โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมบัติแบร์ตูวีล

ดัชนี สมบัติแบร์ตูวีล

มบัติแบร์ตูวีล (Berthouville Treasure) เป็นเครื่องเงินโรมันที่ขุดพบระหว่างการไถนาที่หมู่บ้านวีเลอเรที่เมืองแบร์ตูวีลในจังหวัดเออร์ แคว้นโอต-นอร์ม็องดี ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศสในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1830 สมบัติได้รับการซื้อเมื่อพบเป็นจำนวนเงินเพียง 15,000 ฟรังก์ ในปัจจุบันสมบัติแบร์ตูวีลได้รับการรักษาไว้ที่แผนกเหรียญตรา, หอสมุดแห่งชาติแห่งประเทศฝรั่งเศสในกรุงปารีสในประเทศฝรั่ง.

16 ความสัมพันธ์: บริเตนสมัยโรมันพ.ศ. 2373กรุสมบัติกอลลัทธินอกศาสนาจักรวรรดิโรมันจังหวัดเออร์จูเลียส ซีซาร์ประเทศฝรั่งเศสปารีสนิมฟ์แคว้นโอต-นอร์ม็องดีไดอะไนซัสเมอร์คิวรีเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)เซนทอร์

บริเตนสมัยโรมัน

ริเตนสมัยโรมัน หรือ โรมันบริเตน (Britannia Romana) หมายถึงบริเวณเกาะอังกฤษส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันระหว่าง ค.ศ. 43 ถึง ค.ศ. 410 โรมันเรียกจังหวัดนี้ว่า “บริทานเนีย” (Britannia) หรือบริทานยา ก่อนที่โรมันจะเข้ามารุกรานบริเตนยุคเหล็กก็มีวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินใหญ่ยุโรปอยู่แล้ว แต่ผู้รุกรานก็ยังนำการการวิวัฒนาการใหม่ๆ ทางด้านการเกษตรกรรม, การจัดระบบเมือง (urbanization), การอุตสาหกรรม และสถาปัตยกรรมเข้ามาเผยแพร่และยังทิ้งร่องรอยให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการรุกรานเมื่อเริ่มแรกมีน้อย นักประวัติศาสตร์โรมันก็กล่าวถึงเพียงผ่านๆ ความรู้ส่วนใหญ่ของสมัยนี้มาจากหลักฐานทางโบราณคดีโดยเฉพาะจากหลักฐานที่สลักไว้บนหินหรือวัตถุอื่นๆ (epigraphic evidence).

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและบริเตนสมัยโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2373

ทธศักราช 2373 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1830 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและพ.ศ. 2373 · ดูเพิ่มเติม »

กรุสมบัติ

กรุสมบัติ (Treasure trove) อาจจะมีความหมายอย่างกว้างๆ ว่าเป็นก้อนสมบัติที่รวมทั้งทอง, เงิน, อัญมณี, เงินตรา หรือสิ่งของมีค่าอื่นๆ ที่ฝังเอาไว้ใต้ดิน หรือ ห้องใต้หลังคา หรือ ห้องใต้ดิน ที่ต่อมามาขุดพบ สมบัติที่อยู่ในข่ายนี้สรุปว่าเป็นสมบัติเก่าแก่ที่เจ้าของเดิมเสียชีวิตไปแล้วและไม่อาจจะหาทายาทได้ แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “กรุสมบัติ” และวิธีปฏิบัติต่อสิ่งที่พบแตกต่างกันไปแล้วแต่ประเทศ และ แล้วแต่ยุคสมัย นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้เป็นคำอุปมาอีกด้วย เช่นงานเขียนที่เป็นการรวบรวมเรื่องต่างๆ ก็อาจจะใช้ชื่อคำว่า “กรุสมบัติ” นำหน้าเช่น “กรุสมบัติแห่งวิทยาศาสตร์” นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่นิยมกันในการตั้งชื่อวรรณกรรมสำหรับเยาวชนเมื่อต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและกรุสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและกอล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธินอกศาสนา

้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและลัทธินอกศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเออร์

ออร์ (Eure) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นนอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดเออร์ตั้งตามชื่อแม่น้ำเออร์ ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสโดยมีเอเวรอเป็นเมืองหลัก เออร์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดนอร์ม็องดี สถานที่สำคัญและน่าสนใจในจังหวัดเออร์ก็ได้แก่ อาสนวิหารเอเวรอ, ซากปราสาทอาร์กูร์ และซากปราสาทกายาร์ที่เลซ็องเดอลี.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและจังหวัดเออร์ · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นิมฟ์

''เฮรัสและนิมฟ์'' โดย จอห์น วิลเลียม วอเทอร์เฮาส์, ค.ศ. 1896 ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก นิมฟ์ (nymph) คือสตรีที่เป็นร่างตัวแทนของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นร่างที่ยึดติดกับสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือเป็นผู้ติดตามของเหล่าทวยเทพ ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะตกเป็นเป้าหมายของเหล่าซาไทร์ (satyr) ตัณหาจัด วอลเตอร์ เบอร์เคิร์ต (Walter Burkert) กล่าวว่า "ความคิดที่ว่าแม่น้ำคือเทพเจ้า และน้ำพุคือนิมฟ์นั้น ไม่ได้เป็นแค่ความนึกคิดของนักกวี หากแต่ยังเป็นถึงความเชื่อและพิธีกรรมอีกด้วย การบูชาเทพเจ้าเหล่านี้ถูกจำกัดอยู่เพียงสถานที่หนึ่งที่ใดที่พวกเขาไม่สามารถแยกออกจากสถานที่แห่งนั้นได้" นิมฟ์นับเป็นบุคคลาธิษฐานของการสรรสร้างของธรรมชาติ ซึ่งบ่อยครั้งมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและนิมฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นโอต-นอร์ม็องดี

โอต-นอร์ม็องดี (Haute-Normandie) เป็นอดีตแคว้นในประเทศฝรั่งเศส (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นนอร์ม็องดี) สภาพพื้นที่เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีการเพาะปลูกพวกธัญพืชและผลไม้ โดยส่วนใหญ่ผลไม้ที่ปลูกนั้นจะเป็นแอปเปิล และนอกจากนี้ยังมีทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ซึ่งเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงก็จะเป็นพวกม้าและวัว ซึ่งม้าและวัวของที่นี่ถือว่าเป็นม้าและวัวที่ดีที่สุดของประเทศฝรั่งเศส แคว้นนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเนยแข็งที่มีชื่อเสียง เช่น กาม็องแบร์ ปงเลแว็ก และนอกจากนี้ยังมีน้ำผลไม้ที่ขึ้นชื่อ ก็คือ น้ำแอปเปิล ซึ่งจะผลิตในช่วงเดือนกันยายน–เดือนธันวาคม แคว้นนี้ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรม มีทั้งอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาของรูอ็อง อุตสาหกรรมเครื่องยนต์และรถยนต์ หมวดหมู่:ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของฝรั่งเศส.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและแคว้นโอต-นอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

ไดอะไนซัส

อะไนซัส (Dionysus, /daɪ.əˈnaɪsəs/; Διόνυσος, Dionysos) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยวองุ่น การทำไวน์และไวน์ ความบ้าคลั่งทางพิธีกรรมและปีติศานติ์ในเทพปกรณัมกรีก พระนามของพระองค์ในแผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บี แสดงว่าชาวกรีกไมซีเนียนอาจมีการบูชาพระองค์ตั้งแต่ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน..

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและไดอะไนซัส · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์คิวรี

มอร์คิวรี (Mercury) สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและเมอร์คิวรี · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์คิวรี (เทพปกรณัม)

มอร์คิวรีสลักโดยประติมากรเฟล็มมิชอาร์ทัส เควลลินัส (Artus Quellinus) ที่บอกได้ว่าเป็นเมอร์คิวรีจากหมวก กระเป๋าหูรูด คทางูเดี่ยว รองเท้าปีก ไก่ และแพะ เทพเมอร์คิวรี (Mercury, Mercurius) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพเฮอร์มีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพเมอร์คิวรีเป็นเทพผู้สื่อสาร และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร เมอร์คิวรีเป็นลูกของเทพีมาเอีย (Maia) หรือที่รู้จักกันว่าอ็อฟสและเทพจูปิเตอร์ ชื่อ “เมอร์คิวรี” เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า “merchandise” (สินค้า) หรือ “merchant” (พ่อค้า) หรือ “commerce” (การค้า) ที่มาของเมอร์คิวรีดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกับเทพเทิร์มส (Turms) ของอีทรัสคันที่มาจากเทพเฮอร์มีสของกรีก.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและเมอร์คิวรี (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เซนทอร์

ซนทอร์ เซนทอร์ (centaur; มาจากภาษากรีกโบราณ κένταυροι) เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในเทพปกรณัมกรีก มีร่างส่วนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย แต่ส่วนลำตัวลงไปเป็นม้าหนุ่มที่มีกล้ามเนื้อเป็นมัด ๆ สง่างาม อาศัยอยู่แถบภูเขาของอาคาเดีย และเทสสาลีในประเทศกรีซ เซนทอร์มีสองตระกูล โดยตระกูลหนึ่งเกิดจาก อิคซอน อันธพาลแห่งสวรรค์ที่ขึ้นชื่อ กับอีกตระกูลที่เกิดจากโครนัส ฝ่ายหลังมีอุปนิสัยดีแตกต่างจากฝ่ายแรกมาก เซนทอร์ตระกูลอิคซอน เกิดจากอิคซอนกับเนฟีลี มีพละกำลังมาก ชอบดื่มไวน์กับชอบไล่คว้าผู้หญิง ซ้ำชอบทะเลาะเวลาเมา เซนทอร์จึงถูกมองว่าเป็นพวกขี้เมาไม่กลัวใครทั้งสิ้น เซนทอร์ตระกูลโครนัสต่างกับตระกูลอิคซอน เป็นเซนทอร์แสนดี โครนัสแต่งงานกับฟีลีร่า นางอัปสรน้ำผู้เลอโฉม มีลูกชื่อไครอน ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียน มีความสุขุมรอบคอบจนได้รับเลือกให้เป็นอาจารย์ของเหล่าวีรบุรุษหลายคนในตำนานกรีก เช่น อคิลลีส, เฮอร์คิวลีส, เจสัน, พีลูส, อีเนียส และบรรดาลูกศิษย์ของเขาก็ประพฤติตัวตามแบบครูบาอาจารย์ได้เป็นอย่างดี.

ใหม่!!: สมบัติแบร์ตูวีลและเซนทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Berthouville Treasureสมบัติแบร์ทูวิลล์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »