โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

ดัชนี หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (Andaman and Nicobar Islands; अंडमान और निकोबार द्वीपसमूह; আন্দামান ও নিকোবর দ্বীপপুঞ্জ; அந்தமான் நிக்கோபார் தீவுகள்; అండమాన్ నికోబార్ దీవులు) เป็นหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่มีเกาะรวมกันทั้งหมด 572 เกาะ ตั้งอยู่ในบริเวณอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ในบรรดาเกาะทั้งหมดมีเพียง 38 เกาะเท่านั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ราว 350,000 คน มีเนื้อที่ประมาณ 8,293 ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 92 ของพื้นที่ปกคลุมไปด้วยป่าฝนหนาทึบ โดยมีเกาะนิโคบาร์ใหญ่เป็นศูนย์กลางทางใต้ และมีเกาะอันดามันเป็นศูนย์กลางทางตอนเหนือ และเป็นที่ตั้งของเมืองพอร์ตแบลร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของดินแดนสหภาพ เมืองพอร์ตแบลร์ตั้งอยู่ทางด้านชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะอันดามัน และเมืองพอร์ตแบลร์อยู่ห่างจากเกาะภูเก็ตประมาณ 450 กิโลเมตร ห่างจากเมืองเจนไน 1,190 กิโลเมตร และห่างจากเมืองโกลกาตาราว 1,255 กิโลเมตร หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ทางการอินเดียได้จัดให้หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เป็นดินแดนสหภาพแห่งหนึ่ง ปัจจุบันอินเดียยังได้ให้ความสำคัญแก่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของกองทัพเรืออินเดียอีกด้ว.

16 ความสัมพันธ์: พอร์ตแบลร์ภาษามาลายาลัมภาษาอังกฤษภาษาฮินดีภาษาทมิฬภาษาเบงกาลีภาษาเตลูกูอินเดียตะวันออกอ่าวเบงกอลจังหวัดภูเก็ตทะเลอันดามันดัชนีการพัฒนามนุษย์ประเทศอินเดียโกลกาตาเจนไนISO 3166-2:IN

พอร์ตแบลร์

อร์ตแบลร์ (Port Blair) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสภาเทศบาลในเขตอันดามันของหมู่เกาะอันดามัน และเป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ซึ่งเป็นดินแดนสหภาพของอินเดีย เมืองตั้งอยู่บนชายฝั่งทางทิศตะวันออกของเกาะเซาต์อันดามัน และเป็นทางเข้าสำคัญสู่หมู่เก.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และพอร์ตแบลร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามาลายาลัม

ษามาลายาลัมเป็นภาษาราชการของรัฐเกราลาทางภาคใต้ของอินเดีย มีผู้พูดประมาณ 36 ล้านคน และมีผู้พูดในเกาะลักษทวีปด้วย จัดอยู่ในภาษาตระกูลดราวิเดียน ใกล้เคียงกับภาษาทมิฬ เขียนด้วยอักษรมาลายาลัม ภาษามาลายาลัมจัดอยู่ในกลุ่มดราวิเดียนใต้ คาดว่ามีกำเนิดร่วมกับภาษาทมิฬเมื่อราว..

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และภาษามาลายาลัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮินดี

ษาฮินดีเป็นภาษาที่พูด ส่วนใหญ่ในประเทศอินเดียเหนือและกลาง เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน อยู่ในกลุ่มย่อย อินโด-อิหร่าน มีวิวัฒนาการมาจากภาษาปรากฤต ในสาขาอินโด-อารยันกลาง ของยุคกลาง และมีวิวัฒนาการทางอ้อมจากภาษาสันสกฤต ภาษาฮินดีได้นำคำศัพท์ชั้นสูงส่วนใหญ่มาจากภาษาสันสกฤต นอกจากนี้ เนื่องจากอิทธิพลของชาวมุสลิมในอินเดียเหนือ ภาษาฮินดียังมีคำที่ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และ ภาษาตุรกี เป็นจำนวนมาก และในที่สุดได้ก่อให้เกิดภาษาอูรดูขึ้น สำหรับภาษา"ฮินดีมาตรฐาน" หรือ "ฮินดีแท้" นั้น มีใช้เฉพะการสื่อสารที่เป็นทางการ ขณะที่ภาษาซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนใหญ่นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในภาษาถิ่นย่อย ของภาษาฮินดูสตานี ในแง่ความสัมพันธ์ทางภาษาศาสตร์นั้น ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ถือว่าเป็นภาษาเดียวกัน แตกต่างตรงที่ ภาษาฮินดีนั้นเขียนด้วยอักษรเทวนาครี (Devanāgarī) ขณะที่ภาษาอูรดูนั้น เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและอาหรั.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และภาษาฮินดี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาทมิฬ

ษาทมิฬ (தமிழ்) เป็นหนึ่งใน ตระกูลภาษาดราวิเดียน เป็นหนึ่งในภาษาคลาสสิกของโลก วรรณกรรมภาษาทมิฬได้มีมาเป็นเวลา 2,500 ปีแล้ว และเป็นภาษาคลาสสิกภาษาแรกที่มีพัฒนาการเขียนแบบเฉพาะสำหรับบทกวี เสียง "l" ในคำว่า "Tamil" ออกเสียง "คล้าย" กับ "ร" กล่าวคือ ออกเสียงโดยให้ปลายลิ้นส่วนล่างติดกับเพดานปาก และมักจะเขียนเป็น "zh" ในอักษรโรมัน (ตรงกับเสียง j ในภาษาฝรั่งเศส ส่วนภาษาไทยไม่มีเสียงที่เทียบได้ตรง) เชื่อว่าอักษร 'ழ' ซึ่งพบใน 'தமிழ்' (ทมิฬ) มีการออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่พบในภาษาอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ อักษรทมิฬ.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และภาษาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเบงกาลี

ษาเบงกาลี (বাংলা, บังคลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังคลาเทศ และรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย ที่ติดกับบังคลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังคลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกาลี ในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกาลีเองเรียกภาษาว่า Bangla: บังคลา (বাঙলা), ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาบังคลา ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางกาลี (বাংলা) ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกาลีเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bongo: บองโก Banga: บางกา หรือ Bangla: บังคลา ในภาษาเบงกาลี "Bangadesh: บางกาเทศ" และ "Bangladesh: บังคลาเทศ" เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bongo: ปอจิม บองโก หรือ ประจิมบังกา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bongo: ปูร์โบ บองโก หรือ บูรพาบังกา) กลายเป็นประเทศบังคลาเทศ เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกาลีมากกว่า250ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อ เดือนกันยายน..

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และภาษาเบงกาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเตลูกู

ษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นตระกูลภาษาดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลูกู ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และภาษาเตลูกู · ดูเพิ่มเติม »

อินเดียตะวันออก

งประเทศที่รวมอยู่ในอินเดียตะวันตก อินเดียตะวันออก, อีสต์อินดีส หรือ อินดีส (East Indies หรือ Indies) เป็นคำที่ใช้บรรยายดินแดนที่รวมทั้งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Oxford Dictionary of English 2e, Oxford University Press, 2003, East Indies/East India ที่เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, พม่า, ศรีลังกา, มัลดีฟส์ และรวมทั้งไทย, กัมพูชา, ลาว, บรูไน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ติมอร์-เลสเต, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในความหมายที่จำกัดอินดีสหมายถึงหมู่เกาะทางตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียโดยเฉพาะหมู่เกาะมลายูOxford Dictionary of English 2e, Oxford University Press, 2003, "East Indies/East India" อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ในบริเวณนี้เรียกว่าหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ก่อนที่จะมาเป็นอินโดนีเซีย อินเดียตะวันออก (East Indies) อาจจะรวมอินโดจีน, หมู่เกาะฟิลิปปินส์, บรูไน, สิงคโปร์ และติมอร์-เลสเต แต่จะไม่รวมนิวกินีตะวันตก (ปาปัวตะวันตก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมลานีเซีย ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในอินเดียตะวันออกบางครั้งก็เรียกว่า "ชาวอินเดียตะวันออก" เพื่อให้แตกต่างจากผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเอเชียใต้, แคริบเบียน (ที่เรียกว่า “ชาวอินเดียตะวันตก”) และจากผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในทวีปอเมริกาที่เรียกว่า "ชาวอเมริกันอินเดียน" (แต่ในอเมริกาเหนือคำว่า "ชาวอินเดียตะวันออก" อาจจะหมายถึงผู้ที่มาจากอินเดียที่อยู่ในอเมริกาเหนือ) ชาวอินเดียตะวันออกมาจากหลายวัฒนธรรม หลายชาติพันธุ์ และหลายศาสนาที่ส่วนใหญ่รวมทั้งศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ศาสนาของชนกลุ่มน้อยก็ได้แก่ศาสนาคริสต์, ศาสนาซิกข์, ศาสนาเชน และความเชื่ออื่น ๆ ในบางบริเวณ นอกจากนั้นภาษาที่พูดก็มาจากหลายตระกูล.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และอินเดียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวเบงกอล

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งอ่าวเบงกอล เรือประมงในอ่าวเบงกอล เกาะเซนต์มาร์ติน อ่าวเบงกอล ชายหาดมารีนา เจนไน อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรอินเดีย มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของเกาะสุมาตรา อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณา และแม่น้ำกาเวรี เมืองท่าสำคัญของอ่าวเบงกอล ได้แก่ กัททะลูร์ เจนไน กากีนาทะ มะจิลีปัตนัม วิศาขปัตนัม พาราทิพ โกลกาตา จิตตะกอง และย่างกุ้ง.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และอ่าวเบงกอล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดภูเก็ต

ูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ คำว่า ภูเก็ต คาดว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า บูกิต (ในภาษามลายูแปลว่าภูเขา) และคำว่า "ภูเขา" ในภาษาอุรักลาโว้ย เรียกว่า "บูเก๊ะ" หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และจังหวัดภูเก็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ดัชนีการพัฒนามนุษย์

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) คือดัชนีทางสถิติแบบองค์รวมที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัว ซึ่งใช้จัดลำดับการพัฒนามนุษย์ในแต่ละประเทศเป็น 4 กลุ่ม ยิ่งประเทศใดมีระดับการคาดหมายคงชีพ การศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อหัวมาก ก็จะยิ่งส่งผลให้ระดับการพัฒนามนุษย์มากตามไปด้วย ทั้งนี้ดัชนีดังกล่าวถูกพัฒนาโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถาน มาห์บับ อุล ฮัก ร่วมกับนักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดีย อมรรตยะ เสน ซึ่งได้วางกรอบการศึกษาไว้ว่าผู้คนสามารถที่จะ "เป็น" หรือ "กระทำ" สิ่งที่ตนปรารถนาในชีวิตได้หรือไม่ และเผยแพร่รายงานการศึกษาโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี..

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และดัชนีการพัฒนามนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

โกลกาตา

นนสายหนึ่งในเมืองโกลกาตา หอสมุดแห่งชาติในเมืองโกลกาตา โกลกาตา (Kolkata; কলকাতা) หรือชื่อเดิม กัลกัตตา (Calcutta) เป็นเมืองหลวงของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำฮูคลี ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เมืองนี้มีจำนวนประชากร 4,580,544 คน (พ.ศ. 2544) ซึ่งหากนับรวมในเขตเมืองรอบนอกด้วยก็จะมีจำนวนมากกว่า 14 ล้านคน ทำให้เมืองนี้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ โกลกาตาเคยเป็นเมืองหลวงของอินเดียในสมัยการปกครองของอังกฤษ จึงทำให้เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาสมัยใหม่ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และการเมือง (จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการย้ายเมืองหลวงไปนิวเดลี) โดยถือเป็นเมืองหนึ่งที่มีระบบระบายน้ำเก่าแก่ที่สุดในโลก ด้วยมีอายุกว่า 150 ปี อย่างไรก็ตาม โกลกาตาประสบกับภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจเป็นเวลานานติดต่อกันหลายปีหลังจากอินเดียได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2490 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา การฟื้นฟูและการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้นำไปสู่ความเจริญเติบโตของเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เช่นเดียวกับเมืองใหญ่แห่งอื่น ๆ ในอินเดีย โกลกาตาต้องเผชิญกับปัญหาเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความยากจน ปัญหามลภาวะ ปัญหาการจราจรติดขัด เป็นต้น นอกจากนี้ โกลกาตายังมีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ตั้งแต่การเรียกร้องเอกราชของอินเดีย ไปจนถึงขบวนการฝ่ายซ้ายและสหภาพการค้าต่าง ๆ อีกด้วย เป็นไปได้ว่าชื่อโกลกาตาและ "กัลกัตตา" นั้นอาจจะมาจาก กาลิกาตา ซึ่งเป็นหนึ่งในหมู่บ้านสามแห่ง (กาลิกาตา สุตนุติ และโคพินทปุระ) ในพื้นที่แถบนี้ก่อนการเข้ามาของอังกฤษ ซึ่งสันนิษฐานว่า "กาลิกาตา" นั้นเป็นรูปในภาษาอังกฤษของคำว่า กาลีเกษตร ("ดินแดนของพระแม่กาลี") หรือมาจากคำในภาษาเบงกาลีว่า กิกิลา ("ที่ราบ") หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำพื้นเมืองที่ใช้เรียกชื่อคลองธรรมชาติสายหนึ่ง คือ คาล ตามด้วย กัตตา แม้ว่าในภาษาเบงกาลีซึ่งเป็นภาษาของท้องถิ่นจะเรียกชื่อเมืองนี้ว่า "โกลกาตา" มาตลอด แต่ชื่อภาษาอังกฤษของเมืองก็เพิ่งถูกเปลี่ยนจาก "กัลกัตตา" เป็น "โกลกาตา" ตามการออกเสียงในภาษาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2544 นี้เอง บางคนมองว่านี่เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวเพื่อลบล้างสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดจากการปกครองของอังกฤษ.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และโกลกาตา · ดูเพิ่มเติม »

เจนไน

แผนที่แสดงที่ตั้งเมืองเจนไน (เมืองในเขตสีแดงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของรัฐ) สถานีรถไฟกลางเจนไน เจนไน (Chennai; சென்னை) หรือชื่อเดิม มัทราส (Madras) เป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมชายฝั่งโคโรมันเดล (โจฬมณฑล) ของอ่าวเบงกอล ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีพื้นที่ 181.06 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (พ.ศ. 2550) จึงทำให้เป็นกลุ่มเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ เจนไนตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยชาวอังกฤษซึ่งได้พัฒนาเมืองนี้ให้เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็กลายเป็นศูนย์กลางการบริหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในฐานะเมืองหลวงของเขตมัทราส (Madras Presidency) เศรษฐกิจของเมืองเจนไน ได้แก่ การผลิตรถยนต์ เทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผู้ส่งออกซอฟต์แวร์และบริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศรายใหญ่อันดับที่ 3 ของประเทศรองจากบังคาลอร์และไฮเดอราบาด มีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่ง และท่าเรือหลักอีก 2 แห่ง เชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศด้วยทางหลวงแผ่นดินสายหลัก 5 สาย และสถานีขนส่งทางรถไฟอีก 2 แห่ง เจนไนเป็นที่จัดงานฤดูกาลดนตรีมัทราส (Madras Music Season) กิจกรรมทางวัฒนธรรมประจำปีซึ่งมีการแสดงจากศิลปินหลายร้อยคน เป็นศูนย์กลางสำคัญของนาฏฺศิลป์ชั้นสูงประเภทหนึ่งของอินเดีย คือ ภารตนาฏยัม อุตสาหกรรมภาพยนตร์ภาษาทมิฬซึ่งเรียกว่า คอลลีวูด (Kollywood) มีฐานการผลิตอยู่ในเมืองนี้ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเจนไนโอเพนของสมาคมเทนนิสอาชีพ (ATP) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ก็ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ การจราจรติดขัด และมลพิษทางอาก.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และเจนไน · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:IN

ISO 3166-2:LA เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศอินเดีย ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 28 รัฐ และ 7 ดินแดนสหภาพ; หมายเหต.

ใหม่!!: หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์และISO 3166-2:IN · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »