โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่

ดัชนี กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่

กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่ (phantom limb syndrome) คืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าอวัยวะที่ขาดหายไปหรือถูกตัดไปนั้นยังคงติดอยู่กับร่างกาย และเคลื่อนไหวสอดคล้องกับอวัยวะอื่น ๆ ผู้รับการตัดอวัยวะ 60-80% ยังมีความรู้สึกของอวัยวะที่ถูกตัดไปอยู่ ความรู้สึกนี้ส่วนใหญ่เป็นความรู้สึกเจ็บปวด ความรู้สึกหลงผิดว่าอวัยวะยังคงอยู่นี้อาจเกิดกับอวัยวะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่แขนขาก็ได้ เช่น เต้านม ฟัน ตา เป็นต้น แขนขาที่ถูกตัดไปนั้นมักถูกรู้สึกว่าสั้นลงกว่าปกติ อยู่ในท่าทางที่ผิดรูปและเจ็บปวด ส่วนใหญ่อาการเจ็บปวดนี้มักเป็นมากขึ้นเมื่อมีความเครียด ความกังวล หรืออากาศเปลี่ยนแปลง อาการเจ็บปวดมักเป็น ๆ หาย ๆ และมีความถี่และความรุนแรงลดลงเมื่อเวลาผ่านไป.

3 ความสัมพันธ์: การตัดอวัยวะออกความเจ็บปวดแอ็ลเซอเฟียร์

การตัดอวัยวะออก

การตัดอวัยวะออก (amputation) หมายถึง การที่แขนหรือขาหลุดออกโดยอุบัติเหตุ โรคหรือการผ่าตัด ในทางศัลยกรรม มีการตัดอวัยวะออกเพื่อควบคุมความเจ็บปวดหรือกระบวนการโรคในแขนหรือขาที่ได้รับผลกระทบ เช่น มะเร็งหรือเนื้อตายเน่า ในผู้ป่วยบางคน มีการตัดอวัยวะออกเป็นการผ่าตัดป้องกันปัญหาดังกล่าว มีกรณีพิเศษคือ การตัดอวัยวะออกแต่กำเนิด เป็นโรคแต่กำเนิดซึ่งแขนหรือขาของทารกถูกแถบรัดตีบ (constrictive band) ตัดออก บางประเทศใช้หรือเคยใช้การตัดมือ เท้าหรือส่วนอื่นของร่างกายเป็นการลงโทษผู้ก่ออาชญากรรมรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ การตัดอวัยวะยังเป็นยุทธวิธีในสงครามและการก่อการร้าย และอาจเกิดเป็นการบาดเจ็บในสงคราม ในบางวัฒนธรรมและศาสนา การตัดอวัยวะออกหรือการทำให้เสียอวัยวะเล็กน้อยถือเป็นพิธีกรรม เมื่อแขนหรือขาหลุดออกแล้วจะไม่งอกกลับคืน ไม่เหมือนกับบางอวัยวะ เช่น ตับบางส่วน และต่างจากสัตว์ที่มิใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด เช่น กิ้งก่าที่สลัดหาง และปลาดาวที่สามารถงอกทั้งตัวใหม่ได้จากชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทางเลือกสำหรับกู้แขนหรือขากลับคืนมีแต่การปลูกถ่ายหรือกายอุปกรณ์เท่านั้น ในสหรัฐ การตัดอวัยวะออกรายใหม่ส่วนมากเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของระบบหลอดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรคเบาหวาน ระหว่างปี 2531 ถึง 2539 มีผู้ถูกตัดอวัยวะออกโดยเฉลี่ย 133,175 คนต่อปีในสหรัฐ หมวดหมู่:การผ่าตัด.

ใหม่!!: กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่และการตัดอวัยวะออก · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่และความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

แอ็ลเซอเฟียร์

แอ็ลเซอเฟียร์ (Elsevier) เป็นสำนักพิมพ์ที่มีการตีพิมพ์วารสารวิชาการ ที่เน้นผลงานในด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ โดยมีวารสารที่เป็นที่นิยมได้แก่ The Lancet, Cell, หนังสือ Gray's Anatomy, รายการรวบรวมวารสาร ScienceDirect, Trends, Current Opinion และฐานข้อมูลสโกปัส บริษัทนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท RELX Group มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม และมีสาขาอยู่ที่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล สเปน แอ็ลเซอเฟียร์มีการตีพิมพ์กว่า 350,000 บทความต่อปี ในวารสาร 2,000 เล่ม โดยมีเอกสารรวบรวมกว่า 13 ล้านเรื่อง และมีการดาวน์โหลดกว่า 750 ล้านครั้งต่อปี.

ใหม่!!: กลุ่มอาการหลงผิดว่าแขนขายังคงอยู่และแอ็ลเซอเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Phantom limbPhantom limb painPhantom limb syndrome

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »