โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์

ดัชนี สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์

โรงอุปรากรพาเลส์การ์นิเยร์ (เปิด ค.ศ. 1875) สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ หรือ สถาปัตยกรรมโบซาร์ (Beaux-Arts architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบฟื้นฟูคลาสสิกแบบสถาบันที่สอนกันที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงปารีส (École des Beaux-Arts) ลักษณะของสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสานคำสอนที่ดำเนินมาเป็นเวลาสองร้อยห้าสิบปีภายในสถาบันต่างๆ ที่เริ่มด้วยราชสถาบันสถาปัตยกรรม ต่อมาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ดำเนินโดนแผนกสถาปัตยกรรมของสถาบันวิจิตรศิลป์ การบริหารภายใต้การปกครองระบบโบราณด้านการแข่งขันกรองด์ปรีซ์เดอโรมสาขาสถาปัตยกรรมมีรางวัลให้แก่ผู้ได้รับในการไปศึกษาที่กรุงโรม ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อแนวคิดของลักษณะของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 (ค.ศ. 1850-ค.ศ. 1870) และ ที่ 3ที่ตามมา ลักษณะของการสอนที่ทำให้เกิดสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์ดำเนินต่อมาจนกระทั่งปี..

13 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2418ระบอบเก่าศิลปะตามหลักวิชาสถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมบาโรกสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกสถาปัตยกรรมโรมันจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองปรีซ์เดอโรมนิวเดลีโรโกโกไดแอนา (เทพปกรณัม)เอกอลเดโบซาร์

พ.ศ. 2418

ทธศักราช 2418 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1875.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และพ.ศ. 2418 · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเก่า

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะ “พระสุริยเทพ” ระบอบเก่า หรือ อองเซียงเรฌีม (Ancien Régime) โดยทั่วไปหมายถึงระบบแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสภายใต้ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของระบอบเก่าเป็นผลมาจากระบบการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางที่สิ้นสุดในการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ระบอบเก่าของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกัน แต่มีผลบั้นปลายที่แตกต่างกันบางประเทศก็สิ้นสุดลงด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางประเทศก็แตกแยกออกไปจากสงครามและการปฏิวัติ อำนาจระบอบเก่าอยู่บนพื้นฐานสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ นักบวช และชนชั้นขุนนาง ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Estates of the realm) ก็แบ่งออกเป็นสามเช่นกัน คือ ฐานันดรที่หนึ่ง (First Estate) คือนักบวชโรมันคาทอลิก, ฐานันดรที่สอง (Second Estate) คือชนชั้นขุนนาง และ ฐานันดรที่สาม (Third Estate) คือสามัญชน โดยทั่วไปแล้วระบอบเก่าหมายถึงระบอบการปกครองใดใดที่มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ระบอบเก่ารักษาลักษณะหลายประการของระบบเจ้าขุนมูลนายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเฉพาะในการใช้อภิสิทธิ์ของขุนนางและชนชั้นเจ้านายที่สนับสนุนโดยปรัชญาเทวสิทธิราชย์ ความแตกต่างอยู่ตรงที่อำนาจการปกครองที่เคยเป็นของเจ้าครองนครต่างๆ มาก่อนกลายเป็นอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่มมากขึ้น วลีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (พบในเอกสารครั้งแรกในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1794) ในความหมายในทางลบ เช่นเดียวกับการใช้คำว่า ยุคมืด ที่กลายมาเรียกกันว่า สมัยกลาง แนวคิดของการใช้คำว่าระบอบเก่าเป็นการแฝงความหมายเป็นนัยยะว่าเป็นระบอบที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ และควรจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ระบอบใหม่ (New Order) คำว่า ระบอบเก่า คิดขึ้นโดยนักปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่สร้างความเชื่อถือในเหตุผลของการปฏิวัติและทำลายชื่อเสียงของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นการใช้ในทางที่มีอคติในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ สำหรับนักประพันธ์บางคนคำนี้เป็นคำที่ทำให้เกิดความรำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่นที่ตาล์ลีย์รองด์ (Talleyrand) กล่าวว่า: ภาษาสเปนใช้คำว่า “Antiguo Régimen” แต่แม้ว่าสเปนจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลที่ตามต่อมาแต่ความเปลี่ยนแปลงในสเปนไม่รุนแรงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในฝรั่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และระบอบเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะตามหลักวิชา

“กำเนิดวีนัส” (Birth of Venus) โดย อเล็กซานเดอร์ คาร์บาเนล (Alexandre Cabanel) ค.ศ. 1863 ศิลปะสถาบัน (ภาษาอังกฤษ: Academic art) คือลักษณะของจิตรกรรม และ ประติมากรรมที่สร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยศิลปะในยุโรป ศิลปะสถาบัน โดยเฉพาะจะเป็นศิลปินที่ได้รับอิทธิพลจากสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศส (Académie des beaux-arts) ซึ่งใช้แนวศิลปะฟื้นฟูคลาสสิกและลัทธิโรแมนติคซิสม์ (Romanticism) เป็นหลัก โดยเป็นศิลปะที่สร้างจากคุณลักษณะที่ดึงมาจากทั้งสองทฤษฏี ซึ่งจะเห็นได้จากงานของ วิลเลียม อดอล์ฟ โบกูโร (William-Adolphe Bouguereau), ซูซอร์ โคท (Suzor-Coté), ทอมัส โคโทร์ (Thomas Couture) และ อันส์ มาร์คาร์ท (Hans Makart) ในกรณีนี้จึงเรียกศิลปะนี้ว่า “ศิลปะสถาบัน” หรือ “L'art pompier” และ “คตินิยมสรรผสาน” (eclecticism) ซึ่งบางครั้งก็จะพยายามดึงลักษณะเด่นๆ มาจากศิลปกรรมในประวัติศาสตร์มาวิวัฒนาการเข้าด้วย นอกจากนั้นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยศิลปะก็เรียกกันว่า “ศิลปะสถาบัน” เช่นกัน หรือ ศิลปะใหม่ๆ ที่สถาบันยอมรับก็อาจจะใช้คำว่า “ศิลปะสถาบัน” เป็นการเรียกก็ได้.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และศิลปะตามหลักวิชา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมบาโรก

วิหารซุพเพอร์กา (Basilica di Superga) ใกล้เมืองตูริน ประเทศอิตาลี โดย ฟิลิโป คูวารา (Filippo Juvarra) วิการตกแต่งภายในของวัดวีส์ ประเทศเยอรมนี ที่แสดงถึงความแยกไม่ออกระหว่างประติมากรรมและสถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมบาโรก (ภาษาอังกฤษ: Baroque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่ประเทศอิตาลี เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งถึงความหรูหราโอ่อ่าและความมีอำนาจของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครอง และจะเน้นเรื่องแสง สี เงา และคุณค่าของประติมากรรม ขณะที่สถาปัตยกรรมเรอเนซองส์จะเน้นความมั่งคั่งและอำนาจของราชสำนักอิตาลี และประสมประสานศิลปะศาสนาและศิลปะทางโลก สถาปัตยกรรมบาโรกเมื่อเริ่มแรกเป็นสถาปัตยกรรมที่มาจากปฏิกิริยาต่อการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นกระบวนการของสถาบันคาทอลิกต่อต้านการปฏิรูปดังกล่าว โดยการปฏิรูปภายในสถาบันคาทอลิกเอง การประชุมสังคายนาที่เมืองเทร้นต์ ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรมบาโรก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก

มหาวิหารวิลนิอุส (Cathedral of Vilnius) วาดโดย Laurynas Gucevičius เมื่อปี ค.ศ. 1783 สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก (Neoclassical architecture) หรือ สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกโรมัน คือสถาปัตยกรรมที่เป็นผลมาจาก “ขบวนนิยมคลาสสิก” (Neoclassicism) ที่เริ่มขึ้นเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่เป็นผลจากปฏิกิริยาต่อ ศิลปะหรือสถาปัตยกรรมแบบโรโคโคที่นิยมพรางโครงร่างองค์ประกอบทางศิลปะหรือสถาปัตยกรรมด้วยการตกแต่งอย่างวิจิตร และเป็นผลจากลักษณะคลาสสิกของสถาปัตยกรรมแบบบาโรก โครงร่างที่แท้จริงของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกมาจากสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมัน

ลอสเซียมในกรุงโรม สถาปัตยกรรมโรมัน (Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก” นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน, โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา, บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่างๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และสถาปัตยกรรมโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (Deuxième Empire français) เป็นจักรวรรดิปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 และที่ 3.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ปรีซ์เดอโรม

ลัซโซมันชินิในกรุงโรม ที่เป็นที่ตั้งของสถาบันมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1725 แกะพิมพ์โดยจิโอวานนิ บัตติสตา พิราเนซิ (Giovanni Battista Piranesi), ค.ศ. 1752 ปรีซ์เดอโรม หรือ กรองด์ปรีซ์เดอโรม (Prix de Rome) คือทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนศิลปะ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1663 ในฝรั่งเศสในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เป็นทุนเงินประจำปีที่มอบให้แก่นักศึกษาศิลปะแขนงต่าง ๆ ที่รวมทั้งจิตรกร ประติมากร และ สถาปนิก ผู้แสดงพรสวรรค์โดยการผ่านการแข่งกันอันยากในการกำจัดผู้ไม่มีฝีมืออก (elimination contest) รางวัลจัดโดยราชสถาบันแห่งจิตรกรรมและประติมากรรม (Académie de peinture et de sculpture) ที่เปิดให้แก่นักศึกษาของสถาบัน ผู้ได้รับรางวัลก็จะได้เดินทางไปศึกษาและพำนักที่พาลัซโซมันชินิในกรุงโรมโดยค่าใช้จ่ายที่เบิกจากพระคลังของกษัตริย์ฝรั่งเศส การพำนักอยู่ที่โรมสามารถยืดเวลาได้ถ้าผู้อำนวยการของสถาบันเห็นว่าเป็นการเหมาะสม ในช่วงระยะเวลา 140 ปีที่กองทุนนี้ก่อตั้งขึ้นทุนก็ได้ขยายออกไปเป็นห้าสาขาจากสามสาขาที่เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1663 ที่รวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม, และ สถาปัตยกรรม, ในปี ค.ศ. 1803 ก็ได้มีการเพิ่มสาขาคีตกรรม และในปี ค.ศ. 1804 ก็ได้มีการเพิ่มสาขาภาพพิมพ์ลายแกะ (engraving) ขึ้น ผู้ได้รับ “กรองด์ปรีซ์อันดับหนึ่ง” (First Grand Prize) หรือที่เรียกว่า “agréé” จะได้รับการส่งตัวไปศึกษายังสถาบันแห่งฝรั่งเศสแห่งกรุงโรม (Académie de France à Rome) ที่ก่อตั้งโดยฌอง-แบ๊ปติสต์ โคลแบร์ต (Jean-Baptiste Colbert) ในปี ค.ศ. 1666.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และปรีซ์เดอโรม · ดูเพิ่มเติม »

นิวเดลี

นิวเดลี (New Delhi; नई दिल्ली) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และนิวเดลี · ดูเพิ่มเติม »

โรโกโก

้านเหนือของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo - ลานราชรถ: เป็นลวดลายปูนปั้นปิดทองมาจนสมัยพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ทรงสั่งให้ติดช่อมะกอกแทน ท้องพระโรงของวังแคทเธอรีนที่ Tsarskoye Selo ศิลปะโรโกโก (Rococo) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า "ศิลปะแบบหลุยส์ที่ 14" (Louis XIV Style) ศิลปะโรโกโกเริ่มพัฒนามาจากศิลปะฝรั่งเศส และการตกแต่งภายในเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 ห้องที่ออกแบบแบบโรโกโกจะเป็น เอกภาพ คือทุกสิ่งทุกอย่างในห้อง ไม่ว่าจะเป็นผนัง เครื่องเรือน หรือเครื่องประดับ จะออกแบบเพื่อให้กลมกลืนกันอันหนึ่งอันเดียวกันมิใช่จะอิสระต่อกัน คือไม่มีสิ่งใดในห้องนั้นที่นอกแบบออกมา ภายในห้องจะมีเครื่องเรือนที่หรูหราและอลังการ รูปปั้นเล็ก ๆ แบบประดิดประดอย ภาพเขียนหรือกระจกก็จะเป็นกรอบลวดลาย และพรมแขวนผนัง ที่ถ้าแยกอะไรออกมาก็จะทำให้ห้องนั้นไม่สมบูรณ์แบบ ศิลปะโรโกโกมาแทนด้วยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก คำว่าโรโกโกมาจากคำสองคำผสมกัน คำว่า rocaille จากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งหมายถึงศิลปะการตกแต่งที่ใช้ลวดลายคล้ายหอยหรือใบไม้ และคำว่า barocco จากภาษาอิตาลี หรือที่เรียกว่า ศิลปะบาโรก ศิลปินโรโกโกจะนิยมเล่นเส้นโค้งตัวซีและตัวเอส (S และ C curves) แบบเปลือกหอย หรือการม้วนตัวของใบไม้เป็นหลัก และจะเน้นการตกแต่งประดิดประดอย จนทำให้นักวิจารณ์ศิลปะค่อนว่าเป็นศิลปะของความฟุ้งเฟ้อและเป็นเพียงศิลปะสมัยนิยมเท่านั้น คำว่าโรโกโกเมื่อเริ่มใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษเมื่อประมาณปี..

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และโรโกโก · ดูเพิ่มเติม »

ไดแอนา (เทพปกรณัม)

“ไดแอนนาสรง” (Diana leaving her Bath) โดย ฟรองซัวส์ บูแชร์ (François Boucher) ราว ค.ศ. 1742 เทพีไดแอนนา (ภาษาอังกฤษ: Diana) ตามตำนานเทพเจ้าโรมัน “เทพีไดแอนนา” เป็นเทพีแห่งการล่าสัตว์ที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์ป่า, ป่าและพระจันทร์ ในวรรณคดีไดแอนนาเป็นเทพีโรมันที่คู่กับเทพีอาร์เทมีสของตำนานเทพเจ้ากรีก แต่ในลัทธินิยมไดแอนนาเป็นเทพีที่มาจากอิตาลีไม่ใช่กรีซโบราณ ไดแอนนาเป็นเทพีที่สักการะกันในศาสนาโรมันโบราณ (Religion in ancient Rome) และในปัจจุบันเป็นที่นับถือของศาสนาของขบวนการโรมันใหม่ (Nova Roma) และกลุ่มเวทมนตร์สเตรเกเรีย (Stregheria) นอกจากสัญลักษณ์ประจำตัวที่กล่าวแล้วป่าโอ้คก็ยังมีความศักดิ์สิทธิ์ต่อไดแอนนา และไดแอนนาก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของพรหมจารี (chastity) ตามตำนานแล้วไดแอนนาและพี่ชายแฝดเทพอพอลโลเกิดบนเกาะเดลอส (Delos) และเป็นธิดาของของเทพจูปิเตอร์ (Jupiter) และเทพีลาโทนา (Latona) ไดแอนนาเป็นหนึ่งในไตรเทพี: เทพีเอเกเรีย (Egeria) นิมฟ์น้ำ, สาวใช้ และหมอตำแย และเทพีเวอร์เบียส (Virbius) เทพีแห่งป่าโปร่ง.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และไดแอนา (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

เอกอลเดโบซาร์

อกอลเดโบซาร์ เอกอลเดโบซาร์ หรือ โรงเรียนวิจิตรศิลป์ (École des Beaux-Arts, School of Fine Arts) หมายถึงโรงเรียนศิลปะต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลในประเทศฝรั่งเศส ที่สำคัญที่สุดคือ "โรงเรียนวิจิตรศิลป์ชั้นสูงแห่งชาติ" (École Nationale Supérieure des Beaux-Arts) ที่ตั้งอยู่บนฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำแซนจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ ประวัติของสถาบันยืนยาวมากว่า 350 ปี ฝึกศิลปินผู้ไปมีชื่อเสียงในยุโรปเป็นจำนวนมาก ลักษณะของวิจิตรศิลป์จำลองมาจากศิลปะคลาสสิกที่พยายามอนุรักษ์รูปทรงแบบอุดมคติเพื่อถ่ายทอดลักษณะที่ว่านี้ให้แก่ศิลปินรุ่นต่อไป.

ใหม่!!: สถาปัตยกรรมวิจิตรศิลป์และเอกอลเดโบซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Beaux-Arts architectureสถาปัตยกรรมโบซาร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »