โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

ดัชนี พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี

ระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี (Rezā Ŝāh Pahlawi พระนามเดิม เรซา ข่าน (15 มีนาคม ค.ศ. 1878 – 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1944) เป็นชาห์แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียThe Columbia Encyclopedia, 6th ed.: ตั้งแต่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1925 จนกระทั่งทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยสหราชอาณาจักร-สหภาพโซเวียตภายหลังทั้งสองกองทัพได้รุกรานอิหร่าน เมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1941 ในปี 1925 ชาห์ เรซา ได้ทำการโค่นล้มราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาห์อะหมัด ชาห์ กอญัร ชาห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์กอญัร และก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวีขึ้น พระองค์ทรงใช้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญปกครองอิหร่าน จนกระทั่งถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1979 ในช่วงการปฏิวัติอิหร่าน พระเจ้าชาห์ เรซา ทรงเป็นผู้นำให้มีการปฏิรูปสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองจำนวนมากในช่วงรัชสมัยของพระองค์ และท้ายที่สุดคือการวางรากฐานของรัฐอิหร่านที่ทันสมัย พระราชมรดกของพระองค์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่จนถึงทุกวันนี้ ป้อมปราการของพระองค์ยืนยันว่าพระองค์เป็นแรงผลักดันให้อิหร่านเข้าไปสู่ความทันสมัย ในขณะที่ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์ว่าการครองราชย์ของพระองค์นั้นเป็นเผด็จการและจะนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด แม้ว่าพระองค์จะพยายามนำอิหร่านไปสู่ความก้าวหน้าเพียงใด ท้ายที่สุดประชาชนในชนบทก็ได้หว่านเมล็ดพันธ์ที่นำไปสู่การปฏิวัติอิหร่านในที่สุดAbrahamian, History of Modern Iran, (2008), p.91.

20 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2421พ.ศ. 2468พ.ศ. 2484พ.ศ. 2487พ.ศ. 2522พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีการปฏิวัติอิหร่านราชวงศ์กอญัรราชวงศ์ปาห์ลาวีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูกสหภาพโซเวียตสหราชอาณาจักรเจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 1เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวีเจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี15 มีนาคม15 ธันวาคม16 กันยายน26 กรกฎาคม

พ.ศ. 2421

ทธศักราช 2421 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1878.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพ.ศ. 2421 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2468

ทธศักราช 2468 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1925 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพ.ศ. 2468 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2484

ทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพ.ศ. 2484 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2522

ทธศักราช 2522 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1979 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพ.ศ. 2522 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

ระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: محمدرضا شاه پهلوی, พระราชสมภพ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ณ เตหะราน ประเทศอิหร่าน – สวรรคต 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 ณ ไคโร ประเทศอียิปต์) หรือ จักรพรรดิชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระองค์ทรงเป็นชาห์แห่งอิหร่านซึ่งเป็นชาห์องค์สุดท้ายที่ปกครองอิหร่าน โดยพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวีซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติอิสลาม พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ได้รับการขนานพระนามเป็น ชาฮันชาห์ (Shahanshah ราชันย์แห่งราชา เทียบเท่าตำแหน่งจักรพรรดิ), อัรยาเมหร์ (Aryamehr แสงแห่งอารยัน) และ บอซอร์ก อาร์เตสตาราน (Bozorg Arteshtārān จอมทัพ, เปอร์เซีย:بزرگ ارتشتاران).

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน (หรือเรียก การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติ ค.ศ. 1979; เปอร์เซีย: انقلاب اسلامی, Enghelābe Eslāmi หรือ انقلاب بیست و دو بهمن) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นราชวงศ์ปาห์ลาวีภายใต้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และการแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน เริ่มการเดินขบวนต่อต้านชาห์ในเดือนตุลาคม 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคฆราวาสและศาสนา ซึ่งบานปลายในเดือนมกราคม 2521 ระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม 2521 การนัดหยุดงานและการเดินขบวนทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ชาห์เสด็จออกนอกประเทศอิหร่านเพื่อลี้ภัยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นพระมหากษัตริย์เปอร์เซียพระองค์สุดท้าย ปล่อยภาระหน้าที่ให้สภาผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรีที่อิงฝ่ายค้าน รัฐบาลเชิญรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับประเทศอิหร่าน และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏชนะกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน นำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่Kurzman ซึ่งโคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2522 การปฏิวัตินี้แปลกสำหรับความประหลาดใจที่สร้างไปทั่วโลก เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา (เช่น แพ้สงคราม วิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ) เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี มีความเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งด้วยความเร็ว เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทำให้มีการลี้ภัยของชาวอิหร่านจำนวนมากKurzman, p. 121 และแทนกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชนิยมตะวันตกด้วยเทวาธิปไตยอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตกInternational Journal of Middle East Studies, 19, 1987, p. 261โดยยึดมโนทัศน์ความอนุบาลของนักนิติศาสตร์อิสลาม (Guardianship of the Islamic Jurists หรือ velayat-e faqih) เป็นการปฏิวัติที่ค่อนข้างไม่รุนแรง และช่วยนิยามความหมายและการปฏิบัติของการปฏิวัติสมัยใหม่ใหม่ (แม้มีความรุนแรงให้หลังการปฏิวัติ).

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและการปฏิวัติอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์กอญัร

ราชวงศ์กอญัร เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและราชวงศ์กอญัร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ปาห์ลาวี

ราชวงศ์ปาห์ลาวี (دودمان پهلوی) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและราชวงศ์ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก

มเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก อัยรุมลู (เปอร์เซีย:تاج‌الملوک, พระราชสมภพ 17 มีนาคม ค.ศ. 1896 ณ บากู จักรวรรดิรัสเซีย - สวรรคต 10 มีนาคม ค.ศ. 1982 ณ อะคาปุลโก ประเทศเม็กซิโก) พระองค์เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี และครองราชย์ในช่วงปี ค.ศ. 1925-1941.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและสมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 1

้าชายอาลี เรซาที่ 1 ปาห์ลาวี (1 มีนาคม ค.ศ. 1922 - 17 ตุลาคม ค.ศ. 1954) พระราชโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก ในอดีตพระองค์เป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์อิหร่านพระองค์หนึ่ง.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและเจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี

้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย:شمس پهلوی, ประสูติ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - สิ้นพระชนม์ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996) พระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก และเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและเจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี

้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี (اشرف پهلوی Ashraf Pahlavī; 26 ตุลาคม พ.ศ. 2462 — 7 มกราคม พ.ศ. 2559) เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจญ์ อัล-โมลูก และเป็นพระขนิษฐาฝาแฝดของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์องค์สุดท้ายแห่งอิหร่าน.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและเจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

15 มีนาคม

วันที่ 15 มีนาคม เป็นวันที่ 74 ของปี (วันที่ 75 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 291 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและ15 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

15 ธันวาคม

วันที่ 15 ธันวาคม เป็นวันที่ 349 ของปี (วันที่ 350 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 16 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและ15 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

16 กันยายน

วันที่ 16 กันยายน เป็นวันที่ 259 ของปี (วันที่ 260 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 106 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและ16 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

26 กรกฎาคม

วันที่ 26 กรกฎาคม เป็นวันที่ 207 ของปี (วันที่ 208 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 158 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวีและ26 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Reza Shah

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »