เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์ก

ดัชนี ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์ก

ทธการที่เคอนิจส์แบร์ก (Battle of Königsberg) หรือที่รู้จักในชื่อ การรุกเคอนิจส์แบร์ก (Königsberg Offensive) เป็นปฏิบัติการสุดท้ายในการรุกปรัสเซียตะวันออกในเวลา 4 วัน โดย แนวรบบอลติกที่ 1 และ แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 3 ของกองทัพโซเวียตสามารถยึดเคอนิจส์แบร์กได้.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 8 ความสัมพันธ์: การรุกปรัสเซียตะวันออกสงครามโลกครั้งที่สองคอนสตันติน โรคอสซอฟสกีคาลีนินกราดประเทศรัสเซียนาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)เคอนิจส์แบร์ก

  2. ประเทศเยอรมนีในปี พ.ศ. 2488

การรุกปรัสเซียตะวันออก

การรุกปรัสเซียตะวันออกคือการรุกของกองทัพแดงต่อกองทัพเวร์มัคท์ในแนวรบด้านตะวันออกเรื่มขึ้นในวันที่13 มกราคม – 25 เมษายน 1945 กองทัพเวร์มัคท์ยังไม่ยอมจำนนจนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กคือยุทธการสุดท้ายในการรุกที่โซเวียตได้รับชัยชนะอย่างเด็.

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและการรุกปรัสเซียตะวันออก

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี.

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและสงครามโลกครั้งที่สอง

คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี

อนสตันติน คอนสตันติโนวิช โรคอสซอฟสกี (Konstanty Ksawerowicz Rokossowski; Константи́н Константи́нович (Ксаве́рьевич) Рокоссо́вский) เป็นผู้บัญชาการโซเวียตและโปแลนด์เป็นผู้ได้รับยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตและจอมพลแห่งโปแลนด์และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นหนึ่งในผู้วางแผนปฏิบัติการบากราติออนหนึ่งในปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จในแนวรบด้านตะวันออก.

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี

คาลีนินกราด

ลีนินกราด (p) (อดีต: เคอนิจส์แบร์ก; r; ปรัสเซียเก่า: Twangste, Kunnegsgarbs, Knigsberg; Królewiec; Karaliaučius) เป็นเมืองการปกครองหลักของแคว้นคาลีนินกราด ซื่งเป็นดินแดนส่วนแยกของประเทศรัสเซีย ระหว่าง ประเทศโปแลนด์ และ ประเทศลิทัวเนีย ใน ทะเลบอลติก.

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและคาลีนินกราด

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและประเทศรัสเซีย

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและนาซีเยอรมนี

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

เคอนิจส์แบร์ก

ปรัสเซียตะวันออก ตั้งแต่ปี 1919 ถึงปี 1939 ตราประจำเมืองเคอนิจส์แบร์ก เคอนิจส์แบร์ก (Königsberg) เป็นอดีตชื่อเมืองของเมืองคาลินินกราด โดยเป็นอดีตเมืองของชาวปรัสเซียเก่า ในสมัย Sambian ต่อมาเมืองนี้เป็นเมืองของ อัศวินทิวทอนิก, ดัชชีปรัสเซีย, ราชอาณาจักรปรัสเซีย, จักรวรรดิรัสเซีย และ เยอรมนี จนถึงปี 1946 หลังจากที่ถูกทำลายในช่วง สงครามโลกครั้งที่สองโดยกองทัพโซเวียต เคอนิจส์แบร์กถูกผนวกโดยสหภาพโซเวียต ต่อมาเมืองเคอนิจส์แบร์กถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองคาลินินกราด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เคอนิจส์แบร์ก ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี 1944 และในช่วงถูกล้อม ในปี 1945 เคอนิจส์แบร์กถูกยึดครองและปกครองโดยสหภาพโซเวียต ชาวเยอรมันที่อยู่ในเมืองถูกขับไล่ทั้งหมดและแทนที่ด้วยชาวรัสเซียและเชื้อชาติอื่นในสหภาพโซเวียต ตามนโยบายการแผลงเป็นรัสเซีย เคอนิจส์แบร์ก ถูกใช้ชื่อในภาษารัสเซียในชื่อ "Kyonigsberg" (Кёнигсберг) ก่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเมือง "คาลินินกราด" ในปี 1946 ซึ่งตั้งชื่อตามประมุขแห่งรัฐสหภาพโซเวียต มีฮาอิล คาลีนิน.

ดู ยุทธการที่เคอนิจส์แบร์กและเคอนิจส์แบร์ก

ดูเพิ่มเติม

ประเทศเยอรมนีในปี พ.ศ. 2488

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Battle of KönigsbergKönigsberg Offensive