โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แปดเก้า

ดัชนี แปดเก้า

แปดเก้า เป็นชื่อการพนันประเภทหนึ่งในประเทศไทย จัดเป็นการพนันลำดับที่ 5 ในบัญชี ก (ห้ามเด็ดขาด) ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 บางทีเรียก "หมูต้ม" โดยถ้าเล่นด้วยไพ่จะเรียก "ไพ่แปดเก้า"หรือ "ไพ่ป๊อกแปดเก้า" หรือ "ป๊อกแปดป๊อกเก้า" อุปกรณ์การเล่น ประกอบด้วย ไพ่สามสิบสองใบ ทำจากไม้งาหรือกระดูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบน ๆ แต่ละใบกว้างประมาณหนึ่งนิ้ว และยาวประมาณสามนิ้ว อย่างไรก็ดี ไพ่ทีทำจากไม้หรือกระดูกนี้มักเล่นกันแต่ในหมู่คนจีนเพราะหายาก ส่วนคนไทยมักใช้ไพ่ป๊อกแทน อนึ่ง ในการเล่นบางทีก็ใช้ลูกเต๋าด้วย ผู้เล่นแต่ละครา มักมีสี่คน ประกอบด้วย เจ้ามือหนึ่งคน และผู้เล่นอื่นอีกสามคน แต่บางทีอาจเล่นกันด้วยจำนวนผู้เล่นอื่นและไม่มีเจ้ามือก็ได้ วิธีเล่น ผู้เล่นทั้งหมดล้อมวงกัน เจ้ามือเอาไพ่คละกัน แล้วคว่ำหน้าซ้อนกันเป็นคู่ ๆ เรียงกันไปสิบหกคู่ จากนั้นเจ้ามือทอดลูกเต๋าทั้งสองลูกเป็นคนแรก เพื่อคัดเลือกว่าลูกค้าคนไหนจะได้หยิบไพ่ก่อน เช่น ลูกเต๋าทอดได้แปดแต้ม ก็ให้คนขวามือของคนทอดเป็นหนึ่งแล้วไล่ไปทั้งสี่คนนั้นจนครบแปด ตกแปดที่ใครคนนั้นก็หยิบไพ่ขึ้นสองใบ คนทางขวาคนคนหยิบไพ่นั้นก็หยิบอีกสองไป คนถัดไปก็หยิบต่อ ๆ กันไปจนครบทุกคน แล้วจึงหงายไพ่ดูกัน ก่อนทอดลูกเต๋ามีการวางเงินกันก่อน แล้วหงายไพ่ดู ใครได้แต้มสิบเรียก "บอด" ใครได้แต้มเกินสิบให้เอาสิบหักออก เหลือเท่าใดจึงเป็นแต้มที่นับ ใครได้แต้มสูงสุดก็ชนะ ถ้าผู้ชนะเป็นเจ้ามือ เจ้ามือก็กิน ถ้าผู้เล่นชนะ ผู้เล่นก็กินเจ้ามือ ถ้าเล่นไม่มีเจ้ามือ ผู้เล่นทุกคนวางเงิน ใครได้แต้มสูงสุดก็ชนะไป บางทีมีวิธีเล่นที่พิสดารออกไป เช่น ให้ทุกคนหยิบไพ่คนละสองใบ จนมีคนละสี่ใบ แล้วเลือกแต้มออกมาวางครั้งละสองใบ ใครมากสุดก็ชนะไปในหนนั้นแล้วจำไว้ว่าใครแพ้ใครชนะ แล้วจึงเปิดที่เหลือเพื่อดูว่าหนนี้ใครแพ้ใครชนะ ในสองหนนี้ ใครแพ้ทีชนะทีเรียกว่าเสมอไปในครานี้ แพ้ทั้งสองก็แพ้ไป ถ้าชนะทั้งสองหนจึงเป็นผู้ชนะในครานี้ การเล่นแบบนี้มักมีเจ้ามือ บางทีเล่นโดยแจกไปให้คนละละสามใบ ใครแต้มสูงกว่าเจ้ามือก็ชนะไป ต่ำกว่าเจ้ามือก็ถูกกิน แต้มที่รวมก็เช่นเดียวกัน คือ สามใบรวมเก้าแต้ม หรือสามใบรวมสิบเก้าแต้มแล้วค่อยเอาสิบหักออกจึงเหลือเก้าแต้มดุจกัน.

4 ความสัมพันธ์: การพนันลูกเต๋าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)ประเทศไทย

การพนัน

ร้านปาจิงโกะในญี่ปุ่น การพนันชนิดหนึ่ง การพนัน (gambling) หมายถึง การเล่นชนิดหนึ่งเพื่อเอาเงินหรือสิ่งอื่นใดด้วยการเสี่ยงโชค โดยการทำนายหรือคาดเดาผลที่เกิดขึ้นในอนาคต การพนันอาจแบ่งได้หลายอย่าง เช่น การพนันในการแข่งขัน ตัวอย่างเช่น เกมไพ่ เกมลูกเต๋า การพนันโดยการทำนายผลที่คาดว่าเกิดขึ้นในอนาคตเช่น การแทงบอล การแทงม้า และการพนันที่ไม่มีการแข่งขันโดยขึ้นกับความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เกิดเช่น หว.

ใหม่!!: แปดเก้าและการพนัน · ดูเพิ่มเติม »

ลูกเต๋า

ลูกเต๋าธรรมดาสี่ลูก จัดวางให้เห็นหน้าที่แตกต่างกันทั้งหกหน้า ลูกเต๋า(douse)เป็นวัตถุทรงลูกบาศก์หรือทรงเรขาคณิตอื่นๆ ซึ่งแต่ละด้านกำกับด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสุ่ม สำหรับเกมต่างๆ ทั้งที่เป็นเกมการพนันในกาสิโนหรือบ่อนการพนัน เช่น แครปส์ ไฮโล และเกมที่ไม่ใช่การพนัน โดยเฉพาะเกมกระดาน เช่น แบ็กแกมมอน งูตกบันได ลูกเต๋าธรรมดา เป็นลูกบาศก์ ขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร แต่ละด้านของลูกเต๋า (เรียกว่า หน้า) จะระบุตัวเลข แสดงเป็นจุดจำนวนต่าง ๆ กันตั้งแต่ 1 ถึง 6 เมื่อต้องการสุ่มตัวเลข ผู้ใช้จะโยนลูกเต๋าไปบนพื้นราบให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้ง (เรียกว่า ทอยลูกเต๋า หรือ ทอดลูกเต๋า) หรือใช้วิธีการอื่นใด เพื่อให้ลูกเต๋าหมุนหรือกลิ้งก็ได้ เมื่อลูกเต๋าหยุดหมุนหรือกลิ้งแล้ว ถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือตัวเลขที่อยู่บนด้านบนสุดของลูกเต๋า เช่น หากทอยลูกเต๋าแล้ว หน้าที่แสดงเลข 4 อยู่บนสุด ถือว่าสุ่มได้เลข 4 หรืออาจเรียกว่า ออกเลข 4 ก็ได้ ในบางเกมจะใช้ลูกเต๋ามากกว่า 1 ลูก โยนพร้อมกัน แล้วถือว่าตัวเลขที่สุ่มได้คือผลรวมของเลขที่ออกทั้งหมด หากใช้ลูกเต๋าธรรมดาลูกเดียว ตัวเลข 1 ถึง 6 จะมีความน่าจะเป็นที่จะถูกสุ่มขึ้นมาได้เท่า ๆ กัน หากต้องการสุ่มสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเลข 1 ถึง 6 อาจใช้ลูกเต๋าชนิดอื่น ที่มีจำนวนหน้าหรือสัญลักษณ์แตกต่างจากลูกเต๋าธรรมดา และหากต้องการให้ความน่าจะเป็นที่ออกแต่ละหน้าไม่เท่ากัน อาจใช้ลูกเต๋าถ่วง ซึ่งโดยปกติแล้วการใช้ลูกเต๋าถ่วงถือเป็นการโกงอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: แปดเก้าและลูกเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)

ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (Office of the Council of State) เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการกฤษฎีกา สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเป็นส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: แปดเก้าและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: แปดเก้าและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

หมูต้มป๊อกแปดป๊อกเก้าไพ่ป๊อกแปดเก้าไพ่แปดเก้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »