โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ

ดัชนี สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ

ในลิเบีย สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ (National Transitional Council; المجلس الوطني الانتقالي) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ก่อการกำเริบใน พ.ศ. 2554 ต่อต้านมูอัมมาร์ กัดดาฟี ประธานาธิบดีแห่งประเทศลิเบีย ตามประกาศการจัดตั้งอันมีขึ้นในเมืองเบงกาซีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ด้วยวัตถุประสงค์จะให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น "โฉมหน้าทางการเมืองของคณะปฏิวัติ" เมื่อวันที่ 5 มีนาคม..

10 ความสัมพันธ์: ภาษาอาหรับมูอัมมาร์ กัดดาฟีสหภาพยุโรปสงครามกลางเมืองลิเบียอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิชธงชาติลิเบียประเทศลิเบียนีกอลา ซาร์กอซีเบงกาซีเอกอัครราชทูต

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

มูอัมมาร์ กัดดาฟี

มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี (معمر القذافي) เป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัย หลังรัฐประหารในปี..

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและมูอัมมาร์ กัดดาฟี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพยุโรป

หภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป มีพื้นที่ 4,324,782 ตารางกิโลเมตร มีประชากรที่ประเมินกว่า 510 ล้านคน สหภาพยุโรปพัฒนาตลาดเดี่ยวภายในผ่านระบบกฎหมายทำให้เป็นมาตรฐานซึ่งใช้บังคับในรัฐสมาชิกทุกประเทศ นโยบายสหภาพยุโรปมุ่งประกันการเคลื่อนย้ายบุคคล สินค้า บริการและทุนอย่างเสรีในตลาดเดี่ยว ตรากฎหมายด้านยุติธรรมและกิจการในประเทศและธำรงนโยบายร่วมกันด้านการค้า เกษตรกรรม การประมงและการพัฒนาภูมิภาค การควบคุมหนังสือเดินทางถูกเลิกภายในพื้นที่เชงเกน มีการตั้งสหภาพการเงินในปี 2542 และมีผลบังคับเต็มที่ในปี 2545 ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 ประเทศซึ่งใช้สกุลเงินยูโร สหภาพยุโรปดำเนินการผ่านระบบผสมระหว่างสหภาพเหนือชาติและความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรตัดสินใจหลักเจ็ดองค์กร เรียก สถาบันของสหภาพยุโรป ได้แก่ ที่ประชุมยุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป รัฐสภายุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป ธนาคารกลางยุโรปและศาลผู้สอบบัญชียุโรป สหภาพยุโรปกำเนิดขึ้นจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (ECSC) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และ 2501 ตามลำดับโดยประเทศอินเนอร์ซิกส์ ประชาคมและองค์การสืบเนื่องมีขนาดเติบโตขึ้นโดยการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่และมีอำนาจมากขึ้นโดยการเพิ่มขอบเขตนโยบายในการจัดการ สนธิสัญญามาสทริชท์สถาปนาสหภาพยุโรปในปี 2536 และนำเสนอความเป็นพลเมืองยุโรป การแก้ไขหลักพื้นฐานรัฐธรรมนูญล่าสุดของสหภาพยุโรปล่าสุด สนธิสัญญาลิสบอน มีผลใช้บังคับในปี 2552 สหภาพยุโรปมีประชากรคิดเป็น 7.3% ของประชากรโลก ในปี 2559 สหภาพยุโรปผลิตผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน 16.477 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 22.2% ของจีดีพีราคาตลาดโลก และ 16.9% เมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ นอกจากนี้ ประเทศสหภาพยุโรป 26 จาก 28 ประเทศมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงมาก ตามข้อมูลของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ในปี 2555 สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ สหภาพยุโรปพัฒนาบทบาทด้านความสัมพันธ์ภายนอกและการกลาโหมผ่านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วม สหภาพฯ คงคณะผู้แทนทางทูตถาวรทั่วโลกและมีผู้แทนในสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก จี7 และจี-20 เนื่องจากมีอิทธิพลทั่วโลก จึงมีการอธิบายสหภาพยุโรปเป็นอภิมหาอำนาจปัจจุบันหรืออภิมหาอำนาจในอนาคต.

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและสหภาพยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองลิเบีย

งครามกลางเมืองลิเบี..

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและสงครามกลางเมืองลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช (الجزيرة الإنجليزية) คือ สถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการข่าวภาคภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษแห่งแรกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง คือที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก และเป็นสถานีข่ายของสถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮ์ ภาคภาษาอาหรับ ซึ่งอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ออกอากาศรายการประเภทข่าวสารและบทวิเคราะห์ สารคดี การอภิปรายสด สถานการณ์ปัจจุบัน และข่าวกีฬา และได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกที่ใช้ระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition Television หรือ HDTV) โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเผยแพร่เสียงสะท้อนจากโลกอาหรับและเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศด้วยมุมมองที่เป็นสากลไปยังผู้ชมกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ โดยปราศจากมุมมองจากโลกตะวันตก และสับเปลี่ยนที่ตั้งหน่วยการจัดการด้านข่าวไปตามศูนย์ออกอากาศต่าง ๆ ทั้งในโดฮา กัวลาลัมเปอร์ ลอนดอน และวอชิงตัน ดี.ซี. ตามแนวคิด "following the sun." เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ถูกพูดถึง นำเสนอเรื่องราวความขัดแย้ง การสร้างการรับรู้ที่น่าท้าทาย และกำหนดวาระทิศทางข่าว เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม เปิดมุมมองการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างไปจากตะวันตก.

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลิเบีย

งชาติลิเบีย (علم ليبيا) ในปัจจุบันเป็นธงชาติเดิมในสมัยสหราชอาณาจักรลิเบีย ระหว่าง พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2512 ซึ่งได้ถูกฟื้นฟูเป็นสัญลักษณ์ของชาติลิเบียอีกครั้งเมื่อเริ่มเกิดการต่อต้านรัฐบาลของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จนกระทั่งบานปลายไปสู่สงครามกลางเมือง ต่อมาเมื่อกองทัพของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติสามารถยึดกรุงตริโปลิและโค่นล้มรัฐบาลของกัดดาฟีลงได้ จึงได้มีการประกาศฟื้นฟูฐานะธงชาติแบบเดิมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน.

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและธงชาติลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิเบีย

ลิเบีย (ليبيا) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี ประเทศลิเบียมีพื้นที่เกือบ 1,800,000 ตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา และประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 17 เมืองหลวง กรุงตริโปลี มีชาวลิเบียอาศัยอยู่ 1.7 ล้านคน จากทั้งประเทศ 6.4 ล้านคน ตามข้อมูลเมื่อปี..

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและประเทศลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา ซาร์กอซี

นีกอลา ซาร์กอซี (Nicolas Sarkozy;; (28 มกราคม พ.ศ. 2498 —) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและอดีตผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซน เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสกลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko).

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและนีกอลา ซาร์กอซี · ดูเพิ่มเติม »

เบงกาซี

งกาซี (Benghazi; Bengasi) หรือ บันฆอซี (بنغازي) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองในลิเบีย เป็นเมืองหลักของภูมิภาคไซเรไนกา (หรืออดีตจังหวัด) และเมืองหลวงชั่วคราวของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ เป็นเมืองท่าริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างสมัยราชอาณาจักรในประวัติศาสตร์ลิเบีย เบงกาซีมีสถานะเป็นเมืองหลวงร่วมกับตริโปลี ซึ่งอาจเนื่องมาจากพระมหากษัตริย์เคยประทับอยู่ในเมืองอัลไบดะที่อยู่ใกล้เคียง และราชวงศ์ค่อนข้างมีความสัมพันธ์อันดีกับไซเรไนกามากกว่าตริโปลิเตเนีย เบงกาซียังคงเป็นที่ตั้งของสถาบันและองค์การซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับเมืองหลวงของประเทศ ซึ่งได้สร้างบรรยากาศการแข่งขันและความอ่อนไหวอย่างต่อเนื่องระหว่างเบงกาซีกับตริโปลี เมื่อเดือนกุมภาพัน..

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและเบงกาซี · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครราชทูต

เอกอัครราชทูต (ambassador) เป็นนักการทูตตำแหน่งสูงสุด ซึ่งจัดการแทนประเทศหนึ่ง ๆ และปรกติมักได้รับการส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ไปยังรัฐบาลต่างด้าว หรือไปยังองค์การระหว่างประเทศ ในความหมายธรรมดา คำ "ทูต" (ambassador) หมายถึง บุคคลซึ่งรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งเพื่อให้จัดการแทนตน และไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีตำแหน่งใด โดยรัฐผู้รับ (host state) จะให้ทูตมีเขตอำนาจอยู่ใน สถานทูต (embassy) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้รับ และรัฐผู้รับจะให้ความคุ้มกัน (immunity) แก่พัทธสีมา ที่ดิน ทรัพย์สิน บุคคล ฯลฯ ของสถานทูต บางประเทศอาจแต่งตั้งบุคคลผู้เป็นที่เลื่อมใสกว้างขวางให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (ambassador-at-large) เพื่อให้จัดการเพียงบางอย่างโดยเฉพาะ หรือรับผิดชอบท้องที่อันจำกัด ขณะที่เอกอัครราชทูตมักมีอำนาจจัดการทั่วไป สำหรับประเทศในเครือจักรภพ มักเรียกเอกอัครราชทูตว่า ข้าหลวงใหญ่ (high commissioner) และคณะผู้แทนทางทูตจะเรียก คณะข้าหลวงใหญ่ (high commission) แทน ส่วนเอกอัครราชทูตของอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy See) นั้นเรียก เอกอัครสมณทูต (nuncio) หมวดหมู่:นักการทูต.

ใหม่!!: สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติและเอกอัครราชทูต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

National Transitional Councilสภาแห่งชาติลิเบีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »