โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไอน์ซัทซกรุพเพน

ดัชนี ไอน์ซัทซกรุพเพน

การสังหารชาวยิวที่ Ivanhorod,ยูเครน,ปี 1942 ภาพที่เห็นนั้นคือผู้หญิงคนหนึ่งได้ทำการปกป้องเด็กด้วยร่างกาย ก่อนที่จะถูกขับไล่ยิงด้วยปืนไรเฟิลในระยะประชิด ไอน์ซัทซกรุพเพน ("กำลังรบเฉพาะกิจ" "deployment groups") เป็นหน่วยทีมสังหารของกองกำลังกึ่งทหารหน่วยเอสเอสของนาซีเยอรมนีที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่,โดยส่วนใหญ่เป็นการยิงเป้า,ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–45).ไอน์ซัทซกรุพเพนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่เหล่าปัญญาชน,รวมถึงสมาชิกของพระนักบว.และมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการขั้นตอนสุดท้ายที่ถูกเรียกว่า การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Final solution to the Jewish question,Die Endlösung der Judenfrage) ในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี,เกือบทั้งหมดทุกคนที่ถูกสังหารคือพลเรือน,เริ่มต้นจากกลุ่มปัญญาชนและเหล่านักบวช,ก่อนจะก้าวไปยังนักการเมืองโซเวียตคอมมิสซาร์,ชาวยิวและชาวยิปซีเช่นเดียวกันกับความเป็นจริงหรือถูกข้อกล่าวหาว่า ได้เข้าร่วมกับกลุ่มพลพรรค (partisans) ตลอดทั่วยุโรปตะวันออก ภายใต้การนำของไรซ์ฟือเรอร์-เอสเอสไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และการกำกับดูแลของไรน์ฮาร์ด ฮายดริช ไอน์ซัทซกรุพเพนได้ปฏิบัติการในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ปี..

14 ความสัมพันธ์: การบุกครองโปแลนด์การยึดครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939–1945)การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้ายสงครามโลกครั้งที่สองออร์ดนุงโพลีไซอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ฮอโลคอสต์ปฏิบัติการบาร์บารอสซานาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)ไรน์ฮาร์ด ฮายดริชไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์เบบียาร์เวร์มัคท์

การบุกครองโปแลนด์

การบุกครองโปแลนด์ หรือเรียกการทัพกันยายน (Kampania wrześniowa) หรือสงครามตั้งรับปี 1939 (Wojna obronna 1939 roku) ในโปแลนด์ และ การทัพโปแลนด์ (Polenfeldzug) หรือ ฟัลล์ไวสส์ (Fall Weiss) ในเยอรมนี เป็นการบุกครองโปแลนด์ร่วมโดยเยอรมนี สหภาพโซเวียตและสโลวาเกียซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองของเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1939 หนึ่งสัปดาห์ให้หลังการลงนามสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ขณะที่การบุกครองของโซเวียตเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1939 หลังความตกลงโมโลตอฟ-โตโก ซึ่งยุติความเป็นปรปักษ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและญี่ปุ่นในภาคตะวันออกเมื่อวันที่ 16 กันยายน การทัพดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมด้วยเยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแยกและผนวกโปแลนด์ทั้งประเทศตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเขตแดนเยอรมนี–โซเวียต กำลังเยอรมนีบุกครองโปแลนด์จากทิศเหนือ ใต้ และตะวันตกในเช้าหลังเกิดกรณีกลิวิซ ขณะที่เวร์มัคท์รุกคืบ กำลังโปแลนด์ถอนจากฐานปฏิบัติการส่วนหน้าติดกับพรมแดนโปแลนด์–เยอรมนีไปแนวป้องกันที่จัดตั้งดีกว่าทางตะวันออก หลังโปแลนด์แพ้ยุทธการที่บึซราเมื่อกลางเดือนกันยายน ทำให้เยอรมนีได้เปรียบแน่นอน จากนั้นกำลังโปแลนด์ถอนตัวไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ที่ซึ่งพวกเขาเตรียมการป้องกันระยะยาวที่หัวสะพานโรมาเนียและคอยการสนับสนุนและการช่วยเหลือที่คาดจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ทั้งสองประเทศมีสนธิสัญญากับโปแลนด์และประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 กันยายน แต่สุดท้ายแล้วทั้งสองช่วยเหลือโปแลนด์แต่เพียงเล็กน้อย การบุกครองโปแลนด์ตะวันออกของกองทัพแดงโซเวียตเมื่อวันที่ 17 กันยายนตามพิธีสารลับในสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอพ ทำให้แผนการตั้งรับของโปแลนด์ต้องเลิกไป เมื่อเผชิญกับแนวรบที่สอง รัฐบาลโปแลนด์สรุปว่าการป้องกันหัวสะพานโรมาเนียเป็นไปไม่ได้อีกต่อไปและสั่งอพยพกำลังพลฉุกเฉินทั้งหมดไปยังประเทศโรมาเนียที่เป็นกลาง วันที่ 6 ตุลาคม หลังโปแลนด์ปราชัยที่ยุทธการที่ค็อก (Kock) กำลังเยอรมนีและโซเวียตก็ควบคุมโปแลนด์อย่างสมบูรณ์ ความสำเร็จของการบุกครองนี้เป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง แม้โปแลนด์จะไม่เคยยอมจำนนอย่างเป็นทางการก็ตาม วันที่ 8 ตุลาคม หลังสมัยการบริหารทหารทหารช่วงต้น เยอรมนีได้ผนวกโปแลนด์ตะวันตกและอดีตนครเสรีดันซิกโดยตรง และกำหนดให้ดินแดนส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลทั่วไป (General Government) สหภาพโซเวียตรวมพื้นที่ที่เพิ่งได้มาเข้ากับสาธารณรัฐองค์ประกอบเบลารุสและยูเครนของตน และเริ่มการรณรงค์ปลูกฝังความเป็นโซเวียตทันที หลังการบุกครองดังกล่าว องค์การขัดขืนใต้ดินหลายกลุ่มได้ตั้งรัฐใต้ดินโปแลนด์ขึ้นในดินแดนของอดีตรัฐโปแลนด์ ในเวลาเดียวกับที่ทหารลี้ภัยจำนวนมากซึ่งสามารถหลบหนีออกนอกประเทศได้ก็เข้าร่วมกับกองทัพโปแลนด์ในทิศตะวันตก ซึ่งเป็นกองทัพที่ภักดีต่อรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลน.

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและการบุกครองโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การยึดครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939–1945)

ปแลนด์ภายใต้การยึดครองโดยนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–1945) เริ่มต้นด้วยการบุกเข้ายึดครองโปแลนด์ของเยอรมัน-สหภาพโซเวียตในเดือนกันยายน ปี..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและการยึดครองโปแลนด์ (ค.ศ. 1939–1945) · ดูเพิ่มเติม »

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย หรือ มาตรการสุดท้าย (Final Solution; Die Endlösung) เป็นชื่อรหัสที่หมายถึงแผนการกำจัดชาวยิวทั่วยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตามนโยบายกวาดล้างชาวยิวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี เป็นการเข่นฆ่าเพื่อล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวครั้งใหญ่ โดยเริ่มใช้มาตรการสุดท้าย ใน..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ออร์ดนุงโพลีไซ

ทบวงตำรวจรักษาความสงบ (Ordnungspolizei) หรือเรียกอย่างย่อว่า ออร์โพ เป็นกำลังตำรวจในเครื่องแบบของนาซีเยอรมนี ดำรงอยู่ระหว่างปี..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและออร์ดนุงโพลีไซ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา

ปฏิบัติการบาร์บารอสซา (Unternehmen Barbarossa, Operation Barbarossa, รัสเซีย: Оперенация Барбарросса) เป็นชื่อรหัสสำหรับแผนการบุกสหภาพโซเวียตของนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ชื่อปฏิบัติการบาร์บารอสซาถูกตั้งชื่อตามพระนามของจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอสซา แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้นำสงครามครูเสดครั้งที่สาม ในช่วงคริสต์ศตวรรรษที่ 12 วัตถุประสงค์ของปฏิบัติการนี้ คือ การพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด ซึ่งถือเอาแนวที่ลากเส้นระหว่าง อัคอังเกลส์ก (Arkangelsk) ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัสเซีย ลงไปจนถึงเมืองอัสตราคาน (Astrakhan) ที่อยู่ริมสามเหลี่ยมปากแม่น้ำวอลกา โดยแนวนี้ถูกเรียกว่าแนว AA ปฏิบัติการบาร์บารอสซาไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ฮิตเลอร์คาดหวังไว้ ในทางยุทธวิธีแล้ว กองทัพเยอรมันก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อสหภาพโซเวียต โดยการยึดครองพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากปฏิบัติการบาร์บารอสซา กองทัพเยอรมันไม่อาจเป็นฝ่ายบุกในแนวรบด้านตะวันออกอีกต่อไป และหลังจากนั้น ก็ประสบความพ่ายแพ้มาตลอดMilitary-Topographic Directorate, maps No.

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและปฏิบัติการบาร์บารอสซา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช

รน์ฮาร์ด ทรีสทัน ออยเกิน ฮายดริช (Reinhard Tristan Eugen Heydrich) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีเยอรมันอย่างเป็นทางการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและผู้ออกแบบหลักในการล้างชาติโดยนาซี.เขาเป็นเจ้าหน้าที่แห่งเอสเอส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระดับโอแบร์กรุพเพนฟือแรร์ (พลโท) และเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามัญ (หัวหน้ากลุ่มระดับอาวุโสและอธิบดีกรมตำรวจ) เช่นเดียวกันกับหัวหน้าของสำนักความมั่นคงหลักของรัฐไรซ์ (Reich Main Security Office) (รวมทั้งเกสตาโพ, ครีมิไนโพลีไซ (Kripo), ซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ (SD) และซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ(sipo)) นอกจากนั้นเขายังเป็น Stellvertretender Reichsprotektor (รองผู้รักษาการป้องกันแห่งไรซ์-ผู้พิทักษ์) ของโบฮีเมียและโมราเวียในดินแดนสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและไรน์ฮาร์ด ฮายดริช · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์

น์ริช ลุทโพลด์ ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Luitpold Himmler) เป็นหนึ่งในผู้นำพรรคนาซีในเยอรมนี และเป็น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ของหน่วย ชุทซ์ชทัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) รับผิดชอบด้านการคุมกำลังหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สทั้งหมดในไรช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในไรช์ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิวSource: Der Spiegel, Issue dated 3 November 2008: Hitlers Vollstrecker – Aus dem Leben eines Massenmörders ฮิมม์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบบียาร์

ียาร์ (Бабин Яр, Babyn Yar; Бабий Яр, Babiy Yar) เป็นหุบเหวลึกในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศยูเครนและเป็นสถานที่ในการสังหารหมู่โดยกองทัพเยอรมันและชนท้องถิ่นที่ให้ความร่วมมือในช่วงสงคราม เพื่อต่อกรกับสหภาพโซเวียต ด้วยชื่อเสียงที่โด่งดังมากที่สุดและได้รับการจดบันทึกไว้อย่างดีที่สุดของการสังหารหมู่ครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29-30 กันยายน..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและเบบียาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: ไอน์ซัทซกรุพเพนและเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »