โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับปลาคาราซิน

ดัชนี อันดับปลาคาราซิน

อันดับปลาคาราซิน (Characins) หรือ อันดับปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นอันดับปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่พบในทวีปอเมริกาเหนือจรดถึงทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา โดยใช้ชื่ออันดับว่า Characiformes สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็นหลายวงศ์ โดยมี วงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) เป็นวงศ์หลักที่มีจำนวนสมาชิกมาก หลายชนิดเป็นปลาที่รู้จักดี เช่น ปลาปิรันย่า, ปลาเปคู หรือ ปลาขนาดเล็ก ที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลานีออน เป็นต้น ซึ่งปลาในขนาดเล็กในอันดับนี้มักถูกเรียกชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า "เตตร้า" (Tetra) จุดเด่นของปลาในอันดับนี้ คือ มีครีบไขมัน ซึ่งเป็นครีบขนาดเล็กที่เป็นร่องรอยเหลือจากวิวัฒนาการในอดีตหลงเหลืออยู่ ที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว ปรากฏอยู่ระหว่างครีบหลังก่อนถึงต้นครีบหาง วงศ์ในอันดับปลาคาราซินมีตามนี้.

25 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ภาษาอังกฤษยุคครีเทเชียสวิวัฒนาการวงศ์ปลาฟันสุนัขวงศ์ปลาวูล์ฟฟิชวงศ์ปลาอินซีเน็ตวงศ์ปลาคาราซินวงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟันวงศ์ปลาปิรันยาวงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกันสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังทวีปทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือทวีปแอฟริกาปลาฝักพร้าปลาราฟิโอดอนปลาที่มีก้านครีบปลาคู้แดงปลาปิรันยาปลานีออน

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาฟันสุนัข

วงศ์ปลาฟันสุนัข (อังกฤษ: Dogteeth characin, Saber tooth fish, Vampire characin) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Cynodontidae (/ไซ-โน-ดอน-ทิ-ดี้/) มีรูปร่างทั่วไป คล้ายกับปลาแปบ ซึ่งอยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่มีรูปร่างใหญ่กว่ามาก มีส่วนหัวใหญ่และเชิดขึ้นบริเวณปาก ตาโต ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องเป็นสันคม เรียวยาว ครีบท้องเรียวยาว ครีบหางแผ่เป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ปากกว้างและเฉียงลง มีปากมีฟันแหลมคมเป็นซี่ ๆ เห็นชัดเจน โดยเฉพาะฟันคู่ล่างที่เรียวยาวมาก เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้จะสั้นหรือยาวเพียงใดขึ้นอยู่กับสกุล และชนิด ซึ่งฟันคู่นี้เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นใหม่ได้ กรามปากทั้งบนและล่างสามารถเก็บฟันที่ยื่นยาวนี้ได้สนิท มีรูปร่างแบนข้างและเพรียวมาก ทำให้สามารถกลับตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ในน้ำ เกล็ดเล็กละเอียดมาก พื้นลำตัวส่วนมากเป็นสีเงินแวววาว พบตามแม่น้ำสายใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ ชอบอยู่รวมเป็นฝูง ล่าเหยื่อด้วยการโฉบกินปลาขนาดเล็กกว่าตามผิวน้ำ ว่องไวมากเมื่อล่าเหยื่อ มีทั้งหมด 5 สกุล พบในขณะนี้ราว 14 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ Hydrolycus armatus ที่เมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 60 เซนติเมตร นิยมตกเป็นเกมกีฬา มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "พาราย่า" (Paraya) และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงามด้วย ซึ่งมักมีนิสัยขี้ตกใจเมื่อเลี้ยงในตู้.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาฟันสุนัข · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาวูล์ฟฟิช

วงศ์ปลาวูล์ฟฟิช (Wolffishes; Anjumara, Trahira) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erythrinidae ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ปลาวูล์ฟฟิช เป็นปลาคาราซินกินเนื้อ ที่มีรูปร่างทรงกระบอก หัวใหญ่ ปากกว้าง ในปากมีฟันแหลมคมขนาดใหญ่ซึ่งมีเดือยเชื่อมต่อ มีช่องว่างระหว่างซี่ฟันห่างพอสมควร มีแรงกัดอย่างรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วยังถือว่าอันตรายกว่าปลาปิรันยาเสียด้วยซ้ำรายการ River Monsters ตอน Jungle Killer ทางดิสคัฟเวอรี่ แชนแนล ทางทรูวิชั่นส์: วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม..

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาวูล์ฟฟิช · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินซีเน็ต

วงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodus, Flannel-mouth characin) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Prochilodontidae (/โพร-ชิ-โล-ดอน-ทิ-ดี/) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) กล่าวคือ มีรูปร่างแบนข้าง ผอมเพรียว เกล็ดมีสีเงินแวววาว มีลายแถบสีคล้ำ ดวงตากลมโต ปากมีขนาดเล็ก ริมฝีปากหนา โดยเฉพาะปากบน และสามารถขยับไปมาได้ตลอด ฟันมี 2 แถวและมีขนาดเล็ก ครีบหางและครีบหลังในบางสกุลมีลายแถบสีดำ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแม่น้ำและแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำอเมซอนและสาขา เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยใช้ปากที่ขยับไปมาได้ตลอดเวลานั้นตอดหาอาหารกินตามพื้นท้องน้ำ และวัสดุใต้น้ำต่าง ๆ ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ครั้งละ 100,000 ฟอง มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดถึง 80 เซนติเมตร นับเป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมบริโภคกันในท้องถิ่น อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะในสกุล Semaprochilodus หรือที่รู้จักกันดีในแวดวงปลาสวยงามว่า "อินซีเน็ต" โดยนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาที่ใช้ทำความสะอาดตู้เลี้ยง เพราะเป็นปลาที่ใช้ปากตอดเศษอาหารและตะไคร่น้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความสวยงามอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่า ปลาชนิดนี้ควรเลี้ยงคู่กับปลาอะโรวาน่าหรือปลามังกร เพราะมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "เฟยหง" (จีนตัวเต็ม: 飛鳳) เมื่อเลี้ยงคู่กันแล้วจะเปรียบเสมือนหงส์คู่มังกร มีทั้งหมด 21 ชนิด 3 สกุล.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาอินซีเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาคาราซิน

วงศ์ปลาคาราซิน (Characins, Tetras) หรือ วงศ์ปลาตะเพียนกินเนื้อ เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่งที่เดิมอยู่จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) แต่ว่าปลาในวงศ์นี้เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร หลายสกุล หลายชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Characidae โดยถือเป็นวงศ์หลักของปลาในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ มีหลายร้อยชนิด นิยมอยู่รวมเป็นฝูง โดยปลาที่มีขนาดเล็ก เช่น ปลานีออน (Paracheirodon innesi) มักจะมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ เรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาเตตร้า" เป็นต้น พบกระจายอยู่ทั่วไปทั้งทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และทวีปอเมริกาใต้ เป็นวงศ์ปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือ ใช้บริโภค ซึ่งปลาที่รู้จักกันในแง่นี้ก็คือ ปลาคู้แดง (Piaractus brachypomus) เป็นต้น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาคาราซิน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน

วงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน (Toothless characins; ชื่อวิทยาศาสตร์: Curimatidae) เป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาอินซีเน็ต (Prochilodontidae) ซึ่งอยู่ในอันดับเดียวกันมาก และเคยถูกจัดรวมเป็นวงศ์เดียวกันด้วย เว้นแต่ปลาในวงศ์นี้ไม่มีฟันกราม ถึงแม้ว่าจะมีแผงฟันขนาดเล็กในคอหอยก็ตาม โดยมีพฤติกรรมส่วนใหญ่คล้ายกับปลาในวงศ์ปลาอินซีเน็ต คือ ใช้ปากคุ้ยเขี่ยหาอาหารตามพื้นท้องน้ำเป็นหลัก ซึ่งได้แก่ สัตว์น้ำขนาดเล็กหรือแมลงน้ำ มีขนาดใหญ่เต็มที่ได้ 45 เซนติเมตร มีการกระจายพันธุ์อยู่ในลุ่มแม่น้ำหลัก ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ตอนใต้ของคอสตาริกาจนถึงตอนเหนือของอาร์เจนตินาและเปรูจรดชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีทั้งหมด 95 สกุล ซึ่งชื่อในภาษาถิ่นของปลาวงศ์นี้เป็นภาษาสเปนและโปรตุเกสว่า "Curimbatá" หรือ "Curimba" เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในท้องถิ่นเป็นปกต.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาคาราซินไม่มีฟัน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาปิรันยา

วงศ์ปลาปิรันยา เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Serrasalmidae (มีความหมายว่า "วงศ์ปลาแซลมอนที่มีฟันเลื่อย") ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) พบทั้งหมดในปัจจุบัน 16 สกุล (ดูในตาราง) 92 ชนิด ปลาในวงศ์นี้มีชื่อเรียกโดยรวม ๆ กัน เช่น ปลาปิรันยา, ปลาเปคู หรือปลาคู้ และปลาซิลเวอร์ดอลลาร์ เดิมทีเคยเป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) ใช้ชื่อว่า Serrasalminae (ในปัจจุบันบางข้อมูลหรือข้อมูลเก่ายังใช้ชื่อเดิมอยู่).

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน

วงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน (African tetra) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งน้ำจืดในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Alestidae เป็นปลากินเนื้อ มีขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไปตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 6 ฟุต เป็นปลาในอันดับปลาคาราซินที่พบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีทั้งหมด 19 สกุล (ดูในตาราง) ประมาณ 110 ชนิด เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬาและเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมีชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ ปลาคองโกเตเตร้า (Phenacogrammus interruptus) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม และในสกุล Hydrocynus ที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา ซึ่งในชนิด H. goliath เป็นปลาในอันดับปลาคาราซินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและวงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีป ต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฝักพร้า

วามหมายอื่น: สำหรับปลาชนิดอื่นที่เป็นปลาน้ำเค็ม ดูได้ที่ ปลาดาบลาว ปลาฝักพร้า (Freshwater wolf herring, Sword minnow, Long pectoral-fin minnow; カショーロバルブ) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างคล้ายมีดดาบ ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ปลายปากล่างโค้งเข้าเล็กน้อยคล้ายตะขอ ลำตัวสีเงินวาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเว้าลึกและปลายมน โคนครีบหางมีแต้มสีคล้ำ ขนาดประมาณ 20-60 เซนติเมตร จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochirichthys เป็นปลาล่าเหยื่อ มักหากินบริเวณใกล้ผิวน้ำ เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก อาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กจำพวกปลาซิวและแมลง พบในแหล่งน้ำหลากและแม่น้ำขนาดใหญ่ในภาคกลาง, ภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง ในภาคใต้พบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกเท่านั้น และพบได้จนถึงประเทศอินโดนีเซีย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำสะอาด ปัจจุบันอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เพราะสภาพแวดล้อมที่อยู่ถูกทำลายไปประกอบกับปริมาณปลาที่พบในธรรมชาติมีน้อยมาก จึงไม่ทำให้เป็นที่นิยมในการประมง ปลาฝักพร้า ยังมีชื่อเรียกอื่นที่เรียกต่างออกไป เช่น "ปลาท้องพลุ", "ปลาดาบลาว", "ปลาดาบญวน", "ปลาโกร๋ม" เป็นต้น.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและปลาฝักพร้า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาราฟิโอดอน

ปลาราฟิโอดอน ​เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ปลาฟันสุนัข (Cynodontidae) ในอันดับปลาคาราซิน (Characiformes) มีรูปร่างภายนอกเหมือนปลาฝักพร้า (Macrochirichthys macrochirus) มาก ซึ่งเป็นปลาคนละวงศ์ และคนละอันดับ และเป็นปลาที่พบกันคนละทวีปด้วย ซึ่งเป็นผลของการวิวัฒนาการเข้าหากัน เว้นแต่ปลาราฟิโอดอนจะมีครีบไขมัน ซึ่งปลาฝักพร้าไม่มี แต่มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน มีลักษณะลำตัวยาวและแบนข้างมาก ท้องเป็นสันแคบ ตาโต ปากกว้างเฉียงขึ้นด้านบน ลำตัวสีเงินแวววาว ครีบใส ครีบอกใหญ่และยาวแหลม ครีบท้องและครีบหลังเล็ก แต่ครีบก้นมีฐานครีบยาว ครีบหางเล็กและไม่แยกเป็นสองแฉก มีครีบไขมัน ภายในปากจะเห็นฟันเป็นซี่ ๆ แหลมคมจำนวนมาก เป็นปลาเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Rhaphiodon (โดย Rhaphiodon มาจากภาษากรีกคำว่า rhaphis (ραφής) หมายถึง "เข็ม", odous (οδούς) หมายถึง "ฟัน" และ vulpinus เป็นภาษาละตินหมายถึง "หมาจิ้งจอก") มีพฤติกรรมนิยมอยู่รวมเป็นฝูง ออกล่าเหยื่อเป็นปลาขนาดเล็กบริเวณผิวน้ำ ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 70 เซนติเมตร พบในแม่น้ำอเมซอนและลำน้ำสาขา ในเปรู, ปารากวัย, อุรุกวัย และกายอานา มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า เบียอาร่า (Biara) ใช้เป็นปลาบริโภคในท้องถิ่นและตกเป็นเกมกีฬา นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามราคาแพง โดยถูกนำเข้ามาจำหน่ายพร้อมกับปลาสคอมบิรอยด์ (Hydrolycus scomberoides) ซึ่งพฤติกรรมในตู้เลี้ยงพบว่า มีนิสัยขี้ตกใจมาก.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและปลาราฟิโอดอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคู้แดง

ปลาคู้แดง หรือ ปลาเปคูแดง (Red bellied pacu) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน (Characidae) วงศ์ย่อย Serrasalminae มีรูปร่างเหมือนกับปลาปิรันยาแดง (Pygocentrus nattereri) แต่ปลาคู้แดงมีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า กรามล่างไม่ยื่นยาวออกมาและลักษณะของฟันไม่แหลมคมเหมือนกับปลาปิรันยาแดง เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด มีสีสันแวววาวเหมือนกับปลาปิรันยาแดง แต่ในส่วนของสีแดงไม่เข้มเท่า แต่ลูกปลาวัยอ่อนมีจุดกลมสีแดงเหมือนกัน และจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ เล็กลงและหายไปเมื่อปลาโตขึ้น ปลาคู้แดง มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ 80 เซนติเมตร น้ำหนักหนัก 25 กิโลกรัม (ขนาดและน้ำหนักโดยเฉลี่ยคือ 45 เซนติเมตร และน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอเมซอนและแม่น้ำโอริโนโคในประเทศอาร์เจนตินา นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะพืชเช่นเมล็ดพืชหรือลูกไม้ที่ร่วงหล่นจากต้น โดยจะไปรอกินถึงบริเวณผิวน้ำเลยทีเดียว ปลาคู้แดงขณะเมื่อยังเล็ก ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม เป็นปลาที่นิยมทำเป็นอาหารของชนพื้นถิ่น มีชื่อเรียกในภาษาพื้นเมืองว่า Pirapitinga ในประเทศไทยปลาคู้แดงถูกนำเข้ามาครั้งแรกในฐานะปลาสวยงาม เมื่อปี..

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและปลาคู้แดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาปิรันยา

ปลาปิรันยา (piranha) เป็นชื่อสามัญเรียกปลาน้ำจืดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงศ์ Serrasalmidae (หรือในวงศ์ Characidae) โดยทั่วไป ปลาที่ได้ชื่อว่า "ปิรันยา" นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Pristobrycon, Pygocentrus, Pygopristis และ Serrasalmus แต่ก็อาจรวมถึงปลาในสกุล Catoprion ด้วย รวมกันแล้วประมาณ 40 ชนิดFace Ripper, "River Monsters" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและปลาปิรันยา · ดูเพิ่มเติม »

ปลานีออน

ปลานีออน หรือ ปลานีออนเตตร้า (อังกฤษ: Neon, Neon tetra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paracheirodon innesi) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาคาราซิน.

ใหม่!!: อันดับปลาคาราซินและปลานีออน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CharaciformesCharacinคาราซินปลาคาราซิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »