โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาอีโดไมต์

ดัชนี ภาษาอีโดไมต์

ษาอีโดไมต์เป็นภาษากลุ่มฮีบรู-คานาอันไนต์ที่ตายแล้ว เคยใช้พูดทางตะวันตกเฉียงใต้ในจอร์แดน เมื่อ 457 ปีก่อนพุทธศักราช ในช่วงแรกเขียนด้วยอักษรคานาอันไนต์ ต่อมาช่วง 57 ปีก่อนพุทธศักราชเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรอราเมอิก และเริ่มมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ในคัมภีร์ไบเบิล “อีดอม” เป็นชื่อหนึ่งของเอซาว ซึ่งเป็นลูกหลานของอีเบอร์ผ่านทางอับราฮัม ชาวอีโดไมต์ได้รับการยอมรับว่าเป็นชาวยิวเช่นเดียวกับชาวมัวไบต์และชาวอัมโมไนต์ ภาษาของพวกเขาจึงอาจเรียกว่าภาษาฮีบรูได้ด้ว.

12 ความสัมพันธ์: ชาวยิวกลุ่มภาษาเซมิติกกลุ่มภาษาเซมิติกกลางกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือภาษาอาหรับภาษาฮีบรูอับราฮัมอักษรคานาอันไนต์อักษรแอราเมอิกคัมภีร์ไบเบิลประเทศจอร์แดน

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติก

หมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจะงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย กลุ่มภาษาเซมิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมฮารา (27 ล้านคน) ภาษาตึกรึญญา (6.9 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน) กลุ่มภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มภาษาแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนกลุ่มภาษาเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชีย อักษรอาหรับ อักษรแอราเมอิก อักษรซีรีแอก อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นกลุ่มภาษานี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของกลุ่มภาษานี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และกลุ่มภาษาเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง

กลุ่มภาษาเซมิติกกลาง เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยภาษาอาหรับและกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (รวม ภาษาคานาอันไนต์ ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก และภาษายูการิติก)ในบางครั้ง ในกลุ่มนี้ ยังแบ่งเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลางใต้ (รวมภาษาอาหรับและภาษาฮีบรู) กับภาษาอราเมอิก การแบ่งแยกระหว่างภาษาอาหรับกับกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือคือการสร้างรูปพหูพจน์ ภาษาอาหรับสร้างโดยการแทรกสระ ส่วนกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือสร้างด้วยปัจจัย เช่น.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก (West Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและได้รับการสนับสนุนจาก Robert Hetzron และ John Huehnergard ผู้เชี่ยวชาญด้านกลุ่มภาษาเซมิติก ซึ่งแบ่งกลุ่มภาษาเซมิติกออกเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันออกและตะวันตก กลุ่มตะวันออกประกอบด้วยภาษาเอ็บลาไอต์ และภาษาอัคคาเดีย ส่วนกลุ่มตะวันตกเป็นกลุ่มใหญ่ของกลุ่มภาษาเซมิติก ประกอบด้วยกลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มเอธิโฮปิก กลุ่มอาระเบียใต้ ภาษาอาหรับ และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (ภาษายูการิติก ภาษาฮีบรู ภาษาอราเมอิก) กลุ่มภาษาเอธิโอปิกและอาระเบียใต้ มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก บางครั้งรวมกันเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกใต้ การจัดตำแหน่งของภาษาอาหรับภายในกลุ่มเซมิติกยังสับสน บางครั้งจัดให้อยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางครั้งรวมกับกลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง หมวดหมู่:กลุ่มภาษาเซมิติก.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ

กลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest Semitic languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก มีผู้พูดประมาณ 8 ล้านคนในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 สาขา คือ ภาษายูการิติก (ตายแล้ว) ภาษาคานาอันไนต์ (รวมภาษาฮีบรู) และภาษาอราเมอิก บางครั้งรวมกลุ่มภาษานี้เข้ากับภาษาอาหรับแล้วจัดเป็นกลุ่มภาษาเซมิติกกลาง ภาษายูการิติกที่ตายแล้วเป็นหลักฐานรุ่นแรกสุดของกลุ่มภาษานี้ ภาษายูการิติกไม่มีเสียง /dˤ/ (ḍ) แต่แทนที่ด้วยเสียง /sˤ/ (ṣ) (ลักษณะเดียวกับที่ปรากฏในภาษาอัคคาเดีย) เสียงนี้กลายเป็นเสียง /ʕ/ ในภาษาอราเมอิก (ในภาษาอราเมอิกโบราณ เสียงนี้เขียนด้วยอักษรกอฟ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภาษายูการิติกไม่ได้เป็นภาษาต้นแบบของกลุ่มนี้ ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียงนี้พบได้ในคำว่า “โลก”: ภาษายูการิติก /ʔarsˤ/ (’arṣ), ภาษาฮีบรู /ʔɛrɛsˤ/ (’ereṣ) และภาษาอราเมอิก /ʔarʕaː/ (’ar‘ā’) ภาษายูการิติกต่างจากภาษาในกลุ่มเดียวกันตรงที่ว่ายังคงมีคำที่ขึ้นต้นด้วย /w/ ในขณะที่ภาษาที่เหลือแทนที่ด้วย /y/ แหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของภาษานี้ได้แก่บริเวณที่ในปัจจุบันเป็นประเทศอิสราเอล ซีเรีย จอร์แดน เลบานอนและคาบสมุทรไซนาย การเลื่อนเสียงสระจาก /aː/ เป็น /oː/ เป็นการแยกภาษาคานาอันไนต์ออกจากภาษายูการิติก ตัวอย่างการเปลี่ยนเสียง ได้แก.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม

ทูตสวรรค์ยับยั้งอับราฮัม ขณะกำลังจะถวายอิสอัคแด่พระยาห์เวห์ อับราฮัม(ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิบรอฮีม (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Abraham; אברהם; إبراهيم) เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ถึง บทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจาก เชม บุตรของโนอาห.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

อักษรคานาอันไนต์

อักษรคานาอันไนต์ หรืออักษรไซนาย จัดเป็นอักษรไร้สระชนิดแรก จุดกำเนิดเริ่มเมื่อราว 1,157 ปีก่อนพุทธศักราช คาบสมุทรไซนายถูกอียิปต์ครอบครอง ชุมชนที่พูดภาษาตระกูลเซมิติกในบริเวณนั้น ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมอียิปต์ และพัฒนาอักษรไฮโรกลิฟฟิกมาใช้เขียนภาษาของตน จากการศึกษาในอียิปต์ปัจจุบัน พบจารึกเขียนด้วยอักษรไซนาย อายุราว 1,357 ปีก่อนพุทธศักราช ในอียิปต์ตอนบน และใกล้เคียงกับข้อความภาษาอียิปต์ที่ใช้โดยผู้พูดภาษาตระกูลเซมิติกในอียิปต์ อักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์มีสัญลักษณ์แทนเสียง ใช้คู่กับรูปอักษร ชาวไซนายสุ่มเลือกอักษรไฮโรกลิฟฟิกมาเป็นเครื่องหมายแทนเสียงของพยัญชนะตัวแรกของคำที่รูปอักษรอ้างถึง เช่น คำว่า วัวตัวผู้ /’aleph/ เป็นสัญลักษณ์แทนเสียง /อ/ จากนั้นอักษรนี้ได้แพร่หลายไปสู่ชาวคานาอัน เกิดเป็นอักษรคานาอันไนต์ และพัฒนาไปเป็นอักษรฟินิเชียอีกต่อหนึ่ง.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และอักษรคานาอันไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรแอราเมอิก

อักษรแอราเมอิก (Aramaic alphabet) พัฒนาขึ้นในช่วง 1,000 - 900 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยเข้ามาแทนที่อักษรรูปลิ่มของอัสซีเรียซึ่งเป็นระบบการเขียนหลักของจักรวรรดิอัสซีเรีย อักษรนี้เป็นต้นกำแนิดของอักษรตระกูลเซมิติกอื่น ๆ และอาจเป็นต้นกำเนิดของอักษรขโรษฐี ที่ใช้ในแถบเอเชียกลางแถบแคว้นคันธาระและพื้นที่ใกล้เคียง ในช่วง 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช อักษรแอราเมอิกยุคแรกเริ่มถูกแทนที่ด้วยอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยม ที่รู้จักต่อมาในชื่ออักษรแอราเมอิก.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และอักษรแอราเมอิก · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจอร์แดน

ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (Hashemite Kingdom of Jordan; المملكة الأردنية الهاشمية) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า จอร์แดน (Jordan; الأردن Al-Urdunn อัลอุรดุน) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอิรักทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับซาอุดีอาระเบียทางทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมทั้งติดต่อกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครองทางทิศตะวันตก จอร์แดนเป็นประเทศที่เกือบไม่มีทางออกสู่ทะเล มีชายฝั่งทะเลเดดซีร่วมกับอิสราเอลและดินแดนที่อิสราเอลครอบครอง มีชายฝั่งอ่าวอะกอบาร่วมกับอิสราเอล ซาอุดีอาระเบีย และอียิปต.

ใหม่!!: ภาษาอีโดไมต์และประเทศจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »