โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาราม

ดัชนี อาราม

อาราม (monastery) คือสิ่งก่อสร้างหรือกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและที่ทำงานของนักพรต ซึ่งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม หรืออยู่โดดเดี่ยว เช่น ฤๅษี (hermit) ในทางตะวันตก (คริสต์ศาสนา) “อาราม” มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Monastery” ที่มีที่มาจากภาษากรีก “μοναστήριον” - “monasterios” (จากคำว่า “μονάζειν'” - “monazein” ที่แปลว่าอยู่ตามลำพัง) คำว่า “monastērion” ใช้เป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ในบทที่สามของหนังสือ “On The Contemplative Life” เขียนโดยนักปรัชญาชาวยิวชื่อไฟโล ศาสนาและปรัชญาต่าง ๆ ในโลกล้วนมีประเพณีการใช้ชีวิตอารามวาสีที่นักพรตหรือกลุ่มนักพรตที่มีความตั้งใจแน่วแน่ในการใช้ชีวิตเพื่อศาสนามารวมตัวกันเป็นชุมชน และก่อสร้างศาสนสถานและที่พำนักอาศัยที่แยกจากชุมชนของคฤหัสถ์ บริเวณที่เรียกว่าอารามปรากฏในหลายศาสนา เช่น อารามหรือวัดใน พุทธศาสนา คริสต์ศาสนา รวมไปถึงลัทธิขงจื๊อด้วย ในศาสนาเกือบทุกศาสนาชีวิตภายในอารามจะปกครองโดยกฎที่วางขึ้นโดยเฉพาะสำหรับชุมชนของตนโดยเฉพาะ เช่น กฎการสวดมนต์และเวลาสวด, กฎการใช้ชีวิต และอื่น ๆ เช่นกฎว่าด้วยเพศของสมาชิก หรือกฎที่ห้ามการมีภรรยา หรือการห้ามมีสมบัติเป็นของตนเองเป็นต้น นอกจากนั้นกฎที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอารามกับอารามอื่นในกลุ่มเดียวกันหรือนอกกลุ่ม หรือกับชุมชนรอบข้างก็จะแตกต่างกันออกไป บางอารามก็เน้นการอยู่ร่วมกับชุมชนรอบข้างเช่นในการให้การศึกษาหรือบริการการรักษาพยาบาลหรือการสอนศาสนา แต่บางอารามก็เน้นการใช้ชีวิตที่แยกกันอย่างเด็ดขาดจากชุมชน.

20 ความสัมพันธ์: ชีวิตอารามวาสีชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)พระสงฆ์พระเจ้าพิมพิสารฤๅษีลัทธิขงจื๊อวัดวัดบุพพารามวัดเชตวันมหาวิหารวัดเวฬุวันมหาวิหารวิหารอนาถบิณฑิกเศรษฐีคอนแวนต์นักพรตนักพรตหญิงนางวิสาขาแอบบีย์โบสถ์คริสต์ไฟโล

ชีวิตอารามวาสี

อารามเซนต์แคเธอริน เขาไซนายในอียิปต์ ก่อตั้งราวระหว่าง ค.ศ. 527 ถึง ค.ศ. 565 ชีวิตอารามวาสีสมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 27 (monasticism) มาจากภาษากรีก “μοναχός” - “monachos” ที่มีรากมาจากคำว่า “monos” ที่แปลว่า “สันโดษ” หรือ “ผู้เดียว” หมายถึงวิถีชีวิตทางศาสนาที่นักบวชเน้นสละชีวิตทางโลกเพื่ออุทิศตนอย่างเต็มตัวในทางธรรม คำนี้ที่มาจากภาษากรีกโบราณและอาจเกี่ยวกับภิกษุซึ่งเป็นนักพรตในพุทธศาสนา ในคริสต์ศาสนา บุรุษที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่านักพรตหญิง นักพรตทั้งชายและหญิงจะเรียกโดยรวมว่าอารามิกชน (monastics) ศาสนาอื่นต่างก็มีชีวิตอารามวาสีเป็นของตนเองโดยเฉพาะในศาสนาพุทธ และรวมทั้งลัทธิเต๋า ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน แต่รายละเอียดของแต่ละระบบของแต่ละศาสนาหรือแต่ละนิกายก็แตกต่างจากกันมาก.

ใหม่!!: อารามและชีวิตอารามวาสี · ดูเพิ่มเติม »

ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์

รูปเคารพของนักบุญแอนโทนีอธิการผู้ริเริ่มใช้ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ ชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์' (Christian monasticism) เป็นวิถีการปฏิบัติที่เริ่มวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก โดยอาศัยแบบอย่างและอุดมคติจากคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งรวมทั้งพันธสัญญาเดิมด้วย แต่มิได้ระบุไว้อย่างเป็นทางการ จนกระทั่งมีการบัญญัติวินัยของนักบวชขึ้นเช่น วินัยของนักบุญบาซิล วินัยของนักบุญเบเนดิกต์ วินัยของนักบุญออกัสติน ตลอดจนกฎหมายศาสนจักรคาทอลิกซึ่งระบุถึงการใช้ชีวิตอารามวาสี ผู้ที่ใช้ชีวิตอารามวาสีเรียกว่านักพรต (ชาย) และนักพรตหญิง หรือเรียกโดยรวม ๆ ว่าอารามิกชน ในสมัยแรก นักพรตไม่ใด้อาศัยในอาราม แต่เป็นฤๅษีที่อยู่โดดเดี่ยวในป่า เมื่อนักพรตเริ่มมีจำนวนมากขึ้น จึงหันมาอาศัยอยู่ร่วมกัน จนกลายเป็นชุมชนนักพรตในอารามที่ยึดถือการปฏิบัติแบบพรตนิยม.

ใหม่!!: อารามและชีวิตอารามวาสีแบบศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: อารามและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

พระสงฆ์

ระสงฆ์ หมายถึง หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวช ถือวัตร ปฏิบัติ ตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ พระสงฆ์ จัดเป็นหนึ่งในพระรัตนตรัย ซึ่งได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพระสงฆ์ในพระรัตนตรัยหมายถึงเฉพาะพระอริยสงฆ์ คือบุคคลไม่ว่าคฤหัสถ์หรือนักบวช และไม่ว่ามนุษย์หรือเทวดา ที่ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุมรรคผล แต่โดยทั่วไปมักเข้าใจว่าพระสงฆ์คือภิกษุหรือภิกษุณี คือมนุษย์ที่ได้ฟังคำสั่งสอนแล้วเกิดความเลื่อมใสจนสละเรือนออกบวชตามพระพุทธเจ้า เพราะต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าสั่งสอนไว้ ถือเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระภิกษุปฏิบัติตามสิกขาบทที่กำหนดไว้จำนวน 227 ข้อ ส่วนพระภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ บางครั้งเรียกว่าสงฆ์ ภิกษุรูปแรกในพระศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าคือพระอัญญาโกณฑัญญ.

ใหม่!!: อารามและพระสงฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพิมพิสาร

กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ. 53) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี มีพระอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระโคตมพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหรทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิสนพระทัยต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกรมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ "ชนวสภะ" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายทั่วแคว้นม.

ใหม่!!: อารามและพระเจ้าพิมพิสาร · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษี

วนฤๅษีผู้เลื่องชื่อในเทพปกรณัมฮินดู ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก "ฤษิก" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน ฤษี อาจหมายถึงมุนี (muni) ฤษี อีกความหมายหนึ่งคือ ฤษีเพศชาย ส่วน "ฤษิณี" หมายถึง ฤษีเพศหญิง ฤษีที่มีชื่อเสียงชื่อ ฤษี วยาส ผู้สร้างโศลกเรื่องมหากาพย์ภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่มีจำนวนโศลกมากจำนวนประมาณถึง 1 แสนโศลก ตำนานเล่าว่า ฤๅษีเวทวฺยาส หรือ กฤษฺณ ไทฺวปายน เป็นปู่ของสองพี่น้องตระกูลเการพและปาณฑพ และเป็นเหลนใหญ่ของท้าวภรต คัมภีร์โบราณของฮินดูระบุไว้ว่า ท้าวภรต (ภะ-ระ-ตะ) ผู้นี้เป็นโอรสท้าวทุษยันต์ อันเกิดจากนางศกุนตล.

ใหม่!!: อารามและฤๅษี · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: อารามและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ใหม่!!: อารามและวัด · ดูเพิ่มเติม »

วัดบุพพาราม

วัดบุพพารามมหาวิหาร เป็นพระวิหารที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิหารเชตวัน ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวงเป็นผู้สร้างถวาย โดยขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่ามหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องอาภรณ์งามวิจิตประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการมีค่ามากถึง 90 ล้านกหาปนะ และได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้มีบุญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 3 คน คือ นางวิสาขา พระนางมัลลิกา และลูกเศรษฐี ณ พาราณาสี นางวิสาขานำมาสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี โดยมีพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายเป็นนวกัมมาธฏฐายี พระพุทธองค์เสด็จมาจำพรรษาที่วัดบุพพารามเป็นเวลา 6 พรรษ.

ใหม่!!: อารามและวัดบุพพาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดเชตวันมหาวิหาร

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: อารามและวัดเชตวันมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเวฬุวันมหาวิหาร

กลุ่มป่าไผ่ร่มรื่น ในกลุ่มโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร วัดเวฬุวันมหาวิหาร หรือ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เป็นอาราม (วัด) แห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขาเวภารบรรพต บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวดีซึ่งมีตโปธาราม (บ่อน้ำร้อนโบราณ) คั่นอยู่ระหว่างกลาง นอกเขตกำแพงเมืองเก่าราชคฤห์ (อดีตเมืองหลวงของแคว้นมคธ) รัฐพิหาร ประเทศอินเดียในปัจจุบัน (หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล) คำว่า เวฬุวัน แปลว่าสวนไผ่ เดิมอารามแห่งนี้เป็นพระราชอุทยานของพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แคว้นมคธ ตั้งอยู่นอกเมืองราชคฤห์ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยข้าราชบริพารเข้าไปเฝ้า หลังจากทรงสดับธรรมแล้วทรงเลื่อมใสจึงถวายสวนเวฬุวันเป็นพุทธบูชา ด้วยทรงเห็นว่าเป็นที่สงบร่มรื่น เหมาะสำหรับอยู่บำเพ็ญธรรมของพระสงฆ์ ถือกันต่อมาว่าสถานที่นี้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เรียกว่า วัดเวฬุวันมหาวิหาร นอกจากนี้วัดนี้ยังเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสาวกจำนวน 1,250 รูป แล้วส่งไปเป็นพระธรรมทูตประกาศพระศาสนา อันเป็นที่มาของวันมาฆบูชา วัดเวฬุวันมหาวิหาร ปัจจุบันยังคงอยู่ เป็นซากโบราณสถานในสวนไผ่ที่ร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ภายใน มีรั้วรอบด้าน อยู่ในความดูแลของทางราชการอินเดี.

ใหม่!!: อารามและวัดเวฬุวันมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วิหาร

วิหาร คืออาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ แต่ไม่มีวิสุงคามเหมือนพระอุโบสถ คำว่า วิหาร แต่เดิมใช้ในความหมายว่า วัด เช่นเดียวกับคำว่า อาราม อาวาส เช่น เวฬุวัน วิหาร เชตวันมหาวิหาร วิหารมีหลายแบบ เช่น.

ใหม่!!: อารามและวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อนาถบิณฑิกเศรษฐี

อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เป็นชาวสาวัตถีในสมัยพุทธกาล มีชีวิตร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า เดิมท่านมีนามว่าสุทัตตะเศรษฐี เกิดในตระกูลของสุมนะเศรษฐีผู้เป็นบิดา ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก (แปลตามศัพท์ว่า เศรษฐีผู้มีก้อนข้าวให้กับคนยากจน) อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปค้าขายและได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์จนบรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านจึงมีศรัทธาสร้างวัดเชตวันมหาวิหารถวายแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเงินจำนวนมาก ท่านได้เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์อย่างดีมาก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่วัดพระเชตวันที่ท่านสร้างมากกว่าที่ประทับใด ๆ ถึง 19 พรรษา เรื่องราวของอนาถบิณฑิกเศรษฐี มีปรากฏมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องราวที่แสดงถึงความศรัทธา ความมีสติปัญญา และความเอาใจใส่ในการบำรุงพระพุทธศาสนา ทำให้ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็น อุบาสกผู้เลิศในการเป็นผู้ถวายทาน (เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก) ไฟล์:Anathapindikastupa1.jpg|อนาถบิณฑิกสถูป ซากบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีภายในเมืองสาวัตถี.

ใหม่!!: อารามและอนาถบิณฑิกเศรษฐี · ดูเพิ่มเติม »

คอนแวนต์

อนแวนต์ Beguine ในกรุงอัมสเตอร์ดัม คอนแวนต์ (convent) คือชุมชนของบาทหลวง นักพรตหญิง ภราดา หรือภคินี หรืออาจหมายถึงตัวอาคารที่ชุมชนนักบวชเหล่านี้ใช้พักอาศัย พบได้ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิกและแองกลิคันคอมมิวเนียน ในปัจจุบันคำว่าคอนแวนต์มักใช้หมายถึงเฉพาะชุมชนนักบวชหญิง ขณะที่อาราม ไพรออรี หรือไฟรอารี จะใช้กับชุมชนนักบวชชาย แต่ในอดีตคำเหล่านี้มักใช้แทนกันได้ ในทางเทคนิค คำว่า "อาราม" จะหมายถึงชุมชนนักพรต ขณะที่ "คอนแวนต์" คือชุมชนของนักบวชภิกขาจาร (ถ้าเป็นของไฟรเออร์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า "ไฟรอารี") ส่วน "แคนันรี" คือชุมชนแคนันที่สังกัดคณะนักบวช คำว่า "แอบบีย์" และ "ไพรออรี" คืออารามและแคนันรีนั่นเอง แต่ต่างกันที่แอบบีย์มีคุณพ่ออธิการเป็นหัวหน้า แต่ไพรออรีเป็นสำนักที่มิอิสระน้อยกว่าและปกครองโดยไพรเออร.

ใหม่!!: อารามและคอนแวนต์ · ดูเพิ่มเติม »

นักพรต

นักพรต (monk)กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131 คือผู้บำเพ็ญพรต หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: อารามและนักพรต · ดูเพิ่มเติม »

นักพรตหญิง

นจักรออร์โธดอกซ์ นักพรตหญิง (nun) คือสตรีที่ปฏิญาณอุทิศตนใช้ชีวิตเพื่อศาสนา อาจจะถือวัตรคล้ายนักพรตที่เลือกสละทางโลกแล้วหันไปใช้ชีวิตกับการอธิษฐานและการเพ่งพินิจ อาศัยในอารามหรือคอนแวนต์ "นักพรตหญิง" พบได้ทั้งในศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ (ทั้งในคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน) ศาสนาเชน และศาสนาเต๋า ในศาสนาคริสต์คำว่า "นักพรตหญิง" และ "ภคินี" ใช้แทนหรือสลับกันได้เพราะถือว่ามีความหมายเดียวกัน แต่ในบางกรณีก็ถูกจำแนกให้ต่างกันว่านักพรตหญิงคือนักบวชหญิงที่ใช้ชีวิตเป็นนักพรต อยู่แต่ภายในเขตพรต เน้นการเพ่งพินิจ การอธิษฐาน และการรำพึงธรรม ขณะที่ภคินีเป็นนักบวชหญิงที่เน้นนการอธิษฐาน การบริการผู้ยากไร้ เจ็บป่วย ยากจน และขาดการศึกษ.

ใหม่!!: อารามและนักพรตหญิง · ดูเพิ่มเติม »

นางวิสาขา

นางวิสาขา เป็นสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้บรรลุโสดาบันตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ เป็นผู้สร้างวัดบุพพาราม เป็นผู้ริเริ่มถวายผ้าอาบน้ำฝน และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นเอตทัคคะฝ่ายทายิก.

ใหม่!!: อารามและนางวิสาขา · ดูเพิ่มเติม »

แอบบีย์

“แอบบีย์คลูนี” ในประเทศฝรั่งเศส แอบบีย์ (Abbey) คืออารามหรือคอนแวนต์ในนิกายโรมันคาทอลิก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอธิการอาราม (Abbot) หรืออธิการิณีอาราม (Abbess) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพ่อหรือแม่ฝ่ายจิตวิญญาณของเหล่านักพรตที่อาศัยในแอบบีย์ “แอบบีย์” เดิมมาจาก “abbatia” ในภาษาละติน (ซึ่งแผลงจากคำ “abba” ในภาษาซีเรียค ที่แปลว่า “พ่อ”) คำว่า “แอบบีย์” อาจจะหมายถึงคริสต์ศาสนสถานที่ในปัจจุบันไม่มีฐานะเป็นแอบบีแล้ว แต่ยังคงใช้ชื่ออยู่ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ต่อมาเป็นเวลาหลายร้อยปี เช่น แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือใช้เรียกคฤหาสน์ชนบท หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เดิมเป็นแอบบี แต่มาเปลี่ยนมือเป็นของคฤหัสถ์หลังจากการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบอารามโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่น มิสเซนเดนแอบบีย์ (Missenden Abbey).

ใหม่!!: อารามและแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์คริสต์

อารามเอททัล โบสถ์แบบฟื้นฟูคลาสสิกเซนต์นิโคโลที่เมืองมองทู โรโร ประเทศอิตาลี มหาวิหารแฮรฟอร์ด, อังกฤษ ด้านหน้ามหาวิหารปิซา, อิตาลี โบสถ์น้อยที่ Malsch ประเทศเยอรมนี แท่นบูชาภายในคูหาสวดมนต์ มหาวิหารอาเคิน ประเทศเยอรมนี ภายในโบสถ์น้อยแม่พระในมหาวิหารกลอสเตอร์, อังกฤษ อนุสาวรีย์พระตรีเอกภาพที่ประเทศสโลเวเนีย หอล้างบาปที่ปิซา อิตาลี สักการสถานริมทางในประเทศโปแลนด์ โบสถ์คริสต์ หมายถึง ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: อารามและโบสถ์คริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟโล

ฟโลแห่งอะเล็กซานเดรีย หรือ ไฟโล จูเดียอัส (กรีก: Φίλων, Philōn) นักปรัชญาชาวยิวเกิดในอะเล็กซานเดรีย ไฟโลได้ใช้สัญลักษณ์ทางปรัชญาในการหลอมรวมปรัชญากรีกกับปรัชญายิว ไว้ด้วยกัน วิธีที่เขาใช้คือการปฏิบัติตามแนวของ ลัทธิสโตอิก โดยไม่ทิ้งแนวทางตามคัมภีร์ของชาวยิว อรรถกถาเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์ ของเขาถูกวิจารณ์อย่างมากจากปิตาจารย์แห่งคริสตจักร และเขาไม่เป็นที่ยอมรับเลยในศาสนายูดาห์ เขาเชื่อว่าการแปลความคัมภีร์ฮีบรูตามตัวอักษรนั้นปิดกั้นทัศนคติอันหลากหลายของมนุษย์ และการแสดงการรับรู้เรื่องของพระเจ้าที่พระคัมภีร์กล่าวถึงนั้นดูน่าพิศวงและซับซ้อนเกินไป สำหรับไฟโลแล้ว โลกอส (Logos) เป็นพิมพ์เขียวสำหรับโลก และเป็นรูปแบบการจัดการของพระเจ้า นักวิชาการบางคนให้ความเห็นว่าถ้อยคำทางปรัชญาของเขาเป็นแรงผลักดัน ให้เกิดการประมวลถ้อยคำเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ของพระเจ้าในช่วงต้นของคริสเตียน.

ใหม่!!: อารามและไฟโล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Monasteryที่พักสงฆ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »