โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์

ดัชนี กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์

กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์ (iris dilator muscle, pupil dilator muscle, pupillary dilator, radial muscle of iris, or radiating fibers) เป็นกล้ามเนื้อเรียบของตา วิ่งในแนวรัศมีของม่านตาทำหน้าที่ขยายรูม่านตา เลี้ยงโดยระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งสั่งการโดยการหลั่งสารสื่อประสาทนอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline) ซึ่งจับกับตัวรับชนิดแอลฟา-1 (α1-receptors) Page 163 ดังนั้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นการตอบสนองแบบต่อสู้หรือหนี (fight-or-flight) ระบบประสาทซิมพาเทติกจะกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดนี้ให้ทำหน้าที่ขยายรูม่านตา เพื่อให้มีแสงตกเข้าสู่เรตินามากขึ้น.

6 ความสัมพันธ์: กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์กล้ามเนื้อเรียบระบบประสาทซิมพาเทติกรูม่านตาขยายจอตาตา

กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์

กล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์ (iris sphincter muscle, pupillary sphincter, circular muscle of iris, circular fibers) เป็นกล้ามเนื้อในส่วนม่านตา อยู่รอบดวงตาและทำหน้าที่คล้ายหูรูดในการหดหรี่ม่านตา กล้ามเนื้อนี้พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์ในชั้นเซฟาโลโปดา (cephalopoda) บางชนิด ในมนุษย์ กล้ามเนื้อนี้ทำหน้าที่หดหรี่ม่านตาเมื่อภาพที่รับมีแสงจ้า (รีเฟล็กซ์ม่านตา (pupillary reflex)) หรือในรีเฟล็กซ์ปรับสายตา (accommodation reflex) ขนาดของกล้ามเนื้อนี้กว้างประมาณ 0.75 มม.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์และกล้ามเนื้อไอริส สฟิงคเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเรียบ

ั้นต่างๆ ของหลอดอาหาร:1. ชั้นเยื่อเมือก (mucosa) 2. ชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) 3. ชั้นกล้ามเนื้อ (muscularis) 4. ชั้นแอดเวนทิเชีย (adventitia) 5. กล้ามเนื้อลาย (striated muscle) 6. กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบ (Striated and smooth) 7. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) 8. ชั้นมัสคิวลาริส มิวโคซา (Lamina muscularis mucosae) 9. ต่อมหลอดอาหาร (Esophageal glands) กล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย หรือเซลที่ไม่มีลาย มีการหดตัวอัตโนมัติ จากการสั่งงานของเส้นประสาท (Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งที่พบอยู่ที่ผนังของอวัยวะกลวง (hollow organs) และบริเวณอื่นๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะและช่องท้อง, มดลูก, ท่อทางเดินในระบบสืบพันธุ์เพศชายและหญิง, ทางเดินอาหาร, ทางเดินหายใจ, หลอดเลือด, ผิวหนัง, กล้ามเนื้อซิลิอารี และม่านตา ที่โกลเมอรูลัส (glomerulus) ในไตยังมีเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เรียกว่า เซลล์มีแซนเจียล (mesangial cell) กล้ามเนื้อเรียบมีความแตกต่างจากกล้ามเนื้อโครงร่างและกล้ามเนื้อหัวใจทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์และกล้ามเนื้อเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทอัตโนมัติสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์และระบบประสาทซิมพาเทติก · ดูเพิ่มเติม »

รูม่านตาขยาย

รูม่านตาขยาย หรือ ม่านตาขยาย (mydriasis) คือภาวะซึ่งมีการขยายของรูม่านตา ส่วนใหญ่นิยามนี้เมื่อเป็นการขยายของรูม่านตาที่ไม่ใช่ภาวะปกติ (non-physiologic) แต่บางครั้งก็นิยามรวมถึงภาวะซึ่งอาจจะเป็นการตอบสนองปกติของรูม่านตาก็ได้ สาเหตุซึ่งไม่ใช่สาเหตุทางสรีรวิทยา (ปกติ) ของการมีม่านตาขยายอาจมาจากโรค การบาดเจ็บ หรือยาบางอย่าง ปกติแล้วรูม่านตาจะขยายเมื่ออยู่ในที่มืด และหดตัวเมื่ออยู่ในที่สว่าง เพื่อปรับแสงที่เข้าสู่ตาให้เหมาะสมกับการมองเห็น และไม่เป็นอันตรายต่อจอตา ในภาวะม่านตาขยายนี้ รูม่านตาจะขยาย แต่ม่านตาจะห.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์และรูม่านตาขยาย · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์และจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: กล้ามเนื้อไอริส ไดเลเตอร์และตา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Iris dilatorIris dilator musclePupil dilator muscleRadial muscle of irisไอริส ไดเลเตอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »