โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิวต์ผิวขรุขระ

ดัชนี นิวต์ผิวขรุขระ

นิวต์ผิวขรุขระ (Rough-skinned newt; ชื่อวิทยาศาสตร์: Taricha granulosa) เป็นนิวต์อเมริกาเหนือที่รู้จักกันดีว่ามีพิษร้ายแรง ขณะยังไม่โตเต็มวัย จะอาศัยอยู่บนพื้นดินเป็นเวลา 4 หรือ 5 ปีหลังจากเมตามอร์โฟซิส แต่ตัวเต็มวัยสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ วางไข่ในน้ำ สัตว์ประเภทนี้ถูกพบมากเป็นพิเศษหลังจากเกิดฝนตกหนัก.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2392การตั้งชื่อทวินามการเปลี่ยนสัณฐานรัฐบริติชโคลัมเบียรัฐออริกอนรัฐอะแลสการัฐแคลิฟอร์เนียวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกซาลาแมนเดอร์นิวต์นิวต์แปซิฟิก

พ.ศ. 2392

ทธศักราช 2392 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและพ.ศ. 2392 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การเปลี่ยนสัณฐาน

แมลงปอ มีการลอกคราบครั้งสุดท้าย เพื่อเปลี่ยนสัณฐานจากตัวโม่ง ไปเป็นตัวเต็มวัย การเปลี่ยนสัณฐาน หรือ เมตามอร์โฟซิส (อ. Metamorphosis) เป็นกระบวนการในการเจริญเติบโตของสัตว์รูปแบบหนึ่ง ที่เกิดหลังจากการคลอดหรือฟักออกจากไข่ โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือรูปแบบร่างกายที่ก้าวกระโดดและเด่นชัด ซึ่งเป็นผลจากการเจริญเติบโตของเซลล์และการเปลี่ยนแปลงจำเพาะของเซลล์ โดยส่วนใหญ่ ในหลายขั้นตอนของการเปลี่ยนสัณฐาน จะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่และพฤติกรรมไปด้วย การเจริญเติบโตแบบเปลี่ยนสัณฐานเกิดขึ้นในสัตว์บางชนิดในกลุ่ม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ขาปล้อง (เช่น แมลงบางชนิด และครัสตาเซีย) มอลลัสก์ ไนดาเรีย เอไคโนดอร์มาทา และ เพรียงหัวหอม เป็นคำศัพท์เฉพาะทางในสาขาวิทยาศาสตร์เท่านั้น ความหมายไม่ครอบคลุมถึง การเจริญเติบโตของเซลล์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป หรือการเร่งการเจริญเติบโต และยังไม่สามารถนำไปอ้างกับการเจริญเติบโตในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมได้อย่างชัดเจนและเป็นเพียงหัวข้อถกเถียง.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและการเปลี่ยนสัณฐาน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบริติชโคลัมเบีย

รัฐบริติชโคลัมเบีย (ภาษาอังกฤษ: British Columbia; ภาษาฝรั่งเศส: la Colombie-Britannique) คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ รัฐบริติชโคลัมเบีย มีเมืองหลวงชื่อว่า "วิคตอเรีย" มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือเมือง "แวนคูเวอร์" ซึ่งเมืองแวนคูเวอร์นี้ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเท.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและรัฐบริติชโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐออริกอน

รัฐออริกอน (Oregon) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศ ภูมิประเทศในรัฐมีความหลากหลายตั้งแต่ ป่า และ ชายฝั่งทะเล รวมถึงที่ราบลุ่มและทะเลทราย เมืองหลวงของรัฐคือ เซเลม และเมืองสำคัญในรัฐได้แก่ พอร์ตแลนด์ ยูจีน และ ออริกอนซิตี มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้แก่ มหาวิทยาลัยรัฐพอร์ตแลนด์ หรือ Portland State University มหาวิทยาลัยออริกอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงได้แก่ พอร์ตแลนด์ เทรลเบรเซอรส์ ในปี 2551 ออริกอนมีประชากรประมาณ 3,747,455 คน ชื่อรัฐออริกอน ออกเสียงตามคนในรัฐออริกอนว่า /ˈɔr.ə.g(ə)n/ (ออริกัน) โดยชื่อมักจะถูกออกเสียงเป็น /ˈɔr.ə.ˌgɑn/ (ออริกอน) โดยในรัฐจะเห็นชื่อรัฐเขียนเป็น "Orygun" เพื่อบอกให้นักท่องเที่ยวรู้คำอ่านของชื่อรัฐอย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและรัฐออริกอน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอะแลสกา

รัฐอะแลสกา (State of Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ".

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและรัฐอะแลสกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้

วงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ หรืออาจเรียกได้ว่า นิวต์ (Newts, True salamanders) เป็นวงศ์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำในอันดับซาลาแมนเดอร์ (Caudata) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Salamandridae จัดเป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 20 เซนติเมตร มีลักษณะโดยรวม คือ ตัวเต็มวัยไม่มีเหงือก และไม่มีช่องเปิดเหงือก ไม่มีร่องในโพรงจมูก มีปอด รูปร่างมีแตกต่างกันตั้แงต่เรียวยาวจนถึงป้อม ขาสั้น ผิวหลังลำตัวมีความแตกต่างกันตั้งแต่ราบเรียบจนถึงหยักย่น สำหรับตัวที่หยักย่นนั้นเนื่องจากมีต่อมน้ำพิษเป็นจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นซาลาแมนเดอร์วงศ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุด นอกจากนี้แล้วยังมีสีสันลำตัวที่สดใสจัดจ้าน โดยเฉพาะด้านข้างลำตัวและหลัง ซึ่งจะใช้พิษและสีเหล่านี้เพื่อใช้ในการเตือนภัยสัตว์ล่าเหยื่อ มีวงจรชีวิตแตกต่างหลากหลายกันออกไปตามแต่สกุล บางสกุลอาศัยอยู่บนบก แต่หลายสกุลอาศัยอยู่ในน้ำและมีส่วนหางเป็นแผ่นแบนคล้ายใบพาย บางชนิดวางไข่บนดิน แต่ส่วนใหญ่จะวางไข่ในน้ำ บางชนิดเปลี่ยนรูปร่างแค่บางส่วนในวัยอ่อนแล้วขึ้นไปอาศัยบนบกตั้งแค่ระยะเวลานาน 1–14 ปี ต่อจากนั้นจึงย้ายกลับไปใช้ชีวิตในน้ำแล้วจึงเปลี่ยนรูปร่างเป็นตัวเต็มวัยและอาศัยอยู่ในน้ำตลอดไปก็มี มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกาตะวันตก, เอเชียตะวันตก และเอเชียตะวันออก สำหรับในประเทศไทย กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดอยู่ในวงศ์นี้เช่นกัน และก็มีพิษด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibians) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้น Amphibia อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก มีลักษณะเฉพาะ คือ ผิวหนังมีต่อมเมือกทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นตลอดเวลา ผิวหนังเปียกลื่นอยู่เสมอ ไม่มีเกล็ดตัวไม่แห้งหรือไม่มีขน หายใจด้วยเหงือก, ปอด, ผิวหนัง หรือผิวในปากในคอ โดยชั้นผิวหนังนั้นมีลักษณะพิเศษสามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้เนื่องจากมีโครงข่ายหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก เพื่อใช้ในการหายใจ สืบพันธุ์โดยการผสมพันธุ์ภายนอกลำตัว สืบพันธุ์เมื่ออายุ 2–3 ปี ออกลูกเป็นไข่อยู่ในน้ำ ไม่มีเปลือก วางไข่เป็นกลุ่มในน้ำมีสารเป็นวุ้นหุ้ม ลูกอ่อนที่ออกจากไข่มีรูปร่างคล้ายปลาเรียกว่า "ลูกอ๊อด" อยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก เมื่อเติบโตเต็มที่แล้วมีปอดหายใจ ขึ้นบกได้ แต่ต้องอยู่ใกล้น้ำ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกส่วนใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทั้งภายนอกและภายในอย่างสิ้นเชิง ไปตามวงจรชีวิต ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนรูปร่างอาศัยอยู่บนบก หายใจด้วยปอดหรือผิวหนัง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งในช่วงระหว่างฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ส่วนใหญ่จะขุดรูจำศีล เพื่อหนีความแห้งแล้ง มิให้ผิวหนังแห้ง ถ้าผิวหนังแห้งจะหายใจไม่ได้และตายในที่สุด เพราะก๊าชจากอากาศต้องละลายไปกับน้ำเมือกที่ผิวหนัง แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต ระยะนี้จะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้า ๆ นิวต์และซาลามานเดอร์ก็เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเหมือนกัน แต่แตกตางกันตรงที่นิวต์และซาลามานเดอร์จะยังคงหางของมันไว้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกถือเป็นสัตว์เลือดเย็นเช่นเดียวกับสัตว์พวกปลา หรือแมลง หรือสัตว์เลื้อยคลาน ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานสัตว์ในชั้นแล้วกว่า 6,500 ชน.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาแมนเดอร์

ซาลาแมนเดอร์ (salamander) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในชั้นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ จัดอยู่ในอันดับ Caudata และ Urodela.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและซาลาแมนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์

นิวต์ (Newts) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์ ในวงศ์ซาลาแมนเดอร์แท้ (Salamandridae) ในวงศ์ย่อย Pleurodelinae นิวต์เป็นซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย เมื่อยังเป็นวัยอ่อนที่มีพู่เหงือกเรียกว่า "เอลฟ์" (Efts) นิวต์มีลักษณะภายนอกที่แตกต่างไปจากซาลาแมนเดอร์ คือ มีผิวหนังที่แห้งกว่าและขรุขระหรือเป็นตะปุ่มตะป่ำกว่า และมักมีพิษ กะท่าง (Tylottriton verrucosus) ซึ่งเป็นซาลาแมนเดอร์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่พบได้ในประเทศไทย พบในดอยสูงทางภาคเหนือที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ก็จัดว่าเป็นนิวต์เช่นกัน ไม่ใช่ซาลาแมนเดอร์ และก็มีพิษด้วยเช่นกัน นิวต์อาจจำแนกออกได้เป็นสกุลต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและนิวต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวต์แปซิฟิก

นิวต์แปซิฟิก หรือ นิวต์ตะวันตก หรือ นิวต์ผิวขรุขระ (Pacific newt, Western newt, Roughskin newt) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำพวกซาลาแมนเดอร์สกุลหนึ่ง ในสกุล Taricha (/ทา-ริ-ชา/) จัดเป็นซาลาแมนเดอร์แท้ หรือนิวต์สกุลหนึ่ง เป็๋นนิวต์ที่หากินและใช้ชีวิตบนบกเป็นหลัก และจะเคลื่อนย้ายไปยังแหล่งน้ำเมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ การปฏิสนธิเกิดขึ้นภายในลำตัว เป็นนิวต์ที่พบกระจายพันธุ์ทั้งในพื้นที่ตะวันออกและตะวันตกของสหรัฐอเมริกา และอาจพบได้จนถึงตอนเหนือของรัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย เม็กซิโก จำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ใหม่!!: นิวต์ผิวขรุขระและนิวต์แปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rough skinned newtRough-skinned newtTaricha granulosa

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »