โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลอร์เตตราไซคลีน

ดัชนี คลอร์เตตราไซคลีน

ลอร์เตตราไซคลีน (Chlortetracycline ชื่อการค้า Aureomycin, Lederle) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดแรกในกลุ่มเตตราไซคลีน คลอร์เตตราไซคลีนถูกค้นพบในปี..

14 ความสัมพันธ์: การฉีดเข้าหลอดเลือดดำมีซิลลินัมยายาปฏิชีวนะสัตวแพทย์อะม็อกซีซิลลินอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์อาหารตับแมวแอมพิซิลลินแอคติโนมัยสีทไตเยื่อตาอักเสบ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ คือการส่งผ่านของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดโดยตรง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการส่งของเหลวเข้าสู่ร่างกายเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น การรักษาที่ใช้วิธีการฉีดเข้าเส้น ได้แก่ การถ่ายเลือด หรือการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำโดยตรงเพื่อให้ยาออกฤทธิ์แทบจะทันที หมวดหมู่:รูปแบบเภสัชภัณฑ์ หมวดหมู่:การรักษาทางการแพทย์.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

มีซิลลินัม

มีซิลลินัม(Mecillinam) หมวดหมู่:เพนิซิลลิน.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและมีซิลลินัม · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและยา · ดูเพิ่มเติม »

ยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนิซิลลินอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics จากภาษากรีซโบราณ αντιβιοτικά, antiviotika) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibacterials) เป็นกลุ่มย่อยของยาอีกกลุ่มหนึ่งในกลุ่มยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial drugs) ซึ่งเป็นยาที่ถูกใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจออกฤทธิ์ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสอง ยาปฏิชีวนะบางชนิดอาจมีคุณสมบัติเป็นมีคุณสมบัติเป็นสารต้านโพรโทซัวได้ เช่น เมโทรนิดาโซล ทั้งนี้ ยาปฏิชีวนะไม่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น โดยยาที่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัสจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอีกกลุ่มหนึ่งของยาต้านจุลชีพ ในบางครั้ง คำว่า ยาปฏิชีวนะ (ซึ่งหมายถึง "การต่อต้านชีวิต") ถูกนำมาใช้เพื่อสื่อความถึงสารใดๆที่นำมาใช้เพื่อต้านจุลินทรีย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ยาต้านจุลชีพ บางแหล่งมีการใช้คำว่า ยาปฏิชีวนะ และ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในความหมายที่แยกจากกันไป โดยคำว่า ยา (สาร) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จะสื่อความถึง สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ขณะที่คำว่า ยาปฏิชีวนะ จะหมายถึงยาที่ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย การพัฒนายาปฏิชีวนะเริ่มต้นในช่วงศตวรรษที่ 20 พร้อมกับการพัฒนาเรื่องการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคจากเชื้อจุลชีพต่างๆ การเกิดขึ้นของยาปฏิชีวนะนำมาซึ่งการกำจัดโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ออกไปหลายชนิด เช่น กรณีของวัณโรคที่ระบาดในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม ด้วยประสิทธิภาพที่ดีและการเข้าถึงยาที่ง่ายนำไปสู่การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด พร้อมๆกับการที่แบคทีเรียมีการพัฒนาจนกลายพันธุ์เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ปัญหาดังข้างต้นได้แพร่กระจายเป็นวงกว้าง จนเป็นปัญหาสำคัญของการสาธารณสุขในทุกประเทศทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้ประกาศให้ปัญหาการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียเป็น "ปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่สุดที่เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลกและทุกคนล้วนจะต้องได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ไม่ว่าวัยใด หรือประเทศใดก็ตาม".

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและยาปฏิชีวนะ · ดูเพิ่มเติม »

สัตวแพทย์

ัตวแพทย์ สัตวแพทย์ คือ แพทย์ที่รักษาสัตว์ หรือกล่าวแบบภาษาชาวบ้านว่า "หมอรักษาสัตว์" โดยคำว่า veterinarian นิยมใช้ในอเมริกาเหนือ ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยโทมัส บราวน์ (Thomas Browne) หรือ veterinary surgeon นิยมใช้ในยุโรป ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ veterinae โดยมีหมายความว่า draught animals บางครั้งอาจจะใช้คำสั้น ๆ ว่า "vet" ในประเทศไทย คาดว่า คำว่า สัตวแพทย์ พล.ต. ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดาของวิชาสัตวแพทย์สมัยใหม่ เป็นผู้ใช้คำนี้ โดยทรงก่อตั้งโรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็นโรงเรียนนายสิบสัตวแพทย์ และ โรงเรียนนายดาบสัตวแพทย์ทหารบก ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ครั้งแรกของประเทศไทย โดยต้องการผลิตกำลังพลป้อนกองทัพ และได้พัฒนาเป็นแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์ พันโท หลวงชัยอัศวรักษ์ เป็นปฐมคณบดี ซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในสถานศึกษาพลเรือนเป็นครั้งแรก เพื่อผลิตสัตวแพทย์ ในระดับปริญญา ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศในสมัยนั้น รัฐบาลได้โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์มาสังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปีพุทธศักราช 2497 โดยมีการเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จำนวน 2 ปี และไปเรียนที่ถนน อังรีดูนัง อีก 4 ปี ต่อมาได้มีการย้ายกิจการคณะไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจัดตั้งเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันเมื่อปี พุทธศักราช 2510 แต่ก็ยังมีอาจารย์และนิสิตส่วนหนึ่งอยู่พัฒนาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป โดยได้เชิญอธิบดีกรมปศุสัตว์ในสมัยนั้น คือ ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม เป็นคณบดี และถือว่า ท่านคือ บิดาของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ ก็เปิดสอนวิชาสัตวแพทยศาสตร์ ในระดับประกาศนียบัตร ณ โรงเรียนสัตวแพทย์ (Paraveterinary School)เพื่อผลิตบุคลกรให้กรมปศุสัตว์ เพื่อบรรเทาความขาดแคลนสัตวแพทย์ของประเทศ โดยมีเพลงนกน้อยในไร่ส้มเป็นเพลงที่ถูกแต่งเพื่อชื่นชมการปฏิบัติหน้าที่ของสัตวแพทย์ในชนบท และถูกนำไปใช้ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน ต่อมา สำหรับประเทศไทย คำว่า "สัตวแพทย์" สามารถสื่อความหมายได้ 2 กรณี คือ สัตวแพทย์ (Paravet) และ นายสัตวแพทย์ (Veterinarian) นายสัตวแพทย์ คือ บุคคลที่เรียนจบสัตวแพทย์ ในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับคุณวุฒิ ปริญญาทางสัตวแพทยศาสตร์ (สพ.บ.) และ ได้รับ ใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง สัตวแพทย์ คือ บุคคลที่เรียนจบ โรงเรียนสัตวแพทย์ ของ กรมปศุสัตว์ ได้รับประกาศนียบัตร (2ปี) และได้รับ ใบประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ชั้น สอง ปัจจุบัน โรงเรียนสัตวแพทย์ ของกรมปศุสัตว์ ได้ยุบและโอนย้ายไปเป็น คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดทำการสอนในระดับปริญญา ด้าน เทคนิคการสัตวแพทย์ (4ปี).

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและสัตวแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะม็อกซีซิลลิน

Amoxicillin BP อะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin, amoxycillin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายโรค เป็นยาที่แนะนำให้ใช้เป็นลำดับแรกในการรักษาหูชั้นกลางอักเสบ อาจใช้รักษาคออักเสบจากเชื้อสเตร็ป ปอดอักเสบ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอื่นๆ ยานี้เป็นยากิน ส่วนการฉีดนั้นมีที่ใช้อยู่บ้างแต่น้อย ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือการมีผื่น และอาการคลื่นไส้ หากใช้ร่วมกับกรดคลาวูลานิกอาจทำให้เกิดการติดเชื้อรา และอาการท้องเสียได้ ยานี้ไม่ควรใช้ในผู้ที่แพ้ยาเพนิซิลลิน หากใช้ในผู้ป่วยโรคไตอาจต้องลดขนาดยาลง การใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังไม่พบว่ามีอันตราย อะม็อกซีซิลลินได้รับการค้นพบครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและอะม็อกซีซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์

อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (อังกฤษ:Aluminium hydroxide) Al (OH) 3 เป็นฟอร์มที่เสถียรที่สุดของอะลูมิเนียมในสภาวะปกติ ในธรรมชาติรู้จักกันในชื่อ กิบบ์ไซต์ (gibbsite) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอะลูมิเนียม ออกไซด์ ไฮดรอกไซด์ (aluminium oxide hydroxide-AlO (OH)), และอะลูมิเนียม ออกไซด์ (aluminium oxide) Al2O3 สารประกอบดังกล่าวทั้งหมดจะเป็นส่วนประกอบหลักของแร่ บอกไซด์ (bauxite) อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เป็นยาลดกรดชนิดหนึ่ง หมวดหมู่:สารประกอบอนินทรีย์ หมวดหมู่:ไฮดรอกไซด์ ฮไดรอกซได์ หมวดหมู่:ยาลดกรด.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

อาหาร

อาหาร หมายถึงสิ่งที่รับประทานเข้าไป ซึ่งบริโภคเพื่อเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกาย อาหารมักมาจากพืชหรือสัตว์ และมีสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน หรือแร่ธาตุ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสสารที่เป็นอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปสร้างพลังงาน คงชีวิต และ/หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโต ในอดีต มนุษย์ได้มาซึ่งอาหารด้วยสองวิธีการ คือ การล่าสัตว์และเก็บเกี่ยว (hunting and gathering) และเกษตรกรรม ปัจจุบัน พลังงานจากอาหารส่วนใหญ่ที่ประชากรโลกบริโภคนั้นผลิตจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้เกษตรประณีต และอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตของระบบให้ได้มากที่สุด สมาคมระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองอาหาร สถาบันทรัพยากรโลก โครงการอาหารโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และสภาข้อมูลอาหารระหว่างประเทศเป็นหน่วยงานเฝ้าสังเกตความปลอดภัยของอาหารและความมั่นคงทางอาหาร องค์การทั้งหลายนี้จัดการกับประเด็นปัญหาอย่างความยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เศรษฐศาสตร์สารอาหาร การเติบโตของประชากร ทรัพยากรน้ำ และการเข้าถึงอาหาร สิทธิในการได้รับอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนซึ่งกำหนดขึ้นจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) โดยตระหนักถึง "สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพอย่างพอเพียง รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ" เช่นเดียวกับ "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปลอดจากความหิวโหย".

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและตับ · ดูเพิ่มเติม »

แมว

แมว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนี.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและแมว · ดูเพิ่มเติม »

แอมพิซิลลิน

แอมพิซิลลิน (Ampicillin) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น Amilin, Ampat, Ampexin, Ampicillin Pharmacia, Ampicyn ออกฤทธิ์คล้ายกับ Benzypeni-Benzypenicillin ยานี้สามารถทำลายแบคทีเรียได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแบคทีเรียแกรมบวก แกรมลบ เช่นเชื้อทำให้เกิดโรคท้องเสีย หลอดลมอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถุงและท่อน้ำดีอักเสบ แผลมีหนอง ฝี.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและแอมพิซิลลิน · ดูเพิ่มเติม »

แอคติโนมัยสีท

แอคติโนมัยซีทีท (อังกฤษ actinomycetes) เป็นแบคทีเรียจำพวกหนึ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเชื้อรา กล่าวคือ มีการเจริญเป็นเส้นใย และมีการสร้างสปอร์ แต่ขนาดเซลล์เล็กเท่ากับแบคทีเรีย พบว่ามมักยึดเกาะแน่นในโคโลนีที่จมอยู่ในอาหารที่เจริญอยู่ ส่วนของเส้นใยที่สัมผัสกับอากาศแห้งจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสปอร์ ซึ่งใช้ในการแพร่พันธุ์เช่นเดียวกันกับเชื้อรา อแอคติโนมัยสีท แอคติโนมัยสีท หรือ Actinomycetes ดำรงชีวิตอยู่ในดิน ในปุ๋ยหมัก น้ำ โคลนตม และบริเวณรากพืช แบคทีเรียนี้เป็นผู้รีไซเคิลอินทรีย์วัตถุจากซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นสารใหม่กลับคืนสู่สิ่งแวดล้อมและเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในหลายด้านโดยธรรมชาติ ปริมาณของแบคทีเรียแอคติโนมัยสีทที่พบในดินขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน เช่น ในดินทั่วไป 1 กรัม ที่มีสภาพความเป็นกรดและมีปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน จะพบแอคติโนมัยสีท ประมาณ 105- 108 เซลล์ แต่ถ้าเป็นดินที่มีสภาพแห้งและมีสภาวะเป็นด่างจะพบแอคติโนมัยสีทในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง โดยอาจพบได้สูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่พบในดินนั้น และแอคติโนมัยสีทที่พบในดินส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียกลุ่มสเตรปโตมัยสีท (Streptomyces) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการกระจายตัวและมีความหนาแน่นมากที่สุด ในทางวิทยาศาสตร์ แอคติโนมัยสีท เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างหลายแบบ กลม ท่อน หรือเป้นเส้นสายคล้ายเชื้อรา โดยอาจเป็นเส้นสายที่มีการแตกแขนงและมีการแตกหักของเส้นใย เพื่อสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ หรืออาจะเป็นเส้นสายที่มีการสร้างสปอร์บนเส้นใยที่ชูขึ้นในอากาศ ซึ่งโครงสร้างของสปอร์มีทั้งแบบที่มีถุงหุ้มและไม่มีถุงหุ้ม แบคทีเรียแอคติโนมัยสีทส่วนใหญ่ต้องการออกซิเจนในการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวน แต่ก็มีบางชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนหรือต้องการก็เพียงเล็กน้อย นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเจริญของแอคติโนมัยสีทถูกยับยั้งได้ด้วยสารปฏิชีวนะที่ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียแต่จะไม่ถูกยับยั้งด้วยสารปฏิชีวนะที่ยับยั้งการเจริญของราแอคติโนมัยสีท มีบทบาทที่สำคัญอันหนึ่ง คือ ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วยย่อยส่วนประกอบของพืชและสัตว์ที่ทนทานต่อการย่อยสลาย เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และไคติน แอคติโนมัยสีทบางชนิด เช่น Streptomycetes rubiginosus, streptomycetes bambergensis และ Streptomycetes violaceoniger สามารถผลิตเอนไซม์ที่สามารถช่วยเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นน้ำตาลฟรุกโทสได้ ปัจจุบัน มีการใช้ประโยชน์แอคติโนมัยสีทช่วยผลิตเอนไซม์ที่มีความสำคัญในทางอุตสาหกรรม เช่น การใช้แอคติโนมัยสีทชนิดThermomonospora ผลิตเอนไซม์ที่ช่วยย่อยสลายเซลลูโลสที่อุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส และเอนไซม์ไซแลนที่ทำงานที่อุณหภูมิสูงซึ่งเอนไซม์นี้มีประโยชน์ในการผลิตน้ำตาลไซโลสจากซังข้าวโพด นอกจากนั้น มีการใช้แอคติโนมัยสีทบางชนิดในการผลิตเอนไซม์ย่อยสลายสารพิษชนิดต่างๆ เช่น เอนไซม์ย่อยสลายสารพิษอะลิฟาติก-อะโรมาติก โคโพลีเอสเตอร์ส (Aliphatic-Aromotic Copolyesters และ 1,4 -ไดออกเซน (1,4-Dioxane) ทางการแพทย์และเภสัชกรรมก็ใช้ประโยชน์จาก แอคติโนมัยสีท เช่น ใช้ผลิตสารปฏิชีวนะต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสและใช้ผลิตสารต้านมะเร็งและสารกดระบบภูมิคุ้มกัน ทางการเกษตรมีการใช้แอคติโนมัยสีทในการผลิตสารฆ่าแมลง สารฆ่าวัชพืช และสารกดภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้นยังมีการใช้แอคติโนมัยสีท สายพันธุ์ Streptomyces lydicus WYEC 108 ในการควบคุมศัตรูพืช และควบคุมเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่เกิดกับรากและเมล็ดปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยแอคติโนมัยสีทชนิดหนึ่ง คือ Streptoverticillium albireticculi และค้นพบว่าแบคทีเรียชนิดนี้สามารถต่อต้านเชื้อราที่ก่อโรคที่อยู่ในดินบางอย่างได้ ซึ่งการค้นพบนี้จึงอาจนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคพืชได้ในอนาคต แบคทีเรียแอคติโนมัยสีท เป็นตัวอย่างของจุลินทรีย์ที่มีคุณประโยชน์ต่อวงการแพทย์และยา เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม รวมถึงต่อวัฏจักรของระบบนิเวศ.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและแอคติโนมัยสีท · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและไต · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อตาอักเสบ

เยื่อตาอักเสบ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า ตาแดง คือการอักเสบของเยื่อตา (เนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของนัยน์ตาและอยู่ใต้เปลือกตา) สาเหตุอาจเกิดจากอาการแพ้สิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่นัยน์ตาซึ่งอาจสามารถหายไปได้เอง หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถเป็นโรคติดต่อโดยมีแมลงเป็นพาหะ ลักษณะอาการคือมีเส้นเลือดฝอยปรากฏชัดเป็นส่วนมากในนัยน์ตา อาจมีการระคายเคืองและตาแฉะร่วมด้วย โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสมักเกิดในช่วง? -โรคตาแดงมักเกิดในช่วงฤดูฝน เชื้อไวรัสมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำที่ท่วมขัง ในฤดูฝนจะพบผู้ติดเชื้อโรคตาแดงเป็นจำนวนมาก หมวดหมู่:การอักเสบ หมวดหมู่:โรค.

ใหม่!!: คลอร์เตตราไซคลีนและเยื่อตาอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chlortetracyclineคลอเตตร้าซัยคลิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »