เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

KKND2: Krossfire

ดัชนี KKND2: Krossfire

งครามครอสไฟร์ (KKnD2: Krossfire) ส่วนคำว่า KKnD ย่อมาจาก Krush, Kill n' Destroy ถูกจัดจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

สารบัญ

  1. 10 ความสัมพันธ์: วิดีโอเกมหลายผู้เล่นวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียวสตาร์คราฟต์อาตาริคอมมานด์ & คองเคอร์คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)แผ่นซีดีไมโครซอฟท์ วินโดวส์เพลย์สเตชันเมาส์

  2. วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศออสเตรเลีย
  3. วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2541
  4. วิดีโอเกมวางแผนเวลาจริง

วิดีโอเกมหลายผู้เล่น

วิดีโอเกมหลายผู้เล่น (Multiplayer video game) หรือ โหมดผู้เล่นหลายคน เป็นการเล่นที่ผู้เล่นหลายคนสามารถเล่นได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันภายในเกมได้มากกว่าหนึ่งคน ไม่เหมือนกับเกมประเภทอื่น ๆ เกมคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมมักจะมีเนื้อหาในโหมดผู้เล่นคนเดียว ซึ่งเป็นการเล่นระหว่างผู้เล่นกับการท้าทายที่มีการเขียนโปรแกรมมากแล้วก่อนหน้านี้ หรือปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมักจะขาดซึ่งความยืดหยุ่นและมีความฉลาดไม่เท่ากับการคิดของมนุษย์ องค์ประกอบของการเล่นหลายคนทำให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้เล่นคนอื่น อาจอยู่ในรูปแบบของการร่วมมือกัน การแข่งขันกันหรือคู่ปรับกัน และทำให้ผู้เล่นมีการติดต่อสื่อสารทางสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ในโหมดผู้เล่นคนเดียว ในเกมหลายผู้เล่นจำนวนมาก ผู้เล่นอาจดำเนินการแข่งขันกับผู้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปอย่างเป็นคู่แข่งกัน ทำงานร่วมกันกับเพื่อนที่เป็นผู้เล่นคนอื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน การดูแลกิจกรรมของผู้เล่นคนอื่น หรืออาจมีลักษณะของเกมที่ผสมผสานการเล่นทั้งหมดดังที่กล่าวมา เกมหลายผู้เล่นจำเป็นจะต้องมีการแบ่งปันทรัพยากรของระบบผู้เล่นคนเดียว หรือใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเล่นด้วยกันได้ แม้จะอยู่ห่างไกลกันมากก็ตาม.

ดู KKND2: Krossfireและวิดีโอเกมหลายผู้เล่น

วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว

วิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว (Single-player video game) หรือ โหมดผู้เล่นคนเดียว คือโหมดการเล่นมาตรฐานแบบหนึ่งของเกมคอมพิวเตอร์แบบออฟไลน์ทั่วไป ซึ่งตัวเกมจะรองรับให้ผู้เล่นคนเดียวดำเนินบทบาทตามเนื้อเรื่องจนจบ คำว่า "เกมผู้เล่นคนเดียว" มักจะหมายถึง เกมที่สามารถเล่นได้เพียงคนเดียว ในขณะที่ "โหมดผู้เล่นคนเดียว" หมายถึง ผู้เล่นสามารถปรับเลือกที่จะเล่นโหมดหลายผู้เล่นได้ เกมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในยุคเริ่มต้นมักจะเป็นเกมผู้เล่นคนเดียว ขณะที่เกมสองผู้เล่นได้ปรากฏขึ้นพร้อมกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และในปี ค.ศ.

ดู KKND2: Krossfireและวิดีโอเกมผู้เล่นคนเดียว

สตาร์คราฟต์

ตาร์คราฟต์ เป็นวิดีโอเกมประเภทวางแผนเรียลไทม์และบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์การทหาร พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบลิซซาร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ออกบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541 ต่อมา เกมขยายเป็นแฟรนไชส์ และเป็นเกมแรกของซีรีส์''สตาร์คราฟต์'' รุ่นแมคโอเอสออกในเดือนมีนาคม 2542 และรุ่นดัดแปลงนินเทนโด 64 ซึ่งพัฒนาร่วมกับแมสมีเดีย ออกในวันที่ 13 มิถุนายน 2543 การพัฒนาเกมนี้เริ่มขึ้นไม่นานหลังวอร์คราฟต์ 2: ไทด์สออฟดาร์กเนส ออกในปี 2538 สตาร์คราฟต์เปิดตัวในงานอี3 ปี 2539 ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบน้อยกว่าวอร์คราฟต์ 2 ฉะนั้น โครงการจึงถูกพลิกโฉมทั้งหมดแล้วแสดงต่อสาธารณะในต้นปี 2540 ซึ่งได้รับการตอบรับดีกว่ามาก เกมมีฉากท้องเรื่องในเส้นเวลาสมมติระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 25 ของโลก โดยมุ่งไปยังสามสปีชีส์ที่แก่งแย่งชิงความเป็นใหญ่ในส่วนห่างไกลของดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งเรียก ภาคคอปรูลู (Koprulu Sector) สามสปีชีส์นั้นได้แก่ เทอร์แรน (Terran) มนุษย์ซึ่งถูกเนรเทศจากโลก และมีทักษะการปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์, เซิร์ก (Zerg) เผ่าพันธุ์คล้ายแมลงต่างดาวที่แสวงความสมบูรณ์ของพันธุกรรม และหมกมุ่นกับการกลืนกินเผ่าพันธุ์อื่น และโพรทอส (Protoss) เผ่าพันธุ์คล้ายมนุษย์ซึ่งมีเทคโนโลยีล้ำหน้าและความสามารถพลังจิต โดยพยายามรักษาอารยธรรมของพวกตนและวิถีชีวิตปรัชญาเคร่งครัดจากพวกเซิร์ก นักหนังสือพิมพ์ของอุตสาหกรรรมวิดีโอเกมจำนวนมากยกย่อง สตาร์คราฟต์ ว่าเป็นเกมที่ดีที่สุด และสำคัญที่สุดตลอดกาลเกมหนึ่ง และว่าได้ยกระดับการพัฒนาเกมวางแผนเรียลไทม์ สตาร์คราฟต์เป็นเกมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลขายดีที่สุดเกมหนึ่ง โดยจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 สามารถขายได้ 11 ล้านแผ่นทั่วโลก เกมยังได้รับการยกย่องจากการบุกเบิกการใช้กลุ่มแยกมีเอกลักษณ์ในการเล่นวางแผนเรียลไทม์ และเรื่องที่เร้าความสนใจ รูปแบบหลายผู้เล่นของสตาร์คราฟต์ได้รับความนิยมเป็นพิเศษในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งผู้เล่นและทีมร่วมการแข่งขันอาชีพ ได้รับการสนับสนุน และแข่งขันในทัวร์นาเมนต์ที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สตาร์คราฟต์มีการดัดแปลงและขยายแนวเรื่องผ่านชุดนวนิยาย ภาคเสริม (expansion pack) สตาร์คราฟต์: บรูดวอร์ และตัวเสริม (add-on) ที่ได้รับอนุญาตอีกสองตัว อีก 12 ปีให้หลัง ภาคต่อ สตาร์คราฟต์ 2: วิงส์ออฟลิเบอร์ตี ออกในเดือนกรกฎาคม 2553.

ดู KKND2: Krossfireและสตาร์คราฟต์

อาตาริ

เครื่องเล่นอาตาริ 2600 อาตาริ (อังกฤษ: Atari Inc.) เป็นบริษัทผลิตเครื่องเล่นวิดีโอเกมของสหรัฐอเมริกา ที่มียอดขายหลายล้านเครื่องในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ในปี 1971 โนแลนบุชเนล และเท็ดแดปนีย ก่อตั้งบริษัทไซเซอจีเอ็นจิเนียริง และได้ออกแบบสร้างวิดีโอเกมอาเขตเครื่องแรกคือคอมพิวเตอร์สเปซให้กับบริษัทนัตติงแอตโซซิเอต จนวันที่ 27 มิถุนายน 1972 บริษัทอาตาริ อิงค์ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นและได้ว่าจ้าง อลันอัลคอรน เป็นวิศวกรด้านการออกแบบ บุชเนลตัดสินใจให้ อัลคอรน ได้ทดสอบความสามารถโดยพัฒนาเกมเลียนแบบ เกมเทเบิ้ลเทนนิสของเครื่อง แม็กนาวอกซ์โอดีสซี ซึ่งออกวางตลาดโดยใช้ชื่อว่า ป็อง โดยแรกเริ่ม ป็อง เป็นเครื่องเล่นเกมอาเขต ต่อมาวางจำหน่ายเป็นเครื่องเล่นเกมในบ้าน บุชเนลเลือกชื่อ อาตาริ จากศัพท์ในเกมโกะ คำว่า อาตาริ ซึ่งหมายถึงกลุ่มก้อนหินซึ่งหมายถึงคู่ต่อสู้กำลังจะถูกทำให้แพ้ คำว่า อาตาริในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า เรื่องกำลังจะเกิดขึ้นหรือบางคนกำลังถูกลอตเตอรี่ ในปี 1976 บุชเนลว่าจ้าง บริษัทกลาสวัลเลย์ สร้างเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ยืดหยุ่นและมีราคาประหยัดผลงานที่ได้คือ อาตาริวิดีโอคอมพิวเตอร์ซีสเต็ม หรือ วีซีเอส ซึ่งต่อมามีชื่อว่า อาตาริ 2600 แต่เนื่องจากการนำออกสู่ตลาดต้องใช้ทุนจำนวนมาก บุชเนลจึงตัดสินใจขายสิทธิให้กับ วอร์เนอร์คอมมิวนิเคชั่น ในราคา 28-32ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเงินที่ได้ไปซื้อ โฟวเกอร์แมนชั่น บุชเนลยังทำงานอยู่ในบริษัทต่อไปจนถูกไล่ออกในเดือนธันวาคม ปี 1978 ในการสร้างอาตาริ 2600 ถูกกำหนดให้วางตลาดได้ 3 ปี ในระหว่างนี้บริษัทต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ในที่สุดได้ออกวางจำหน่าย เครื่องรุ่นที่มีคีย์บอร์ดในตัว ในชื่อ อาตาริ 800 และรุ่นประหยัด อาตาริ 400 อย่างไรก็ตามสินค้าไม่ได้รับการตอบรับจากตลาดดีเท่าที่ควรเนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจ แอปเปิ้ล ทู มากกว่าภายหลังบริษัทจึงตัดสินใจที่จะยกเลิกคีย์บอร์ดในตัว และกลับไปทำเครื่อง อาตาริ 5200 ภายใต้การบริหารงานของ วอร์เนอร์ อาตาริสามารถขายเครื่องรุ่น 2600 ได้หลายล้านเครื่องและกลายเป็นบริษัทที่มียอดขายเติบโตสูงสุดในช่วงเวลานั้น อย่างไรก็ตามพอถึงช่วงต้นปี 1980 เกิดการแข่งขันราคาอย่างมากในตลาดเครื่องเล่นเกม จากนั้นอาตาริไม่เคยประสบความสำเร็จอีกเลย วอร์เนอร์ขายสิทธิเครื่องเล่นเกม ให้ แจ็กทาไมล ในปี 1984 และขายสิทธิตัวเกมอาตาริ ให้นัมโค ในปี 1985 ทาไมล บริหารอาตาริในนามบริษัท อาตาริคอร์ป และออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในชื่อ อาตาริ เอสที ในเดือน เมษายน ของปี 1985 ต่อมาในปี 1989 ออกผลิตภัณฑ์ เครื่องเล่นเกมขนาดเล็กชื่อ อาตาริ ลิงนซ์ อย่างไรก็ตามต้องต่อสู้อย่างหนักกับ เกมบอย ของนินเทนโด จึงหันกลับไปพัฒนาเครื่องเล่นเกมรุ่น จากัวร์ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จทางการตลาด ในปี 1996 บริษัทควบรวมกับ บริษัทเจทีเอสอิงค์ ผู้ผลิตดิสไดรฟ์ ในปี 1998 เจทีเอสตัดสินใจขายชื่อ อาตาริ และสินทรัพย์ทั้งหมดให้กับ แฮสโบรวอินเตอร์แอกทีฟ ในราคา 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หมวดหมู่:บริษัทวิดีโอเกม หมวดหมู่:บริษัทของสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:บริษัทที่ก่อตั้งในปี พ.ศ.

ดู KKND2: Krossfireและอาตาริ

คอมมานด์ & คองเคอร์

อมมานด์ & คอนเคอร์ (Command & Conquer หรือ C&C) คือชื่อของเกมคอมพิวเตอร์แนวเกมวางแผนการรบเรียลไทม์ และ เฟิร์ตเพอร์เซินชูตเตอร์ พัฒนาครั้งแรกโดยบริษัท เวสท์วูด สตูดิโอ ระหว่างปี 1985 จนถึง 2003 ร่วมพัฒนากับบริษัท อิเลคโทรนิค อาร์ต โดยเกมแรกได้วางแผงทั่วโลกใน วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.

ดู KKND2: Krossfireและคอมมานด์ & คองเคอร์

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ดู KKND2: Krossfireและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

แผ่นซีดี

แผ่นซีดี แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน.

ดู KKND2: Krossfireและแผ่นซีดี

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ดู KKND2: Krossfireและไมโครซอฟท์ วินโดวส์

เพลย์สเตชัน

ลย์สเตชัน (อังกฤษ: PlayStation ญี่ปุ่น: プレイステーション) เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกม ระบบ 32 บิต ผลิตโดย Sony Computer Entertainment โดยได้มีออกมาหลายรุ่นในลักษณะหลักเดียวกันในช่วงปลายปี ทศวรรษ 2540 หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางโซนี่ได้ออกเครื่องเล่นเกมในรุ่นต่อมาซึ่งได้แก่ พีเอสวัน (PSone), เพลย์สเตชัน 2, PSP (PlayStation Portable) และ เพลย์สเตชัน 3 ที่ออกจำหน่ายไปแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ.

ดู KKND2: Krossfireและเพลย์สเตชัน

เมาส์

ลักษณะการทำงานของเมาส์ (แบบลูกกลิ้ง) 1: เมื่อเคลื่อนเมาส์ ลูกบอลด้านล่างจะหมุน 2: จานหมุนสองแนว จับการเคลื่อนไหวของลูกบอล 3: เมื่อจานหมุนทำการหมุน รูบริเวณขอบจานหมุนหมุนตาม 4: แสงอินฟราเรด ส่งผ่านรูจานหมุน 5: เซนเซอร์อ่านค่า และส่งเป็นค่าของความเร็วการเคลื่อนไหวในแนวแกน X และแกน Yเมาส์ (mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ (pointing device) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสัน ต่าง ๆ กัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสันแปลกตาไปจากรุ่นทั่วไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ (Air Mouse) ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกันการทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(สำหรับรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรก ๆ นั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS/2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ ๆ กันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญาณวิทยุเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า เมาส์ไร้สาย (Wireless mouse) เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนู (Mouse) และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู.

ดู KKND2: Krossfireและเมาส์

ดูเพิ่มเติม

วิดีโอเกมที่พัฒนาขึ้นในประเทศออสเตรเลีย

วิดีโอเกมที่ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2541

วิดีโอเกมวางแผนเวลาจริง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ KKnD2 Krossfire