โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

Axonotmesis

ดัชนี Axonotmesis

Axonotmesis ที่เส้นประสาท Axonotmesis เป็นความบาดเจ็บที่เส้นประสาทนอกส่วนกลางคือที่อวัยวะส่วนปลายต่าง ๆ แอกซอนและปลอกไมอีลินจะเสียหายในความบาดเจ็บเช่นนี้ แต่เซลล์ชวานน์, endoneurium, perineurium และ epineurium จะไม่เสียหาย การควบคุมกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึกในลำดับต่อจากจุดที่เสียหายจะเสียไปในที่สุด เพราะเส้นประสาทจะเสื่อมเนื่องกับกระบวนการ Wallerian degeneration เหตุการขาดเลือดเฉพาะที่ อาการนี้ปกติจะเป็นผลของความบาดเจ็บหรือความฟกช้ำซึ่งรุนแรงกว่าที่ก่อให้เกิดอาการ neuropraxia Axonotmesis โดยหลักจะเกิดจากความบาดเจ็บที่เกิดจากการยืด (stretch injury) เช่น ข้อเคลื่อนหรือแขนขาหัก ซึ่งทำให้เส้นประสาทขาด ถ้าคนไข้ไม่รู้สึกเจ็บเพราะเหตุเส้นประสาทที่เปิดออก ก็จะสามารถกำหนดจุดบาดเจ็บเนื่องจากความรู้สึกที่ผิดปกติในอวัยวะนั้น ๆ แพทย์อาจจะสั่งการตรวจความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท (Nerve Conduction Velocity, NCV) เพื่อตรวจปัญหาเพิ่มยิ่งขึ้น ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นอาการนี้ การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) ที่ทำหลังจากบาดเจ็บ 3-4 สัปดาห์จะแสดงอาการเส้นประสาทขาด (denervation) และกล้ามเนื้อสั่นระริก (fibrillation) หรือการเชื่อมต่อทางประสาทที่ผิดปกติและกล้ามเนื้อที่หดเกร็งผิดปกต.

11 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อการขาดเลือดเฉพาะที่ระบบรับความรู้สึกสำนักงานราชบัณฑิตยสภาปลอกไมอีลินแพทยศาสตร์แกนประสาทนำออกเส้นประสาทเซลล์ชวานน์NeurapraxiaNeurotmesis

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: Axonotmesisและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การขาดเลือดเฉพาะที่

ในทางการแพทย์ การขาดเลือดเฉพาะที.

ใหม่!!: Axonotmesisและการขาดเลือดเฉพาะที่ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึก

ระบบรับความรู้สึก (sensory system, organa sensuum) เป็นส่วนประกอบของระบบประสาทมีหน้าที่ประมวลข้อมูลความรู้สึก โดยหลัก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) วิถีประสาท (neural pathway) และส่วนอื่น ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึก ระบบรับความรู้สึกที่รู้จักกันดีประกอบด้วยระบบการเห็น ระบบการได้ยิน ระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) ระบบการลิ้มรส ระบบการได้กลิ่น และระบบการทรงตัว (vestibular system) โดยหน้าที่ ระบบรับความรู้สึก.

ใหม่!!: Axonotmesisและระบบรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: Axonotmesisและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ปลอกไมอีลิน

ตำแหน่งที่อยู่ของเยื่อไมอีลิน ไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นเยื่อหุ้มแอกซอน (Axon) ของเซลล์ประสาท เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ถูกสร้างจากเซลล์เกลีย และชวานน์เซลล์ในระบบประสาทรอบนอก (PNS) ได้รับการค้นพบโดยรูดอล์ฟ เวอร์โชฟ เมื่อเยื่อไมอีลินมีการชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทเกิดการติดขัดได้.

ใหม่!!: Axonotmesisและปลอกไมอีลิน · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: Axonotmesisและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ใหม่!!: Axonotmesisและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ใหม่!!: Axonotmesisและเส้นประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ชวานน์

ซลล์ชวานน์ (Schwann cell) เป็นเซลล์ค้ำจุน (เซลล์เกลีย) ในระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous system,PNS) มีหน้าที่เหมือนกับเซลล์โอลิโกเดนโดรไซต์ซึ่งพบในระบบประสาทส่วนกลางคือ สร้างเยื่อไมอีลินเพื่อห่อหุ้มแอกซอนของใยประสาท.

ใหม่!!: Axonotmesisและเซลล์ชวานน์ · ดูเพิ่มเติม »

Neurapraxia

Neurapraxia เป็นความผิดปกติของระบบประสาทนอกส่วนกลางที่ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อ (motor) หรือการรับความรู้สึก (sensory) เสียหายเนื่องจากส่งกระแสประสาทไม่ได้ โดยเฉลี่ยจะคงยืนประมาณ 6-8 อาทิตย์ก่อนหาย ภาวะนี้มักจะมีเหตุจากความบาดเจ็บต่อระบบประสาทเนื่องจากแรงกระแทกจากภายนอกต่อเส้นใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) และต่อใยประสาทสั่งการ ซึ่งสร้างแรงกดที่เส้นประสาทอย่างซ้ำ ๆ หรือคงยืน เพราะแรงกดนี้ การขาดเลือดเฉพาะที่ก็จะเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดรอยโรคที่เส้นประสาท ซึ่งร่างกายมนุษย์โดยธรรมชาติจะตอบสนองเป็นอาการบวมน้ำรอบ ๆ จุดที่ถูกกด รอยโรคจะหยุดหรือขัดขวางกระแสประสาทที่ช่วงหนึ่งในเส้นประสาท ทำให้ระบบประสาทต่อจากจุดนั้นไม่ทำงานหรือทำงานได้ไม่สมบูรณ์ แล้วทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อาการนี้ทำปลอกไมอีลินที่หุ้มเส้นประสาทให้เสียหายอย่างชั่วคราว แต่ไม่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย จึงไม่ใช่ความเสียหายอย่างถาวร ดังนั้น กระบวนการที่ทำให้เสียเส้นประสาทอย่างถาวรคือ Wallerian degeneration จึงไม่เกิดขึ้นเนื่องกับอาการนี้ เพื่อจะจัดว่าเป็น neurapraxia ตามระบบจำแนกความบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลาง Seddon classification เมื่อกระแสประสาทกลับสามารถส่งต่อได้แล้ว อาการจะต้องหายอย่างสมบูรณ์และรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะจัดเป็นอาการที่หนักกว่า เช่น axonotmesis หรือ neurotmesis ดังนั้น neurapraxia จึงเป็นการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลางแบบเบาสุด เป็นอาการที่สามัญต่อนักกีฬามืออาชีพ โดยเฉพาะนักอเมริกันฟุตบอล และเป็นอาการที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา คำว่า Neurapraxia เป็นคำอนุพัทธ์ของคำว่า apraxia (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) ซึ่งเป็น "การเสียหรือความพิการของสมรรถภาพในการเคลื่อนไหวแบบประสานและซับซ้อน โดยการควบคุมกล้ามเนื้อหรือการรับความรู้สึกจะไม่บกพร่อง".

ใหม่!!: AxonotmesisและNeurapraxia · ดูเพิ่มเติม »

Neurotmesis

Neurotmesis (ในภาษากรีก คำว่า tmesis หมายถึง "ตัด") เป็นอาการหนึ่งในระบบจำแนกความบาดเจ็บต่อเส้นประสาทนอกส่วนกลาง Seddon classification โดยเป็นอาการซึ่งหนักที่สุด เพราะทั้งใยประสาทและปลอกหุ้มจะขาดโดยสิ้นเชิง และถึงแม้อาจฟื้นสภาพได้บางส่วน แต่ก็ไม่สามารถหายสนิทกลับไปเหมือนเดิมได้.

ใหม่!!: AxonotmesisและNeurotmesis · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »