โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไพลโอซอร์

ดัชนี ไพลโอซอร์

ลโอซอร์ (pliosaurs) คือสัตว์เลื้อยคลานในทะเลยุคดึกดำบรรพ์พวกหนึ่ง มีครีบขนาดใหญ่สี่อัน น้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัมถึงเกือบ 20 ตัน และมีความยาวตั้งแต่ 4.2 เมตรไปจนถึง 11 เมตรเลยทีเดียว(สายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ พรีเดเตอร์เอ็กซ์ ความยาวสูงสุดประมาณ 13 เมตร และหนักเกือบ 20 ตัน)มีรูปร่างแตกต่างจากโมซาซอร์ญาติห่างๆ ตรงที่โมซาซอร์ใช้หางว่ายน้ำคล้ายจระเข้ แต่ไพลโอซอร์จะมีหางสั้น และครีบขนาดเล็กกว่าซึ่งใช้ว่ายน้ำได้ลำบากกว่า นอกจากนี้ ฟันของโมซาซอร์จะมีรูปร่างแบบกิ้งก่าปัจจุบัน คือแหลมและโค้งไปด้านหลัง แต่ฟันของไพลโอซอร์จะเป็นกรวยแหลมขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับการขบกัดกระดูกให้เป็นรอยและสร้างบาดแผลสาหัสได้น้อยกว่าโมซาซอร์ประกอบกับแรงกัดที่มากกว่าหลายเท่า ทำให้ไพลโอซอร์เป็นหนึ่งในนักล่าที่ดุร้ายรองจากโมซาซอร์ในยุคดึกดำบรรพ์เลยทีเดียว สายพันธุ์ของไพลโอซอร์ที่น่าสนใจได้แก่ โครโนซอรัส(kronosaurus),ไทรนาครอมีเรี่ยม(trinacromerum)และไลโอพลัวเรอดอน(liopleurodon) เป็นต้น อาหารส่วนใหญ่ของไพลโอซอร์คือทุกอย่างที่จับและกินได้ รวมถึงพวกเดียวกันเอง เคยมีการพบซากไทรนาครอมีเรี่ยมในท้องของโครโนซอรัสตัวเต็มวัยด้วย เนื่องจากออกลูกเป็นไข่ ไพลโอซอร์จึงต้องขึ้นบกเพื่อวางไข่ด้วย.

9 ความสัมพันธ์: สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์ฮาลิซอรัสโมซาซอร์ไลโอพลัวเรอดอนไทรนาครอมีรัมเพลสิโอซอร์

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาลิซอรัส

ลิซอรัส (Halisaurus) เป็นสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์แล้ว ของตระกูลโมซาซอร์ มันมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร (10 -13 ฟุต) มันอาจจะเป็นโมซาซอร์ที่เล็กที่สุด เมื่อเทียบกับโมซาซอร์ชนิดอื่น ฮาลิซอรัสอาศัยอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียส เมื่อประมาณ 85-65 ล้านปีก่อน ชื่อของมันมีความหมายว่า กิ้งก่าทะเล เหยื่อของมันอาจจะเป็นนกทะเลดึกดำบรรพ์ที่ชื่อ เฮสเปอร์รอร์น.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และฮาลิซอรัส · ดูเพิ่มเติม »

โมซาซอร์

มซาซอร์ (Mosasaur) ความหมายชื่อคือ "ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์"เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์ Mosasauridae ที่เคยมีชีวิตอยู่ปลายยุคครีเทเชียส เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู (Squamata) ที่รู้จักกันว่า aigialosaurs ช่วงต้นยุค และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงู โมซาซอร์เป็นญาติห่างจากไลโอพลัวเรอดอนแต่โมซาซอร์ยาวกว่ามากและโมซาซอร์อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนี้มีระดับน้ำทะเลสูง เรียกว่าน้ำทะเลไปถึงไหนเจ้าสัตว์กลุ่มนี้ก็ไปถึงนั่น ดังจะเห็นได้จากมีการค้นพบฟอสซิลในหลายพื้นที่ ทั้งในอเมริกาเหนือ ได้แก่ แคนาดาและสหรัฐ ที่พบในหลายรัฐซึ่งเคยเป็นเส้นทางทะเล นอกจากนี้ยังพบในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะเวกานอกชายฝั่งขั้วโลกใต้ โดยพบฟอสซิลครั้งแรกในเขตเหมืองหินปูนในเมืองมาสตริกช์ของเนเธอร์แลนด์ ปี 1764 และจากฟอสซิลที่ค้นพบทำให้แบ่งสัตว์กลุ่มนี้ได้ 4 วงศ์ย่อยคือ Halisaurinae,Mosasaurinae, Plioplatecarpinae และTylosaurinae สกุลที่ใหญ่ที่คือไทโลซอรัส ฮอฟมานี โมซาซอร์เป็นกิ้งก่าทะเลที่ว่ายน้ำเก่งและสามารถปรับตัวได้ดีเพื่ออยู่ในเขต ทะเลน้ำตื้นและอบอุ่น และแม้แต่ออกลูกในน้ำ ซึ่งออกลูกเป็นตัว ไม่ต้องขึ้นฝั่งเพื่อไปวางไข่เหมือนเต่าทะเลทั่วไป ส่วนอาหารกินได้ทุกอย่าง รวมถึงพวกทากทะเล หอยและสัตว์ทะเลอื่น ๆ เพราะมีฟันแข็งแรง ตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เมตร ในวงศ์ย่อย ฮาลิซอร์ ส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 16.8-20 เมตรคือ "ไทโลซอร์รัส" แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายคนและข้อมูลบีบีซีเชื่อว่ามันไม่ได้ยาวแค่นั้นและเป็นไปได้ที่อาจยาวถึง30เมตรหรือหนักราว58-74ตันและอาจเคยกินวาฬหัวทุยแล้วก็ได้ด้วยกรามที่แข็งแรงมันจึงสามารถกัดเหล็กชั้นหนาจนขาดได้และบางทีมันอาจว่ายน้ำได้ถึง 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ได้ซึ่งเหยื่อที่โมซาซอร์ก็คือฉลามขาว หมึกยักษ์หรือแม้แต่โมซาซอร์ด้วยกันเองโดยมีชีวิตอยู่ช่วง 65-89 ล้านปีก่อนและบางทีอาจจะกินวาฬได้ด้วย หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในยุคไดโนเสาร์ หมวดหมู่:โมซาซอร์ หมวดหมู่:กิ้งก่าในยุคครีเทเชียส หมวดหมู่:กิ้งก่า.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และโมซาซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไลโอพลัวเรอดอน

ลโอพลัวเรอดอน (Liopleurodon; IPA: /ˌlaɪ.ɵˈplʊərədɒn/) ความหมายชื่อคือ"กิ้งก่าฟันเรียบด้าน"เป็นสกุลกิ้งก่าทะเลในตระกูลสัตว์เลื้อยคลานที่เรียกกันว่าไพลโอซอร์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในกลางยุคจูราสสิค ประมาณ 160-158 ล้านปีก่อน ช่วงกลางยุคมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดชื่อ Liopleurodon ferox และ Liopleurodon pachydeirus ส่วนอีกชนิดชื่อ Liopleurodon rossicus อยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค แต่ทั้งหมดล้วนเป็นกลุ่มนักล่าที่ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเลที่ครอบคลุมพื้นที่ ยุโรป ซึ่งแหล่งฟอสซิลที่สำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมนี และรัสเซีย แต่มักเป็นตัวอย่างที่ไม่สมบูรณ์นัก ขนาดตัวของไลโอพลัวเรอดอนประเมินได้จากฟอสซิลกะโหลก ศีรษะที่มีความยาวประมาณ 1 ใน 7 ของลำตัว จากกะโหลกใหญ่สุดของ L. ferox ที่ยาวถึง 1.5 เมตร ทำให้เชื่อว่าตัวเต็มๆของมันคงยาวได้ประมาณ 10 เมตร แต่โดยรวมแล้วลีโอพลูโรดอนตัวยาวได้ระหว่าง 7-11.3 เมตร อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากบีบีซีบอกว่าไลโอพลัวเรอดอนบางตัวสามารถยาวได้ถึง 18 เมตร ขณะที่มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 2.5-5 ตัน ส่วนรูปลักษณ์ของไลโอพลัวเรอดอนมีขาเป็นพายแข็งแรง เหมือนกิ้งก่าทะเลทั่วไป แสดงให้เห็นว่ามันสามารถว่ายน้ำได้เร็วมากจากพลังขับดันของขา นอกจากนี้ยังมีขากรรไกรยาวพร้อมฟันแหลมคม และสามารถรับรู้กลิ่นได้ดี โดยมันจะได้กลิ่นเหยื่อตั้งแต่ระยะไกล สัตว์นักล่าขนาดยักษ์นี้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเล แม้ต้องหายใจเอาอากาศเข้าไป และไม่สามารถขึ้นจากน้ำได้ แต่จะอยู่ในเขตน้ำตื้นเวลาผสมพันธุ์และออกลูกเป็นตัว นอกจากนี้มันยังแอบซุ่มในเขตน้ำตื้นเพื่อรอเหยื่อด้วย ซึ่งมีทั้งกลุ่มจระเข้ทะเล ปลาใหญ่ลีดส์อิชธีส์ หรือแม้แต่ไพลโอซอร์ด้วยกันเอง.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และไลโอพลัวเรอดอน · ดูเพิ่มเติม »

ไทรนาครอมีรัม

ไทรนาครอมีเรี่ยม(trinacromerum) เป็นสัตว์เลื้อยคลานทะเลในกลุ่มเพลซิโอซอร์ขนาดเล็ก.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และไทรนาครอมีรัม · ดูเพิ่มเติม »

เพลสิโอซอร์

ลสิโอซอร์ (Plesiosaurs;; กรีกโบราณ: πλησίος, plesios, หมายถึง "ใกล้ถึง" และ Sauria หมายถึง กิ้งก่า) เป็นกลุ่มของสัตว์เลื้อยคลานทะเลขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคครีเตเชียสเมื่อราว 65 ล้านปีก่อน ที่อยู่ในอันดับ Plesiosauria เพลสิโอซอร์ ปรากฏตัวตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (ประมาณ 230 ล้านปีก่อน) มีคอยาว แต่หัวเล็ก ในปากมีฟันแหลมคม สามารถว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็วคล่องแคล่ว และสามารถลอยตัวผ่านน้ำได้ ฟันมีลักษณะรูปกรวยมีความแหลมคมแข็งแรงมากพอที่จะฆ่าสัตว์น้ำต่าง ๆ กินเป็นอาหารได้ และด้วยความยาวลำตัวที่มากถึง 15 เมตรเป็นอย่างน้อย จึงทำให้เพลสิโอซอร์ได้ชื่อว่าเป็นอสุรกายแห่งท้องทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ด้วยความที่เป็นสัตว์นักล่าที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ทั้งนี้ เพลสิโอซอร์มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น อีลาสโมซอรัส (Elasmosaurus platyurus), เพลสิโอซอรัส (Plesiosaurus dolichodeirus) หรือฟุตาบะซอรัส (Futabasaurus suzukii) พบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลต่าง ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่แถบอาร์กติกจนถึงขั้วโลกใต้ในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเพลสิโอซอร์ล่าสัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา, หมึก กินเป็นอาหาร แต่ก็มีบางทฤษฎีที่เชื่อว่าเพลสิโอซอร์ไม่สามารถยกส่วนหัวหรือคอขึ้นพ้นผิวน้ำได้ และจากการศึกษาล่าสุดของนักบรรพชีวินวิทยากลุ่มหนึ่ง โดยการใช้แบบจำลองส่วนหัวและฟันของเพลสิโอซอร์พบว่า การสบกันของฟันอาจเป็นไปได้ว่าใช้ชีวิตด้วยการกรองกินเหมือนกับวาฬบาลีนหรือวาฬไม่มีฟัน ซึ่งไม่เคยพบพฤติกรรมเช่นนี้ในสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลชนิดอื่น ๆ มาก่อน โดยอาจเป็นวิวัฒนาการเบนเข้า เนื่องจากทั้งวาฬและเพลสิโอซอร์นั้นมิได้มีส่วนใดเกี่ยวข้องกันเลยแต่ประการใด แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องเป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อไป โดยเพลสิโอซอร์ มักถูกอธิบายว่าเป็นสัตว์ที่ยังหลงเหลืออยู่มาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นที่มาของสัตว์ประหลาดทะเลสาบตลอดจนสัตว์ประหลาดทะเลหรือมังกรทะเล ที่พบตามแหล่งน้ำต่าง ๆ จนถึงทะเลหรือมหาสมุทรทั่วโลก เช่น เนสซี หรือสัตว์ประหลาดล็อกเนสส์ในสก๊อตแลนด์, มอแรก ในสก๊อตแลนด์, แชมป์ ในพรมแดนสหรัฐอเมริกาและแคนาดา, โอโกโปโก ในแคนาดา เป็นต้น.

ใหม่!!: ไพลโอซอร์และเพลสิโอซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ไพล์โอซอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »