โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิมพีเรียลอิมมีเดียซี

ดัชนี อิมพีเรียลอิมมีเดียซี

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ อำนาจอธิปไตยซึ่งประมุขขึ้นโดยตรงต่อจักรพรรดิ (Reichsfreiheit; Reichsunmittelbarkeit, Imperial immediacy) หรือทับศัพท์ว่าอิมพีเรียลอิมมีเดียซี เป็นสถานะเอกสิทธิ์ทางการเมืองตามระบบเจ้าขุนมูลนายที่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มอบให้แก่จักรพรรดินครอิสระ รัฐคริสตจักร หรือราชรัฐ รัฐที่ได้รับ "อิมพีเรียลอิมมีเดียซี" เช่น แอบบีดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และสภานิติบัญญัติ (Reichstag) โดยไม่ตัองมีเจ้าผู้ครองอื่นเป็นตัวกลาง ในภาษาสมัยปัจจุบันก็หมายถึงรูปแบบของรัฐที่ปกครองตนเอง.

14 ความสัมพันธ์: การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนีระบบเจ้าขุนมูลนายรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ราชรัฐสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสสงครามประสานมิตรครั้งที่หนึ่งสงครามนโปเลียนสนธิสัญญาลูว์เนวีลอิมพีเรียลแอบบีย์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอเสรีนครจักรวรรดิเอกสิทธิ์เทวาธิปไตย

การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 เป็นภาพของรัฐจำนวนมาก การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี (German Mediatisation) เป็นการปฏิรูปอาณาเขตการปกครองทั้งทางฆราวัสจักรและสังฆาจักร (Mediatisation และ Secularisation) ในเยอรมนีที่เกิดขึ้นระหว่างปี..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและการปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์) (Reichsstand หรือ Reichsstände; Imperial State/Estate) คือ “หน่วย” ที่เป็น “รัฐ” ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีสิทธิในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐหลายรัฐไม่มีที่นั่งในจักรวรรดิ หรือเป็นรัฐที่มีที่นั่งแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือมีสิทธิในการเป็นปกครองตนเองภายใต้การกำกับของจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่ละรัฐไม่ขึ้นต่อประมุขของรัฐของจักรวรรดิอื่น ๆ แต่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ นอกจากนั้นประมุขของรัฐในจักรวรรดิก็ยังมีสิทธิและอภิสิทธิ์หลายอย่างที่รวมทั้งสิทธิในการปกครองดินแดนของตนเองบ้าง.

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐ

ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเขตการปกครองที่มีประมุขเป็นเจ้าซึ่งมีอิสริยยศต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ ราชรัฐมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส

งครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามประสานมิตรครั้งที่หนึ่ง

งครามประสานมิตรครั้งที่ 1 (War of the First Coalition) เป็นส่วนหนึ่งของสงครามปฏิวัติฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นระหว่าง..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและสงครามประสานมิตรครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามนโปเลียน

งครามนโปเลียน (Napoleonic Wars, Guerres napoléoniennes) เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของนโปเลียน และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและสงครามนโปเลียน · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาลูว์เนวีล

นธิสัญญาลูว์เนวีล (Treaty of Lunéville) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันที่เมืองลูว์เนวีล ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1801 ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสผู้ลงนามโดยโจเซฟ โบนาปาร์ต กับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ผู้ลงนามโดยเคานท์ลุดวิก ฟอน โคเบ็นเซิล กองทัพออสเตรียได้รับความพ่ายแพ้ต่อนโปเลียนในยุทธการที่มาเรงโก (Battle of Marengo) ในอิตาลีเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและสนธิสัญญาลูว์เนวีล · ดูเพิ่มเติม »

อิมพีเรียลแอบบีย์

แอบบีอ็อตโตบวยเร็นได้รับฐานะเป็น “อิมพีเรียลแอบบี” ในปี ค.ศ. 1299 อิมพีเรียลแอบบี (Reichsabteien หรือ Reichsklöster หรือ Reichsstifte, Imperial abbeys) สังฆารามหลวง คือบ้านพักของนักบวชคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้รับ “อิมพีเรียลอิมมีเดียซี” (Reichsunmittelbarkeit) เป็น “ดินแดนอธิปไตย” ที่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ (ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กเท่าใดก็ตาม) สิทธิที่ได้รับทำให้ได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เช่นสิทธิในการเก็บภาษีต่าง ๆ และสิทธิในการมีศาลยุติธรรม ประมุขของอิมพีเรียลแอบบีมีตำแหน่งเป็น “อิมพีเรียลอธิการอาราม” (Imperial abbot) ถ้าเป็นระดับไพรออรีหรือโพรโวสต์ (Reichspropstei) ก็จะมีตำแหน่งเป็น “อิมพีเรียลไฟรเออร์” (Reichspropst) ถ้าอารามมีฐานะเป็นราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี (ecclesiastical principality) ก็จะปกครองโดย “เจ้าชายอธิการอาราม” (Fürstabt หรือ Fürstpropst) ที่เทียบเท่ากับตำแหน่ง “มุขนายกผู้ครองนคร” (Fürstbischof) แต่โดยทั่วไปแล้วบ้านพักนักบวชเหล่านี้จะมีขนาดเล็กมากที่เรียกว่า “อิมพีเรียลพรีเลต” (Imperial prelates หรือ Reichsprelaten) ที่รวมกันแล้วมีเพียงเสียงเดียวในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติของจักรวรรดิ (Reichstag) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและอิมพีเรียลแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ

โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ โยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2292 — 22 มีนาคม พ.ศ. 2375) เป็นผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน เขาเป็นทั้งนักเขียนนิยาย นักเขียนบทละคร นักสิทธิมนุษยชน นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา รวมถึงดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะบริหารของไวมาร์ในประเทศเยอรมนีอยู่ 10 ปี เกอเทอเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวรรณคดีเยอรมัน คลาสสิกใหม่ของยุโรปและโรมัน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกอเทอและงานของเขาได้ส่งผลไปทั่วยุโรปและได้สร้างแรงบันดาลใจกับงานต่อ ๆ มาทางด้าน ดนตรี การละคร และกวี หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2292 หมวดหมู่:นักเขียนชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญา หมวดหมู่:ชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นักสิทธิมนุษยชน หมวดหมู่:ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครจักรวรรดิ

รีนครของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1648 เสรีนครจักรวรรดิ (Free imperial city; freie Reichsstadt) หมายถึงนครที่ปกครองโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยตรง ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ที่มิใช่เสรีนครจะถูกปกครองโดย เฟือสท์ ที่อาจจะเป็นดยุก หรือเจ้าชายมุขนายก (prince-bishop) นอกจากนั้น เสรีนครยังมีตัวแทนในสภาไรช์ของจักรวรรดิอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีความแตกต่างระหว่าง "จักรพรรดินคร" (Reichsstädte) กับ "เสรีนคร" (freie Städte) เสรีนครคือนครที่เดิมปกครองโดยเจ้าชายมุขนายก แต่ต่อมาได้รับอิสระจากการปกครองของบิชอปช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมืองเหล่านี้ก็ได้แก่ บาเซิล (ค.ศ. 1000) เวิร์มส (ค.ศ. 1074) ไมนซ์ (ค.ศ. 1244 เปลี่ยนฐานะ ค.ศ. 1462) เรเกนส์บูร์ก (ค.ศ. 1245) สทราซบูร์ (ค.ศ. 1272) โคโลญ (ค.ศ. 1288) และชไปเออร์ (ค.ศ. 1294) แม้ว่ารายละเอียดทางกฎหมายของแต่ละรัฐเหล่านี้จะต่างกันไปแต่ "เสรีนครจักรวรรดิ" เดิมมีอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษต่างมากกว่า "นครจักรวรรดิ" ตัวอย่างเช่นในกรณีที่เกิดสงครามครูเสด เสรีนครจักรวรรดิก็จะมีความรับผิดชอบแต่เพียงให้การสนับสนุนทางการทูตและยุทธปัจจัยแก่ราชสำนักจักรพรรดิ แต่นครจักรวรรดิต้องเสียภาษีให้แก่จักรพรรดิและต้องส่งกองทัพไปช่วยในการทัพด้ว.

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและเสรีนครจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เอกสิทธิ์

เอกสิทธ์ หมายถึง สิทธิพิเศษเฉพาะบุคคลบางคนหรือบางประเภทที่มีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้มีความชอบธรรมในการอ้างสิทธิดังกล่าวเหนือบุคคลอื่น เช่น เอกสิทธิ์การทูต เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา เอกสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ได้แก่ เอกสิทธิ์ของสมาชิกรัฐสภา บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 130 ได้กำหนดให้เอกสิทธิ์แก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาไว้ ได้แก่ เอกสิทธิ์ในการแถลงข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น ออกเสียงลงคะแนน ผู้ใดจะนำไปฟ้องร้องไม่ได้ เว้นแต่เป็นการกล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางวิทยุหรือโทรทัศน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือทางแพ่งต่อบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐมนตรี หรือสมาชิกแห่งสภา เอกสิทธิ์นี้ให้แก่สมาชิกรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเกรงว่าจะถูกคนใดฟ้องร้อง การอภิปรายในการประชุมสภาที่สมาชิกสภาแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แม้จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย หรือมีความผิดฐานหมื่นประมาท ก็ไม่ถูกฟ้องทั้งทางแพ่งและทางอาญา หมวดหมู่:กฎหมาย.

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและเอกสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวาธิปไตย

ทวาธิปไตย (Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยนี (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy) ระบอบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่น ๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยพระคุณของพระเจ้า” (By the Grace of God) เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ปกครองโดยฝ่ายอาณาจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างอาณาจักรและศาสนจักร การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนายูดาห์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง..

ใหม่!!: อิมพีเรียลอิมมีเดียซีและเทวาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Imperial immediacyReichsfreiReichsfreiheitReichsunmittelbarReichsunmittelbarkeitราชรฐาภิสิทธิ์ราชรัฏฐาภิสิทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »