โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไพโอเนียร์ 10

ดัชนี ไพโอเนียร์ 10

ไพโอเนียร์ 10 (เดิมได้ชื่อว่า ไพโอเนียร์เอฟ) เป็นยานสำรวจอวกาศอเมริกัน หนัก 258 กิโลกรัม ซึ่งบรรลุภารกิจแรกที่ดาวพฤหัสบดี จากนั้น ไพโอเนียร์ 10 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ถึงความเร็วหลุดพ้นจากระบบสุริยะ ศูนย์วิจัยเอมส์นาซาในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นผู้ดำเนินโครงการสำรวจอวกาศดังกล่าว และทีอาร์ดับเบิลยูเป็นผู้ผลิตยาน หมวดหมู่:โครงการไพโอเนียร์.

6 ความสัมพันธ์: ระบบสุริยะรัฐแคลิฟอร์เนียดาวพฤหัสบดีความเร็วหลุดพ้นนาซาเฮลิโอสเฟียร์

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ไพโอเนียร์ 10และระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: ไพโอเนียร์ 10และรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพฤหัสบดี

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไพโอเนียร์ 10และดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

ความเร็วหลุดพ้น

การวิเคราะห์ของไอแซก นิวตัน เกี่ยวกับความเร็วหลุดพ้น กระสุนปืน ''A'' และ ''B'' จะตกกลับลงสู่พื้นโลก กระสุนปืน ''C'' จะเคลื่อนที่ครบรอบเป็นวงโคจรรูปวงกลม, กระสุนปืน ''D'' จะเคลื่อนที่เป็นรูปวงรี กระสุนปืน ''E'' จะเคลื่อนที่หลุดพ้นออกไปจากโลก ในวิชาฟิสิกส์ ความเร็วหลุดพ้น คือ อัตราเร็วที่พลังงานจลน์บวกกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแล้วมีค่าเป็นศูนย์ พลังงานศักย์โน้มถ่วงมีค่าเป็นลบเนื่องจากแรงโน้มถ่วงเป็นแรงดึงดูดและมีศักยที่ถูกกำหนดให้มีค่าเป็นศูนย์ที่ระยะอนันต์ ความเร็วหลุดพ้น คือ ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h สำหรับวัตถุทรงกลมสมมาตร ความเร็วหลุดพ้นที่ระยะทางค่าหนึ่งคำนวณได้จากสูตร เมื่อ G คือ ค่าคงที่โน้มถ่วงสากล (the universal gravitational constant) (G.

ใหม่!!: ไพโอเนียร์ 10และความเร็วหลุดพ้น · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ไพโอเนียร์ 10และนาซา · ดูเพิ่มเติม »

เฮลิโอสเฟียร์

แผนภาพแสดงคุณลักษณะของเฮลิโอสเฟียร์ เฮลิโอสเฟียร์ (Heliosphere) มีลักษณะคล้ายฟองอากาศอยู่ในห้วงอวกาศ ที่พองตัวอยู่ในสสารระหว่างดาว ซึ่งเป็นผลจากลมสุริยะ ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะเอาไว้จากรังสีคอสมิก แม้จะมีอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าส่วนหนึ่งจากสสารระหว่างดาวสามารถลอดเข้ามาภายในเฮลิโอสเฟียร์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วสสารส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในเฮลิโอสเฟียร์ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น ในรัศมี 10,000 ล้านกิโลเมตรแรก ลมสุริยะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 1 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง จากนั้นจึงเริ่มชะลอและสลายไปในสสารระหว่างดาว ลมสุริยะจะชะลอความเร็วลงจนหยุดลงในที่สุดและรวมไปในมวลสารเหล่านั้น จุดที่ลมสุริยะชะลอความเร็วลงเรียกว่า กำแพงกระแทก (termination shock) จุดที่แรงดันของสสารระหว่างดาวกับลมสุริยะเข้าสู่สมดุลกันเรียกว่า เฮลิโอพอส (heliopause) จุดที่สสารระหว่างดาวเคลื่อนที่ในทางตรงกันข้าม คือชะลอตัวลงเมื่อปะทะเข้ากับเฮลิโอสเฟียร์ เรียกว่า โบว์ช็อค (bow shock).

ใหม่!!: ไพโอเนียร์ 10และเฮลิโอสเฟียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Pioneer 10

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »