โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

IOPS

ดัชนี IOPS

IOPS (Input/Output Operations Per Second) หรือ จำนวนปฏิบัติการ อินพุต/เอาต์พุต ต่อวินาที อ่านออกเสียง ไอ-ออปส์ ใช้เป็นมาตรวัดประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยเก็บข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อาธิเช่น ฮาร์ดดิสก์ และโซลิดสเตตไดรฟ์ ดังเช่นเครื่องมือในการวัดประสิทธิภาพอื่น ๆ ปริมาณ IOPS ไม่ได้รับประกันถึงการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน เป็นเพียงการวัดเชียงเปรียบเทียบเท่านั้น การวัด IOPS จะมีค่าต่างกันมากหากกำหนดวิธีการทดสอบต่างกัน ปัจจัยที่มีผลเช่นรูปแบบการเข้าถึงข้อมูลแบบต่อเนื่องหรือแบบสุ่ม ขนาดของบล็อกข้อมูลในการอ่าน-เขียน และการทดสอบหากเน้นการเขียนเป็นหลักก็ย่อมมีผลต่างกับการเน้นการอ่านเป็นหลักเช่นกัน ตลอดจนเงื่อนไขอื่น ๆ เช่นการตั้งค่าของระบบ ไดร์ฟเวอร์ของหน่วยเก็บข้อมูล และระบบปฏิบัติการ ดังนั้นผลการทดสอบ IOPS จึงต้องแนบสภาพแวดล้อมการทดสอบ และเงื่อนไขจำเพาะต่าง ๆ ด้ว.

9 ความสัมพันธ์: การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของคอมพิวเตอร์กิโลไบต์หน่วยอัตราข้อมูลหน่วยความจำหน่วยความจำแฟลชอินพุต/เอาต์พุตฮาร์ดดิสก์โซลิดสเตตไดรฟ์ไอบีเอ็ม

การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของคอมพิวเตอร์

การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ คือ การวัดประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้นจะเน้นที่ตัวประมวลผลเป็นหลัก ซึ่งการมุ่งเน้นไปที่ตัวประมวลผลนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการวัดประสิทธิภาพโดยรวมทั้งร.

ใหม่!!: IOPSและการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะของคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลไบต์

กิโลไบต์ (Kilobyte) ใช้ตัวย่อว่า kB มีค่าเท่ากับ 10,000 ไบต์ (SI prefix) เช่น ถ้าพูดว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 100 กิโลไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 100,000 ไบต์ มีความจุประมาณ รูปถ่ายคุณภาพระดับกลาง.

ใหม่!!: IOPSและกิโลไบต์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยอัตราข้อมูล

ในสาขาโทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์, อัตราบิต หรือ จำนวนบิตข้อมูลที่ถูกส่งในหนึ่งหน่วยเวลา สามารถวัดได้ในหน่วยของ บิตต่อวินาที, ไบต์ต่อวินาที และยังนิยมเติมคำอุปสรรคของระบบเอสไอไว้ด้านหน้า ซึ่งจะทำให้มีความหลากหลายของหน่วยอัตราข้อมูล (data rate units) ในการวัดดังนี้.

ใหม่!!: IOPSและหน่วยอัตราข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำ

หน่วยความจำ (Computer memory) คือ อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำถาวร และ หน่วยความจำชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจำถาวรก็เช่น หน่วยความจำแบบแฟลช และหน่วยความจำพวกรอม ตัวอย่างของหน่วยความจำชั่วคราวก็คือพวกหน่วยความจำหลัก เช่น DRAM (แรมชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) และแคชของซีพียูซึ่งทำงานได้รวดเร็วมาก (ปกติเป็นแบบ SRAM ซึ่งเร็วกว่า กินไฟน้อยกว่า แต่มีความจุต่อพื้นที่น้อยกว่า DRAM).

ใหม่!!: IOPSและหน่วยความจำ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยความจำแฟลช

แฟลชไดรฟ์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้หน่วยความจำแฟลชในการเก็บข้อมูล จากภาพ ทางด้านซ้ายคือหน่วยความจำแฟลช ทางด้านขวาคือวงจรควบคุม หน่วยความจำแฟลช (Flash memory) หรือ แฟลช คือ อุปกรณ์เก็บข้อมูลถาวรสำหรับคอมพิวเตอร์ที่สามารถลบและเขียนใหม่ได้ โดยมีลักษณะการทำงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด กล่าวคือไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ขณะทำงาน (ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่มีจานแม่เหล็กหมุนตลอดเวลาขณะทำงาน) หน่วยความจำแฟลชพัฒนาต่อมาจาก EEPROM (หน่วยความจำแบบรอมที่สามารถลบข้อมูลได้) ปัจจุบันหน่วยความจำแฟลชมีด้วยกันสองชนิดคือ หน่วยความจำแฟลชชนิด NAND และหน่วยความจำแฟลชชนิด NOR ซึ่งเป็น NAND และ NOR เป็นชื่อของโลจิกเกตที่เซลล์หน่วยความจำแฟลชแต่ละชนิดใช้ หน่วยความจำแฟลชชนิดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ ชนิด NAND และใช้เป็นหน่วยความจำใน แฟลชไดรฟ์, โซลิดสเตตไดรฟ์, เมโมรีการ์ด และมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก โดยถูกใช้เป็นหลักในอุปกรณ์พกพาเนื่องจากสามารถทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าฮาร์ดดิสก์มาก หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ หมวดหมู่:หน่วยความจำถาวร หมวดหมู่:Solid-state computer storage media.

ใหม่!!: IOPSและหน่วยความจำแฟลช · ดูเพิ่มเติม »

อินพุต/เอาต์พุต

อินพุต/เอาต์พุต ย่อว่า ไอ/โอ (input/output: I/O) หรือภาษาไทยว่า รับเข้า/ส่งออก ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงการสื่อสารระหว่างระบบประมวลผลสารสนเทศ (เช่นคอมพิวเตอร์) กับโลกภายนอก ซึ่งอาจเป็นมนุษย์หรือระบบประมวลผลสารสนเทศอีกระบบหนึ่ง อินพุตหรือสิ่งรับเข้าคือสัญญาณหรือข้อมูลที่ระบบรับเข้ามา และเอาต์พุตหรือสิ่งส่งออกคือสัญญาณหรือข้อมูลที่ระบบส่งออกไป ศัพท์นี้ใช้เรียกการกระทำเพียงส่วนหนึ่ง กล่าวคือ “การกระทำไอ/โอ” หมายถึงการปฏิบัติการรับเข้าหรือส่งออกสัญญาณหรือข้อมูล บุคคลหนึ่ง (หรือระบบอื่น) สามารถใช้อุปกรณ์ไอ/โอเพื่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างเช่น คีย์บอร์ดหรือเมาส์จัดว่าเป็นอุปกรณ์รับเข้าสำหรับคอมพิวเตอร์ ในขณะที่จอภาพและเครื่องพิมพ์จัดว่าเป็นอุปกรณ์ส่งออกสำหรับคอมพิวเตอร์ ส่วนอุปกรณ์ที่สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน เช่นโมเด็มหรือแผ่นวงจรเครือข่าย โดยปกติสามารถเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการออกแบบของอุปกรณ์ว่าจะเป็นการรับเข้าหรือการส่งออกขึ้นอยู่กับมุมมอง ตัวอย่างเช่น เมาส์และคีย์บอร์ดรับเข้าการเคลื่อนไหวทางกายภาพที่ส่งออกโดยมนุษย์ผู้ใช้งาน และแปลงเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ สัญญาณส่งออกจากอุปกรณ์เหล่านี้จึงเป็นสัญญาณรับเข้าของคอมพิวเตอร์ และเช่นเดียวกัน เครื่องพิมพ์และจอภาพรับเข้าสัญญาณที่ส่งออกจากคอมพิวเตอร์ และแปลงสัญญาณเหล่านี้เป็นการแสดงผลที่มนุษย์ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นหรืออ่านได้ กระบวนการอ่านหรือการมองเห็นการแสดงผลก็เป็นข้อมูลรับเข้าของมนุษย์ผู้ใช้งาน การศึกษาการโต้ตอบเหล่านี้อยู่ในขอบเขตที่เรียกว่าการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (human-computer interaction) ในสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การรวมผสานระหว่างหน่วยประมวลผลกลางกับหน่วยความจำหลักจะถูกพิจารณาว่าเป็น “สมอง” ของคอมพิวเตอร์ (หน่วยประมวลผลกลางที่อ่านและเขียนหน่วยความจำหลักได้โดยตรงด้วยชุดคำสั่งเฉพาะเป็นอาทิ) และจากมุมมองดังกล่าว การถ่ายโอนสารสนเทศมาจากหรือไปสู่การรวมผสานนั้นกับหน่วยอื่น เช่นหน่วยขับจานบันทึก ถือว่าเป็นไอ/โอ หน่วยประมวลผลกลางและวงจรที่รองรับได้จัดเตรียมไอ/โอที่จับจองบนหน่วยความจำ (memory-mapped I/O) ไว้ให้ ซึ่งใช้ในการเขียนโปรแกรมระดับล่างเพื่อพัฒนาโปรแกรมขับอุปกรณ์ (device driver) ขั้นตอนวิธีของไอ/โอเป็นสิ่งหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์เอกลักษณ์เฉพาะเครื่องและปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีข้อมูลอยู่บนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเช่นหน่วยขับจานบันทึก.

ใหม่!!: IOPSและอินพุต/เอาต์พุต · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ดดิสก์

ร์ดดิสก์ชนิดต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk drive) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA), แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์ SSD โดยในปี 2008 ได้มีการพัฒนาเป็น Hybrid drive และ โซลิดสเตตไดรฟ.

ใหม่!!: IOPSและฮาร์ดดิสก์ · ดูเพิ่มเติม »

โซลิดสเตตไดรฟ์

'''โซลิดสเตตไดรฟ์''' ถูกแยกส่วนเปรียบเทียบกับ ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้จานแม่เหล็กหมุน จะเห็นได้ว่าแบบจานแม่เหล็กหมุนนั้น มีข้อจำกัดเกี่ยวกับความทนต่อแรงสั่นสะเทือน เพราะหัวอ่านข้อมูลเป็นอุปกรณ์ที่มีความละเอียดอ่อนมากซึ่งอาจจะกระทบถูกจานหมุนและได้รับความเสียหายได้หากมีแรงกระแทกจากภายนอกที่มากพอ ในขณะที่โซลิดสเตตไดรฟ์ ไม่มีข้อจำกัดอันนี้ โซลิดสเตตไดรฟ์จาก DDR SDRAM มีความจุ 128 จิกะไบต์ และมีอัตราข้อมูล 3072 เมกะไบต์ต่อวินาที ไม่ต้องการ mSATA SSD โซลิดสเตตไดรฟ์ (Solid state drive, SSD) หรือ เอสเอสดี คือ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ชิปวงจรรวมที่ประกอบรวมเป็น หน่วยความจำ เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบถาวรเหมือนฮาร์ดดิสก์ เทคโนโลยีของโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างมาเพื่อทดแทนฮาร์ดดิสก์จึงทำให้มีอินเทอร์เฟส อินพุต/เอ้าพุต เหมือนกันและสามารถใช้งานแทนกันได้ และเนื่องจากโซลิดสเตตไดรฟ์ถูกสร้างด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่มีชิ้นส่วนจักรกลใดๆที่มีการเคลื่อนที่ (หลักการของ ฮาร์ดดิสก์ และ ฟรอปปี้ดิสก์ คือใช้จานแม่เหล็กหมุน) ส่งผลให้ความเสียหายจากแรงกระแทกของโซลิดสเตตไดรฟ์นั้นน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ (หรือทนต่อการแรงสั่นสะเทือนได้ดี) โดยการเปรียบเทียบจากการที่โซลิดสเตตไดรฟ์ไม่ต้องหมุนจานแม่เหล็กในการอ่านข้อมูลทำให้อุปกรณ์กินไฟน้อยกว่า และใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูล (access time) และเวลาในการหน่วงข้อมูล (latency) น้อยกว่าเนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูลในตำแหน่งต่างๆ ได้รวดเร็วและทันทีโดยไม่ต้องรอการหมุนจานแม่เหล็กให้ถึงตำแหน่งของข้อมูล คำว่าโซลิดสเตตไดรฟ์เป็นคำกว้างๆ ที่อธิบายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกับฮาร์ดดิสก์แต่ใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูลทดแทนการใช้จานแม่เหล็ก โซลิดสเตตไดรฟ์จึงมีหลายชนิดซึ่งแตกต่างกันตามชนิดหน่วยความจำที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันหน่วยความจำที่นิยมนำมาใช้ในโซลิดสเตตไดรฟ์คือ หน่วยความจำแฟลช ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปและเป็นที่นิยมที่สุดแต่มีข้อเสียที่จำกัดจำนวนครั้งในการเขียนข้อมูลทับ และอีกชนิดคือ เอสเอสดีจาก DDR SDRAM หรือแรมที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักดี ซึ่งเร็วกว่าหน่วยความจำแฟลชมากและเขียนทับได้ไม่จำกัด แต่เพราะว่า DDR SDRAM เป็นหน่วยความจำชั่วคราวดังนั้นการที่จะให้ทำงานเป็นหน่วยความจำถาวรก็ต้องมีแหล่งไฟฟ้าที่ถาวรเลี้ยงเพื่อไม่ให้ลืมข้อมูล ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้ทั่วไปตามบ้านเรือนแต่นิยมในอุตสาหกรรมที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง.

ใหม่!!: IOPSและโซลิดสเตตไดรฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอบีเอ็ม

อบีเอ็ม (International Business Machines, IBM) หรือชื่อเล่น บิ๊กบลู (ยักษ์สีฟ้า) เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ รายใหญ่ของโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา มีพนักงานมากกว่า 330,000 คนทั่วโลก ไอบีเอ็มก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสาขามากกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ไอบีเอ็มเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: IOPSและไอบีเอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »