โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมทเอ็มแอล

ดัชนี แมทเอ็มแอล

แมทเอ็มแอล (MathML: Mathematical Markup Language ภาษามาร์กอัปเชิงคณิตศาสตร์) เป็นการนำภาษาเอกซ์เอ็มแอล มาดัดแปลงให้ใช้กับการเขียนสูตรคณิตศาสตร์บนเว็บ แมทเอ็มแอลเป็นมาตรฐานของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม รุ่นปัจจุบันคือ 2.0 ปัจจุบันเว็บเบราว์เซอร์ที่สนับสนุน MathML คือเว็บเบราว์เซอร์ในตระกูล Mozilla สำหรับ Internet Explorer นั้นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อแสดงผล ด้านโปรแกรมชุดออฟฟิศนั้น ทั้ง Microsoft Word, OpenOffice.org และ KOffice สนับสนุนเป็นอย่างดี รวมถึงโปรแกรมทางคณิตศาสตร์อย่าง Mathematica และ MathType.

9 ความสัมพันธ์: มอซิลลาอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์คณิตศาสตร์โอเพนออฟฟิศดอตอ็อกไมโครซอฟท์ เวิร์ดเวิลด์ไวด์เว็บเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียมเว็บเบราว์เซอร์เอกซ์เอ็มแอล

มอซิลลา

มอซิลลา (Mozilla) เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในหลายความหมายสำหรับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาต่อจาก เน็ตสเคปและซอฟต์แวร์ที่พัฒนาต่อ รวมไปถึง มูลนิธิมอซิลลา (Mozilla Foundation) และ บริษัทมอซิลลา (Mozilla Corporation) ที่จัดการด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งคำว่ามอซิลลานั้นมีการใช้งานในหลายความหมายหลักได้แก.

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและมอซิลลา · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

วินโดวส์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Windows Internet Explorer) (ก่อนนี้เรียกว่า ไมโครซอฟท์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) โดยมีชื่อย่อว่า ไออี (IE) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไออีเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีนิยมคนนิยมใช้มากเป็นตัวหนึ่ง โดยในปี 2545 มีสัดส่วนการใช้งานในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 95% และมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงประมาณ 46% ในปี..

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณิตศาสตร์

ยูคลิด (กำลังถือคาลิเปอร์) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ในสมัย 300 ปีก่อนคริสตกาล ภาพวาดของราฟาเอลในชื่อ ''โรงเรียนแห่งเอเธนส์''No likeness or description of Euclid's physical appearance made during his lifetime survived antiquity. Therefore, Euclid's depiction in works of art depends on the artist's imagination (see ''Euclid''). คณิตศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่มุ่งค้นคว้าเกี่ยวกับ โครงสร้างนามธรรมที่ถูกกำหนดขึ้นผ่านทางกลุ่มของสัจพจน์ซึ่งมีการให้เหตุผลที่แน่นอนโดยใช้ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ และสัญกรณ์คณิตศาสตร์ เรามักนิยามโดยทั่วไปว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบและโครงสร้าง, การเปลี่ยนแปลง และปริภูมิ กล่าวคร่าว ๆ ได้ว่าคณิตศาสตร์นั้นสนใจ "รูปร่างและจำนวน" เนื่องจากคณิตศาสตร์มิได้สร้างความรู้ผ่านกระบวนการทดลอง บางคนจึงไม่จัดว่าคณิตศาสตร์เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์ ในอดีตผู้คนจะใช้สิ่งของแทนจำนวนที่จะนับยิ่งนานเข้าจำนวนประชากรยิ่งมีมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มคิดที่จะประดิษฐ์ตัวเลขขึ้นมาแทนการนับที่ใช้สิ่งของนับแทนจากนั้นก็มีการบวก ลบคูณ และหาร จากนั้นก็ก่อให้เกิดคณิตศาสตร์ คำว่า "คณิตศาสตร์" (คำอ่าน: คะ-นิด-ตะ-สาด) มาจากคำว่า คณิต (การนับ หรือ คำนวณ) และ ศาสตร์ (ความรู้ หรือ การศึกษา) ซึ่งรวมกันมีความหมายโดยทั่วไปว่า การศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ.

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและคณิตศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก

อเพนออฟฟิศดอตอ็อก (OpenOffice.org ย่อว่า OO.o หรือ OOo) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ทำงานบนหลายระบบปฏิบัติการ เผยแพร่ในรูปแบบซอฟต์แวร์เสรี เขียนขึ้นโดยใช้ชุดเครื่องมือส่วนต่อประสานกราฟิกของตัวเอง รองรับรูปแบบโอเพนด็อกคิวเมนต์ (ODF) ซึ่งเป็นมาตรฐานไอเอสโอ/ไออีซีเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้เป็นรูปแบบแฟ้มพื้นฐาน อีกทั้งยังรองรับรูปแบบเอกสารจากไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ และอื่น ๆ กระทั่งเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและโอเพนออฟฟิศดอตอ็อก · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ เวิร์ด

มโครซอฟท์ เวิร์ด เป็นโปรแกรมประมวลคำเพื่อการค้า ออกแบบโดยไมโครซอฟท์ เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและไมโครซอฟท์ เวิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและเวิลด์ไวด์เว็บ · ดูเพิ่มเติม »

เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม

วิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม หรือ ดับเบิลยูทรีซี (World Wide Web Consortium: W3C) คือองค์กรระหว่างประเทศทำหน้าที่จัดระบบมาตรฐานที่ใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW หรือ W3) โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะเป็นแกนนำทางด้านพัฒนาโพรโทคอล และวิธีการใช้งานสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บทั้งหมด นอกจากนี้ทาง W3C มีการบริการทางการศึกษา การพัฒนาซอฟต์แวร์ และเปิดให้ใช้ฟอรัมในการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเว็บ เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม นำโดย ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี.

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มแอล

อกซ์เอ็มแอล (XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน.

ใหม่!!: แมทเอ็มแอลและเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MathML

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »