานร่วมกับรถสายพานลำเลียงพลหรือยานพาหนะต่อสู้ทหารราบ รถถังยังถูกใช้ร่วมกับการสอดแนมหรือการโจมตีภาคพื้นดินทางอากาศอีกด้วย เนื่องมาจากความสามารถและความหลากประโยชน์ของรถถังประจัญบานที่ถูกมองว่าเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพยุคใหม่ อย่างไรก็ตามในสงครามนอกกรอบได้นำข้อสงสัยมาสู่กองพลยานเกราะ ไจโรสโคปถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความเสถียรให้กับปืนใหญ่ ทำให้มันเล็งได้อย่างแม่นยำและยิงได้ในขณะเคลื่อนที่ ปืนรถถังยุคใหม่ยังมีตัวลดความร้อนเพื่อลดการกระจายความร้อนที่เกิดจากการยิง มันจะช่วยลดควันที่เข้าไปในรถถังและบางครั้งก็ลดแรงถีบซึ่งจะเพิ่มความแม่นยำและอัตราการยิงให้มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วการตรวจจับเป้าหมายจะใช้สายตามองเอาผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ อย่างไรก็ตามมีบางครั้งที่ผู้บัญชาการรถถังจะเปิดฝาครอบด้านบนออกเพื่อมองไปรอบๆ ตัว ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อสถานการณ์แต่ก็ทำให้เขาตกเป็นเป้าของพลซุ่มยิงได้ โดยเฉพาะเมื่อยู่ในป่าหรือเมือง แม้ว่าการพัฒนามากมายในการตรวจหาเป้าหมายจะเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ข้อปฏิบัติดังกล่าวก็ยังถูกใช้กันอยู่ ในบางกรณีปืนกลเคียงที่อยู่ข้างปืนใหญ่ก็ถูกใช้เพื่อหาวิถีโค้งและระยะของเป้าหมาย ปืนกลนี้จะถูกติดตั้งบนแกนเดียวกับปืนใหญ่รถถัง และยิงกระสุนไปที่เป้าหมายเดียวกัน พลปืนจะติดตามการเคลื่อนไหวของกระสุนติดตามเมื่อมันพุ่งชนเป้าหมาย และเมื่อมันชนเป้าหมาย มันก็จะปล่อยแสงออกมาพร้อมกับควันหลังจากที่ปืนใหญ่ยิงออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามมันก็มักถูกแทนที่ด้วยเลเซอร์หาระยะแทน รถถังยุคใหม่ยังมีกล้องมองกลางคืนและกล้องจับถวามร้อนเพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานในตอนกลางคืน ในสภาพอากาศที่เลวร้าย และในกลุ่มควัน ความแม่นยำของรถถังยุคใหม่ได้ก้าวไปสู่จุดสูงสุดโดยระบบควบคุมการยิง ระบบนี้ใช้เลเซอร์หาระยะเพื่อระบุความห่างจากเป้าหมาย มันยังมีตัววัดแรงลมและตัวควบคุมความร้อนที่ปากกระบอก การที่เลเซอร์หาระยะสามารถมองหาเป้าหมายสองเป้าได้พร้อมกับทำให้มันสามารถคำนวณการเคลื่อนไหวของเป้าหมายได้ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกรวบรวมเข้ากับการเคลื่อนไหวของรถถังและการเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศเพื่อคำนวณการไต่ระดับและจุดเล็งที่มันจะเข้าชนเป้าหมาย โดยปกติแล้วรถถังจะมีปืนขนาดเล็กกว่าเพื่อป้องกันตัวในระยะใกล้ซึ่งการยิงด้วยปืนใหญ่นั้นจะไร้ประสิทธิภาพ อย่างการจัดการกับทหารราบ ยานพาหนะขนาดเบา หรือเครื่องบิน อาวุธรองมักจะเป็นปืนกลเอนกประสงค์ที่อยู่ข้างปืนใหญ่และปืนกลต่อต้านอากาศยานที่อยู่ด้านบนสุดของป้อมปืน อาวุธเหล่านี้มักถูกดัดแปลงเพื่อใช้โดยทหารราบ และใช้กระสุนที่เหมือนๆ กัน.

15 กันยายนและรถถัง · ประเทศจีนและรถถัง · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

15 กันยายนและสหรัฐ · ประเทศจีนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

15 กันยายนและสหประชาชาติ · ประเทศจีนและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

15 กันยายนและประเทศไทย · ประเทศจีนและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง 15 กันยายนและประเทศจีน

15 กันยายน มี 125 ความสัมพันธ์ขณะที่ ประเทศจีน มี 198 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 1.55% = 5 / (125 + 198)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 15 กันยายนและประเทศจีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »