โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Ph (ทวิอักษร)

ดัชนี Ph (ทวิอักษร)

Ph หรือ ph เป็นทวิอักษรที่พบได้ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และภาษาอื่นโดยส่วนใหญ่ใช้แทนเสียง ฟ ซึ่งมีเสียง โดยคำศัพท์ในภาษาอังกฤษที่มีอักษร ph ส่วนใหญ่เป็นคำศัพท์ที่มาจากภาษากรีก ในการถอดจากอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน กำหนดให้ ph ใช้แทนอักษร พ ภ ผ ซึ่งมีเสียง ในขณะที่การทับศัพท์จากภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นมาเป็นภาษาไทย กำหนดให้ ph แทนด้วยอักษร ฟ.

11 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกภาษาฝรั่งเศสภาษาอังกฤษภาษาเยอรมันอักษรละตินอักษรไทยทวิอักษร

ฟ (ฟัน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 31 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก พ (พาน) และก่อนหน้า ภ (สำเภา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฟ ฟัน” อักษร ฟ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /f/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /f/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด หรือ /v/ ในตำแหน่งพยัญชนะสะกด หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และฟ · ดูเพิ่มเติม »

พ (พาน) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 30 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฝ (ฝา) และก่อนหน้า ฟ (ฟัน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “พ พาน” อักษร พ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /pʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และพ · ดูเพิ่มเติม »

ภ (สำเภา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 32 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฟ (ฟัน) และก่อนหน้า ม (ม้า) ออกเสียงอย่าง พ (พาน) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ภ สำเภา” อักษร ภ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /pʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และภ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ผ (ผึ้ง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 28 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ป (ปลา) และก่อนหน้า ฝ (ฝา) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรสูง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ผ ผึ้ง” อักษร ผ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /pʰ/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /p̚/ (ในทางทฤษฎี).

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และผ · ดูเพิ่มเติม »

ทวิอักษร

ทวิอักษร (digraph, bigraph, digram) หมายถึงกลุ่มอักษรสองตัวที่เขียนขึ้นเพื่อแทนหน่วยเสียงเสียงเดียวที่แปลกออกไป หรือใช้แทนหน่วยเสียงอื่นที่ไม่ใช่ค่าปกติของอักษรสองตัวนั้นมาประกอบกันตามอักขรวิธี เมื่อภาษาใดภาษาหนึ่งไม่สามารถใช้อักษรตัวเดียวเพื่อแทนเสียงนั้นได้ แต่บางครั้งการรวมทวิอักษรก็มิได้ทำให้เสียงพิเศษไปจากเดิม ซึ่งอาจแสดงถึงธรรมเนียมในอดีตว่าคำศัพท์เหล่านั้นเคยออกเสียงแตกต่างกันมาก่อน หรือคงไว้เพื่อรูปศัพท์เดิมที่ยืมมาจากภาษาอื่น ในอักขรวิธีของบางภาษา อย่างเช่น ch ในภาษาเซอร์เบีย (เมื่อเขียนด้วยอักษรละติน) หรือภาษาเช็ก ทวิอักษรจะถูกจัดว่าเป็นอักษรตัวเดียวกัน นั่นหมายความว่าทวิอักษรนั้นจะเป็นอักษรตัวหนึ่งในลำดับอักษรของภาษา และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับ การย่อ หรือการแบ่งคำ.

ใหม่!!: Ph (ทวิอักษร)และทวิอักษร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ph (สัทศาสตร์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »