โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ATC รหัส L03

ดัชนี ATC รหัส L03

วนของ ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System) L สารต้านเนื้องอกและภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Antineoplastic and immunomodulating agents).

4 ความสัมพันธ์: ATC รหัส Lบาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็งระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์อินเตอร์เฟียรอน

ATC รหัส L

กลุ่ม ATC รหัส L สารต้านมะเร็งและสารปรับระบบภูมิคุ้มกัน (Antineoplastic and immunomodulating agents) ของระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System).

ใหม่!!: ATC รหัส L03และATC รหัส L · ดูเพิ่มเติม »

บาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง

ซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง (Bacillus Calmette–Guérin, ย่อ: BCG) เป็นวัคซีนวัณโรคซึ่งเตรียมจากเชื้อ Mycobacterium bovis แบคทีเรียทรงแท่งที่ก่อวัณโรควัว ชนิดถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ เชื้อเสียศักยภาพก่อโรคในมนุษย์โดยการเพาะเชื้อต่อช่วงเป็นพิเศษในสารเพาะเชื้อ ซึ่งปกติเป็น Middlebrook 7H9 เนื่องจากเชื้อมีชีวิตวิวัฒนาการเพื่อใช้สารอาหารที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เชื้อจึงปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมเดิมคือเลือดมนุษย์ ได้เลวลง และไม่สามารถชักนำโรคเมื่อถูกนำเข้าสู่ตัวถูกเบียนที่เป็นมนุษย์ แต่เชื้อที่ถูกเพาะเลี้ยงดังกล่าวยังคล้ายกับบรรพบุรุษในธรรมชาติมากพอที่จะให้ภูมิคุ้มกันต่อวัณโรคมนุษย์ได้บ้าง วัคซีนบีซีจีมีประสิทธิภาพป้องกันวัณโรคเป็นระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่ 0 ถึง 80% อย่างไรก็ดี ผลป้องกันของวัคซีนดูเหมือนจะแปรผันตามภูมิศาสตร์และห้องปฏิบัติการที่เพาะเลี้ยงเชื้อสายพันธุ์ที่ใช้ผลิตวัคซีน เป็น วัคซีน หลักที่ใช้เพื่อป้องกัน วัณโรค ในประเทศที่พบวัณโรคได้ทั่วไป ขอแนะนำการฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มให้แก่ทารกแรกเกิดสุขภาพดีโดยเร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่ไม่ควรให้วัคซีนแก่ทารกที่ติดเชื้อ เอดส์ ในพื้นที่ที่พบวัณโรคไม่มากนัก มักจะให้วัคซีนแก่ทารกที่มีความเสี่ยงสูงที่ได้รับการทดสอบเนื่องจากสงสัยว่าอาจติดเชื้อโรคและกรณีที่ได้รับการรักษาการติดเชื้อวัณโรคเท่านั้น ผู้ใหญ่ที่ไม่มีเชื้อวัณโรคและไม่เคยได้รับวัคซีนแต่มักได้รับยาต้านวัณโรคบ่อยครั้งควรจะได้รับวัคซีนด้วยเช่นกัน ระยะเวลาการป้องกันโรคของวัคซีนมักแตกต่างกันไป ตั้งแต่สิบถึงสิบสองปี ในกลุ่มเด็กสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ประมาณ 20% และสามารถป้องกันการกำเริบของโรคในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อได้ครึ่งหนึ่ง การให้วัคซีนทำโดยการฉีดทางผิวหนัง ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานการได้รับประโยชน์จากการให้วัคซีนเกินจากขนาดที่แนะนำ วัคซีนนี้ยังสามารถใช้ในการรักษา มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ บางประเภทอีกด้วย ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก โดยมากมักพบรอยแดง อาการบวม และความเจ็บปวดปานกลางที่ตำแหน่งการฉีดวัคซีน ทั้งนี้อาจเกิด ulcer ขนาดเล็กรวมทั้งแผลเป็นหลังจากการสมานแผล ในกลุ่มผู้ที่มี ภูมิคุ้มกันต่ำ (poor immune function) มักได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนและเป็นไปได้ว่าจะไดรับผลข้างเคียงขั้นรุนแรง วัคซีนนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้ในผู้ที่อยู่ในระหว่าง การตั้งครรภ์ วัคซีนนี้เดิมผลิตจากเชื้อ Mycobacterium bovis ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบในวัว แม้ว่าเชื้อของวัคซีนนี้จะถูกทำให้หมดฤทธิ์แล้วแต่เชื้อยังคงเป็น live วัคซีน BCG เป็นวัคซีนตัวแรกที่มีการใช้ทางการแพทย์ในปี 2464 วัคซีนนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดซึ่งจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน นับตั้งแต่ปี 2557 ราคาสำหรับการขายส่งคือ 0.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหนึ่งเข็ม ในสหรัฐอเมริการาคาของวัคซีนนี้คือ 100 ถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปีมีการให้วัคซีนนี้แก่เด็กประมาณ 100 ล้านคน.

ใหม่!!: ATC รหัส L03และบาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์

ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ (Anatomical Therapeutic Chemical Classification System; ATC) เป็นระบบการจัดกลุ่มยา ซึ่งควบคุมโดย องค์การอนามัยโลก Collaborating Centre for Drug Statistics Methodology พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1976 ระบบจำแนกนี้แบ่งยาออกเป็นกลุ่มต่างๆ ตามอวัยวะหรือระบบอวัยวะที่ยาออกฤทธิ์ และ/หรือตามลักษณะเฉพาะทางการรักษาหรือทางเคมี.

ใหม่!!: ATC รหัส L03และระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเตอร์เฟียรอน

โครงสร้างโมเลกุลของอินเตอร์เฟียรอนชนิดอัลฟาในมนุษย์ อินเตอร์เฟียรอน (Interferon, IFNs) เป็นสารประเภทโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเมื่อพบการเจริญของไวรัส และ INFs ที่ถูกขับออกจากเซลล์หนึ่งจะสามารถไปชักนำให้เซลล์อื่นๆ ที่ใกล้เคียงให้มีการสร้างสารโปรตีนกลุ่มหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในเซลล์นั้นๆได้ จาก การสร้างสาร INFs จากเซลล์สปีชีส์ใดจะมีผลในการยับยั้งการเจริญของไวรัส ในสปีชีส์นั้นเท่านั้น (Host-cell specific) หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:ยาต้านไวรัส.

ใหม่!!: ATC รหัส L03และอินเตอร์เฟียรอน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »